แมวส้ม ณ IUU fishing กับความอ่อนด้อยด้านภาษาอังกฤษของผม

แค่รำคาญแมวส้มที่ตามไล่แปะเรื่องความอ่อนด้อยด้านภาษาอังกฤษของผม
ซึ่งผมยอมรับไปตั้งนานแล้วครับ  แต่แมวส้มยังตามไปแปะข้อความดังกล่าวป่วนทุกกระทู้ที่ผมไปแสดงความเห็น

สิ่งที่แมวส้มตามแปะ
  

ตัวอย่างกระทู้ที่แมวส้มตามไปรบกวน จขกท. พอสังเขป
https://ppantip.com/topic/38556668/comment3-4
https://ppantip.com/topic/38553909/comment4-11
https://ppantip.com/topic/38555070/comment14-8

ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีที่มาจากกระทู้ของแมวส้มเอง  https://ppantip.com/topic/38451269
โดยข้ออภิปรายควรจบไปแล้ว  แต่แมวส้มไม่ยอมจบ

ข้ออภิปราย  ผมขออธิบายง่ายๆ ดังนี้  

แมวส้มยกกฎระเบียบสหภาพยุโรป ที่ (EC) No.1005/2008 มาอภิปรายเพื่อจะบอกว่าใบเหลืองที่ไทยได้รับนั้น
ปูไม่เกี่ยวนะ  มันมีปัจจัยหลายปัจจัย ที่ทำให้ปูไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แล้ะกฎระเบียบของอียู ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้น

ผมจึงถามแมวส้มไปว่า "มีตรงไหนที่ EU บอกว่าต้องรอให้ประเทศคู่ค้าต้องลงนามสัตยาบันก่อน  จึงจะเริ่มใช้ IUU Fishing"
แมวส้มตอบว่า คำตอบคือ  ผมว่า EU ไม่จำเป็นต้องบอกเลยครับ เพราะว่า มันมีระเบียบในเรื่องสัตยาบันนี้ไว้ เป็นกติกาสากลอยู่แล้ว


หลังจากนั้นแมวส้มก็ไปหา กฎระเบียบสหภาพยุโรป ที่ (EC) No.1005/2008 ที่เป็นภาษาอังกฤษมา  
พร้อมให้อากู๋ช่วยแปลให้เสร็จสรรพ  การอภิปรายจึงดำเนินต่อไป

มีข้อสรุปดังนี้
กฎระเบียบสหภาพยุโรป ที่ (EC) No.1005/2008






ทั้ง Handbook ทั้งเอกสารตัวจริง มีข้อความไหนหรือคำพูดใด

ในข้อ 3 มาตรา 31 ว่าต้องมีการลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ก่อน

EU จึงจะพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดง

ส่วนในข้อ 6 a มันก็แค่บอกว่าถ้ามีการลงนามให้สัตยาบัน จะเอามาเป็นส่วนประกอบในการพิจารณา ว่าจะให้ใบเหลืองใบแดงหรือไม่

มิได้มีตรงไหนที่บอกว่า
หากไม่มีการลงนามให้สัตยาบัน จะไม่ให้หรือให้ใบเหลืองใบแดง
หรือหากมีการการลงนามให้สัตยาบันแล้ว จะไม่ให้หรือให้ใบเหลืองใบแดง
แต่อย่างใด มันอยู่ตรงไหนจ๊ะแมวส้ม

แต่โดยข้อเท็จจริง การพิจารณาให้หรือไม่ให้ใบเปลืองใบแดง
หลักใหญ่คือการทำประมงแบบไม่ผิดกฎ IUU
หากมีการออกกฎหมาย  มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด อียูก็จะไม่ให้ใบเหลืองใบแดง

ดูได้จาก

ทั้งโคลอมเบียที่ยังไม่ให้สัตยาบัน อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

ทั้ง USA  ที่ไม่ได้ลงนาม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

ก็ไม่ได้ถูกให้ใบเหลืองใบแดงโดย EU



ส่วนเขมรแค่ลงนามยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
  ....   โดนไปตั้งแต่ พ.ย.2555

ไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
แล้วตั้งแต่ยุคมาร์ค เมื่อปี 53 ก็โดน
  

เวียดนามให้สัตยาบันแล้วก็โดน



ไทม์ไลน์การการดำเนินการของ EU

คณะกรรมาธิการของ EU เริ่มเดินทางมาไทยครั้งแรก ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เพื่อรวบรวมข้อมูล
และแจ้งให้ไทยทราบอย่างเป็นทางการเมื่อ 30 มิ.ย.54 หลังจากนั้น ก็มีการประชุมร่วมกันเมื่อเดือนเมษายน 2555 อีกหนึ่งครั้ง
คณะกรรมาธิการของ EU เดินทางมาไทยเพื่อตรวจงานครั้งที่สองเมื่อเดือนตุลาคม 2555
แล้วทำรายงานแจ้งให้ไทยทราบผลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 อีกหนึ่งครั้ง
ไทยมีการส่งข้อมูลให้คณะกรรมาธิการ EU ไปอีกสองครั้ง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 และวันที่ 11 เมษายน 2556
ครั้งสุดท้าย EU เดินทางมาไทยเพื่อตรวจงานในเดือนตุลาคม 2557

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
แมวส้มบอกว่าเขารอให้ไทยดำเนินการในส่วนของไทยก่อน


อียูรออะไรจากไทย รอให้ไทยออกกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎ IUU ใช่หรือไม่
แล้วคำถามคือไทยทำอะไรไปบ้างจ๊ะแมวส้ม ปูทำอะไรไปบ้างจ๊ะ  ภายหลังจากอภิสทิธิ์ไปให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 แล้วนะแมวส้ม


-รัฐบาลปูการออกมติ ครม. เมื่อ  20/05/2555 (เริ่มสิงหาคม 2554 - พฤษภาคม 2557)

๑.๑.๕ การสร้างความมั่นใจในการจัดการระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างยั่งยืน และการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง โดยเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม สนับสนุนกฎระเบียบด้านการประมงที่โปร่งใส รวมทั้งการจัดการตลาดสินค้าประมง

-ลุงตู่ปลดธงเหลืองโดยทำดังนี้
1.ด้านกฎหมาย มีการกำหนดเขตทะเล ชายฝั่ง ตาม พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 58 พ.ร.ก. การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 60 โดยได้ปรับแก้ไขในบางมาตราเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ ปัจจุบันได้กำหนดเขตทะเลชายฝั่งตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละจังหวัด กำหนดมาตรการ ควบคุม เฝ้าระวัง ทั้งเรือประมงในน่านน้ำและนอกน่านน้ำ การแจ้งเข้า-ออกของศูนย์ PIPO การติดระบบติดตามเรือ (VMS) รวมไปถึงการจัดระเบียบท่าเทียบเรือ
2.ด้านการจัดการกองเรือ มีความชัดเจนของกองเรือประมง รวมทั้งเรือจม เรือหาย หรือขายไปต่างประเทศ ปัจจุบันพบว่าเรือประมงไทยสร้างความชัดเจนของสถานะจำนวนเรือประมงที่แน่นอน ทั้งพื้นบ้านและพาณิชย์ จัดทำอัตลักษณ์และวัดขนาดเรือประมง พาณิชย์ทุกลำ สำรวจความมีอยู่จริงแก้ปัญหาสวมเรือ (จม/ผุพัง/ขายไปที่อื่น) ควบคุมเรือที่ไม่มีใบอนุญาต และเรือที่มีคดีไม่ให้ออกไปทำประมงทั้งในและนอกน่านน้ำ ลดผลกระทบด้วยการซื้อเรือคืน และลดจำนวนเรือด้วยการควบรวมเรือประมง
3.ด้านการติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง (MCS) มีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมและเฝ้าระวังการทำการประมง (FMC) จัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) 32 ศูนย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยปรับโครงสร้างของศูนย์ฯ และจำนวนเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับจำนวนเรือประมงที่แจ้งเข้าออก และจัดตั้งจุดตรวจเรือประมงส่วนหน้า (FIP) 19 ศูนย์ เพื่อเข้าไปสนับสนุนและประเมินผลการปฏิบัติ การติดระบบติดตามเรือประมง (VMS) ปัจจุบันมีผลบังคับให้เรือประมงพาณิชย์ (30 ตันกรอสขึ้นไป) และเรือสนับสนุนต่าง ๆ ต้องติด VMS ซึ่งได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
4.ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ปัจจุบันมีการจดทะเบียนท่าเทียบเรือทั้งหมด 1,063 ท่า เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการและจัดระบบทุกท่าเทียบเรือ โดยต้องผ่านการตรวจสุขอนามัยและมีเอกสารการกำกับการซื้อขายด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถติดตาม ตรวจสอบสอบผลิตภัณฑ์ย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ และเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสัตว์น้ำจากการทำประมง IUU ขึ้นท่า แปรรูป และส่งออกไปจากประเทศ
5.ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ได้เพิ่มประสิทธิภาพบังคับใช้กฎหมาย โดยประชุมหารือร่วมกันระหว่าง ตำรวจ อัยการ ศาล และตัวแทนจากสหรัฐฯ ซึ่งมีกรอบการทำงานที่ชัดเจนและรวดเร็ว โดยศาลอาญาได้ตั้งคณะผู้พิพากษาคดีประมงแยกเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำหนดเวลาพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
6.ด้านแรงงาน ดำเนินการการปรับปรุง พ.ร.ก. บริหารแรงงานต่างด้าว (คาดว่าบังคับใช้ในเดือน มิ.ย. 61) การเข้าเป็นภาคีต่าง ๆ ภายในปี 61 เช่น C29 (แรงงานบังคับ), C188 (ความปลอดภัยการทำงานในทะเล), ILO98 (ส่งเสริมการเจรจา ต่อรอง) มีการวางระบบตรวจสอบแรงงานที่ศูนย์ PIPO อย่างชัดเจน เช่น แรงงานที่เข้าออกต้องตรงกัน ทั้งจำนวนและตัวตน การจัดล่ามสัมภาษณ์แรงงาน เพื่อสืบสวนการเอารัดเอาเปรียบ พฤติกรรมบังคับแรงงาน การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก โดยแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรวมตัวของแรงงานประมงไทยและข้ามชาติ และมีการแถลงข่าวจัดตั้งสหภาพแรงงานลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ เป็นองค์กรลูกจ้างตามกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการรวมตัว คุ้มครองสิทธิ์ จากนั้น จะมีการประชุมด้านแรงงานระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (EU) ภายในเดือน พ.ค. 61

https://pmdu.soc.go.th/iuu/3920



แมวส้มบอกว่า EU เขารอให้เราแก้ไขก่อน

ปูบอกว่าเดี๋ยวดิฉันจัดให้ค่ะ ดิฉันจะออกมติครม.ให้นะ........จบนะ อียู


จบนะแมวส้ม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่