กลายเป็นประเด็นรายวันสำหรับสื่อบางฉบับที่ตามจิกข่าว การประมูลรถไฟความเร็วสูง ชนิดที่กัดไม่ปล่อย ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการเจรจา เป็นไปตามกรอบของ TOR
แต่สื่อบางฉบับก็ยังหยิบประเด็นมาบิดเบือนสร้างความสับสน ให้สังคมเกิดข้อกังขา สกัดกั้นโครงการเหมือนไม่อยากให้เกิด จนเกิดกระแสข่าว “ล้มประมูล”
ไม่ต้องอะไรมาก แค่ความหมายของคำว่า “สัมปทาน” กับ “รัฐร่วมลงทุนแบบ PPP” ยังตีความกันไปคนละเรื่องละราว จนกลายเป็นที่มาของวลี “รัฐเสียค่าโง่เอกชน”
วันก่อนได้ฟัง ดร.เสรี วงษ์มณฑา พูดในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง พูดถึงความแตกต่างของคำว่า สัมปทาน กับ PPP เป็นอะไรที่เข้าใจง่าย ไม่ลึกลับซับซ้อน แต่เหตุไฉนบางคนยังไม่เข้าใจสักที ผมได้ฟังแล้ว ขนาดไม่ค่อยได้ตามข่าวยังถึงบางอ้อเลยครับ
ดร.เสรี บอกว่า คำว่า สัมปทาน คือ การที่รัฐให้เอกชนทำโครงการใดโครงการหนึ่ง ในรูปแบบ BOT (Build-Operate –Transfer) คือเอกชนสร้าง ดำเนินการ แล้วส่งมอบให้รัฐเมื่อหมดอายุสัมปทาน โดยเอกชนการันตีว่าจะจ่ายผลตอบแทนรัฐในวงเงินเท่าไร ซึ่งการให้สัมปทานแบบนี้ เอกชนรับความเสี่ยงไปเต็ม ๆ ไม่ว่าจะกำไร หรือขาดทุน รัฐไม่สน เพราะได้รับเงินจากเอกชนตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งบ้านเรามีการให้สัมปทานในลักษณะนี้เยอะมาก
แต่การร่วมลงทุนในลักษณะ PPP เป็นของใหม่มากสำหรับบ้านเรา และดูเหมือนว่าจะใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการแรก
คำว่า PPP ในความหมายที่ ดร. เสรีให้ไว้ก็คือ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ....ทำไม? ถึงต้องเป็นการร่วมลงทุน
ก็เพราะรัฐบาลอยากทำโครงการใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้าทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน แต่ลำพังรัฐทำเองไม่ได้ เพราะต้องใช้เงินทุนมหาศาล ในขณะเดียวกันเอกชนก็อยากลงทุนทำ แต่ก็ไม่พร้อมที่จะเสี่ยง ทางออกคือ ร่วมลงทุนกับรัฐบาลที่เป็นเจ้าของโครงการ
ประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับคำว่า PPP : Public Private Partnership ก็คือ คำว่า Partnership ซึ่งการทำโครงการในรูปแบบนี้ เป็นการที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงปลงใจร่วมหัวจมท้าย ถ้าโครงการมีความเสี่ยงก็ต้องเสี่ยงด้วยกัน ขาดทุนก็ขาดทุนด้วยกัน มีกำไรก็กำไรร่วมกัน ทุกอย่างต้องแชร์กันไป
แต่ปรากฎว่า มีสื่อบางฉบับ นำเสนอข่าวบิดเบือน นำข้อมูลเนื้อหาของการเจรจาระหว่างการรถไฟมาเผยแพร่อย่างต่อเนื่องชนิดรายวัน ไม่เป็นประเด็นก็มาสร้างให้เกิดประเด็น แถมขยี้ซ้ำว่า ข้อเสนอที่เอกชนใช้ในการเจรจา ทำให้รัฐเสียเปรียบ ยอมไม่ได้ ถ้ารัฐยอม จะกลายเป็นเสียค่าโง่ให้เอกชน
ถ้าว่ากันตามความหมายและลักษณะการร่วมทุน PPP คงจะเป็นคำตอบได้อย่างดีว่า การเจรจาครั้งนี้ เป็นการเจรจาระหว่างผู้ร่วมทุน คือ การรถไฟ กับ ซีพี ซึ่งเป็นผู้ที่สอบผ่านการเสนอราคาต่ำกว่ากรอบที่ TOR กำหนด โดยให้รัฐบาลจ่ายน้อยที่สุดในการลงทุนครั้งนี้
แล้วที่เขาเจรจากันอยู่นี้ ไม่ว่าจะป็นเรื่อง อัตราผลตอบแทน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นเรื่องปกติของผู้ลงทุนร่วมกัน เพื่อให้โครงการได้รับผลประโยชน์เต็ม ๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะมาบอกว่าใครได้ใครเสีย
ออกมาปั่นกระแสกันผิด ๆ บิดเบือนกันรายวัน แถมเอาข้อมูลการเจรจามาเปิดเผยทั้ง ๆ ที่เป็นข้อมูลลับแบบนี้ นอกจากทำให้โครงการเกิดยากแล้ว รัฐบาลก็อาจะถูกต้องข้อสงสัยได้ว่า ออกมาปล่อยข่าว คู่แข่งอย่าง BSR ก็อาจจะถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังเกมนี้หรือเปล่า นักลงทุนที่เป็นพันธมิตร ก็เริ่มแหยง ๆ ธนาคารที่จะปล่อยกู้ก็ชักไม่แน่ใจว่าจะปล่อยกู้ดีมั้ย
ถ้าโครงการนี้ไม่เกิดจริง สุดท้าย ความซวยคงตกอยู่กับผู้บริโภค ตาดำ ๆ อย่างพวกเรา!!!!!
แค่สัมปทาน กับ PPP ยังแยกกันไม่ออก แล้วจะทำโครงการใหญ่ได้อย่างไร
แต่สื่อบางฉบับก็ยังหยิบประเด็นมาบิดเบือนสร้างความสับสน ให้สังคมเกิดข้อกังขา สกัดกั้นโครงการเหมือนไม่อยากให้เกิด จนเกิดกระแสข่าว “ล้มประมูล”
ไม่ต้องอะไรมาก แค่ความหมายของคำว่า “สัมปทาน” กับ “รัฐร่วมลงทุนแบบ PPP” ยังตีความกันไปคนละเรื่องละราว จนกลายเป็นที่มาของวลี “รัฐเสียค่าโง่เอกชน”
วันก่อนได้ฟัง ดร.เสรี วงษ์มณฑา พูดในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง พูดถึงความแตกต่างของคำว่า สัมปทาน กับ PPP เป็นอะไรที่เข้าใจง่าย ไม่ลึกลับซับซ้อน แต่เหตุไฉนบางคนยังไม่เข้าใจสักที ผมได้ฟังแล้ว ขนาดไม่ค่อยได้ตามข่าวยังถึงบางอ้อเลยครับ
ดร.เสรี บอกว่า คำว่า สัมปทาน คือ การที่รัฐให้เอกชนทำโครงการใดโครงการหนึ่ง ในรูปแบบ BOT (Build-Operate –Transfer) คือเอกชนสร้าง ดำเนินการ แล้วส่งมอบให้รัฐเมื่อหมดอายุสัมปทาน โดยเอกชนการันตีว่าจะจ่ายผลตอบแทนรัฐในวงเงินเท่าไร ซึ่งการให้สัมปทานแบบนี้ เอกชนรับความเสี่ยงไปเต็ม ๆ ไม่ว่าจะกำไร หรือขาดทุน รัฐไม่สน เพราะได้รับเงินจากเอกชนตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งบ้านเรามีการให้สัมปทานในลักษณะนี้เยอะมาก
แต่การร่วมลงทุนในลักษณะ PPP เป็นของใหม่มากสำหรับบ้านเรา และดูเหมือนว่าจะใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการแรก
คำว่า PPP ในความหมายที่ ดร. เสรีให้ไว้ก็คือ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ....ทำไม? ถึงต้องเป็นการร่วมลงทุน
ก็เพราะรัฐบาลอยากทำโครงการใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้าทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน แต่ลำพังรัฐทำเองไม่ได้ เพราะต้องใช้เงินทุนมหาศาล ในขณะเดียวกันเอกชนก็อยากลงทุนทำ แต่ก็ไม่พร้อมที่จะเสี่ยง ทางออกคือ ร่วมลงทุนกับรัฐบาลที่เป็นเจ้าของโครงการ
ประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับคำว่า PPP : Public Private Partnership ก็คือ คำว่า Partnership ซึ่งการทำโครงการในรูปแบบนี้ เป็นการที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงปลงใจร่วมหัวจมท้าย ถ้าโครงการมีความเสี่ยงก็ต้องเสี่ยงด้วยกัน ขาดทุนก็ขาดทุนด้วยกัน มีกำไรก็กำไรร่วมกัน ทุกอย่างต้องแชร์กันไป
แต่ปรากฎว่า มีสื่อบางฉบับ นำเสนอข่าวบิดเบือน นำข้อมูลเนื้อหาของการเจรจาระหว่างการรถไฟมาเผยแพร่อย่างต่อเนื่องชนิดรายวัน ไม่เป็นประเด็นก็มาสร้างให้เกิดประเด็น แถมขยี้ซ้ำว่า ข้อเสนอที่เอกชนใช้ในการเจรจา ทำให้รัฐเสียเปรียบ ยอมไม่ได้ ถ้ารัฐยอม จะกลายเป็นเสียค่าโง่ให้เอกชน
ถ้าว่ากันตามความหมายและลักษณะการร่วมทุน PPP คงจะเป็นคำตอบได้อย่างดีว่า การเจรจาครั้งนี้ เป็นการเจรจาระหว่างผู้ร่วมทุน คือ การรถไฟ กับ ซีพี ซึ่งเป็นผู้ที่สอบผ่านการเสนอราคาต่ำกว่ากรอบที่ TOR กำหนด โดยให้รัฐบาลจ่ายน้อยที่สุดในการลงทุนครั้งนี้
แล้วที่เขาเจรจากันอยู่นี้ ไม่ว่าจะป็นเรื่อง อัตราผลตอบแทน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นเรื่องปกติของผู้ลงทุนร่วมกัน เพื่อให้โครงการได้รับผลประโยชน์เต็ม ๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะมาบอกว่าใครได้ใครเสีย
ออกมาปั่นกระแสกันผิด ๆ บิดเบือนกันรายวัน แถมเอาข้อมูลการเจรจามาเปิดเผยทั้ง ๆ ที่เป็นข้อมูลลับแบบนี้ นอกจากทำให้โครงการเกิดยากแล้ว รัฐบาลก็อาจะถูกต้องข้อสงสัยได้ว่า ออกมาปล่อยข่าว คู่แข่งอย่าง BSR ก็อาจจะถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังเกมนี้หรือเปล่า นักลงทุนที่เป็นพันธมิตร ก็เริ่มแหยง ๆ ธนาคารที่จะปล่อยกู้ก็ชักไม่แน่ใจว่าจะปล่อยกู้ดีมั้ย
ถ้าโครงการนี้ไม่เกิดจริง สุดท้าย ความซวยคงตกอยู่กับผู้บริโภค ตาดำ ๆ อย่างพวกเรา!!!!!