แผนการเงินรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ยันกู้จีน20% ที่เหลือกู้ในประเทศ!!!
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า การกู้เงินจากจีนโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ได้ผ่านการวิเคราะห์จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้วว่า จะเกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
สำหรับเรื่องความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของประเทศไทยยืนยันว่า โครงการนี้ใช้แหล่งเงินทุนในประเทศ 80% และจะใช้เงินกู้ต่างประเทศสำหรับรายการที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศและใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศเพียง 20% ของวงเงินโครงการ ภายใต้เงื่อนไขเช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำ อายุเงินกู้ยาว ไม่มีข้อผูกมัดที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบ
ครั้งก่อน จีนเสนอจะให้เงินกู้ในวงเงินของสัญญา2.3 (งานราง อาณัติสัญญาณและขบวนรถ) ประมาณ4หมื่นล้าน แต่กำหนดดอกมาสูง คือ3% คณะทำงานก็เลยกำลังเจรจาขอลดดอก ถ้าลดได้ก็จะใช้เงินกู้จีน 4 หมื่นล้านสำหรับสัญญา2.3 ส่วนงานโยธา1.4แสนล้าน ก็ใช้เงินกู้ในประเทศเหมือนเดิม ถ้าลดไม่ได้ก็กู้ในประเทศทั้งหมดตามเดิม มติครม.ก็เลยออกมาใหม่ เพื่อรองรับในกรณีที่จีนยอมลดดอกตามที่ไทยเสนอ ซึ่งจีนได้เสนออัตราดอกมาใหม่ตามที่เสนอมาคือ 2.3% โดย China Exim Bank
สรุป ตอนแรกเราจะกู้ในประเทศทั้งก้อน แต่ตอนนี้มติครม.ให้คลังหาแหล่งเงินจากนอกประเทศผสมได้ด้วย เพราะรูปแบบโครงการเปลี่ยนไป เพราะอะไรน่ะเหรอ??
โดยแต่เดิมนั้นมีแนวทางกู้ในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่กระแสและการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน ธนาคารได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย ถ้ากู้ในประเทศบวกค่าบริหารจัดการแล้ว ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 2.86% และในอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศนั้นถูกกว่าของเรา
ในส่วนของสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ไทย-จีน มีการแบ่งเป็นช่วงๆ ในส่วนของเฟส1 ทางโครงการได้แบ่งแนวเส้นทางเป็นสัญญาก่อสร้าง 14 สัญญา
สำหรับสัญญาแรก 3.5 กม. นั้นดำเนินก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ มีความล่าช้า มาจากการที่ฝ่ายจีนมีการตรวจสอบงานด้านวิศวกรรมทุกขั้นตอนค่อนข้างละเอียด ต้องยอมรับว่าไทยไม่เคยมีประสบการณ์ทำรถไฟความเร็วสูงมาก่อน งานถมคันทาง 3.5 กม.ที่ทางหลวงรับผิดชอบจึงไม่ใช่การทำคันทางธรรมดา แต่ต้องเป็นคันทางมีความแข็งแรงสูงกว่าปกติ สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ การที่คันทางทรุดตัวเพียง 1 ซม.ก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้แล้ว
ดังนั้น ทางจีนจึงต้องคุมงานอย่างเคร่งครัด แถมยังมีปัญหาเฉพาะด้าน ทั้งฝ่ายจีนและไทย ต้องมาศึกษาร่วมกันอีกเพราะฝ่ายไทย ใช้บริษัทก่อสร้างไทย ใช้คนงานไทย ใช้วัสดุไทย ก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์เท่าไหร่ และฝ่ายจีนเขียนแบบออกแบบมาไม่ตรงกับความต้องการของฝ่ายไทยบ่อยๆ จนต้องปรับแบบใหม่บ่อยมาก และจีนไม่ถนัดกับการวางแผนงานโดยใช้วัสดุไทย และคนงานไทย ทำให้ต้องทำBOQกันแบบมึนๆงงๆสับสนกันไปทั้งสองฝ่าย ทำให้งานล่าช้า
แต่ก็เพื่อลดปัญหาการแบ่งผลประโยชน์กับจีนและลดความวุ่นวายในการบริหารในอนาคต จีนเป็นเพียงแค่ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา และต่อรถขายให้เรา และมีการปรับรายละเอียดโครงการหลายอย่าง เช่น จากเดิมจีนจะเดินรถ 3ปี เปลี่ยนมาเป็น ไทยเดินรถและซ่อมบำรุงเองตั้งแต่วันแรกที่เดินรถ เปลี่ยนจากใช้หินโรยทางตลอดแนวเส้นทาง มาเป็นไม่ใช้หินโรยทางในบางช่วงเพื่อลดค่าซ่อมบำรุงในระยะยาว ฯลฯ ก.คลัง ก็เลยคิดว่ากู้ในประเทศให้หมดไปเลย จะได้ไม่ต้องไปเจรจาเรื่องดอกเบี้ยกับจีน เพราะจีนไม่ได้ประโยชน์โดยตรงจากโครงการนี้แล้ว คาดว่าไม่มีทางที่เขาจะให้ดอกต่ำแน่นอน
แต่ก็ผลออกมาในการเจราจาครั้งล่าสุด ธนาคาร China Exim Bank เสนอดอกเบี้ยที่2.3% และเรารับพิจารณา สำหรับการกู้เงินในส่วนสัญญา2.3 ที่เป็นงานเกี่ยวกับระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟ ซึ่งเป็นผลดี อธิบายง่ายๆ เรากู้เป็นเงินหยวน เพื่อนำไปซื้อสินค้าจีนที่เป็นเงินหยวน ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลามานั่งแปลราคา ค่าเงิน และอัตราผันผวน
ทั้งนี้ ทางฝ่ายไทยได้คำนึงถึงกรอบการบริหารหนี้สาธารณะภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 2.03 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2561 ซึ่งยังปลอดภัยอยู่มากในการกู้เงินต่างประเทศในครั้งนี้…
และขอกล่าวว่า ถ้าหากเราต้องการกู้จากต่างประเทศในครั้งนี้ เราจะไม่ประสบปัญหาเหมือนคราวปี40 เหมือนที่หลายๆคนกลัวอย่างแน่นอน เพราะฝ่ายการเงิน และคลัง ของไทยเรามีบทเรียนครั้งใหญ่มาแล้ว ในตอนนี้หนี้สาธารณะเราอยู่ที่41% ของGDP และแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่เรื่อยๆตลอดช่วงเริ่มปีใหม่2562ที่ผ่านมานี้ล่าสุดอยู่ในกรอบ31.50-31.90 Baht : 1 Dollar USD พร้อมด้วยเงินสำรองที่มีมากเป็นอันดับ12ของโลก ทำให้มีความปลอดภัยและเครดิสสูงมาก ด้วยโครงการระดับนี้ที่เป็นแบบ G to G มักต้องการทำให้มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ โดยสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่((Fixed Rate) และรวมไปถึงการคำนวนอัตราผันผวนของค่าเงินและอัตราเงินเฟ้อในอนาคต เช่นกัน โดยสามารถระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ ซึ่งกรณีต่างๆที่เป็นรายละเอียดยิบย่อยนี้ เราต้องมาติดตามกันอย่างใกล้ชิดติดขอบรางกันล่ะ….
แผนการเงินรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ยันกู้จีน20% ที่เหลือกู้ในประเทศ จีนก็จีนเถอะ
แผนการเงินรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ยันกู้จีน20% ที่เหลือกู้ในประเทศ!!!
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า การกู้เงินจากจีนโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ได้ผ่านการวิเคราะห์จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้วว่า จะเกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
สำหรับเรื่องความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ของประเทศไทยยืนยันว่า โครงการนี้ใช้แหล่งเงินทุนในประเทศ 80% และจะใช้เงินกู้ต่างประเทศสำหรับรายการที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศและใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศเพียง 20% ของวงเงินโครงการ ภายใต้เงื่อนไขเช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำ อายุเงินกู้ยาว ไม่มีข้อผูกมัดที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบ
ครั้งก่อน จีนเสนอจะให้เงินกู้ในวงเงินของสัญญา2.3 (งานราง อาณัติสัญญาณและขบวนรถ) ประมาณ4หมื่นล้าน แต่กำหนดดอกมาสูง คือ3% คณะทำงานก็เลยกำลังเจรจาขอลดดอก ถ้าลดได้ก็จะใช้เงินกู้จีน 4 หมื่นล้านสำหรับสัญญา2.3 ส่วนงานโยธา1.4แสนล้าน ก็ใช้เงินกู้ในประเทศเหมือนเดิม ถ้าลดไม่ได้ก็กู้ในประเทศทั้งหมดตามเดิม มติครม.ก็เลยออกมาใหม่ เพื่อรองรับในกรณีที่จีนยอมลดดอกตามที่ไทยเสนอ ซึ่งจีนได้เสนออัตราดอกมาใหม่ตามที่เสนอมาคือ 2.3% โดย China Exim Bank
สรุป ตอนแรกเราจะกู้ในประเทศทั้งก้อน แต่ตอนนี้มติครม.ให้คลังหาแหล่งเงินจากนอกประเทศผสมได้ด้วย เพราะรูปแบบโครงการเปลี่ยนไป เพราะอะไรน่ะเหรอ??
โดยแต่เดิมนั้นมีแนวทางกู้ในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่กระแสและการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน ธนาคารได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย ถ้ากู้ในประเทศบวกค่าบริหารจัดการแล้ว ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 2.86% และในอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศนั้นถูกกว่าของเรา
ในส่วนของสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ไทย-จีน มีการแบ่งเป็นช่วงๆ ในส่วนของเฟส1 ทางโครงการได้แบ่งแนวเส้นทางเป็นสัญญาก่อสร้าง 14 สัญญา
สำหรับสัญญาแรก 3.5 กม. นั้นดำเนินก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ มีความล่าช้า มาจากการที่ฝ่ายจีนมีการตรวจสอบงานด้านวิศวกรรมทุกขั้นตอนค่อนข้างละเอียด ต้องยอมรับว่าไทยไม่เคยมีประสบการณ์ทำรถไฟความเร็วสูงมาก่อน งานถมคันทาง 3.5 กม.ที่ทางหลวงรับผิดชอบจึงไม่ใช่การทำคันทางธรรมดา แต่ต้องเป็นคันทางมีความแข็งแรงสูงกว่าปกติ สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ การที่คันทางทรุดตัวเพียง 1 ซม.ก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้แล้ว
ดังนั้น ทางจีนจึงต้องคุมงานอย่างเคร่งครัด แถมยังมีปัญหาเฉพาะด้าน ทั้งฝ่ายจีนและไทย ต้องมาศึกษาร่วมกันอีกเพราะฝ่ายไทย ใช้บริษัทก่อสร้างไทย ใช้คนงานไทย ใช้วัสดุไทย ก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์เท่าไหร่ และฝ่ายจีนเขียนแบบออกแบบมาไม่ตรงกับความต้องการของฝ่ายไทยบ่อยๆ จนต้องปรับแบบใหม่บ่อยมาก และจีนไม่ถนัดกับการวางแผนงานโดยใช้วัสดุไทย และคนงานไทย ทำให้ต้องทำBOQกันแบบมึนๆงงๆสับสนกันไปทั้งสองฝ่าย ทำให้งานล่าช้า
แต่ก็เพื่อลดปัญหาการแบ่งผลประโยชน์กับจีนและลดความวุ่นวายในการบริหารในอนาคต จีนเป็นเพียงแค่ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา และต่อรถขายให้เรา และมีการปรับรายละเอียดโครงการหลายอย่าง เช่น จากเดิมจีนจะเดินรถ 3ปี เปลี่ยนมาเป็น ไทยเดินรถและซ่อมบำรุงเองตั้งแต่วันแรกที่เดินรถ เปลี่ยนจากใช้หินโรยทางตลอดแนวเส้นทาง มาเป็นไม่ใช้หินโรยทางในบางช่วงเพื่อลดค่าซ่อมบำรุงในระยะยาว ฯลฯ ก.คลัง ก็เลยคิดว่ากู้ในประเทศให้หมดไปเลย จะได้ไม่ต้องไปเจรจาเรื่องดอกเบี้ยกับจีน เพราะจีนไม่ได้ประโยชน์โดยตรงจากโครงการนี้แล้ว คาดว่าไม่มีทางที่เขาจะให้ดอกต่ำแน่นอน
แต่ก็ผลออกมาในการเจราจาครั้งล่าสุด ธนาคาร China Exim Bank เสนอดอกเบี้ยที่2.3% และเรารับพิจารณา สำหรับการกู้เงินในส่วนสัญญา2.3 ที่เป็นงานเกี่ยวกับระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟ ซึ่งเป็นผลดี อธิบายง่ายๆ เรากู้เป็นเงินหยวน เพื่อนำไปซื้อสินค้าจีนที่เป็นเงินหยวน ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลามานั่งแปลราคา ค่าเงิน และอัตราผันผวน
ทั้งนี้ ทางฝ่ายไทยได้คำนึงถึงกรอบการบริหารหนี้สาธารณะภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 2.03 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2561 ซึ่งยังปลอดภัยอยู่มากในการกู้เงินต่างประเทศในครั้งนี้…
และขอกล่าวว่า ถ้าหากเราต้องการกู้จากต่างประเทศในครั้งนี้ เราจะไม่ประสบปัญหาเหมือนคราวปี40 เหมือนที่หลายๆคนกลัวอย่างแน่นอน เพราะฝ่ายการเงิน และคลัง ของไทยเรามีบทเรียนครั้งใหญ่มาแล้ว ในตอนนี้หนี้สาธารณะเราอยู่ที่41% ของGDP และแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่เรื่อยๆตลอดช่วงเริ่มปีใหม่2562ที่ผ่านมานี้ล่าสุดอยู่ในกรอบ31.50-31.90 Baht : 1 Dollar USD พร้อมด้วยเงินสำรองที่มีมากเป็นอันดับ12ของโลก ทำให้มีความปลอดภัยและเครดิสสูงมาก ด้วยโครงการระดับนี้ที่เป็นแบบ G to G มักต้องการทำให้มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ โดยสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่((Fixed Rate) และรวมไปถึงการคำนวนอัตราผันผวนของค่าเงินและอัตราเงินเฟ้อในอนาคต เช่นกัน โดยสามารถระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ ซึ่งกรณีต่างๆที่เป็นรายละเอียดยิบย่อยนี้ เราต้องมาติดตามกันอย่างใกล้ชิดติดขอบรางกันล่ะ….