มีใครเคยรู้สึกเหมือนผมไหมครับ ... ???
..... ไม่นานมานี้ ผมได้อ่านข่าวเกี่ยวกับกรณีที่เยาวชนไทย อายุเพียง 16 ปี ก่อเหตุฆาตกรรมวินมอเตอร์ไซค์อย่างทารุณโหดร้าย โดยการแทงด้วยของมีคมมากถึง 25 ครั้ง โดยที่ก่อนหน้านั้นเพียง 4 ปี เยาวชนคนดังกล่าวเคยก่อเหตุฆาตกรรมไปแล้วเมื่ออายุเพียง 12 ปีเท่านั้น ด้วยการก่อเหตุครั้งแรกนี้เยาวชนผู้นั้นได้รับโทษอย่างไรคงไม่มีใครตอบได้ เนื่องด้วยกฎหมายไม่อาจใช้กระบวนการลงโทษกับ “เยาวชน” ได้อย่างผู้กระทำผิดทั่วไป ทำให้กระบวนการลงโทษซึ่งควรจะช่วยบำบัดผู้กระทะผิดถูกใช้กับเยาวชนผู้นี้เพียงน้อยนิด ผ่านวิธีการที่ถูกเรียกว่า “วิธีการสำหรับเด็ก” ...
..... ระยะเวลาเพียง 4 ปีที่ผ่านไป ด้วยการใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” ประมาณ 2 ปีเศษ และเมื่อเยาวชนคนดังกล่าวพ้นโทษออกมาและเพียง 1 ปีเศษ ก็ได้ก่อเหตุซ้ำตามข่าวซึ่งผมได้กล่าวมาในข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการบำบัดที่ใช้กับ “เยาวชน” ผู้นี้ ดูจะเป็นกระบวนการที่ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ...
..... และในครั้งนี้ยังคงดูเหมือนว่าภาพอดีตจะย้อนกลับมาฉายอีกครั้ง เพราะกฎหมายได้กำหนดวิธีการลงโทษที่ใช้สำหรับเด็กที่มีอายุกว่า 15 แต่ไม่เกิน 18 ปีไว้ โดยศาลอาจใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” เช่นเดิม หรืออาจใช้การ “ลงโทษ” ซึ่งแม้ศาลจะมีดุลพินิจใช้การลงโทษ แต่กฎหมายยังคงกำหนดให้การลงโทษนั้นต้อง “ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง” จากอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น นั่นทำให้แม้ความผิดที่เยาวชนดังกล่าวกระทำจะรุนแรงเพียงใด หรือแม้จะมีลักษณะของการกระทำที่โหดเหี้ยมเพียงใด ก็สามารถลงโทษแก่เขาได้เพียง “จำคุก” ไม่เกิน 25 ปีเท่านั้น ...
..... และเช่นเคย ... ต้องไม่ลืมว่า “การรับสารภาพ” ยังคงช่วยบรรเทาโทษได้อยู่เสมอ ...
..... หากลองคิดดูแล้ว อายุ 16 ปี รวมกับการได้รับโทษ 25 ปี ซึ่งแน่นอนว่าความจริงคงไม่นานขนาดนั้น แต่เอาเถอะครับ แม้อัตราโทษสูงสุดที่เป็นไปได้จะถูกลงแก่เยาวชนผู้นี้ แต่อย่างไรก็ตามเขาย่อมพ้นโทษโดยมีอายุไม่เกิน 41 ปี ซึ่งยังคงเป็นช่วงวัยที่สามารถก่อเหตุทำนองเดียวกันได้อีกครั้งหากกระบวนการบำบัดที่ถูกใช้กับเขานั้น “ล้มเหลวซ้ำซาก” ผมได้แต่ภาวนาให้เขาได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นแล้วเราทุกคนอาจได้อ่านข่าวในทำนองเดียวกันนี้ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปได้ว่านั่นอาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย และมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเกิดขึ้น ...
..... แล้วเราจะต้องพบเจอกับเรื่องแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน ??? หรือรุ่นลูก หลาน เหลน ของพวกเรา จะยังคงได้รับประสบการณ์เช่นเดียวกับเราไปรุ่นต่อรุ่น ??? ผมเองก็ไม่สามารถตอบได้ และนั่นคงเป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่าหลายคนยังคงตั้งคำถาม และยังกังวลอยู่ไม่น้อย แน่นอนรวมถึงผมเองด้วย ...
..... จนถึงตอนนี้ผมยังคงคิด ยังคงตั้งคำถาม “เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?”
— แก้กฎหมายให้ลงโทษหนักขึ้น >> ผู้ร้ายกลัวถูกจับ แต่ไม่กลัวความผิด นำไปสู่การกระทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ต้องรับโทษ ... ฆาตกรรมอำพราง ???
— ส่งเสริมการลงโทษประหารชีวิต >> นักสิทธิมนุษยชน และกลุ่มขับเคลื่อนทางความคิดเริ่มต่อต้าน ... ความขัดแย้งของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ???
— แก้กฎหมายให้ลงโทษเบาลงอย่างประเทศที่เจริญแล้ว >> ... ผมว่าคุณเองคงตอบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
..... ลองคิดดูครับ .....
..... ผมเองยังคงมองไม่เห็นหนทางในการแก้ปัญหาที่ “ปลายเหตุ” และหากจะนึกย้อนกลับไปถึง “ต้นเหตุ” ของปัญหา แม้ผมจะคิดเห็นเป็นการส่วนตัวว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจาก “สภาพสังคมและความเป็นอยู่” ที่เยาวชนเติบโตมา รวมถึง “การอบรมสั่งสอน” จาก “ครอบครัว” ซึ่งเป็นสถาบันแรกของมนุษย์ที่อบรมบ่มนิสัยให้เรากลายเป็นเราในทุกวันนี้ แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ทางออก ...
..... นั่นทำให้ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ที่ใครสักคน หรือคนสักกลุ่ม จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในจุดเล็กๆ แต่เป็นจุดที่สำคัญนี้ได้ แม้การแก้ปัญหาเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ขาดแคลน จะพยายามมีบทบาทในการแก้ปัญหา แต่จากระยะเวลาที่ผ่านมา หลายคนคงรับรู้ได้ว่านั่นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม งบประมาณที่สูญเสียไปถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า เม็ดเงินจำนวนมากสูญหายไปจากการคอรัปชั่นไล่ลงไปตั้งแต่ระดับใหญ่จนถึงระดับล่าง หลักการคล้ายกับเมื่อคุณเทน้ำผ่านสำลีหลายชั้น กว่ามันจะหยดลงสู่เบื้องล่างก็แทบไม่เหลือน้ำแล้ว ...
..... เราจะทำอย่างไรกันต่อไป ???
..... การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นเช่นไร ???
..... แล้วเราจะได้อยู่ในสังคมที่ปลอดภัยจากอาชญากรเมื่อไหร่ ??? ผมตอบไม่ได้ ...
..... สิ่งที่น่าสงสัยกับการแก้ปัญหานี้คือ “บทเรียน” ที่เราจะได้จากมันคืออะไร ทำไมเราถึงยังแก้ปัญหาไม่ได้ หรือเป็นเพราะเราไม่เคยแก้ปัญหาได้เลยแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ... ทุกวันนี้ยังคงมีรถแต่งไฟผิดกฎหมาย ท่อดังเกินกำหนด ขับขี่ในลักษณะอันตราย รวมทั้งการพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ จนก่อเหตุอย่างที่เราเห็นเป็นข่าวกันอยู่เมื่อไม่นานมานี้ หรือแม้แต่ปัญหามอเตอร์ไซค์ขับบนทางเท้า รถเมล์วิ่งย้อนศร รถยนต์จอดในที่ห้ามจอด ฝ่าสัญญาณไฟจราจร และการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเรื่องที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรงจนเราอาจมองข้ามไป อย่างการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และแน่นอนว่ารวมถึงเรื่องที่ร้ายแรงกว่า อย่างปัญหายาเสพติด ...
..... นั่นดูเหมือนเรายังคงอยู่ในสังคมที่การกระทำฝ่าฝืนกฎหมายกลับกลายเป็นสิ่งที่คนจำพวกหนึ่งเป็นผู้กระทำ โดยมีคนบางกลุ่มคอยสนับสนุน ประกอบกับผู้มีอำนาจที่นิ่งเฉย ส่งผลให้มีผู้บริสุทธิ์อีกมากมายต้องก้มหน้ายอมรับชะตากรรม และส่วนหนึ่งในนั้นยังคงกระทำเหมือนไม่ตระหนักถึงปัญหา โดยมองว่าเป็นเรื่องที่ยังห่างไกล ... วังวนที่มองไม่เห็นทางแก้ไข เหมือนเขาวงกตที่ไม่มีทางออก ... สังคมที่เต็มไปด้วยอาชญากร กับการก่ออาชญากรรมที่เหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ...
ผมรู้สึกท้อเหลือเกิน .....
รู้สึกท้อกับการต้องอยู่ในสังคมไทยที่อาชญากรรมเต็มเมืองและอาชญากรยังคงเกลื่อนเมืองโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย
..... ไม่นานมานี้ ผมได้อ่านข่าวเกี่ยวกับกรณีที่เยาวชนไทย อายุเพียง 16 ปี ก่อเหตุฆาตกรรมวินมอเตอร์ไซค์อย่างทารุณโหดร้าย โดยการแทงด้วยของมีคมมากถึง 25 ครั้ง โดยที่ก่อนหน้านั้นเพียง 4 ปี เยาวชนคนดังกล่าวเคยก่อเหตุฆาตกรรมไปแล้วเมื่ออายุเพียง 12 ปีเท่านั้น ด้วยการก่อเหตุครั้งแรกนี้เยาวชนผู้นั้นได้รับโทษอย่างไรคงไม่มีใครตอบได้ เนื่องด้วยกฎหมายไม่อาจใช้กระบวนการลงโทษกับ “เยาวชน” ได้อย่างผู้กระทำผิดทั่วไป ทำให้กระบวนการลงโทษซึ่งควรจะช่วยบำบัดผู้กระทะผิดถูกใช้กับเยาวชนผู้นี้เพียงน้อยนิด ผ่านวิธีการที่ถูกเรียกว่า “วิธีการสำหรับเด็ก” ...
..... ระยะเวลาเพียง 4 ปีที่ผ่านไป ด้วยการใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” ประมาณ 2 ปีเศษ และเมื่อเยาวชนคนดังกล่าวพ้นโทษออกมาและเพียง 1 ปีเศษ ก็ได้ก่อเหตุซ้ำตามข่าวซึ่งผมได้กล่าวมาในข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการบำบัดที่ใช้กับ “เยาวชน” ผู้นี้ ดูจะเป็นกระบวนการที่ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ...
..... และในครั้งนี้ยังคงดูเหมือนว่าภาพอดีตจะย้อนกลับมาฉายอีกครั้ง เพราะกฎหมายได้กำหนดวิธีการลงโทษที่ใช้สำหรับเด็กที่มีอายุกว่า 15 แต่ไม่เกิน 18 ปีไว้ โดยศาลอาจใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” เช่นเดิม หรืออาจใช้การ “ลงโทษ” ซึ่งแม้ศาลจะมีดุลพินิจใช้การลงโทษ แต่กฎหมายยังคงกำหนดให้การลงโทษนั้นต้อง “ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง” จากอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น นั่นทำให้แม้ความผิดที่เยาวชนดังกล่าวกระทำจะรุนแรงเพียงใด หรือแม้จะมีลักษณะของการกระทำที่โหดเหี้ยมเพียงใด ก็สามารถลงโทษแก่เขาได้เพียง “จำคุก” ไม่เกิน 25 ปีเท่านั้น ...
..... และเช่นเคย ... ต้องไม่ลืมว่า “การรับสารภาพ” ยังคงช่วยบรรเทาโทษได้อยู่เสมอ ...
..... หากลองคิดดูแล้ว อายุ 16 ปี รวมกับการได้รับโทษ 25 ปี ซึ่งแน่นอนว่าความจริงคงไม่นานขนาดนั้น แต่เอาเถอะครับ แม้อัตราโทษสูงสุดที่เป็นไปได้จะถูกลงแก่เยาวชนผู้นี้ แต่อย่างไรก็ตามเขาย่อมพ้นโทษโดยมีอายุไม่เกิน 41 ปี ซึ่งยังคงเป็นช่วงวัยที่สามารถก่อเหตุทำนองเดียวกันได้อีกครั้งหากกระบวนการบำบัดที่ถูกใช้กับเขานั้น “ล้มเหลวซ้ำซาก” ผมได้แต่ภาวนาให้เขาได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นแล้วเราทุกคนอาจได้อ่านข่าวในทำนองเดียวกันนี้ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปได้ว่านั่นอาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย และมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเกิดขึ้น ...
..... แล้วเราจะต้องพบเจอกับเรื่องแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน ??? หรือรุ่นลูก หลาน เหลน ของพวกเรา จะยังคงได้รับประสบการณ์เช่นเดียวกับเราไปรุ่นต่อรุ่น ??? ผมเองก็ไม่สามารถตอบได้ และนั่นคงเป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่าหลายคนยังคงตั้งคำถาม และยังกังวลอยู่ไม่น้อย แน่นอนรวมถึงผมเองด้วย ...
..... จนถึงตอนนี้ผมยังคงคิด ยังคงตั้งคำถาม “เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?”
— แก้กฎหมายให้ลงโทษหนักขึ้น >> ผู้ร้ายกลัวถูกจับ แต่ไม่กลัวความผิด นำไปสู่การกระทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ต้องรับโทษ ... ฆาตกรรมอำพราง ???
— ส่งเสริมการลงโทษประหารชีวิต >> นักสิทธิมนุษยชน และกลุ่มขับเคลื่อนทางความคิดเริ่มต่อต้าน ... ความขัดแย้งของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ???
— แก้กฎหมายให้ลงโทษเบาลงอย่างประเทศที่เจริญแล้ว >> ... ผมว่าคุณเองคงตอบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
..... ลองคิดดูครับ .....
..... ผมเองยังคงมองไม่เห็นหนทางในการแก้ปัญหาที่ “ปลายเหตุ” และหากจะนึกย้อนกลับไปถึง “ต้นเหตุ” ของปัญหา แม้ผมจะคิดเห็นเป็นการส่วนตัวว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจาก “สภาพสังคมและความเป็นอยู่” ที่เยาวชนเติบโตมา รวมถึง “การอบรมสั่งสอน” จาก “ครอบครัว” ซึ่งเป็นสถาบันแรกของมนุษย์ที่อบรมบ่มนิสัยให้เรากลายเป็นเราในทุกวันนี้ แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ทางออก ...
..... นั่นทำให้ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ที่ใครสักคน หรือคนสักกลุ่ม จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในจุดเล็กๆ แต่เป็นจุดที่สำคัญนี้ได้ แม้การแก้ปัญหาเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ขาดแคลน จะพยายามมีบทบาทในการแก้ปัญหา แต่จากระยะเวลาที่ผ่านมา หลายคนคงรับรู้ได้ว่านั่นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม งบประมาณที่สูญเสียไปถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า เม็ดเงินจำนวนมากสูญหายไปจากการคอรัปชั่นไล่ลงไปตั้งแต่ระดับใหญ่จนถึงระดับล่าง หลักการคล้ายกับเมื่อคุณเทน้ำผ่านสำลีหลายชั้น กว่ามันจะหยดลงสู่เบื้องล่างก็แทบไม่เหลือน้ำแล้ว ...
..... เราจะทำอย่างไรกันต่อไป ???
..... การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นเช่นไร ???
..... แล้วเราจะได้อยู่ในสังคมที่ปลอดภัยจากอาชญากรเมื่อไหร่ ??? ผมตอบไม่ได้ ...
..... สิ่งที่น่าสงสัยกับการแก้ปัญหานี้คือ “บทเรียน” ที่เราจะได้จากมันคืออะไร ทำไมเราถึงยังแก้ปัญหาไม่ได้ หรือเป็นเพราะเราไม่เคยแก้ปัญหาได้เลยแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ... ทุกวันนี้ยังคงมีรถแต่งไฟผิดกฎหมาย ท่อดังเกินกำหนด ขับขี่ในลักษณะอันตราย รวมทั้งการพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ จนก่อเหตุอย่างที่เราเห็นเป็นข่าวกันอยู่เมื่อไม่นานมานี้ หรือแม้แต่ปัญหามอเตอร์ไซค์ขับบนทางเท้า รถเมล์วิ่งย้อนศร รถยนต์จอดในที่ห้ามจอด ฝ่าสัญญาณไฟจราจร และการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเรื่องที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรงจนเราอาจมองข้ามไป อย่างการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และแน่นอนว่ารวมถึงเรื่องที่ร้ายแรงกว่า อย่างปัญหายาเสพติด ...
..... นั่นดูเหมือนเรายังคงอยู่ในสังคมที่การกระทำฝ่าฝืนกฎหมายกลับกลายเป็นสิ่งที่คนจำพวกหนึ่งเป็นผู้กระทำ โดยมีคนบางกลุ่มคอยสนับสนุน ประกอบกับผู้มีอำนาจที่นิ่งเฉย ส่งผลให้มีผู้บริสุทธิ์อีกมากมายต้องก้มหน้ายอมรับชะตากรรม และส่วนหนึ่งในนั้นยังคงกระทำเหมือนไม่ตระหนักถึงปัญหา โดยมองว่าเป็นเรื่องที่ยังห่างไกล ... วังวนที่มองไม่เห็นทางแก้ไข เหมือนเขาวงกตที่ไม่มีทางออก ... สังคมที่เต็มไปด้วยอาชญากร กับการก่ออาชญากรรมที่เหมือนจะเป็นเรื่องปกติ ...
ผมรู้สึกท้อเหลือเกิน .....