ไม่ควรไล่ นศ.แพทย์ วิศวะ ทันตแพทย์ 51คน โกงข้อสอบนายสิบ ออกจากมหาลัย เพราะหัวกะทิ ทั้งนั้น

ออกหมายจับ 52ผู้ต้องการ โกงข้อสอบนายสิบ
แบ่งเป็นนักศึกษาแพทย์ วิศวะกรรมศาสตร์ ทันตแพทย์ 51 คน และผู้บงการอีก 1 คน"

http://www.naewna.com/local/252179

"พ.ต.อ.อุเทน นำเอกสารและพยานหลักฐานไปเสนอศาลอาญารัชดา ขอให้ศาลพิจารณาออกหมายจับกลุ่มนักศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 52 คน ที่ร่วมกระทำความผิด โดยต่อมาผู้พิพากษาไตร่สวนนานกว่า 2 ชั่วโมง จึงพิจารณาออกหมายจับผู้ร่วมกระทำความผิดตามที่ พ.ต.อ.อุเทน ขอมารวมจำนวน 52 คน แบ่งเป็นนักศึกษาแพทย์ วิศวะกรรมศาสตร์ ทันตแพทย์ 51 คน และผู้บงการอีก 1 คน"



รองปลัดกระทรวงยุติธรรม วอนให้โอกาสนักศึกษา รับจ้างโกงข้อสอบนายสิบ

12 ม.ค.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว "ธวัชชัย ไทยเขียว" ถึงกรณีที่มีเยาวชนที่เป็นนักศึกษาแพทย์ วิศวกรรม และอื่นๆ เข้าไปร่วมอยู่ในกระบวนการรับจ้างเข้าไปเฉลยข้อสอบการสอบคัดเลือกนักเรียนนายสิบตำรวจนั้น ว่า หมดสิ้นกันอนาคตเยาวชนคิดสั้นรับจ้างเข้าไปเฉลยข้อสอบ ต้องมีประวัติอาชญากรติดตัวไปชั่วชีวิต ซึ่งจากการที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหานั้น เมื่อพิจารณาเบื้องต้นน่าจะเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิด "กรรมเดียว" แต่เป็นความผิดต่อกฎหมาย "หลายบท" ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ใช้ "บทที่มีโทษหนักที่สุด" ลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายอาญา

ดังนั้น ในกรณีนี้อัตราโทษบทที่มีโทษหนักสุด คือ ฐานความผิดอั้งยี่ มาตรา 209 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 1 หมื่น 4 พันบาท หากผู้ต้องหาหรือจำเลยกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องแล้วปฏิเสธ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามกระบวนการต่อไป แต่หากจำเลยกระทำความผิดจริงและให้การรับสารภาพ อัตราโทษก็จะลดลงมากึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน ก็จะอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถขอเหตุอันควรแก่การปรานีต่อศาล ด้วยการร้องขอต่อให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม ด้วยว่าตนเองไม่ปรากฏว่ากระทำความผิดอื่นใด หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน

ซึ่งก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลว่าจะให้โอกาสรอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เยาวชนเหล่านี้ จะต้องมีประวัติอาชญากรติดตัวไปชั่วชีวิต ไม่สามารถเข้ารับราชการ หรืองานอื่นใดที่หน่วยงานเหล่านั้นได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนที่จะเข้าทำงานได้ว่า "ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยต้องโทษจำคุกหรือต้องคำพิพากษามาก่อน"

รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ยังได้แสดงความคิดเห็นอีกว่า สถานศึกษาก็ไม่ควรไปตัดสิทธิการให้ศึกษาต่อของเยาวชนเหล่านี้ มิเช่นนั้นจะเป็นการสร้างภาระให้กับสังคมและประเทศชาติ ไม่ใช่เป็นการสร้างพลัง ส่วนเขาเหล่านั้นเมื่อจบการศึกษาไปแล้วจะไปทำธุรกิจส่วนตัว หรือไปเจอหน่วยงานใจดีรับให้เข้าไปทำงานก็ได้ และที่สำคัญก็จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้าน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ประเทศไทยควรเป็นประเทศที่มุ่งลงโทษเพื่อการบำบัด แก้ไขฟื้นฟู มากกว่าเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทน
http://www.naewna.com/local/252153
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
คนเรียนดี ใช่ว่าจะเป็นคนดี
คนดี ใช่ว่าจะต้องเรียนเก่ง
คนเลว ใช่ว่าจะเรียนไม่ดี
คนไม่ดี อยู่ที่ไหนก็เลวได้ แม้ว่าจะเรียนอะไรก็ตาม
ความคิดเห็นที่ 9
ไล่รองปลัดก.ยุติธรรมออกก่อนเลย แล้วไล่นศ.ที่ไปร่วมทุจริตการสอบออกเป็นลำดับถัดไป
แมวพิมพ์
ความคิดเห็นที่ 2
แนวคิด บัดซบมาก
ความคิดเห็นที่ 8
หัวกะทิ ที่บูดเสีย
กินเข้าไป ท้องร่วงจู๊ดๆๆๆๆ

ใครกล้ากิน ก็ตามใจ
ข้าพเจ้า ไม่กิน
ความคิดเห็นที่ 25
รองปลัดกระทรวงแค่ แสดงความเห็น ในทำนองสงสารเด็ก และเสียดายอนาคตเด็กเหล่านั้น ที่เดินทางผิด  ต้องมาหมดอนาคต และอาจจะติดคุกติดตาราง โดยยกข้อกฎหมายมาแสดง และแนวทางการดำเนินคดี

และแสดงความเห็นต่อไปว่า สถานศึกษาไม่ควรตัดสิทธิในการให้การศึกษา เพราะจะเป็นภาระสังคม ให้เรียนไป แต่จบมาแล้ว ยังไงก็หมดสิทธิรับราชการ แต่ก็ยังพอมีความรู้หากินได้ และอาจจะมีผู้ใหญ่ใจดีจ้างทำงานได้บ้าง

ไม่มีประโยคไหนเลย ที่บอกว่า เด็กๆ หัวดี โกงได้ หรือสนับสนุนในการโกง หรือไม่ให้เอาความผิดเอาโทษในทางอาญาใดๆ เลย

สื่อต่างหากที่เสี้ยม รวมทั้งหัวกระทู้ก็เสี้ยม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่