ปลดใบเหลือง ถอดธงแดง ฝ่ายประชาธิปไตยทำได้ไหม
"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
วันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป หรืออียู ได้ประกาศปลดใบเหลืองประมงของประเทศไทย หลังจากที่รัฐบาล คสช. ใช้เวลาเกือบ 4 ปีเต็มในการแก้ปัญหานี้
ประเทศไทยถูกอียูเตือนมาตั้งแต่ปี 2554 แล้วว่า ให้แก้ไข การทำประมงที่ผิดกฎหมาย การขาดรายงาน และไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ( illegal ,unreported ,uncontrolled ) มิฉะนั้นจะถูกลงโทษ ห้ามส่งสินค้าประมงเข้าไปขายในประเทศสมาชิกอียู
สามปีผ่านไป ไม่มีการแก้ไข รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ให้ความสนใจ
อุตสาหกรรมประมงของไทยสร้างรายได้ ทั้งในและต่างประเทศจำนวนไม่น้อย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำประมงกันอย่างไม่รับผิดชอบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ใช้เครื่องมือ ที่กวาดเอาสัตว์น้ำทุกชนิด ทั้งที่โตเต็มวัย ที่ยังไม่โต ที่ยังเป็นตัวอ่อนขึ้นมาหมด ทำให้ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ หมดไปจากท้องทะเลอย่างรวดเร็ว และใช้แรงงานต่างชาติอย่างผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่รัฐบาลยุคก่อนๆไม่ยอมแตะต้อง เพราะความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองกับ ธุรกิจประมง แน่นแฟ้นเป็นิอย่างยิ่ง ไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ
คสช. ยึดอำนาจ ตั้งรัฐบาลได้ไม่ครบปีดี อียูก็ควักใบเหลือง ให้ไทยทันที ซึ่งถูกมองว่า เป็นการตอบโต้ ลงโทษ รัฐบาลทหาร ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นเรื่องการเมือง ไม่เกี่ยวอะไรกับการประมง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงก็คือ เขาเตือนแล้ว ให้เวลาแก้ไข แต่เราไม่ทำ เขาจึงต้องใช้มาตรการขั้นต่อไป อาจเป็นเรื่องประจวบเหมาะกับที่ เกิดขึ้นกับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ใบเหลืองไอยูยู ประมง ยังไม่มีบทลงโทษอะไร แต่เป็นการเริ่มต้นกระบวนการลงโทษ หากยังไม่แก้ไข ก็จะโดนใบแดง คือ ห้ามส่งสินค้าประมงเข้าไปขายในอียู
ไทยโดนใบเหลือง ไอยูยู เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 มีคำสั่งให้ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย โดยให้ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บัญชาการ เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558
การใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาไอยูยู ยังเกิดขึ้นหลังจากนั้นอีก 3 ครั้ง กว่าทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทาง ยังดีที่อียูต่อเวลาให้แก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่สั่งสม ตกค้างมานานเกือบ 10 ปี เกี่ยวกันกับผลประโยชน์มหาศาลของผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ถูกผลกระทบ ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ระหว่างการแก้ไขปัญหา ไอยูยู จะมีข่าวปรากฎออกมาเป็นระยะ ถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ ที่เกิดจากการที่รัฐบาล คสช. ไปยอมทำตามอียู ทุกเรื่อง
แน่นอนว่า เรือประมงที่เคยใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ ใช้แรงงานต่างชาติ เยี่ยงทาส จับปลาอย่างไม่มีข้อจำกัด ย่อมเสียผลประโยชน์ จากความเปลี่ยนแปลงนี้ แต่ในขณะเดียวกัน คนตัวเล็กตัวน้อย ผู้ประกอบการประมงพื้นบ้า นก็เข้าถึงทรัพยากรท้องทะเลมากขึ้นกว้าแต่ก่อน เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ ประมงพาณิชยื ถูกตีกรอบ ไม่หแย่งชิงทรัพยากรจากท้องทะเลไปเป็นของตัวเอง แต่เพียงผู้เดียวเหมือนแต่ก่อน
หลังจาก โดนใบเหลือประมง ได้เพียง 2 เดือน ประเทศไทยก็โดนใบแดง จากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอเคโอ เพราะ การกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในธุรกิจการบิน ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ สายการบินของไทยไม่สามารถเพิ่มเทียวบินใหม่ๆ หรือขยายเส้นทางในต่างประเทศได้ สายการบินต่างประเทศ โดยเฉพาะในซีกโลกตะวันตก ลงดบินตรงเข้าประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว
เรื่องนี้ ก็เช่นกัน ที่เราโดนเตือนมาก่อนหน้านี้แล้วหลายปี แต่ไม่ได้รับการแก้ไข จนมาเป็นเรื่องในรัฐบาล คสช.
ไทยถูกติดธงแดงจากไอเคโอ วันที่ 18 มิถุนายน 2558 วันที่ 11 กันยายน 2558 พลเอกประยุทธ์ ใช้ มาตรา 44 ออกคำสั่ง ตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป้นผู้บัญชาการศูนย์ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยด่วน และมีการออกคำสั่ง คสช. ใช้มาตรา 44 ตามมาอีกหลายฉบับ
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ไอเคโอ ประกาศปลด “ธงแดง” จากหน้าชื่อประเทศไทย ในเว็บไซต์ของไอเคโอ เป็นการประกาศให้รับทราบว่า ประเทศไทยได้แก้ปัญหาวิกฤตด้านการบินพลเรือน และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยเข้าสู่มาตรฐานสากลเรียบร้อยแล้ว
ทั้ง ใบเหลือง ไอยูยู และใบแดง ไอเคโอ เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของ คสช. ถ้าเกิดขึ้นอีก ฝ่ายที่อุปโลกน์ตัวเองว่า เป็นฝ่ายประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จะแก้ปัญหาแบบฝ่ายฝักใฝ่เผด็จการได้ไหม
https://mgronline.com/daily/detail/9620000005955
ผลงานชิ้นโบว์แดงชิ้นหนึ่งที่รัฐบาลประชาธิปไตยยังไม่มีความสามารถทำให้เห็นประจักษ์ได้ค่ะ
ผมทรงนี้ ชอบไหม...ชอบไหมคะ...
🎋🎋🎋มาลาริน/รัฐบาลกำลังจะแถลงผลงาน เลยนำงานชิ้นโบว์แดงมาพูดไว้ก่อนค่ะ..ปลดใบเหลือง ถอดธงแดง ฝ่ายประชาธิปไตยทำได้ไหม..?
ปลดใบเหลือง ถอดธงแดง ฝ่ายประชาธิปไตยทำได้ไหม
"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
วันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป หรืออียู ได้ประกาศปลดใบเหลืองประมงของประเทศไทย หลังจากที่รัฐบาล คสช. ใช้เวลาเกือบ 4 ปีเต็มในการแก้ปัญหานี้
ประเทศไทยถูกอียูเตือนมาตั้งแต่ปี 2554 แล้วว่า ให้แก้ไข การทำประมงที่ผิดกฎหมาย การขาดรายงาน และไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ( illegal ,unreported ,uncontrolled ) มิฉะนั้นจะถูกลงโทษ ห้ามส่งสินค้าประมงเข้าไปขายในประเทศสมาชิกอียู
สามปีผ่านไป ไม่มีการแก้ไข รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ให้ความสนใจ
อุตสาหกรรมประมงของไทยสร้างรายได้ ทั้งในและต่างประเทศจำนวนไม่น้อย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำประมงกันอย่างไม่รับผิดชอบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ใช้เครื่องมือ ที่กวาดเอาสัตว์น้ำทุกชนิด ทั้งที่โตเต็มวัย ที่ยังไม่โต ที่ยังเป็นตัวอ่อนขึ้นมาหมด ทำให้ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ หมดไปจากท้องทะเลอย่างรวดเร็ว และใช้แรงงานต่างชาติอย่างผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่รัฐบาลยุคก่อนๆไม่ยอมแตะต้อง เพราะความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองกับ ธุรกิจประมง แน่นแฟ้นเป็นิอย่างยิ่ง ไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ
คสช. ยึดอำนาจ ตั้งรัฐบาลได้ไม่ครบปีดี อียูก็ควักใบเหลือง ให้ไทยทันที ซึ่งถูกมองว่า เป็นการตอบโต้ ลงโทษ รัฐบาลทหาร ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นเรื่องการเมือง ไม่เกี่ยวอะไรกับการประมง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงก็คือ เขาเตือนแล้ว ให้เวลาแก้ไข แต่เราไม่ทำ เขาจึงต้องใช้มาตรการขั้นต่อไป อาจเป็นเรื่องประจวบเหมาะกับที่ เกิดขึ้นกับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ใบเหลืองไอยูยู ประมง ยังไม่มีบทลงโทษอะไร แต่เป็นการเริ่มต้นกระบวนการลงโทษ หากยังไม่แก้ไข ก็จะโดนใบแดง คือ ห้ามส่งสินค้าประมงเข้าไปขายในอียู
ไทยโดนใบเหลือง ไอยูยู เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 มีคำสั่งให้ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย โดยให้ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บัญชาการ เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558
การใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาไอยูยู ยังเกิดขึ้นหลังจากนั้นอีก 3 ครั้ง กว่าทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทาง ยังดีที่อียูต่อเวลาให้แก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่สั่งสม ตกค้างมานานเกือบ 10 ปี เกี่ยวกันกับผลประโยชน์มหาศาลของผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ถูกผลกระทบ ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ระหว่างการแก้ไขปัญหา ไอยูยู จะมีข่าวปรากฎออกมาเป็นระยะ ถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ ที่เกิดจากการที่รัฐบาล คสช. ไปยอมทำตามอียู ทุกเรื่อง
แน่นอนว่า เรือประมงที่เคยใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ ใช้แรงงานต่างชาติ เยี่ยงทาส จับปลาอย่างไม่มีข้อจำกัด ย่อมเสียผลประโยชน์ จากความเปลี่ยนแปลงนี้ แต่ในขณะเดียวกัน คนตัวเล็กตัวน้อย ผู้ประกอบการประมงพื้นบ้า นก็เข้าถึงทรัพยากรท้องทะเลมากขึ้นกว้าแต่ก่อน เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ ประมงพาณิชยื ถูกตีกรอบ ไม่หแย่งชิงทรัพยากรจากท้องทะเลไปเป็นของตัวเอง แต่เพียงผู้เดียวเหมือนแต่ก่อน
หลังจาก โดนใบเหลือประมง ได้เพียง 2 เดือน ประเทศไทยก็โดนใบแดง จากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอเคโอ เพราะ การกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในธุรกิจการบิน ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ สายการบินของไทยไม่สามารถเพิ่มเทียวบินใหม่ๆ หรือขยายเส้นทางในต่างประเทศได้ สายการบินต่างประเทศ โดยเฉพาะในซีกโลกตะวันตก ลงดบินตรงเข้าประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว
เรื่องนี้ ก็เช่นกัน ที่เราโดนเตือนมาก่อนหน้านี้แล้วหลายปี แต่ไม่ได้รับการแก้ไข จนมาเป็นเรื่องในรัฐบาล คสช.
ไทยถูกติดธงแดงจากไอเคโอ วันที่ 18 มิถุนายน 2558 วันที่ 11 กันยายน 2558 พลเอกประยุทธ์ ใช้ มาตรา 44 ออกคำสั่ง ตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป้นผู้บัญชาการศูนย์ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยด่วน และมีการออกคำสั่ง คสช. ใช้มาตรา 44 ตามมาอีกหลายฉบับ
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ไอเคโอ ประกาศปลด “ธงแดง” จากหน้าชื่อประเทศไทย ในเว็บไซต์ของไอเคโอ เป็นการประกาศให้รับทราบว่า ประเทศไทยได้แก้ปัญหาวิกฤตด้านการบินพลเรือน และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยเข้าสู่มาตรฐานสากลเรียบร้อยแล้ว
ทั้ง ใบเหลือง ไอยูยู และใบแดง ไอเคโอ เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของ คสช. ถ้าเกิดขึ้นอีก ฝ่ายที่อุปโลกน์ตัวเองว่า เป็นฝ่ายประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จะแก้ปัญหาแบบฝ่ายฝักใฝ่เผด็จการได้ไหม
https://mgronline.com/daily/detail/9620000005955
ผลงานชิ้นโบว์แดงชิ้นหนึ่งที่รัฐบาลประชาธิปไตยยังไม่มีความสามารถทำให้เห็นประจักษ์ได้ค่ะ
ผมทรงนี้ ชอบไหม...ชอบไหมคะ...