สมาคมประมงชุมพรโวยปลดธงเหลือง IUU ไร้ผล
https://www.prachachat.net/local-economy/news-277963
นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพรโวยอียูปลด-ไม่ปลดใบเหลืองไทย ชาวประมงไม่ได้อะไร ชี้ 3 ปีเจอกฎหมายประมงเข้มงวดเกิน บทลงโทษปรับหนัก เผยเคยร้องศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไร้ผล รับปากจะแก้แต่ยังไม่ทำ กระทบสมาชิกสมาคมเลิกอาชีพประมง
นาย
พิศาล ศันติวิชยะ นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพร เปิดเผยว่า กรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้ปลดใบเหลืองการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ให้ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 ว่า หากมองในภาพรวมของประเทศ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เครดิตไปเต็ม ๆ หลังจากที่อียูได้ให้ใบเหลืองไทยมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 ด้วยมาตรการที่เข้มงวดกวดขันในการทำประมงอย่างจริงจังตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในส่วนของชาวประมงไม่ว่าจะปลดหรือไม่ปลดใบเหลือง สถานการณ์คงไม่แตกต่างกัน เพราะรัฐบาลยังคงบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ประมงปี 2560 โดยไม่มีการผ่อนปรนใด ๆ ทั้งที่ชาวประมงเคยยื่นหนังสือเรียกร้องขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหามาตั้งแต่กลางปี 2561 จนบัดนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนใด ๆ ในการช่วยเหลือชาวประมงออกมา
ยกตัวอย่าง กรณีที่เรือประมงมีแรงงานต่างด้าว 10 คน แล้วอยู่มาแรงงานต่างด้าว 1 คนหนีไปทำงานที่อื่น เจ้าของเรือประมงจะถูกดำเนินคดีโดยไม่มีการสืบสวนสาเหตุว่ามาจากอะไร ทั้งที่ในความเป็นจริง ถ้าเรือลำใดมีลูกเรือหลายคน แล้วระหว่างอยู่กลางทะเลมีลูกเรือฉวยโอกาสไปอยู่กับเรือลำอื่น โดยเจ้าของเรือไม่ทราบ พอเรือกลับเข้าฝั่ง เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าลูกเรือหายไป หากเป็นเรือประมงขนาด 30-60 ตันกรอส จะถูกปรับ 200,000-400,000 บาท ส่วนเรือขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป จะถูกปรับ 400,000-800,000 บาท เปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ คือ หากรถทัวร์คันหนึ่งมีลูกทัวร์ 40 คน แล้วจอดให้ลูกทัวร์เข้าห้องน้ำตามปั๊ม แต่ตอนออกรถยังมีลูกทัวร์คนหนึ่งอยู่ในห้องน้ำ ไม่ได้ขึ้นรถ เหลือลูกทัวร์แค่ 39 คน เจ้าของรถจะถูกดำนินคดี
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเคยร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด กรมประมง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาโดยตลอด แต่พอมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการ คนใหม่ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็ไม่เคยสานงานต่อในเรื่องเหล่านี้ คนที่รับปากว่าจะแก้ไขให้ก็ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีต่อแล้ว และฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่จับกุมก็อ้างแต่ว่าทำตามกฎหมาย พ.ร.บ.ประมง 2560 หากไม่ให้จับกุมต้องไปแก้ไข พ.ร.บ.ประมงก่อน
“นับตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ประมง 2560 มีสมาชิกของสมาคม 20 รายแล้วที่ต้องเปลี่ยนอาชีพหันไปทำอย่างอื่น เพราะโทษปรับที่พวกเขาเจอค่อนข้างรุนแรงมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้มีเจ้าของเรือที่เป็นสมาชิกของสมาคม ต้องไปขึ้นศาลที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และถูกศาลมีคำสั่งปรับในข้อหาทำประมงผิดเวลาที่กำหนดเอาไว้ คือ ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. เพราะออกเรือไปทำประมงเวลา 05.50 น. (ก่อนเวลาแค่ 10 นาที) รวมเป็นเงินถึง 120 ล้านบาท เนื่องจาก พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ปี 2560 คิดค่าปรับตามจำนวนลูกเรือเป็นรายคน คนละ 6 ล้านบาท แต่เจ้าของเรือยอมรับสารภาพ โทษปรับจึงลดเหลือกึ่งหนึ่ง คือ คนละ 3 ล้านบาท และเรือลำนั้นมีลูกเรือ 40 คน จึงเอา 40 คนคูณ 3 ล้านบาท กลายเป็น 120 ล้านบาท ทั้งที่ก่อนหน้าการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประมงปี 2560 โทษขนาดนี้จะถูกปรับแค่หลักพันบาทเท่านั้น ดังนั้นการที่อียูปลดใบเหลืองการทำประมงผิดกฎหมายให้ไทย ก็คงมีผลดีในเรื่องภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดนี้เท่านั้น แต่ในส่วนของชาวประมง หากยังไม่มีการผ่อนปรนใด ๆ หรือยังไม่มีการแก้ไขเนื้อหาใน พ.ร.บ.ประมงปี 2560 ขอบอกว่า ไม่ว่าอียูจะปลดหรือไม่ปลดใบเหลือง ชาวประมงก็คงไม่ได้รับประโยชน์อะไรเหมือนเดิม” นาย
พิศาลกล่าว
JJNY : สมาคมประมงชุมพรโวยปลดธงเหลือง IUU ไร้ผล/สโมสรนศ.นิติฯมช. ร่อนแถลงการณ์ จี้ คสช.คืนอำนาจปชช.ฯ
https://www.prachachat.net/local-economy/news-277963
นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพรโวยอียูปลด-ไม่ปลดใบเหลืองไทย ชาวประมงไม่ได้อะไร ชี้ 3 ปีเจอกฎหมายประมงเข้มงวดเกิน บทลงโทษปรับหนัก เผยเคยร้องศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไร้ผล รับปากจะแก้แต่ยังไม่ทำ กระทบสมาชิกสมาคมเลิกอาชีพประมง
นายพิศาล ศันติวิชยะ นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพร เปิดเผยว่า กรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้ปลดใบเหลืองการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ให้ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 ว่า หากมองในภาพรวมของประเทศ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เครดิตไปเต็ม ๆ หลังจากที่อียูได้ให้ใบเหลืองไทยมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 ด้วยมาตรการที่เข้มงวดกวดขันในการทำประมงอย่างจริงจังตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในส่วนของชาวประมงไม่ว่าจะปลดหรือไม่ปลดใบเหลือง สถานการณ์คงไม่แตกต่างกัน เพราะรัฐบาลยังคงบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ประมงปี 2560 โดยไม่มีการผ่อนปรนใด ๆ ทั้งที่ชาวประมงเคยยื่นหนังสือเรียกร้องขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหามาตั้งแต่กลางปี 2561 จนบัดนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนใด ๆ ในการช่วยเหลือชาวประมงออกมา
ยกตัวอย่าง กรณีที่เรือประมงมีแรงงานต่างด้าว 10 คน แล้วอยู่มาแรงงานต่างด้าว 1 คนหนีไปทำงานที่อื่น เจ้าของเรือประมงจะถูกดำเนินคดีโดยไม่มีการสืบสวนสาเหตุว่ามาจากอะไร ทั้งที่ในความเป็นจริง ถ้าเรือลำใดมีลูกเรือหลายคน แล้วระหว่างอยู่กลางทะเลมีลูกเรือฉวยโอกาสไปอยู่กับเรือลำอื่น โดยเจ้าของเรือไม่ทราบ พอเรือกลับเข้าฝั่ง เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าลูกเรือหายไป หากเป็นเรือประมงขนาด 30-60 ตันกรอส จะถูกปรับ 200,000-400,000 บาท ส่วนเรือขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป จะถูกปรับ 400,000-800,000 บาท เปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ คือ หากรถทัวร์คันหนึ่งมีลูกทัวร์ 40 คน แล้วจอดให้ลูกทัวร์เข้าห้องน้ำตามปั๊ม แต่ตอนออกรถยังมีลูกทัวร์คนหนึ่งอยู่ในห้องน้ำ ไม่ได้ขึ้นรถ เหลือลูกทัวร์แค่ 39 คน เจ้าของรถจะถูกดำนินคดี
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเคยร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด กรมประมง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาโดยตลอด แต่พอมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการ คนใหม่ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็ไม่เคยสานงานต่อในเรื่องเหล่านี้ คนที่รับปากว่าจะแก้ไขให้ก็ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีต่อแล้ว และฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่จับกุมก็อ้างแต่ว่าทำตามกฎหมาย พ.ร.บ.ประมง 2560 หากไม่ให้จับกุมต้องไปแก้ไข พ.ร.บ.ประมงก่อน
“นับตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ประมง 2560 มีสมาชิกของสมาคม 20 รายแล้วที่ต้องเปลี่ยนอาชีพหันไปทำอย่างอื่น เพราะโทษปรับที่พวกเขาเจอค่อนข้างรุนแรงมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้มีเจ้าของเรือที่เป็นสมาชิกของสมาคม ต้องไปขึ้นศาลที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และถูกศาลมีคำสั่งปรับในข้อหาทำประมงผิดเวลาที่กำหนดเอาไว้ คือ ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. เพราะออกเรือไปทำประมงเวลา 05.50 น. (ก่อนเวลาแค่ 10 นาที) รวมเป็นเงินถึง 120 ล้านบาท เนื่องจาก พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ปี 2560 คิดค่าปรับตามจำนวนลูกเรือเป็นรายคน คนละ 6 ล้านบาท แต่เจ้าของเรือยอมรับสารภาพ โทษปรับจึงลดเหลือกึ่งหนึ่ง คือ คนละ 3 ล้านบาท และเรือลำนั้นมีลูกเรือ 40 คน จึงเอา 40 คนคูณ 3 ล้านบาท กลายเป็น 120 ล้านบาท ทั้งที่ก่อนหน้าการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประมงปี 2560 โทษขนาดนี้จะถูกปรับแค่หลักพันบาทเท่านั้น ดังนั้นการที่อียูปลดใบเหลืองการทำประมงผิดกฎหมายให้ไทย ก็คงมีผลดีในเรื่องภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดนี้เท่านั้น แต่ในส่วนของชาวประมง หากยังไม่มีการผ่อนปรนใด ๆ หรือยังไม่มีการแก้ไขเนื้อหาใน พ.ร.บ.ประมงปี 2560 ขอบอกว่า ไม่ว่าอียูจะปลดหรือไม่ปลดใบเหลือง ชาวประมงก็คงไม่ได้รับประโยชน์อะไรเหมือนเดิม” นายพิศาลกล่าว