กรุงเทพฯ 16 มกราคม 2562 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผนึกความร่วมมือกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดศูนย์เรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0(กล้วยน้ำไท) ภายใต้โครงการ Big Brother หรือพี่ช่วยน้อง ที่จะร่วมมือกันเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC)ให้เป็นศูนย์ฯขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายครบวงจร ได้แก่ กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ กลุ่มดิจิทัลเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง โดยการนำระบบ "คาราคุริ" กลไกอัจฉริยะจากญี่ปุ่นที่โตโยต้าใช้เพิ่มผลิตภาพในกระบวนการผลิตมาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใน 4 ภูมิภาคให้เป็นวิสาหกิจและหมู่บ้านต้นแบบของประเทศไทย ด้วยหลักการ “ไคเซ็น”
นายเดชา จาตุธนานันท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่าล่าสุด กสอ.ได้ผนึกกำลังร่วมกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ในการร่วมมือเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC) และโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ซึ่งมุ่งสนับสนุนกลไกที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่เอสเอ็มอีและโอทอป เพื่อการยกระดับศักยภาพในหลากหลายด้าน พร้อมทั้งการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาถ่ายทอดประสบการณ์จริง เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถเติบโตและดำเนินธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพในหลากหลายมิติ
ทั้งนี้ ยังได้ร่วมกันเปิด “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์”ภายในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (กล้วยน้ำไท) เพื่อขับเคลื่อน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
1.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกล ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 2.กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว และ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง โดยโตโยต้าจะให้ความช่วยเหลือด้วยการนำองค์ความรู้ในการทำธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลได้แก่ วิถีโตโยต้า (Toyota Way) และระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System) และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง (Customer First) มาถ่ายทอดเพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ พร้อมมุ่งเน้นให้มีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และราคา นอกจากนี้ยังจะมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทุกกระบวนการจัดการ ซึ่งมั่นใจว่ากลไกความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นพร้อมเชื่อมโยงการตลาดและการทำการค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพในอนาคต
ด้านนายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ได้สนับสนุนสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านโครงการ Big Brother หรือ “พี่ช่วยน้อง” ซึ่งนำองค์กรเอกชนขนาดใหญ่มาผนึกกำลังความช่วยเหลือ ถ่ายทอดนวัตกรรม ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆในการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “SMEs ยุค 4.0” โดยโตโยต้าได้ใช้ประสบการณ์จริงนำความรู้ทางวิชาการและความรู้เชิงขั้นตอนของโตโยต้ามาสนับสนุนใน 2 โครงการดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.
ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center: ITC) โตโยต้าได้จัดตั้ง“ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ภายในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 3 แห่ง ใน กรุงเทพฯชลบุรี และนครราชสีมาที่ให้ข้อมูลในเรื่อง ระบบการผลิตแบบโตโยต้าและการประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ซึ่งเป็นนิทรรศการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าศึกษาหลักการปรับปรุงธุรกิจและแนวทางการบริหารจัดการตามแนวปฏิบัติของโตโยต้า รวมถึงตัวอย่างการปรับปรุงธุรกิจชุมชนต่างๆภายใต้โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงวิธีการไคเซ็นกระบวนการผลิตด้วยกลไกอัติโนมัติ Karakuriหรือการใช้กลไกพื้นฐาน เช่น รอก พื้นเอียง คาน ฯลฯ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อลดการใช้พลังงาน และค่าใช้จ่าย
2.
หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village: CIV) โตโยต้านำประสบการณ์จาก โครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ เข้ายกระดับหมู่บ้านที่มีศักยภาพ 4 แห่ง ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ โดยจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโครงการเข้าเป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดหลักการไคเซ็นแก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์หลักของชุมชน ตลอดจนการจัดอบรมผู้ฝึกสอนเพื่อให้เป็นผู้ให้คำปรึกษาและขยายผลการนำไปประยุกต์ใช้แก่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมต่อไป อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การขยายผลทางการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคต
โดย
นายวุฒิกร กล่าวปิดท้ายว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การร่วมมือระหว่าง กสอ. และโตโยต้าในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแข่งขันและพึ่งพาตนเอง เตรียมความพร้อมสู่การเป็น SMEs4.0 ได้อย่างภาคภูมิ ซึ่งโตโยต้ายังคงจะเดินหน้าขยายผลโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อการสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เติบโตอย่าง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป
อย่างไรก็ดี กสอ. และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ยังได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 และโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” พร้อมเปิดศูนย์ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ณ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ
กสอ. ผนึกโตโยต้าเปิดตัวพี่ช่วยน้อง “ธุรกิจชุมชนพัฒน์” นำระบบคาราคุริ และไคเซ็น เสริมศักยภาพโอทอปและเอสเอ็มอีไทย
กรุงเทพฯ 16 มกราคม 2562 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผนึกความร่วมมือกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดศูนย์เรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0(กล้วยน้ำไท) ภายใต้โครงการ Big Brother หรือพี่ช่วยน้อง ที่จะร่วมมือกันเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC)ให้เป็นศูนย์ฯขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายครบวงจร ได้แก่ กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ กลุ่มดิจิทัลเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง โดยการนำระบบ "คาราคุริ" กลไกอัจฉริยะจากญี่ปุ่นที่โตโยต้าใช้เพิ่มผลิตภาพในกระบวนการผลิตมาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใน 4 ภูมิภาคให้เป็นวิสาหกิจและหมู่บ้านต้นแบบของประเทศไทย ด้วยหลักการ “ไคเซ็น”
นายเดชา จาตุธนานันท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่าล่าสุด กสอ.ได้ผนึกกำลังร่วมกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ในการร่วมมือเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC) และโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ซึ่งมุ่งสนับสนุนกลไกที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่เอสเอ็มอีและโอทอป เพื่อการยกระดับศักยภาพในหลากหลายด้าน พร้อมทั้งการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาถ่ายทอดประสบการณ์จริง เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถเติบโตและดำเนินธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพในหลากหลายมิติ
ทั้งนี้ ยังได้ร่วมกันเปิด “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์”ภายในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (กล้วยน้ำไท) เพื่อขับเคลื่อน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกล ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 2.กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว และ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง โดยโตโยต้าจะให้ความช่วยเหลือด้วยการนำองค์ความรู้ในการทำธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลได้แก่ วิถีโตโยต้า (Toyota Way) และระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System) และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง (Customer First) มาถ่ายทอดเพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ พร้อมมุ่งเน้นให้มีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และราคา นอกจากนี้ยังจะมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทุกกระบวนการจัดการ ซึ่งมั่นใจว่ากลไกความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นพร้อมเชื่อมโยงการตลาดและการทำการค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพในอนาคต
ด้านนายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ได้สนับสนุนสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านโครงการ Big Brother หรือ “พี่ช่วยน้อง” ซึ่งนำองค์กรเอกชนขนาดใหญ่มาผนึกกำลังความช่วยเหลือ ถ่ายทอดนวัตกรรม ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆในการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “SMEs ยุค 4.0” โดยโตโยต้าได้ใช้ประสบการณ์จริงนำความรู้ทางวิชาการและความรู้เชิงขั้นตอนของโตโยต้ามาสนับสนุนใน 2 โครงการดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center: ITC) โตโยต้าได้จัดตั้ง“ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ภายในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 3 แห่ง ใน กรุงเทพฯชลบุรี และนครราชสีมาที่ให้ข้อมูลในเรื่อง ระบบการผลิตแบบโตโยต้าและการประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ซึ่งเป็นนิทรรศการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าศึกษาหลักการปรับปรุงธุรกิจและแนวทางการบริหารจัดการตามแนวปฏิบัติของโตโยต้า รวมถึงตัวอย่างการปรับปรุงธุรกิจชุมชนต่างๆภายใต้โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงวิธีการไคเซ็นกระบวนการผลิตด้วยกลไกอัติโนมัติ Karakuriหรือการใช้กลไกพื้นฐาน เช่น รอก พื้นเอียง คาน ฯลฯ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อลดการใช้พลังงาน และค่าใช้จ่าย
2. หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village: CIV) โตโยต้านำประสบการณ์จาก โครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ เข้ายกระดับหมู่บ้านที่มีศักยภาพ 4 แห่ง ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ โดยจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโครงการเข้าเป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดหลักการไคเซ็นแก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์หลักของชุมชน ตลอดจนการจัดอบรมผู้ฝึกสอนเพื่อให้เป็นผู้ให้คำปรึกษาและขยายผลการนำไปประยุกต์ใช้แก่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมต่อไป อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การขยายผลทางการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคต
โดย นายวุฒิกร กล่าวปิดท้ายว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การร่วมมือระหว่าง กสอ. และโตโยต้าในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแข่งขันและพึ่งพาตนเอง เตรียมความพร้อมสู่การเป็น SMEs4.0 ได้อย่างภาคภูมิ ซึ่งโตโยต้ายังคงจะเดินหน้าขยายผลโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อการสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เติบโตอย่าง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป
อย่างไรก็ดี กสอ. และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ยังได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 และโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” พร้อมเปิดศูนย์ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ณ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ