สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ขอบอกในมุมผม
จุดเริ่มการพนันคือความโลภ และจุดต่อไปคือโกง บทพิสูจน์มีมากมายจากการที่ลูกค้าถูกโกงโดยเจ้าหน้าที่ธนาคารต่างๆเพราะผีพนันเข้าสิง ไม่มีใครสามารถทราบได้ว่า จขกท. จะเป็นคนดีที่มาเล่นพนัน และจะรักษาความดีไว้ได้ เพราะเมื่อเริ่มเล่นก็เห็นเป็นส่วนใหญ่ว่าเล่นเพิ่มเล่นหนักขึ้นเรื่อยๆ เป็นจำนวนมาก
อย่ามองว่าเค้าจะลดคนลงโดยไม่จ่ายชดเชย ระเบียบแจ้งชัดเจน แต่อาจจะฟ้องร้องเพิ่มเติมได้ ลองปรึกษาทนายกระทรวงแรงงานดูครับ
ส่วนเจ้าหน้าธนาคารคนอื่นๆ ที่เล่นพนัน และใช้ บ/ช ตัวเองเล่น ก็คงนอนร้อนๆ หนาวๆ ต่อไป เพราะเหตุเหล่านี้มีผลย้อนหลังทั้งนั้น
จุดเริ่มการพนันคือความโลภ และจุดต่อไปคือโกง บทพิสูจน์มีมากมายจากการที่ลูกค้าถูกโกงโดยเจ้าหน้าที่ธนาคารต่างๆเพราะผีพนันเข้าสิง ไม่มีใครสามารถทราบได้ว่า จขกท. จะเป็นคนดีที่มาเล่นพนัน และจะรักษาความดีไว้ได้ เพราะเมื่อเริ่มเล่นก็เห็นเป็นส่วนใหญ่ว่าเล่นเพิ่มเล่นหนักขึ้นเรื่อยๆ เป็นจำนวนมาก
อย่ามองว่าเค้าจะลดคนลงโดยไม่จ่ายชดเชย ระเบียบแจ้งชัดเจน แต่อาจจะฟ้องร้องเพิ่มเติมได้ ลองปรึกษาทนายกระทรวงแรงงานดูครับ
ส่วนเจ้าหน้าธนาคารคนอื่นๆ ที่เล่นพนัน และใช้ บ/ช ตัวเองเล่น ก็คงนอนร้อนๆ หนาวๆ ต่อไป เพราะเหตุเหล่านี้มีผลย้อนหลังทั้งนั้น
ความคิดเห็นที่ 23
กรณีเช่นนี้ส่วนตัวผมคงพูดได้ยากว่าการเลิกจ้างดังกล่าว เป็นธรรมหรือไม่ เพราะการชี้ขาดว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม อยู่ที่ศาลชี้ขาดและประเด็นที่นำขึ้นสู่ศาล
แต่จากประสบการณ์ กรณีลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับการเงิน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และขาวสะอาดในเรื่องการเงิน ดังนั้น กรณีลูกจ้างเล่นการพนัน อาจนำไปสู่เหตุแห่งการทุจริตได้
กรณีของท่านขอให้แยกเป็น 2 กรณีที่ต้องพิจารณาคือ
1. เป็นการเลิกจ้างอันเป็นธรรมหรือไม่ ก็ต้องไปต่อสู่ว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุร้ายแรงหรือไม่ ระบุเป็นระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นการเลิกจ้างที่สมเหตุสมผลก็ได้
2. เป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือไม่ เพราะเหตุที่เลิกจ้างที่ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้น ไม่ได้หมายความว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยเสมอไป เพราะหากมิใช่เหตุอันเข้ามาตรา 119 การเลิกจ้างนั้นอาจต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง
ส่วนตัวแล้วผมมองว่า ลูกจ้างมีพฤติกรรมเล่นการพนัน แต่ยังไม่ส่งผลถึงการบริหารงานของธนาคาร ถึงแม้ระเบียบระบุไว้ว่าถือเป็นความผิดร้ายแรง ก็มิใช่กรณีร้ายแรงเสมอไป ดังนั้น ผมมองว่ากรณีนี้ยังพอมีทางสู้ในเรื่องเงินชดเชยการเลิกจ้าง ลองนำเรื่องขึ้นปรึกษาเจ้าพนักงานตรวจแรงงานเขตที่ท่านทำงานอยู่ครับ
แต่จากประสบการณ์ กรณีลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับการเงิน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และขาวสะอาดในเรื่องการเงิน ดังนั้น กรณีลูกจ้างเล่นการพนัน อาจนำไปสู่เหตุแห่งการทุจริตได้
กรณีของท่านขอให้แยกเป็น 2 กรณีที่ต้องพิจารณาคือ
1. เป็นการเลิกจ้างอันเป็นธรรมหรือไม่ ก็ต้องไปต่อสู่ว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุร้ายแรงหรือไม่ ระบุเป็นระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นการเลิกจ้างที่สมเหตุสมผลก็ได้
2. เป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือไม่ เพราะเหตุที่เลิกจ้างที่ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้น ไม่ได้หมายความว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยเสมอไป เพราะหากมิใช่เหตุอันเข้ามาตรา 119 การเลิกจ้างนั้นอาจต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง
ส่วนตัวแล้วผมมองว่า ลูกจ้างมีพฤติกรรมเล่นการพนัน แต่ยังไม่ส่งผลถึงการบริหารงานของธนาคาร ถึงแม้ระเบียบระบุไว้ว่าถือเป็นความผิดร้ายแรง ก็มิใช่กรณีร้ายแรงเสมอไป ดังนั้น ผมมองว่ากรณีนี้ยังพอมีทางสู้ในเรื่องเงินชดเชยการเลิกจ้าง ลองนำเรื่องขึ้นปรึกษาเจ้าพนักงานตรวจแรงงานเขตที่ท่านทำงานอยู่ครับ
ความคิดเห็นที่ 7
การ **เตือน** ไม่จำเป็นต้อง เป็นรายบุคคล
เมื่อได้ประกาศห้าม แล้ว รับรู้ทั่วกัน ก็ คือ เตือนทุกคนแล้ว
ใครทำไม่ถูกต้อง ก็คือ ผิด ตั้งแต่ ที่ทำหลังมีประกาศ
ถ้าประกาศอยู่ในสัญญาจ้าง ก็ จบตั้งแต่วันเริ่มทำงานแล้ว ไม่มีการเตือน
จังหวะพอดี เจอนโยบายลดคน เขาก็ชี้เอาคนที่ ออกแล้วมีปัญหาน้อยสุด
คุณมีความสามารถ อายุยัง 30ต้น น่าจะหางานใหม่ไม่ยาก
ก็ขอให้ได้งานใหม่ไวไว ครับ
เมื่อได้ประกาศห้าม แล้ว รับรู้ทั่วกัน ก็ คือ เตือนทุกคนแล้ว
ใครทำไม่ถูกต้อง ก็คือ ผิด ตั้งแต่ ที่ทำหลังมีประกาศ
ถ้าประกาศอยู่ในสัญญาจ้าง ก็ จบตั้งแต่วันเริ่มทำงานแล้ว ไม่มีการเตือน
จังหวะพอดี เจอนโยบายลดคน เขาก็ชี้เอาคนที่ ออกแล้วมีปัญหาน้อยสุด
คุณมีความสามารถ อายุยัง 30ต้น น่าจะหางานใหม่ไม่ยาก
ก็ขอให้ได้งานใหม่ไวไว ครับ
แสดงความคิดเห็น
จันทร์แสนเศร้า เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ชีวิดหมาน้อย