สวัสดีค่ะทุกคน
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา เราได้สอบ IELTS และคิดไว้ว่า ถ้าได้เกินที่ตั้งไว้ จะลองมารีวิวดูค่ะ
เอาล่ะ เมื่อได้ผลตามที่ต้องการแล้ว ก็จะมารีวิวหนังสือที่อ่าน/ คลิปที่ฟัง และข้อสอบที่เราได้ทำในวันนั้นค่ะ
ปล เรามีเวลาเตรียมตัวประมาณ 1 เดือนนิดๆ (รวมเวลาขี้เกียจและอู้งานแล้ว)
ส่วนที่ 1 :: เตรียมตัว
หนังสือที่เราได้ใช้ฝึก มีดังนี้
- The Official Cambridge Guide to IELTS
(
https://images-na.ssl-images-amazon.com/images/I/51K-WQao3ZL.jpg)
-Cambridge IELTS เล่มดำ-ม่วง เราใช้เล่ม 7-12 ค่ะ
(
https://www.bookshopbd.com/wp-content/uploads/2017/12/Cambridge-ielts-1-12.png)
1.1 Listening
มี 4 พาร์ทย่อย ซึ่งจะวนๆกันไปหลายๆแบบ เราจะเขียนทีละความเป็นไปได้นะคะ
>>>เติมคำในช่องว่าง (ONE WORD---ONE WORD AND/OR A NUMBER---TWO---THREE)
-อันดับแรกวงกลมให้ชัดก่อนฝึกทำข้อสอบและวันจริงเลยค่ะ วงไว้ว่าเค้าต้องการกี่คำ อะไรบ้าง
-ตอนฟังก็ตั้งใจฟังและเขียนไปด้วย (จะมีตัวเลข อาจจะเป็นราคา หรือเบอร์โทรศัพท์ หรือสะกดชื่อ ชื่อคน นามสกุล ชื่อถนน ฯลฯ)
-บางตอนอาจจะพูดสลับกันบ้างนิดหน่อย ค่อยๆฟัง อย่าสติแตก
-บางครั้งในพาร์ทสุดท้าย อาจจะเป็นเหมือนฟังเลกเชอร์ เค้าจะพูดเรียงๆมาตามที่ในโจทย์เลยค่ะ อ่านไปเรื่อยๆ ค่อยๆเขียน และตอบไป
สะกดคำ
-ต้องสะกดถูกทุกตัว (ถ้าชื่อต้องขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่) แก้ปัญหาโดยการเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ไปให้หมดเลยค่ะ ไม่เป็นไร
-เติม S, ED ต้องมีด้วยนะคะ ถ้าเราฟังไม่ทัน ให้อ่านจากโจทย์ดู พวก a, the อะไรแบบนี้ หรือให้ดูจากกริยาด้านหลัง ว่าใช้เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ค่ะ
>>>เลือก2คำตอบจากหลายๆตัวเลือก
-เค้าจะพูด(เกือบ)ทุกตัวเลือกค่ะ วนไปวนมา วิธีของเราคือ เขียนไว้ด้านหลัง(กันลืม/กันสับสน) ว่าตัวเลือกไหนเกิดเหตุการณ์อะไร ใช่อย่างที่คำถามถามหรือไม่ แล้วจะได้ค่อยๆตัดออกไปทีละข้อ
>>>Multiple Choice
-อาจจะเป็น --บทสนทนาของ2-3คน// การพูดของคนเดียว(แนะนำสถานที่, จากวิทยุ ฯลฯ)
-จับใจความดีๆ ใครทำอะไรที่ไหน
-เค้าจะไม่ได้บอกตรงๆค่ะ ต้องกลับมาตีความอีกที (อาจจะใช้คำเหมือน หรือคำตรงข้าม)
-ก่อนที่เทปจะพูด เราจะมีเวลาว่างนิดนึง ให้เราวงหรือขีดเส้นใต้ พวกคำสำคัญ คีย์เวิร์ด ไว้ จะช่วยให้เราหาคำตอบได้ง่ายขึ้น
-ตอนที่อ่านคำถาม+ตัวเลือก ก็ค่อยๆคิด(มโน)ว่าเรื่องมันน่าจะเป็นแนวไหนยังไง
>>>จับคู่
-ค่อยๆฟัง อันนี้อาจจะไม่เรียงตามข้อนะคะ อาจจะพูดคำศัพท์ตรงๆเลย หรือคำที่ใกล้เคียงมากๆค่ะ
ถ้าฟังไม่รู้เรื่องทำยังไงดี
ตรงๆก็ต้องปล่อยค่ะ มัวแต่มาสติแตกจะทำให้เราพลาดข้อถัดๆไปอีก แล้วพอเทปพูดจนจบบทสนทนา จะมีเวลาให้เราได้นึก(นิดนึง) เราก็อาจจะนั่งเขียน+ลิสท์ คำที่เป็นไปได้ แล้วพอมีเวลาสิบนาทีสุดท้ายก่อนกรอกลงกระดาษคำตอบ ค่อยมานั่งคิดและเลือกอีกที
มันก็ต้องเสี่ยงนะคะ คือเราอาจจะตอบผิดก็ได้ แต่โอกาสมันก็50/50ถ้าเราตอบลงไป ถ้าไม่ตอบเลยมันก็จะมีโอกาส 0/100
ตอนเเตรียมตัว
-ฝึกทำข้อสอบโดยไม่หยุดทีละพาร์ทค่ะ รันไปเลยพาร์ท1-4
-หลังจากนั้นก็มาตรวจคำตอบ ถ้าผิดตรงไหน ให้จดคำตอบที่ถูกต้องไว้ แล้วกลับไปฟังเทปอีกรอบ เปรียบเทียบว่าเราได้ยินเป็นอะไร หรือว่าผิดตรงไหน หาจุดผิดพลาดของตัวเองแล้วดาวไว้ว่าให้ตัวเองระวังสำหรับรอบต่อไป
-ถ้าฟังแล้วก็ยังไม่เจอ ก็ไปหาคำตอบจาก audio script ด้านหลังค่ะ
-ตอนซ้อมฟังก็ไม่ย้อนนะคะ ผ่านไปแล้วทิ้งเลย จะได้คุ้นเคยกับความเสียใจ (และความเหวอ) 5555
1.2 Reading
- แบ่งเป็น 3 บทความย่อยๆ (ความรู้สึกเรา) จะเรียงจากง่าย-->ยาก
- มีบทความหลายๆแนว ทั้งแนววิทยาศาสตร์ การจัดการ ศิลปะ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การศึกษา ภาษาศาสตร์(กึ่งๆประวัติศาสตร์) จิตวิทยา ดนตรี ทั่วๆไป แต่จะไม่ได้ลงลึกอะไรมาก ทุกคนสามารถเข้าใจได้
ส่วนตัว เราเรียนจบวิศวะมา บอกตรงๆว่า บทความทั่วๆไป, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, ชีวะนิดๆ จะรู้สึกว่าถนัดและอ่านง่ายกว่า เมื่อไหร่ที่เจอบทควาสายสังคมมากๆ เช่นจิตวิทยา หรืออะไรที่มัน Abstract (อธิบา่ยไม่ถูก) เราไม่โอเคคคค บอกเลยว่าคะแนนต่ำเตี้ยมาก อ่านวนไปวนมาจนปวดหัวแต่ก็ยังไม่เข้าใจ
ดังนั้น เราแนะนำว่า ให้ลองหาบทความภาษาอังกฤษของสายวิชาที่เราไม่ได้เรียนหรือไม่ได้สนใจอ่านบ้าง จะได้มีความเคยชินทั้งในด้านภาษา คำศัพท์ และความหมายโดยรวมค่ะ
>>>เติมคำในช่องว่าง (ONE WORD---ONE WORD AND/OR A NUMBER---TWO---THREE)
-ถ้าเป็นให้เติมคำในช่องว่างนี้ ไม่ยากค่ะ กลับไปที่บทความ แล้วหา/เปรียบเทียบโจทย์และบทความ จะมีส่วนที่เหมือน(คล้าย)กัน ขอให้เรา
ลอกคำศัพท์นั้นมาเลย ไม่ต้องแก้ใดๆ (ส่วนมากคำบริบทข้างๆจะเปลี่ยนนิดหน่อย แต่คำที่เราจะตอบลงไปนั้น เหมือนเป๊ะ)
-เค้าจะเรียงตามบทความเลยค่ะ ถ้าเราอ่านแล้วเจอข้อ 1 ที่บรรทัดที่ 1 แล้วข้ามไปเจอข้อ 3 ที่บรรทัดที่ 2 แสดงว่าไอข้อ 2 มันต้องอยู่ระหว่างนี้แน่ๆ
-อย่าเขียนคำเกินนะคะ
>>>เติมตัวอักษร
-จะคล้ายๆอันบน แต่อันนี้ให้เติมตัวอักษรลงไป โดยใช้ศัพท์ที่เค้าให้มา
-ศัพท์ที่เค้าให้มานั้นจะไม่ได้ตรงๆตัวนะคะ เป็นคำเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำในบทความ ดังนั้นเราควรจะเข้าใจบทความ และกลับมาอ่านความเป็นไปได้ของศัพท์ที่เค้าให้มาในตัวเลือกค่ะ
-โจทย์จะเรียงตามบทความเหมือนกันค่ะ ค่อยๆอ่านและเทียบไปได้เลย
>>>จับคู่
-อาจจะเป็นจับคู่หัวข้อเรื่องกับบทความ หรือจับใจความกับบทความค่ะ
-อันนี้แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคนนะคะ บางคนก็อ่านคร่าวๆแล้วจับคู่เลย แต่เราคืออ่านเน้นๆค่ะ อ่านไปขีดไป อ่านทุกบรรทัด อ่านให้จบ แล้วกลับไปอ่านหัวข้อ(ที่โจทย์) แล้วกลับมามองความเป็นไปได้ -- มันจะมีความคลับคล้ายคลับคลาอยู่สองสามอัน ค่อยๆอ่านแล้วตัดช้อยส์อีกรอบค่ะ มันจะมีจุดคลิ๊กกันอยู่
-บางครั้ง อ่านแค่ประโยคแรกก็จะได้คำตอบแล้ว สำหรับบางส่วน แต่บางครั้งคำตอบก็จะอยู่ประมาณ2-3 ประโยคสุดท้าย --เราเลยเลือกอ่านทั้งหมดค่ะ
>>>TRUE, FALSE, NOT GIVEN /// YES, NO, NOT GIVEN
- เราเปรียบเทียบคำต่อคำเลยค่ะ ระหว่างโจทย์กับคำในบทความ ขีดเส้นใต้ทีละคำ แล้วเปรียบเทียบ ถ้ามีเหมือนกัน=TRUE, YES // มีคำใดคำหนึ่งผิดพลาดไป แต่ยังอยู่ในเรื่องเดียวกัน = FALSE // มีคำที่ไม่ตรงกัน แถมยังพูดกันไปคนละเรื่อง = NOT GIVEN --เราว่าเปรียบเทียบแบบนี้สำหรับเราได้ผลและช่วยได้เยอะนะคะ
>>>ให้จับคู่ชื่อคน หรือปีต่างๆ
-ตอนอ่านบทความให้เราวงกลม หรือขีดเส้นไว้ที่ปีหรือว่าชื่อคนที่เราจะต้องมาจับคู่เลยค่ะ จะได้ง่ายต่อการหา
-เวลาเราทำโจทย์ จะอ่านทีละคน(หรือทีละปี)จากในบทความนะคะ อ่านวนๆไป แล้วกลับมาอ่านที่โจทย์อีกครั้ง จะได้เข้าใจมากขึ้น เช่น เราจะหาคำตอบของคนที่ชื่อ ซูซาน เราก็จะกลับไปอ่านที่บทความ ว่าซูซานเนี่ย กล่าวไว้ว่าอย่างไร ได้ทำอะไร เกี่ยวกับอะไรบ้าง แล้วก็กลับมาอ่านที่โจทย์และค่อยเลือกค่ะ
-ความโหดร้ายก็คือ บางคำตอบก็ตอบได้หลายข้อ บางคำตอบก็ไม่มี --ความรู้สึกเรานะ แหะๆ
ตอนเเตรียมตัว
-ค่อยๆฝึกจิตใจให้แข็งแรง โดยการทำทีละบทความ จับเวลาให้ได้ภายใน 20 นาที (ทั้งอ่านและตอบ) เพราะว่าในวันจริงเค้าจะประกาศเวลาทุก 20 นาที และไม่มีเวลาเพิ่มให้เขียนคำตอบ
-อ่านบทความที่1 (20นาที) --ตรวจคำตอบ(เพื่อความชื่นใจ+ลดความอยากเผือกในคำตอบ) ---บทความที่2 (20นาที)---ตรวจคำตอบ---บทความที่3(20นาที)--- ตรวจคำตอบ //ตรวจเฉยๆนะคะ ยังไม่หาจุดผิดพลาด
-อ่านจบทั้งหมดแล้วก็ค่อยๆมาเปรียบเทียบคำตอบที่ผิดกับคำเฉลยค่ะ ว่ามันมาจากไหนอะไรยังไง
-พอจิตแข็งก็อ่านยาวเลยค่ะ ไม่พัก 3 บทความ ภายในเวลา 1 ชม ให้ได้เหมือนในสนามสอบ
-จับเวลาจริงๆเลยนะคะ เราจะได้รู้ว่า เราใช้เวลาอ่านแค่ไหนกว่าจะจบ ใช้เวลาเท่าไหร่ จะได้มาปรับปรุง(ลดเวลา)
-ตอนซ้อมคือเฉลี่ยที่2บทความแรก เราจะใช้เวลาประมาณ 16-17 นาที ดังนั้นที่บทความสุดท้าย(ที่เราคิดว่ายากที่สุด) เราจะมีเวลาเพิ่มจาก 20 นาที เป็นประมาณ25-26 นาทีค่ะ
-ไม่ควรตื่นเต้นนะคะ นิ่งไว้ นิ่งไว้
-อันที่จริงตอนซ้อมควรเหลือเวลาไว้อีกค่ะ เพราะว่าวันจริงจะมีความเครียดและความตื่นเต้นเข้ามาอีก มันจะทำให้เราเสียเวลาไปได้นะคะ (เราว่าเหลือสัก 5 นาทีกำลังโอเค)
-ตอนสอบเค้าให้ใช้แค่ดินสอ(เราไม่เคยรู้มาก่อน) ตอนซ้อมเราใช้ปากกาสีเน้นๆ เลยรู้สึกว่าตอนซ้อมสามารถอ่านและหาคำตอบได้ง่ายกว่า ดังนั้นถ้าคุณต้องใช้ดินสอตอนสอบ แนะนำว่าให้ฝึกโดยการใช้ดินสอวงและขีดเส้นเลยค่ะ
1.3 Writing
พาร์ทนี้เราว่ายากที่สุดในทั้งหมดเลยค่ะ เพราะว่าเราไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษมาก่อน (ไม่เคยเขียน essay เลย) โรงเรียน มหาลัย ไม่เคยได้เขียน เอาละไง เริ่มไงดีฟระ
จนไปได้อ่านกระทู้นึงในพันทิปนี่แหล่ะค่ะ เค้าแนะนำช่อง "E2 IELTS" ในยูทูปมาค่ะ โอ้โหวววววววววววววววววววววววววววว สวรรค์มากๆ คุณครูเจย์
เราแนะนำเลยนะคะ เค้าจะสอนเขียนและเรียบเรียงค่ะ เอากระดาษมาจดๆ ลองเขียนตาม ทั้งพาร์ท1และพาร์ท2 มีทุกแบบค่ะ
เราก็เรียนออนไลน์กับครูเจย์นี่แหล่ะค่ะ ฟังๆจดๆ เอามาปรับให้เข้ากับตัวเอง
ตอนเราฝึกก็จะมีประมาณนี้ค่ะ (อันที่จริงเรามีโน้ตไว้นะคะ ถ้าใครสนใจให้หลังไมค์มาขอได้เลย ยินดีถ่ายรูปให้ค่ะ)
//ออกตัวนิดนึงว่าเราขี้เกียจฝึกแล้วค่ะตอนนั้น แบบว่า เออน่ะๆ กะๆเอาคร่าวๆว่าประมาณนี้แล้วกัน
-หลักในการเขียนพาร์ทแรกของเรา (ตามหลักของครูเจย์) คือ rewrite--summarise--compare ค่ะ
--- rewrite = paraphrase ดัดแปลงโจทย์ค่ะ เราใช้สลับกันไปมาระหว่างคำนาม, adj, synonym
--- summarise = สรุปภาพรวมของกราฟ, แผนที่, กระบวนการว่ามันเป็นอย่างไร ถ้าเทียบคร่าวๆแล้วเป็นยังไง อะไรที่เราเห็นว่ามันเปลี่ยนชัดเจน หรือเปรียบเทียบได้ชัดเจนบ้าง (ไม่ต้องใส่เลขหรือรายละเอียด)
--- compare = เปรียบเทียบเลยค่ะ ใส่ให้ยับ 555 ตัวเลขอะไร ปีไหนยังไง เปรียบให้เห็นจะๆไปเลย
-ฝึกเขียนกราฟให้คล่อง จำศัพท์พวก ขึ้น/ลง/คงที่ ทั้งกริยาและคำนาม จำ adj, adv และเขียนให้ไวที่สุด
-ถ้าเป็นบรรยายแผนที่หรือบรรยาย Process พยายามใช้ passive voice
-พาร์ทแรกเราไม่มีสรุป(conclusion)นะคะ เพราะเค้าให้บรรยายจากสิ่งที่เห็น ไม่ได้ให้เราออกความเห็นอ่ะค่ะ (แต่เราไม่รู้คนอื่นใส่ลงไปมั้ย)
-พาร์ทสอง เราแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ Introduction--Body--Conclusion
-ในตัว Introduction (ตามหลักครูเจย์) จะมีคร่าวๆ3ประโยค คือ 1.พูดถึงหัวข้อนั้นกว้างๆ 2.เขียนในสิ่งที่โจทย์ให้มา(พาราเฟรส) 3.บทความนี้จะดิสคัส...(ตามหัวข้อของโจทย์ เช่น จะบอกข้อดีข้อเสียของ... ทำไม..ถึงได้รับความนิยม...)
-ในตัว Body เราจะมีหัวข้อหลัก(ที่ตอบคำถามโจทย์) มีเหตุผล และมีตัวอย่างประกอบ(อันนี้เราโม้5555) ที่สนับสนุนหัวข้อนั้น
-สรุป เราก็จะกล่าวสั้นๆถึงสิ่งที่เราได้เขียนไปแล้ว บอกที่มาที่ไป สรุปข้อดีและข้อเสียให้คนอ่านได้รู้เรื่องอีกทีนึง (เหมือนพาออกทะเลไปไกล แล้วก้ลากกลับมาที่เดิม 555)
รีวิวการเตรียมตัวสอบ IELTS ด้วยตัวเอง
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา เราได้สอบ IELTS และคิดไว้ว่า ถ้าได้เกินที่ตั้งไว้ จะลองมารีวิวดูค่ะ
เอาล่ะ เมื่อได้ผลตามที่ต้องการแล้ว ก็จะมารีวิวหนังสือที่อ่าน/ คลิปที่ฟัง และข้อสอบที่เราได้ทำในวันนั้นค่ะ
ปล เรามีเวลาเตรียมตัวประมาณ 1 เดือนนิดๆ (รวมเวลาขี้เกียจและอู้งานแล้ว)
ส่วนที่ 1 :: เตรียมตัว
หนังสือที่เราได้ใช้ฝึก มีดังนี้
- The Official Cambridge Guide to IELTS
(https://images-na.ssl-images-amazon.com/images/I/51K-WQao3ZL.jpg)
-Cambridge IELTS เล่มดำ-ม่วง เราใช้เล่ม 7-12 ค่ะ
(https://www.bookshopbd.com/wp-content/uploads/2017/12/Cambridge-ielts-1-12.png)
1.1 Listening
มี 4 พาร์ทย่อย ซึ่งจะวนๆกันไปหลายๆแบบ เราจะเขียนทีละความเป็นไปได้นะคะ
>>>เติมคำในช่องว่าง (ONE WORD---ONE WORD AND/OR A NUMBER---TWO---THREE)
-อันดับแรกวงกลมให้ชัดก่อนฝึกทำข้อสอบและวันจริงเลยค่ะ วงไว้ว่าเค้าต้องการกี่คำ อะไรบ้าง
-ตอนฟังก็ตั้งใจฟังและเขียนไปด้วย (จะมีตัวเลข อาจจะเป็นราคา หรือเบอร์โทรศัพท์ หรือสะกดชื่อ ชื่อคน นามสกุล ชื่อถนน ฯลฯ)
-บางตอนอาจจะพูดสลับกันบ้างนิดหน่อย ค่อยๆฟัง อย่าสติแตก
-บางครั้งในพาร์ทสุดท้าย อาจจะเป็นเหมือนฟังเลกเชอร์ เค้าจะพูดเรียงๆมาตามที่ในโจทย์เลยค่ะ อ่านไปเรื่อยๆ ค่อยๆเขียน และตอบไป
สะกดคำ
-ต้องสะกดถูกทุกตัว (ถ้าชื่อต้องขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่) แก้ปัญหาโดยการเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ไปให้หมดเลยค่ะ ไม่เป็นไร
-เติม S, ED ต้องมีด้วยนะคะ ถ้าเราฟังไม่ทัน ให้อ่านจากโจทย์ดู พวก a, the อะไรแบบนี้ หรือให้ดูจากกริยาด้านหลัง ว่าใช้เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ค่ะ
>>>เลือก2คำตอบจากหลายๆตัวเลือก
-เค้าจะพูด(เกือบ)ทุกตัวเลือกค่ะ วนไปวนมา วิธีของเราคือ เขียนไว้ด้านหลัง(กันลืม/กันสับสน) ว่าตัวเลือกไหนเกิดเหตุการณ์อะไร ใช่อย่างที่คำถามถามหรือไม่ แล้วจะได้ค่อยๆตัดออกไปทีละข้อ
>>>Multiple Choice
-อาจจะเป็น --บทสนทนาของ2-3คน// การพูดของคนเดียว(แนะนำสถานที่, จากวิทยุ ฯลฯ)
-จับใจความดีๆ ใครทำอะไรที่ไหน
-เค้าจะไม่ได้บอกตรงๆค่ะ ต้องกลับมาตีความอีกที (อาจจะใช้คำเหมือน หรือคำตรงข้าม)
-ก่อนที่เทปจะพูด เราจะมีเวลาว่างนิดนึง ให้เราวงหรือขีดเส้นใต้ พวกคำสำคัญ คีย์เวิร์ด ไว้ จะช่วยให้เราหาคำตอบได้ง่ายขึ้น
-ตอนที่อ่านคำถาม+ตัวเลือก ก็ค่อยๆคิด(มโน)ว่าเรื่องมันน่าจะเป็นแนวไหนยังไง
>>>จับคู่
-ค่อยๆฟัง อันนี้อาจจะไม่เรียงตามข้อนะคะ อาจจะพูดคำศัพท์ตรงๆเลย หรือคำที่ใกล้เคียงมากๆค่ะ
ถ้าฟังไม่รู้เรื่องทำยังไงดี
ตรงๆก็ต้องปล่อยค่ะ มัวแต่มาสติแตกจะทำให้เราพลาดข้อถัดๆไปอีก แล้วพอเทปพูดจนจบบทสนทนา จะมีเวลาให้เราได้นึก(นิดนึง) เราก็อาจจะนั่งเขียน+ลิสท์ คำที่เป็นไปได้ แล้วพอมีเวลาสิบนาทีสุดท้ายก่อนกรอกลงกระดาษคำตอบ ค่อยมานั่งคิดและเลือกอีกที
มันก็ต้องเสี่ยงนะคะ คือเราอาจจะตอบผิดก็ได้ แต่โอกาสมันก็50/50ถ้าเราตอบลงไป ถ้าไม่ตอบเลยมันก็จะมีโอกาส 0/100
ตอนเเตรียมตัว
-ฝึกทำข้อสอบโดยไม่หยุดทีละพาร์ทค่ะ รันไปเลยพาร์ท1-4
-หลังจากนั้นก็มาตรวจคำตอบ ถ้าผิดตรงไหน ให้จดคำตอบที่ถูกต้องไว้ แล้วกลับไปฟังเทปอีกรอบ เปรียบเทียบว่าเราได้ยินเป็นอะไร หรือว่าผิดตรงไหน หาจุดผิดพลาดของตัวเองแล้วดาวไว้ว่าให้ตัวเองระวังสำหรับรอบต่อไป
-ถ้าฟังแล้วก็ยังไม่เจอ ก็ไปหาคำตอบจาก audio script ด้านหลังค่ะ
-ตอนซ้อมฟังก็ไม่ย้อนนะคะ ผ่านไปแล้วทิ้งเลย จะได้คุ้นเคยกับความเสียใจ (และความเหวอ) 5555
1.2 Reading
- แบ่งเป็น 3 บทความย่อยๆ (ความรู้สึกเรา) จะเรียงจากง่าย-->ยาก
- มีบทความหลายๆแนว ทั้งแนววิทยาศาสตร์ การจัดการ ศิลปะ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การศึกษา ภาษาศาสตร์(กึ่งๆประวัติศาสตร์) จิตวิทยา ดนตรี ทั่วๆไป แต่จะไม่ได้ลงลึกอะไรมาก ทุกคนสามารถเข้าใจได้
ส่วนตัว เราเรียนจบวิศวะมา บอกตรงๆว่า บทความทั่วๆไป, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, ชีวะนิดๆ จะรู้สึกว่าถนัดและอ่านง่ายกว่า เมื่อไหร่ที่เจอบทควาสายสังคมมากๆ เช่นจิตวิทยา หรืออะไรที่มัน Abstract (อธิบา่ยไม่ถูก) เราไม่โอเคคคค บอกเลยว่าคะแนนต่ำเตี้ยมาก อ่านวนไปวนมาจนปวดหัวแต่ก็ยังไม่เข้าใจ ดังนั้น เราแนะนำว่า ให้ลองหาบทความภาษาอังกฤษของสายวิชาที่เราไม่ได้เรียนหรือไม่ได้สนใจอ่านบ้าง จะได้มีความเคยชินทั้งในด้านภาษา คำศัพท์ และความหมายโดยรวมค่ะ
>>>เติมคำในช่องว่าง (ONE WORD---ONE WORD AND/OR A NUMBER---TWO---THREE)
-ถ้าเป็นให้เติมคำในช่องว่างนี้ ไม่ยากค่ะ กลับไปที่บทความ แล้วหา/เปรียบเทียบโจทย์และบทความ จะมีส่วนที่เหมือน(คล้าย)กัน ขอให้เราลอกคำศัพท์นั้นมาเลย ไม่ต้องแก้ใดๆ (ส่วนมากคำบริบทข้างๆจะเปลี่ยนนิดหน่อย แต่คำที่เราจะตอบลงไปนั้น เหมือนเป๊ะ)
-เค้าจะเรียงตามบทความเลยค่ะ ถ้าเราอ่านแล้วเจอข้อ 1 ที่บรรทัดที่ 1 แล้วข้ามไปเจอข้อ 3 ที่บรรทัดที่ 2 แสดงว่าไอข้อ 2 มันต้องอยู่ระหว่างนี้แน่ๆ
-อย่าเขียนคำเกินนะคะ
>>>เติมตัวอักษร
-จะคล้ายๆอันบน แต่อันนี้ให้เติมตัวอักษรลงไป โดยใช้ศัพท์ที่เค้าให้มา
-ศัพท์ที่เค้าให้มานั้นจะไม่ได้ตรงๆตัวนะคะ เป็นคำเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำในบทความ ดังนั้นเราควรจะเข้าใจบทความ และกลับมาอ่านความเป็นไปได้ของศัพท์ที่เค้าให้มาในตัวเลือกค่ะ
-โจทย์จะเรียงตามบทความเหมือนกันค่ะ ค่อยๆอ่านและเทียบไปได้เลย
>>>จับคู่
-อาจจะเป็นจับคู่หัวข้อเรื่องกับบทความ หรือจับใจความกับบทความค่ะ
-อันนี้แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคนนะคะ บางคนก็อ่านคร่าวๆแล้วจับคู่เลย แต่เราคืออ่านเน้นๆค่ะ อ่านไปขีดไป อ่านทุกบรรทัด อ่านให้จบ แล้วกลับไปอ่านหัวข้อ(ที่โจทย์) แล้วกลับมามองความเป็นไปได้ -- มันจะมีความคลับคล้ายคลับคลาอยู่สองสามอัน ค่อยๆอ่านแล้วตัดช้อยส์อีกรอบค่ะ มันจะมีจุดคลิ๊กกันอยู่
-บางครั้ง อ่านแค่ประโยคแรกก็จะได้คำตอบแล้ว สำหรับบางส่วน แต่บางครั้งคำตอบก็จะอยู่ประมาณ2-3 ประโยคสุดท้าย --เราเลยเลือกอ่านทั้งหมดค่ะ
>>>TRUE, FALSE, NOT GIVEN /// YES, NO, NOT GIVEN
- เราเปรียบเทียบคำต่อคำเลยค่ะ ระหว่างโจทย์กับคำในบทความ ขีดเส้นใต้ทีละคำ แล้วเปรียบเทียบ ถ้ามีเหมือนกัน=TRUE, YES // มีคำใดคำหนึ่งผิดพลาดไป แต่ยังอยู่ในเรื่องเดียวกัน = FALSE // มีคำที่ไม่ตรงกัน แถมยังพูดกันไปคนละเรื่อง = NOT GIVEN --เราว่าเปรียบเทียบแบบนี้สำหรับเราได้ผลและช่วยได้เยอะนะคะ
>>>ให้จับคู่ชื่อคน หรือปีต่างๆ
-ตอนอ่านบทความให้เราวงกลม หรือขีดเส้นไว้ที่ปีหรือว่าชื่อคนที่เราจะต้องมาจับคู่เลยค่ะ จะได้ง่ายต่อการหา
-เวลาเราทำโจทย์ จะอ่านทีละคน(หรือทีละปี)จากในบทความนะคะ อ่านวนๆไป แล้วกลับมาอ่านที่โจทย์อีกครั้ง จะได้เข้าใจมากขึ้น เช่น เราจะหาคำตอบของคนที่ชื่อ ซูซาน เราก็จะกลับไปอ่านที่บทความ ว่าซูซานเนี่ย กล่าวไว้ว่าอย่างไร ได้ทำอะไร เกี่ยวกับอะไรบ้าง แล้วก็กลับมาอ่านที่โจทย์และค่อยเลือกค่ะ
-ความโหดร้ายก็คือ บางคำตอบก็ตอบได้หลายข้อ บางคำตอบก็ไม่มี --ความรู้สึกเรานะ แหะๆ
ตอนเเตรียมตัว
-ค่อยๆฝึกจิตใจให้แข็งแรง โดยการทำทีละบทความ จับเวลาให้ได้ภายใน 20 นาที (ทั้งอ่านและตอบ) เพราะว่าในวันจริงเค้าจะประกาศเวลาทุก 20 นาที และไม่มีเวลาเพิ่มให้เขียนคำตอบ
-อ่านบทความที่1 (20นาที) --ตรวจคำตอบ(เพื่อความชื่นใจ+ลดความอยากเผือกในคำตอบ) ---บทความที่2 (20นาที)---ตรวจคำตอบ---บทความที่3(20นาที)--- ตรวจคำตอบ //ตรวจเฉยๆนะคะ ยังไม่หาจุดผิดพลาด
-อ่านจบทั้งหมดแล้วก็ค่อยๆมาเปรียบเทียบคำตอบที่ผิดกับคำเฉลยค่ะ ว่ามันมาจากไหนอะไรยังไง
-พอจิตแข็งก็อ่านยาวเลยค่ะ ไม่พัก 3 บทความ ภายในเวลา 1 ชม ให้ได้เหมือนในสนามสอบ
-จับเวลาจริงๆเลยนะคะ เราจะได้รู้ว่า เราใช้เวลาอ่านแค่ไหนกว่าจะจบ ใช้เวลาเท่าไหร่ จะได้มาปรับปรุง(ลดเวลา)
-ตอนซ้อมคือเฉลี่ยที่2บทความแรก เราจะใช้เวลาประมาณ 16-17 นาที ดังนั้นที่บทความสุดท้าย(ที่เราคิดว่ายากที่สุด) เราจะมีเวลาเพิ่มจาก 20 นาที เป็นประมาณ25-26 นาทีค่ะ
-ไม่ควรตื่นเต้นนะคะ นิ่งไว้ นิ่งไว้
-อันที่จริงตอนซ้อมควรเหลือเวลาไว้อีกค่ะ เพราะว่าวันจริงจะมีความเครียดและความตื่นเต้นเข้ามาอีก มันจะทำให้เราเสียเวลาไปได้นะคะ (เราว่าเหลือสัก 5 นาทีกำลังโอเค)
-ตอนสอบเค้าให้ใช้แค่ดินสอ(เราไม่เคยรู้มาก่อน) ตอนซ้อมเราใช้ปากกาสีเน้นๆ เลยรู้สึกว่าตอนซ้อมสามารถอ่านและหาคำตอบได้ง่ายกว่า ดังนั้นถ้าคุณต้องใช้ดินสอตอนสอบ แนะนำว่าให้ฝึกโดยการใช้ดินสอวงและขีดเส้นเลยค่ะ
1.3 Writing
พาร์ทนี้เราว่ายากที่สุดในทั้งหมดเลยค่ะ เพราะว่าเราไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษมาก่อน (ไม่เคยเขียน essay เลย) โรงเรียน มหาลัย ไม่เคยได้เขียน เอาละไง เริ่มไงดีฟระ
จนไปได้อ่านกระทู้นึงในพันทิปนี่แหล่ะค่ะ เค้าแนะนำช่อง "E2 IELTS" ในยูทูปมาค่ะ โอ้โหวววววววววววววววววววววววววววว สวรรค์มากๆ คุณครูเจย์
เราแนะนำเลยนะคะ เค้าจะสอนเขียนและเรียบเรียงค่ะ เอากระดาษมาจดๆ ลองเขียนตาม ทั้งพาร์ท1และพาร์ท2 มีทุกแบบค่ะ
เราก็เรียนออนไลน์กับครูเจย์นี่แหล่ะค่ะ ฟังๆจดๆ เอามาปรับให้เข้ากับตัวเอง
ตอนเราฝึกก็จะมีประมาณนี้ค่ะ (อันที่จริงเรามีโน้ตไว้นะคะ ถ้าใครสนใจให้หลังไมค์มาขอได้เลย ยินดีถ่ายรูปให้ค่ะ)
//ออกตัวนิดนึงว่าเราขี้เกียจฝึกแล้วค่ะตอนนั้น แบบว่า เออน่ะๆ กะๆเอาคร่าวๆว่าประมาณนี้แล้วกัน
-หลักในการเขียนพาร์ทแรกของเรา (ตามหลักของครูเจย์) คือ rewrite--summarise--compare ค่ะ
--- rewrite = paraphrase ดัดแปลงโจทย์ค่ะ เราใช้สลับกันไปมาระหว่างคำนาม, adj, synonym
--- summarise = สรุปภาพรวมของกราฟ, แผนที่, กระบวนการว่ามันเป็นอย่างไร ถ้าเทียบคร่าวๆแล้วเป็นยังไง อะไรที่เราเห็นว่ามันเปลี่ยนชัดเจน หรือเปรียบเทียบได้ชัดเจนบ้าง (ไม่ต้องใส่เลขหรือรายละเอียด)
--- compare = เปรียบเทียบเลยค่ะ ใส่ให้ยับ 555 ตัวเลขอะไร ปีไหนยังไง เปรียบให้เห็นจะๆไปเลย
-ฝึกเขียนกราฟให้คล่อง จำศัพท์พวก ขึ้น/ลง/คงที่ ทั้งกริยาและคำนาม จำ adj, adv และเขียนให้ไวที่สุด
-ถ้าเป็นบรรยายแผนที่หรือบรรยาย Process พยายามใช้ passive voice
-พาร์ทแรกเราไม่มีสรุป(conclusion)นะคะ เพราะเค้าให้บรรยายจากสิ่งที่เห็น ไม่ได้ให้เราออกความเห็นอ่ะค่ะ (แต่เราไม่รู้คนอื่นใส่ลงไปมั้ย)
-พาร์ทสอง เราแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ Introduction--Body--Conclusion
-ในตัว Introduction (ตามหลักครูเจย์) จะมีคร่าวๆ3ประโยค คือ 1.พูดถึงหัวข้อนั้นกว้างๆ 2.เขียนในสิ่งที่โจทย์ให้มา(พาราเฟรส) 3.บทความนี้จะดิสคัส...(ตามหัวข้อของโจทย์ เช่น จะบอกข้อดีข้อเสียของ... ทำไม..ถึงได้รับความนิยม...)
-ในตัว Body เราจะมีหัวข้อหลัก(ที่ตอบคำถามโจทย์) มีเหตุผล และมีตัวอย่างประกอบ(อันนี้เราโม้5555) ที่สนับสนุนหัวข้อนั้น
-สรุป เราก็จะกล่าวสั้นๆถึงสิ่งที่เราได้เขียนไปแล้ว บอกที่มาที่ไป สรุปข้อดีและข้อเสียให้คนอ่านได้รู้เรื่องอีกทีนึง (เหมือนพาออกทะเลไปไกล แล้วก้ลากกลับมาที่เดิม 555)