ผู้ใช้รถเคยคิดไหมครับว่า ผ้าเบรคและจานเบรคที่สึกหรอไปเรื่อยๆ ส่วนที่กร่อนไป มันหายไปไหน
ดอกยางที่สึกหรอไปจากการใช้งาน หายไปไหน
นี่เป็นภาพอนุภาคฝุ่นจิ๋วจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่มาจากการสึกหรอของเบรค
ทางซ้ายเป็นอนุภาค PM2.5(ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร) ขวาเป็นอนุภาค PM10(เล็กกว่า 10 ไมโครเมตร)
อนุภาคจากเบรค ประกอบด้วยธาตุหลายชนิด รวมถึงโลหะหนักที่เป็นอันตราย
หากเป็นอนุภาคจากยางรถ จะมีไมโครพลาสติกและโลหะหนักด้วย
ผลการศึกษาใหม่ๆไม่กี่ปีมานี้ แสดงว่าสัดส่วนอนุภาคจากการสึกหรอของเบรค ยาง และผิวถนน
เป็นสัดส่วนสูงมากเมื่อเทียบกับอนุภาคจากท่อไอเสีย
รูปแผนภูมินี้จากประเทศอังกฤษในปี 2015 ซึ่งใช้รถดีเซลน้อยกว่าบ้านเรา
สัดส่วนอนุภาคจากท่อไอเสีย จึงน้อยกว่า 50% ของการปล่อยอนุภาคทั้งหมด
จะเห็นได้ว่าหากเปลี่ยนจากรถน้ำมัน มาใช้รถไฟฟ้า 100%(BEV) จะแทบไม่ช่วยลดฝุ่นจิ๋วจากท้องถนน
พฤติกรรมการขับขี่ มีผลต่อการสึกหรอและปริมาณการปล่อยอนุภาคฝุ่นจิ๋วโดยตรง น้ำหนักรถก็เช่นกัน
อนุภาคบางส่วนที่เล็กมากๆกระจายตัวไปในอากาศ บางส่วนฝังลงในถนน
บางส่วนเข้าปอด บางส่วนปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและแหล่งอาหารของมนุษย์
ทางออกคงต้องช่วยกันลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาใช้รถเมล์ รถไฟ(ไฟฟ้า) เดินและจักรยาน
ตามรูป เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก ผู้คนเดินทางไปทำงานและไปเรียน
ด้วยจักรยานถึง 62% รถเมล์และรถไฟ 21% รถยนต์ 9% และเดิน 8%
อ้างอิงจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.avere-france.org/Uploads/Documents/152879228236476690cc516267e8de491a2937d48b-The_health_costs_of_air_pollution_from_cars_and_vans_20180518.pdf
https://www.ridef2.com/blog-del-direttore-ridef/will-electric-vehicles-contribute-less-particulate-matter-pm10-and-pm25-to-our-air-recent-analysis-and-meta-analysis-conclude-negligibly-and-policies-to-reduce-number-and-weight-of-vehicles-are-needed4720595
https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs11356-014-3696-8
https://norden.diva-portal.org/smash/get/diva2:1069152/FULLTEXT02.pdf
https://res.mdpi.com/ijerph/ijerph-14-01265/article_deploy/ijerph-14-01265-v2.pdf?filename=&attachment=1
ฝุ่น PM2.5 จากการสึกหรอของเบรค ยาง และผิวถนน สัดส่วนที่ไม่ควรมองข้าม
ดอกยางที่สึกหรอไปจากการใช้งาน หายไปไหน
นี่เป็นภาพอนุภาคฝุ่นจิ๋วจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่มาจากการสึกหรอของเบรค
ทางซ้ายเป็นอนุภาค PM2.5(ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร) ขวาเป็นอนุภาค PM10(เล็กกว่า 10 ไมโครเมตร)
อนุภาคจากเบรค ประกอบด้วยธาตุหลายชนิด รวมถึงโลหะหนักที่เป็นอันตราย
หากเป็นอนุภาคจากยางรถ จะมีไมโครพลาสติกและโลหะหนักด้วย
ผลการศึกษาใหม่ๆไม่กี่ปีมานี้ แสดงว่าสัดส่วนอนุภาคจากการสึกหรอของเบรค ยาง และผิวถนน
เป็นสัดส่วนสูงมากเมื่อเทียบกับอนุภาคจากท่อไอเสีย
รูปแผนภูมินี้จากประเทศอังกฤษในปี 2015 ซึ่งใช้รถดีเซลน้อยกว่าบ้านเรา
สัดส่วนอนุภาคจากท่อไอเสีย จึงน้อยกว่า 50% ของการปล่อยอนุภาคทั้งหมด
จะเห็นได้ว่าหากเปลี่ยนจากรถน้ำมัน มาใช้รถไฟฟ้า 100%(BEV) จะแทบไม่ช่วยลดฝุ่นจิ๋วจากท้องถนน
พฤติกรรมการขับขี่ มีผลต่อการสึกหรอและปริมาณการปล่อยอนุภาคฝุ่นจิ๋วโดยตรง น้ำหนักรถก็เช่นกัน
อนุภาคบางส่วนที่เล็กมากๆกระจายตัวไปในอากาศ บางส่วนฝังลงในถนน
บางส่วนเข้าปอด บางส่วนปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและแหล่งอาหารของมนุษย์
ทางออกคงต้องช่วยกันลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาใช้รถเมล์ รถไฟ(ไฟฟ้า) เดินและจักรยาน
ตามรูป เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก ผู้คนเดินทางไปทำงานและไปเรียน
ด้วยจักรยานถึง 62% รถเมล์และรถไฟ 21% รถยนต์ 9% และเดิน 8%
อ้างอิงจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้