... เมื่อประมาณวันที่ 29 ก.ย. 2559 คุณ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้ทำ
การรณรงค์ในแคมเปญ " ปฏิรูปแพทยสภา " ผ่านทาง www.change.org ซึ่งมีรายชื่อผู้สนับสนุนมากกว่า 15,000
รายชื่อ และได้ทำการยื่นหนังสือดังกล่าวส่งไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เหตุผลที่ทำการรณรงค์ดังกล่าวมีหลายประเด็นที่สังคมตั้งข้อกังขา ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้สนับสนุนแคมเปญ
ดังกล่าวที่ได้ร่วมลงชื่อด้วยมากกว่า 15,000 คน ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ 27 ก.ย. 2016 — เรียน พี่น้องทุกท่าน
แคมเปญ "ปฏิรูปแพทยสภา" ของเราบรรลุเป้าหมายแล้ว ได้มากถึง 1.5 หมื่นชื่อ เกินเป้าหมายมา 5 พันชื่อ ดิฉันได้ทำ
หนังสือขอเข้าพบประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อยื่นรายชื่อ ท่านรับทราบเรื่องแล้ว และมอบหมายให้รองประธาน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) เป็นผู้รับเรื่องแทน
ในวันพฤหัสบดีที่ 29 ก.ย.59 เวลา 12.00 น. ณ อาคารรัฐสภา
ขอเชิญชวนพี่น้องไปร่วมยื่นรายชื่อด้วยกัน นัดกันที่ป้อมยามแลกบัตรหน้าประตูรัฐสภาเวลา 11.00 น.
ขอขอบคุณทุกแรงสนับสนุน การเปลี่ยนแปลงอาจไม่พลิกฟ้าพลิกแผ่นดินในวันเดียว แต่เราได้เริ่มก้าวแรกด้วยกันแล้ว
ขอบคุณ Change.org ที่มีพื้นที่ให้ปชช.ตัวเล็กตัวน้อยได้มีโอกาสสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคม _/\_
..... สืบเนื่องจากระยะนี้ มีกระแสร้องเรียนและเรียกร้องเรื่อง " ค่ายาค่ารักษาของรพ.เอกชนแพงเกินจริง " ดังปรากฏอยู่
ทั่วไปตามสื่อต่างๆและกระทู้พันทิพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่สนใจถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในมุมมองที่หลากหลาย
จึงใคร่หยิบยกเอาประเด็นข่าวดังกล่าวขึ้นมานำเสนออีกครั้งหนึ่งเพื่อที่สังคมจะได้ร่วมกันพิจารณาตามวิจารณญาณ
ของผู้เสพข่าวแต่ละคน
บทสรุปสุดท้ายของเสียงเรียกร้องจากสังคมส่วนหนึ่งนั้น คงไม่ได้คาดหวังกับความสำเร็จในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ดังปรากฏชัดถึงความคืบหน้าของการรณรงค์ข้างต้นนี้ ที่ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆอันแสดงถึงการรับรู้ปัญหาของผู้
มีอำนาจ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด คงทิ้งไว้เพียงข้อกังขาของสังคมให้ดำรงคงอยู่เช่นนี้ต่อไป
... " เจ้าของกระทู้มีความคาดหวังให้กรรมการแพทยสภาชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งให้เข้าไปทำหน้าที่อัน
ทรงเกียรตินี้ ขอได้พิจารณาตอบข้อกังขาของสังคมให้หายคาใจ และดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะที่เป็นตัวแทน
ของวิชาชีพนี้ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงความจริงใจในการทำหน้าที่ของท่านทั้งหลาย อันจะเป็นการช่วยกู้คืนความศรัทธา
ของประชาชนบางส่วนกลับคืนมา "...
______________________________________________________________________________________________________________________________
..... " แพทยสภา " มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจรพ.เอกชน ?.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พี่น้องเคยคิดไหม ทำไมเจ้าของรพ.เอกชนที่รวยล้นฟ้า ต้องมาเป็นกรรมการแพทยสภา ทั้งที่ไม่มีเงินเดือน?
ต้องยอมรับว่าแพทย์เหล่านี้เป็นนักธุรกิจคิดเหนือชั้น การเข้าไปกุมอำนาจในระดับนโยบาย ทำให้รู้ว่านโยบายใดจะกระทบกับธุรกิจ นโยบายใดจะดึงเงินเข้ากระเป๋า การขึ้นที่สูงทำให้เห็นช่องโหว่ที่จะทำกำไร จะมีสักกี่คนที่เข้าไปเพื่อพัฒนารพ.รัฐบาล ให้กลายเป็นคู่แข่งรพ.เอกชน หรือช่วยผลักดันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเพื่อไม่ให้หมอลาออก ในเมื่อจ้องดูดหมอออกจากรพ.รัฐไปฟรี ๆ โดยไม่ได้ลงทุนผลิตเอง เหตุนี้การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา จึงดุเดือดไม่ต่างจากการเมือง และขึ้นชื่อเรื่องปกป้องกันเองเพื่อคะแนนนิยม เหตุนี้เราจึงแก้ปัญหาค่ารักษาแพงไม่ได้เสียที
---
"แพทยสภา" คือสภาวิชาชีพ ที่ก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ว่าการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้มาตรฐานหรือไม่
องค์ประกอบของคณะกรรมการแพทยสภา ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 28 คน จากการเลือกตั้งจำนวน 28 คน รวม 56 คน เป็นแพทย์ทั้งสิ้น ไม่มีองค์ประกอบที่เป็นคนนอกอยู่เลย
ยุคปัจจุบันกรรมการกลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุด คือกลุ่มที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน แต่ละคนเป็นกรรมการหลายสมัยนานนับ 10-20 ปี เนื่องจาก พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ไม่ได้กำหนดว่าดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินกี่วาระ
ในการทำหน้าที่ของแพทยสภายุคปัจจุบัน จึงมักถูกประชาชนตั้งข้อสงสัยว่าไม่มีความเป็นกลาง ปกป้องวิชาชีพเดียวกัน โดยไม่ได้คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน ตามหลักการที่ถูกต้องและควรจะเป็น
หลายประเทศทั่วโลกล้วนมีปัญหาเดียวกัน รัฐบาลประเทศอังกฤษกังวลว่า ความไม่เชื่อมั่นต่อสภาวิชาชีพ จะส่งผลถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย จึงริเริ่มให้มีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภาในสัดส่วน 25% ต่อมาพบว่าสามารถสร้างความไว้วางใจและเรียกศรัทธาคืนมาจากประชาชนได้ จึงเพิ่มสัดส่วนคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการ 50:50 คือวิชาชีพ 6 คน คนนอก 6 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน เป็นต้นแบบให้อีกหลายประเทศนำไปปฏิรูปแพทยสภา เช่นประเทศสิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฮ่องกง, มาลาวี, แคนาดา, นิวซีแลนด์ ฯลฯ เป็นต้น
พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ของประเทศไทย มีอายุ 34 ปีแล้ว อีกทั้งปัจจุบันบริบทของสังคมไทยเปลี่ยนไป จึงสมควรที่จะปฏิรูปแพทยสภา ไปพร้อม ๆ กับการปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูประบบสาธารณสุข
จึงเรียนมายังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้โปรดเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ดังต่อไปนี้
1.ให้มีประชาชนทั่วไปเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภา ในสัดส่วน 50:50
2.ลดจำนวนคณะกรรมการลง เพื่อความคล่องตัว
3.กำหนดให้กรรมการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ
4.กำหนดให้ผู้บริการระดับสูงเช่น นายกแพทยสภา, เลขาธิการแพทยสภา, อุปนายกแพทยสภาฯลฯ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจสถานพยาบาลเอกชน
ประชาชนทุกคนมีโอกาสเจ็บป่วย การเข้ารับการรักษาพยาบาลมีโอกาสเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ หากหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ มีความโปร่งใสเป็นธรรมและมีธรรมาภิบาล นอกจากจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยลงได้แล้ว ยังจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาค่ารักษาแพงได้อีกด้วย
______________________________________________________________________________________________________
... " เรื่องค่ารักษาแพงเกี่ยวอะไรกับแพทยสภา? " ...
ตอบว่า : เกี่ยวข้องเนื่องจากเวลามีการประชุมแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง ดิฉันไม่รู้ว่ากก.แพทยสภาสวมหมวก
ใบไหน ระหว่างระหว่างเจ้าของรพ.เอกชน สมาคมรพ.เอกชน หรือสภาวิชาชีพ ที่สำคัญไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์
ให้ประชาชน รวมทั้งส่งคนไปเป็นที่ปรึกษาของกรรมาธิการสาธารณสุข กุมอำนาจในระดับนโยบาย การแก้ไข
ปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง จึงแก้ไขไม่ได้จนถึงทุกวันนี้
ที่มา : ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ได้สร้างแคมเปญรณรงค์นี้ร้องเรียน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
https://www.change.org/p/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3
_______________________________________________________________________________________________________________________________________
....... มีการตอบโต้กันไปมาระหว่างนายกแพทยสภาในขณะนั้นกับ คุณ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ( ดูเพิ่มเติมตาม link ด้านล่าง )...
26 ก.ย. 2016 — ตอบนายกแพทยสภา
------
ความจริงสัดส่วนไม่ได้เป็นประเด็นหลัก ปัญหาอยู่ที่ "แพทยสภาไทยป่วยหนัก" มีปัญหาด้านจริยธรรมเสียเอง ล้มเหลวเรื่องความไม่เป็นกลาง เป็นตัวการทำให้การแก้ไขปัญหาค่ารักษาแพงล้มไม่เป็นท่า ไม่เคารพอำนาจศาลที่เป็นกติกาสังคม ไม่มีใครตรวจสอบแพทยสภาไทยได้ (แพทยสภาประเทศอังกฤษ ถูกตรวจสอบโดยรัฐสภา)
ถ้าไม่มีการโกง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่หาประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบสาธารณสุข ไม่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ไม่รังแกชาวบ้านตาดำ ๆ ที่ไม่มีทางสู้ เคารพกติกาสังคม เป็นตัวอย่างขององค์กรที่มีธรรมาภิบาลเหมือนหลักสูตรที่ตนเองเปิดสอน คงไม่มีใครไปยุ่งหรือคิด "ปฏิรูปแพทยสภา"
------
นายกแพทยสภาพูดว่า "เรื่องคดีหมดอายุความเพราะแพทยสภาตัดสินช้า ไม่เห็นเกี่ยวกับการฟ้องศาลตรงไหน"
ดิฉันขอบอกว่าเกี่ยวเพราะ
1.ปชช.ต้องการรู้ว่าหมอทำผิดหรือไม่ก่อนไปฟ้อง และแพทยสภาเป็นองค์กรเดียว ที่มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานการรักษา ตามพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
2.แพทยสภาล็อบบี้ตำรวจ สภาทนาย ราชวิทยาลัยฯลฯ ว่าก่อนดำเนินการใดต้องฟังความเห็นแพทยสภาก่อน
ถ้าท่านพูดแบบนี้ ต่อไปเวลาปชช.ไปฟ้องโดยไม่ขอความเห็นแพทยสภาก่อนและชนะคดีขึ้นมา ท่านต้องปิดปากเงียบ ห้ามออกมาหมิ่นศาลอีกว่าตัดสินโดยไม่มีความรู้ เพราะท่านก็เดินสายไปเป็นพยานศาลสู้กับคนไข้และได้เปรียบทุกทางแล้ว
------
นายกแพทยสภาพูดอีกว่า "เรื่องค่ารักษาพยาบาลก็ไม่เกี่ยวอะไรกับแพทยสภา"
ดิฉันขอบอกว่าเกี่ยว เพราะเวลามีการประชุมแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง ดิฉันไม่รู้ว่าท่านและกก.แพทยสภาอื่นที่ไปร่วมประชุม สวมหมวกใบไหนระหว่างระหว่างเจ้าของรพ.เอกชน สมาคมรพ.เอกชน หรือสภาวิชาชีพ ที่สำคัญท่านไม่ได้อยู่ข้างปชช. รวมทั้งส่งคนไปเป็นที่ปรึกษาของกรรมาธิการสาธารณสุข กุมอำนาจในระดับนโยบาย การแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง จึงล้มไม่เป็นท่าจนถึงทุกวันนี้
------
ที่มา :
https://www.change.org/p/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2-%E0%B8%95%E0%B9%89%E
" แพทยสภา " มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจรพ.เอกชน ? " และ " เรื่องค่ารักษาแพงเกี่ยวอะไรกับแพทยสภา? "
การรณรงค์ในแคมเปญ " ปฏิรูปแพทยสภา " ผ่านทาง www.change.org ซึ่งมีรายชื่อผู้สนับสนุนมากกว่า 15,000
รายชื่อ และได้ทำการยื่นหนังสือดังกล่าวส่งไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เหตุผลที่ทำการรณรงค์ดังกล่าวมีหลายประเด็นที่สังคมตั้งข้อกังขา ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้สนับสนุนแคมเปญ
ดังกล่าวที่ได้ร่วมลงชื่อด้วยมากกว่า 15,000 คน ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
..... สืบเนื่องจากระยะนี้ มีกระแสร้องเรียนและเรียกร้องเรื่อง " ค่ายาค่ารักษาของรพ.เอกชนแพงเกินจริง " ดังปรากฏอยู่
ทั่วไปตามสื่อต่างๆและกระทู้พันทิพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่สนใจถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในมุมมองที่หลากหลาย
จึงใคร่หยิบยกเอาประเด็นข่าวดังกล่าวขึ้นมานำเสนออีกครั้งหนึ่งเพื่อที่สังคมจะได้ร่วมกันพิจารณาตามวิจารณญาณ
ของผู้เสพข่าวแต่ละคน
บทสรุปสุดท้ายของเสียงเรียกร้องจากสังคมส่วนหนึ่งนั้น คงไม่ได้คาดหวังกับความสำเร็จในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ดังปรากฏชัดถึงความคืบหน้าของการรณรงค์ข้างต้นนี้ ที่ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆอันแสดงถึงการรับรู้ปัญหาของผู้
มีอำนาจ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด คงทิ้งไว้เพียงข้อกังขาของสังคมให้ดำรงคงอยู่เช่นนี้ต่อไป
... " เจ้าของกระทู้มีความคาดหวังให้กรรมการแพทยสภาชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งให้เข้าไปทำหน้าที่อัน
ทรงเกียรตินี้ ขอได้พิจารณาตอบข้อกังขาของสังคมให้หายคาใจ และดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะที่เป็นตัวแทน
ของวิชาชีพนี้ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงความจริงใจในการทำหน้าที่ของท่านทั้งหลาย อันจะเป็นการช่วยกู้คืนความศรัทธา
ของประชาชนบางส่วนกลับคืนมา "...
______________________________________________________________________________________________________________________________
..... " แพทยสภา " มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจรพ.เอกชน ?.....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
______________________________________________________________________________________________________
... " เรื่องค่ารักษาแพงเกี่ยวอะไรกับแพทยสภา? " ...
ตอบว่า : เกี่ยวข้องเนื่องจากเวลามีการประชุมแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง ดิฉันไม่รู้ว่ากก.แพทยสภาสวมหมวก
ใบไหน ระหว่างระหว่างเจ้าของรพ.เอกชน สมาคมรพ.เอกชน หรือสภาวิชาชีพ ที่สำคัญไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์
ให้ประชาชน รวมทั้งส่งคนไปเป็นที่ปรึกษาของกรรมาธิการสาธารณสุข กุมอำนาจในระดับนโยบาย การแก้ไข
ปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง จึงแก้ไขไม่ได้จนถึงทุกวันนี้
ที่มา : ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ได้สร้างแคมเปญรณรงค์นี้ร้องเรียน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
https://www.change.org/p/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3
_______________________________________________________________________________________________________________________________________
....... มีการตอบโต้กันไปมาระหว่างนายกแพทยสภาในขณะนั้นกับ คุณ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ( ดูเพิ่มเติมตาม link ด้านล่าง )...
26 ก.ย. 2016 — ตอบนายกแพทยสภา
------
ความจริงสัดส่วนไม่ได้เป็นประเด็นหลัก ปัญหาอยู่ที่ "แพทยสภาไทยป่วยหนัก" มีปัญหาด้านจริยธรรมเสียเอง ล้มเหลวเรื่องความไม่เป็นกลาง เป็นตัวการทำให้การแก้ไขปัญหาค่ารักษาแพงล้มไม่เป็นท่า ไม่เคารพอำนาจศาลที่เป็นกติกาสังคม ไม่มีใครตรวจสอบแพทยสภาไทยได้ (แพทยสภาประเทศอังกฤษ ถูกตรวจสอบโดยรัฐสภา)
ถ้าไม่มีการโกง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่หาประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบสาธารณสุข ไม่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ไม่รังแกชาวบ้านตาดำ ๆ ที่ไม่มีทางสู้ เคารพกติกาสังคม เป็นตัวอย่างขององค์กรที่มีธรรมาภิบาลเหมือนหลักสูตรที่ตนเองเปิดสอน คงไม่มีใครไปยุ่งหรือคิด "ปฏิรูปแพทยสภา"
------
นายกแพทยสภาพูดว่า "เรื่องคดีหมดอายุความเพราะแพทยสภาตัดสินช้า ไม่เห็นเกี่ยวกับการฟ้องศาลตรงไหน"
ดิฉันขอบอกว่าเกี่ยวเพราะ
1.ปชช.ต้องการรู้ว่าหมอทำผิดหรือไม่ก่อนไปฟ้อง และแพทยสภาเป็นองค์กรเดียว ที่มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานการรักษา ตามพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
2.แพทยสภาล็อบบี้ตำรวจ สภาทนาย ราชวิทยาลัยฯลฯ ว่าก่อนดำเนินการใดต้องฟังความเห็นแพทยสภาก่อน
ถ้าท่านพูดแบบนี้ ต่อไปเวลาปชช.ไปฟ้องโดยไม่ขอความเห็นแพทยสภาก่อนและชนะคดีขึ้นมา ท่านต้องปิดปากเงียบ ห้ามออกมาหมิ่นศาลอีกว่าตัดสินโดยไม่มีความรู้ เพราะท่านก็เดินสายไปเป็นพยานศาลสู้กับคนไข้และได้เปรียบทุกทางแล้ว
------
นายกแพทยสภาพูดอีกว่า "เรื่องค่ารักษาพยาบาลก็ไม่เกี่ยวอะไรกับแพทยสภา"
ดิฉันขอบอกว่าเกี่ยว เพราะเวลามีการประชุมแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง ดิฉันไม่รู้ว่าท่านและกก.แพทยสภาอื่นที่ไปร่วมประชุม สวมหมวกใบไหนระหว่างระหว่างเจ้าของรพ.เอกชน สมาคมรพ.เอกชน หรือสภาวิชาชีพ ที่สำคัญท่านไม่ได้อยู่ข้างปชช. รวมทั้งส่งคนไปเป็นที่ปรึกษาของกรรมาธิการสาธารณสุข กุมอำนาจในระดับนโยบาย การแก้ไขปัญหาค่ารักษารพ.เอกชนแพง จึงล้มไม่เป็นท่าจนถึงทุกวันนี้
------
ที่มา :
https://www.change.org/p/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2-%E0%B8%95%E0%B9%89%E