... คุณรู้ / สงสัยหรือไม่ว่าทำไม ? ...
1. รพ.เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จึงมีค่ารักษาพยาบาลแพงกว่ารพ.เอกชนที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งๆที่รพ.เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์สามารถระดมเงินทุนได้โดยมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่ามาก ?
( ที่มา :
https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
2. ผู้ใช้บริการรพ.เอกชนบางคนคิดว่ารพ.ให้การรักษาที่ไม่สมเหตุสมผล เกินความจำเป็น ทำให้มีค่ารักษาพยาบาลสูง
( ที่มา :
https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
3. รพ.เอกชนชั้นนำแห่งหนึ่งในกทม.คิดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเนื้องอกสมองสำหรับผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นเงินหนึ่งล้านกว่าบาท
แต่เมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบขึ้นในภายหลังจึงไปผ่ากับรพ.เอกชนอีกแห่งหนึ่งทางภาคเหนือพบว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงหนึ่งแสนบาท
เท่านั้น....ทำไมส่วนต่างจึงมากกว่ากันเป็นล้านบาท ?
( ที่มา :
https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
4. รพ.เอกชนคิดค่ายาสำหรับผู้ป่วยในแพงกว่าผู้ป่วยนอกทั้งๆที่เป็นรพ.เดียวกันและเป็นยาตัวเดียวกัน
( ที่มา :
https://youtu.be/cv9Chv3Whw4
:
https://tdri.or.th/2015/06/20150623/ )
5. ค่ายาที่แพงนั้นเป็นกลยุทธในการกำหนดราคาที่ใช้ซ่อนค่าใช้จ่ายอื่นๆแฝงไว้ข้างใน เช่น รพ.เอกชนบางแห่ง
คิดค่าห้องในราคาที่ไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับรพ.เอกชนอื่น เพราะทราบดีว่าผู้ใช้บริการสามารถเปรียบเทียบได้ง่าย
จากนั้นทางรพ.ก็ไปบวกเพิ่มในค่ายาแทน เพราะผู้ใช้บริการยากที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบราคาได้ง่าย...
( ที่มา :
https://tdri.or.th/2015/06/20150623/
https://tdri.or.th/2019/01/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87-3/ )
6. ถึงแม้ร.พ.เอกชนจะแสดงราคายาให้ผู้ใช้บริการทราบก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าราคายาที่ถูกกว่าจะเป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการมากกว่า
เพราะยาแต่ละตัวมีทั้งยาที่เป็นยาต้นแบบ ( original ) และยาเลียนแบบ ( local made )...
ยาต้นแบบ ( original ) มักจะมีตัวเดียว...ดังนั้นผู้ใช้บริการสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ง่าย เช่น Tylenol เป็นต้น
ส่วนยาเลียนแบบ ( local made ) ตัวหนึ่ง อาจมีเป็นร้อยเป็นพันบริษัทก็ได้ ซึ่งคุณภาพและราคาของแต่ละบริษัทก็แตกต่างกันไป
ดังนั้น ร.พ.เอกชนอาจใช้วิธีการตั้งราคายาที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยดีในราคาที่ไม่แพงนัก แต่ไปตั้งราคายาที่คนทั่วไปไม่รู้จักสูงๆ
จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใช้บริการที่จะต้องใช้วิจารณญาณเอง...เป็นหลักการตลาดง่ายๆ
7. รพ.และสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศในปี 2560 มีทั้งสิ้น 347 แห่ง
( ที่มา :
https://thaipublica.org/2018/10/nso-survey-private-hospital-visits/ )
8. ในปี 2560 พบว่าจำนวนเตียงของรพ.เอกชนรวมกันมี 34,602 เตียงส่วนจำนวนเตียงของรพ.รัฐบาล
มี 122,470 เตียง แต่จำนวนแพทย์ที่ทำงานในรพ.เอกชนมี 6,686 คน และในสังกัดกระทรวงต่างๆ
รวมกัน 26,879 คน... ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 70% ไปรพ.รัฐ ส่วน อีก 30% ไปใช้รพ.เอกชน
( ที่มา :
https://www.prachachat.net/marketing/news-237381
https://www.hfocus.org/content/2017/04/13730
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx )
9. ราคายาห้ามขายเกินป้ายราคาที่ติดไว้ข้างกล่อง ( Sticker Price ) แต่รพ.เอกชนจะติดราคาข้างกล่องเท่าไรก็ได้
( ที่มา :
https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
10. จากการสำรวจโรงพยาบาลเอกชน 62 แห่งทั่วกรุงเทพฯพบว่าส่วนใหญ่โรงพยาบาลไม่ได้เปิดเผยข้อมูลค่ายา
ค่ารักษาพยาบาลให้ประชาชนรับทราบมากนัก โดยจะเก็บไว้ในเอกสาร คอมพิวเตอร์ภายในของโรงพยาบาล
ส่วนที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลก็จะแจ้งเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข้อมูล
เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น ...
.....ทำไมจึงไม่มีกลไกในการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการทุกคนตามกฏหมาย ?...
( ที่มา :
https://www.sentangsedtee.com/today-news/article_94652 )
11. ตามกฏหมายแล้วเป็นหน้าที่ของทางรพ.เอกชนที่ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาล
ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการ ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย รวมทั้งจะเรียกเก็บ
หรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์
หรือค่าบริการอื่นเกินอัตราที่ได้แสดงไว้มิได้...
.... ทำไมภาครัฐจึงจะออกมาตรการให้รพ.เอกชนแสดงราคายาตอนนี้ แล้วที่ผ่านมาทำอะไรกันไปบ้าง?...
( ที่มา :
https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%25CA53/%25CA53-20-9999-update.pdf&ved=2ahUKEwja0_XEg5XgAhUHi3AKHdMyB5EQFjAAegQIBxAB&usg=AOvVaw3gHxueSHnD_4roBWIHHgxg )
12. ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในรพ.เอกชนที่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ตาม
แต่หากครบ 72 ชม.แล้วคุณไม่สามารถย้ายไปรพ.อื่นได้ เช่น รพ.อื่นไม่มีเตียงให้ หรืออาการของคุณยังไม่ปลอดภัยพอที่จะ
ทำการเคลื่อนย้าย เป็นต้น...คุณจะทำอย่างไรต่อไปกับค่ารักษาที่จะตามมาหากคุณไม่มีกำลังพอที่จะจ่าย ?
( ที่มา :
https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
13. ประเทศสิงคโปร์ใกล้บ้านเราที่เป็นประเทศการค้าเสรีและตั้งเป้าหมายในการเป็นเมดิคัลฮับเหมือนบ้านเรา สามารถตั้งราคากลาง
ของค่ารักษาพยาบาลได้ โดยที่รพ.เอกชนมีราคาแพงกว่ารพ.รัฐ ไม่เกิน 2.5 เท่า หากคิดเกินกว่านั้นจะถูกเรียกเงินคืนทันที...
แต่บ้านเราไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะอะไร?
( ที่มา :
https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
14. นโยบายเรื่อง Medical Hub มีผลทำให้ราคาค่ารักษาพยาบาลในรพ.เอกชนสูงขึ้น
( ที่มา :
https://tdri.or.th/2015/06/20150623/ )
15. ค่ารักษาพยาบาลของรพ.รัฐบ้านเราขึ้นประมาณ 3% / ปี...รพ.เอกชนขึ้นมากกว่า 10% / ปี
และค่ารักษาพยาบาลของรพ.เอกชนบ้านเราขึ้นเร็วกว่ารพ.เอกชนต่างประเทศ เพราะชาวต่างชาติ
เข้ามาใช้บริการบ้านเรามากขึ้น..ทำให้ค่ารักษาของรพ.เอกชนในประเทศทั่วประเทศขึ้นต่อเนื่องทุกปี
( ที่มา :
https://ppantip.com/l/https%3A%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AFtdri.or.th%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF2019%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF01%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF%25e0%25b8%259e%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2588%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25a8%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25a9%25e0%25b8%2590%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2588%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a3%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b7%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587-3%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF )
*** 16. ผู้ใช้บริการไม่ได้ร้องเรียนว่าราคาค่ารักษาพยาบาลของรพ.เอกชนแพงกว่ารพ.รัฐไม่ได้... แต่เรียกร้องให้
มีการแจกแจงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เรียกเก็บอย่างโปร่งใส และเป็นราคาที่สมเหตุสมผล
*** ป.ล. 1. ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลบางส่วนเท่านั่น
2. โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
คุณรู้ / สงสัยหรือไม่ว่าทำไม ? จึงมีผู้ใช้บริการรพ.เอกชนเรียกร้องให้มีมาตรการคุมค่ารักษาพยาบาลและค่ายา
1. รพ.เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จึงมีค่ารักษาพยาบาลแพงกว่ารพ.เอกชนที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งๆที่รพ.เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์สามารถระดมเงินทุนได้โดยมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่ามาก ?
( ที่มา : https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
2. ผู้ใช้บริการรพ.เอกชนบางคนคิดว่ารพ.ให้การรักษาที่ไม่สมเหตุสมผล เกินความจำเป็น ทำให้มีค่ารักษาพยาบาลสูง
( ที่มา : https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
3. รพ.เอกชนชั้นนำแห่งหนึ่งในกทม.คิดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเนื้องอกสมองสำหรับผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นเงินหนึ่งล้านกว่าบาท
แต่เมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบขึ้นในภายหลังจึงไปผ่ากับรพ.เอกชนอีกแห่งหนึ่งทางภาคเหนือพบว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงหนึ่งแสนบาท
เท่านั้น....ทำไมส่วนต่างจึงมากกว่ากันเป็นล้านบาท ?
( ที่มา : https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
4. รพ.เอกชนคิดค่ายาสำหรับผู้ป่วยในแพงกว่าผู้ป่วยนอกทั้งๆที่เป็นรพ.เดียวกันและเป็นยาตัวเดียวกัน
( ที่มา : https://youtu.be/cv9Chv3Whw4
: https://tdri.or.th/2015/06/20150623/ )
5. ค่ายาที่แพงนั้นเป็นกลยุทธในการกำหนดราคาที่ใช้ซ่อนค่าใช้จ่ายอื่นๆแฝงไว้ข้างใน เช่น รพ.เอกชนบางแห่ง
คิดค่าห้องในราคาที่ไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับรพ.เอกชนอื่น เพราะทราบดีว่าผู้ใช้บริการสามารถเปรียบเทียบได้ง่าย
จากนั้นทางรพ.ก็ไปบวกเพิ่มในค่ายาแทน เพราะผู้ใช้บริการยากที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบราคาได้ง่าย...
( ที่มา : https://tdri.or.th/2015/06/20150623/
https://tdri.or.th/2019/01/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87-3/ )
6. ถึงแม้ร.พ.เอกชนจะแสดงราคายาให้ผู้ใช้บริการทราบก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าราคายาที่ถูกกว่าจะเป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการมากกว่า
เพราะยาแต่ละตัวมีทั้งยาที่เป็นยาต้นแบบ ( original ) และยาเลียนแบบ ( local made )...
ยาต้นแบบ ( original ) มักจะมีตัวเดียว...ดังนั้นผู้ใช้บริการสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ง่าย เช่น Tylenol เป็นต้น
ส่วนยาเลียนแบบ ( local made ) ตัวหนึ่ง อาจมีเป็นร้อยเป็นพันบริษัทก็ได้ ซึ่งคุณภาพและราคาของแต่ละบริษัทก็แตกต่างกันไป
ดังนั้น ร.พ.เอกชนอาจใช้วิธีการตั้งราคายาที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยดีในราคาที่ไม่แพงนัก แต่ไปตั้งราคายาที่คนทั่วไปไม่รู้จักสูงๆ
จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใช้บริการที่จะต้องใช้วิจารณญาณเอง...เป็นหลักการตลาดง่ายๆ
7. รพ.และสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศในปี 2560 มีทั้งสิ้น 347 แห่ง
( ที่มา : https://thaipublica.org/2018/10/nso-survey-private-hospital-visits/ )
8. ในปี 2560 พบว่าจำนวนเตียงของรพ.เอกชนรวมกันมี 34,602 เตียงส่วนจำนวนเตียงของรพ.รัฐบาล
มี 122,470 เตียง แต่จำนวนแพทย์ที่ทำงานในรพ.เอกชนมี 6,686 คน และในสังกัดกระทรวงต่างๆ
รวมกัน 26,879 คน... ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 70% ไปรพ.รัฐ ส่วน อีก 30% ไปใช้รพ.เอกชน
( ที่มา : https://www.prachachat.net/marketing/news-237381
https://www.hfocus.org/content/2017/04/13730
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx )
9. ราคายาห้ามขายเกินป้ายราคาที่ติดไว้ข้างกล่อง ( Sticker Price ) แต่รพ.เอกชนจะติดราคาข้างกล่องเท่าไรก็ได้
( ที่มา : https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
10. จากการสำรวจโรงพยาบาลเอกชน 62 แห่งทั่วกรุงเทพฯพบว่าส่วนใหญ่โรงพยาบาลไม่ได้เปิดเผยข้อมูลค่ายา
ค่ารักษาพยาบาลให้ประชาชนรับทราบมากนัก โดยจะเก็บไว้ในเอกสาร คอมพิวเตอร์ภายในของโรงพยาบาล
ส่วนที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลก็จะแจ้งเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข้อมูล
เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น ...
.....ทำไมจึงไม่มีกลไกในการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการทุกคนตามกฏหมาย ?...
( ที่มา : https://www.sentangsedtee.com/today-news/article_94652 )
11. ตามกฏหมายแล้วเป็นหน้าที่ของทางรพ.เอกชนที่ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาล
ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการ ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย รวมทั้งจะเรียกเก็บ
หรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์
หรือค่าบริการอื่นเกินอัตราที่ได้แสดงไว้มิได้...
.... ทำไมภาครัฐจึงจะออกมาตรการให้รพ.เอกชนแสดงราคายาตอนนี้ แล้วที่ผ่านมาทำอะไรกันไปบ้าง?...
( ที่มา : https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%25CA53/%25CA53-20-9999-update.pdf&ved=2ahUKEwja0_XEg5XgAhUHi3AKHdMyB5EQFjAAegQIBxAB&usg=AOvVaw3gHxueSHnD_4roBWIHHgxg )
12. ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในรพ.เอกชนที่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ตาม
แต่หากครบ 72 ชม.แล้วคุณไม่สามารถย้ายไปรพ.อื่นได้ เช่น รพ.อื่นไม่มีเตียงให้ หรืออาการของคุณยังไม่ปลอดภัยพอที่จะ
ทำการเคลื่อนย้าย เป็นต้น...คุณจะทำอย่างไรต่อไปกับค่ารักษาที่จะตามมาหากคุณไม่มีกำลังพอที่จะจ่าย ?
( ที่มา : https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
13. ประเทศสิงคโปร์ใกล้บ้านเราที่เป็นประเทศการค้าเสรีและตั้งเป้าหมายในการเป็นเมดิคัลฮับเหมือนบ้านเรา สามารถตั้งราคากลาง
ของค่ารักษาพยาบาลได้ โดยที่รพ.เอกชนมีราคาแพงกว่ารพ.รัฐ ไม่เกิน 2.5 เท่า หากคิดเกินกว่านั้นจะถูกเรียกเงินคืนทันที...
แต่บ้านเราไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะอะไร?
( ที่มา : https://youtu.be/cv9Chv3Whw4 )
14. นโยบายเรื่อง Medical Hub มีผลทำให้ราคาค่ารักษาพยาบาลในรพ.เอกชนสูงขึ้น
( ที่มา : https://tdri.or.th/2015/06/20150623/ )
15. ค่ารักษาพยาบาลของรพ.รัฐบ้านเราขึ้นประมาณ 3% / ปี...รพ.เอกชนขึ้นมากกว่า 10% / ปี
และค่ารักษาพยาบาลของรพ.เอกชนบ้านเราขึ้นเร็วกว่ารพ.เอกชนต่างประเทศ เพราะชาวต่างชาติ
เข้ามาใช้บริการบ้านเรามากขึ้น..ทำให้ค่ารักษาของรพ.เอกชนในประเทศทั่วประเทศขึ้นต่อเนื่องทุกปี
( ที่มา : https://ppantip.com/l/https%3A%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AFtdri.or.th%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF2019%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF01%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF%25e0%25b8%259e%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2588%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25a8%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25a9%25e0%25b8%2590%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b4%25e0%25b8%2588%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a3%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b7%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587-3%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF )
*** 16. ผู้ใช้บริการไม่ได้ร้องเรียนว่าราคาค่ารักษาพยาบาลของรพ.เอกชนแพงกว่ารพ.รัฐไม่ได้... แต่เรียกร้องให้
มีการแจกแจงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เรียกเก็บอย่างโปร่งใส และเป็นราคาที่สมเหตุสมผล
*** ป.ล. 1. ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลบางส่วนเท่านั่น
2. โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน