"หุ้นกู้" ในความหมายปกติหมายถึงตราสารหนี้ที่ออกเสนอขายโดยภาคเอกชนวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินทุนมาใช้ในกิจการ
ส่วนหุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาลมักเรียกด้วยคำว่า "พันธบัตร" หรือ "พันธบัตรรัฐบาล"
หัวใจการเลือกหุ้นกู้คือ "การเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยง รวมถึงระยะเวลาในการลงทุน"
สิ่งที่ต้องรู้เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบมีดังนี้
1.แหล่งข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ ได้แก่
1.1 การติดต่อโดยตรงจากบริษัทผู้ออกหุ้นกู้
1.2 นายหน้าและสถาบันการเงินต่างๆ ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
1.3 เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลการลงทุนต่างๆ เช่น www.thaibma.or.th
2. Par
ราคา Par เรียกอีกอย่างว่า ราคาหน้าตั๋ว หมายถึงราคาต่อหน่วยของหุ้นกู้ เป็นมูลค่าของหุ้นกู้ที่ผู้กู้ต้อง จ่ายคืนเมื่อหุ้นกู้นั้นครบกำหนดไถ่ถอน การซื้อหุ้นกู้ในตลาดแรก เป็นการซื้อกับผู้ออกโดยตรงในราคา Par ที่กำหนดไว้เท่าๆกัน
3. Market price
Market price คือราคาตลาดที่นักลงทุนซื้อขายหุ้นกู้กันในตลาดรอง ซึ่งราคาที่ซื้อขายกันนั้นอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคา Par ก็ได้
4. อายุและกำหนดจ่ายเงิน
หุ้นกู้มีมักการกำหนดอายุเป็นหลัก 1 ปีขึ้นไป ซึ่งบางตัวอาจยาวนานกว่า 10 ปี หรือบางตัวอาจมีกำหนดเงื่อนไขการไถ่ถอนจากผู้ออกก่อนครบกำหนดได้ รวมไปถึงการกำหนดจ่ายดอกเบี้ยอาจเป็นราย 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องทราบไว้
5. Coupon
Coupon คือดอกเบี้ยที่ได้กำหนดอัตราและวันที่จ่ายไว้เป็นการแน่นอนตลอดช่วงเวลาที่นักลงทุนถือครองหุ้นกู้ตามปกติ
6.Yield
Yield คือผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่นักลงทุนจะได้รับจากการถือหุ้นกู้นั้นๆ ในกรณีที่ถือจนครบอายุ โดย Yield ของหุ้นกู้ที่ซื้อในตลาดรองมักไม่เท่ากับ Coupon
7.ความเสี่ยง
ดูได้จาก Credit risk ซึ่งผู้ซื้อต้องวิเคราะห์ตัวธุรกิจและฐานะทางการเงินของบริษัทอย่างละเอียดด้วยตนเอง อีกวิธีในการดูความเสี่ยงที่นิยมใช้กันคือการดูค่าอันดับความน่าเชื่อถือ Credit Rating โดยสถาบันจัดอันดับที่ได้รับการรับรอง หุ้นกู้อันดับเครดิตสูง AAA ถึง BBB- ถือว่าน่าลงทุน ส่วนระดับ BB+- ลงไปจนถึง D เหมาะสำหรับการเก็งกำไร
////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.share2trade.com
อยากซื้อหุ้นกู้ต้องรู้อะไรบ้าง?
"หุ้นกู้" ในความหมายปกติหมายถึงตราสารหนี้ที่ออกเสนอขายโดยภาคเอกชนวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินทุนมาใช้ในกิจการ
ส่วนหุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาลมักเรียกด้วยคำว่า "พันธบัตร" หรือ "พันธบัตรรัฐบาล"
หัวใจการเลือกหุ้นกู้คือ "การเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยง รวมถึงระยะเวลาในการลงทุน"
สิ่งที่ต้องรู้เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบมีดังนี้
1.แหล่งข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ ได้แก่
1.1 การติดต่อโดยตรงจากบริษัทผู้ออกหุ้นกู้
1.2 นายหน้าและสถาบันการเงินต่างๆ ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
1.3 เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลการลงทุนต่างๆ เช่น www.thaibma.or.th
2. Par
ราคา Par เรียกอีกอย่างว่า ราคาหน้าตั๋ว หมายถึงราคาต่อหน่วยของหุ้นกู้ เป็นมูลค่าของหุ้นกู้ที่ผู้กู้ต้อง จ่ายคืนเมื่อหุ้นกู้นั้นครบกำหนดไถ่ถอน การซื้อหุ้นกู้ในตลาดแรก เป็นการซื้อกับผู้ออกโดยตรงในราคา Par ที่กำหนดไว้เท่าๆกัน
3. Market price
Market price คือราคาตลาดที่นักลงทุนซื้อขายหุ้นกู้กันในตลาดรอง ซึ่งราคาที่ซื้อขายกันนั้นอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคา Par ก็ได้
4. อายุและกำหนดจ่ายเงิน
หุ้นกู้มีมักการกำหนดอายุเป็นหลัก 1 ปีขึ้นไป ซึ่งบางตัวอาจยาวนานกว่า 10 ปี หรือบางตัวอาจมีกำหนดเงื่อนไขการไถ่ถอนจากผู้ออกก่อนครบกำหนดได้ รวมไปถึงการกำหนดจ่ายดอกเบี้ยอาจเป็นราย 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องทราบไว้
5. Coupon
Coupon คือดอกเบี้ยที่ได้กำหนดอัตราและวันที่จ่ายไว้เป็นการแน่นอนตลอดช่วงเวลาที่นักลงทุนถือครองหุ้นกู้ตามปกติ
6.Yield
Yield คือผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่นักลงทุนจะได้รับจากการถือหุ้นกู้นั้นๆ ในกรณีที่ถือจนครบอายุ โดย Yield ของหุ้นกู้ที่ซื้อในตลาดรองมักไม่เท่ากับ Coupon
7.ความเสี่ยง
ดูได้จาก Credit risk ซึ่งผู้ซื้อต้องวิเคราะห์ตัวธุรกิจและฐานะทางการเงินของบริษัทอย่างละเอียดด้วยตนเอง อีกวิธีในการดูความเสี่ยงที่นิยมใช้กันคือการดูค่าอันดับความน่าเชื่อถือ Credit Rating โดยสถาบันจัดอันดับที่ได้รับการรับรอง หุ้นกู้อันดับเครดิตสูง AAA ถึง BBB- ถือว่าน่าลงทุน ส่วนระดับ BB+- ลงไปจนถึง D เหมาะสำหรับการเก็งกำไร
////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.share2trade.com