พอดีมีโอกาสได้ไปโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ จากเจ้าของ (ที่เป็นกรรมการบริษัทเอง) ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท แล้วเห็นว่าใน Pantip หรือที่อื่นๆ ไม่มีข้อมูลชี้แจงอย่างชัดเจน ก็เลยอยากมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ค่าธรรมเนียมประมาณเท่าไหร่ และต้องไปที่ไหนยังไงบ้าง
(ทำธุรกรรมวันที่ 10 มกราคม 2562)
เริ่มกันเลยครับ
เอกสารที่จะต้องเตรียมไปโอนก็จะมี
1. เล่มคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
2. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ + หนังสือรับรองบริษัทที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
3. แบบคำขอโอนและรับโอน ดาวน์โหลดได้ที่กรมขนส่งทางบกได้เลยครับ
4. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ในกรณีของผม กรรมกาที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ไปโอนเอง
- ในแบบคำขอโอนและรับโอน ทุกช่องเซ็นโดยกรรมการ และในช่องผู้รับโอนให้ตีตราประทับบริษัทด้วย (ถ้ามี)
- ในหนังสือมอบอำนาจให้เป็นชื่อบริษัทมอบอำนาจให้กับกรรมการเป็นผู้ทำเรื่อง และตรงไหนที่เป็นผู้มอบอำนาจ ให้ตีตราประทับบริษัทด้วย (ถ้ามี)
สถานที่โอนรถยนต์
ตอนแรกผมก็พลาดเหมือนกัน ดันไปทำเรื่องโอนที่เขตจตุจักร ตอนไปตรวจสถาพรถ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผมโอนที่นี่ไม่ได้ ต้องไปตามที่ที่คนก่อนหน้าทำเรื่องไว้ ในเคสนี้ให้ดูในเล่มคู่มือจดทะเบียนครับ
ให้ดูที่เจ้าของรถล่าสุดว่าอยู่ที่ไหน ให้ไปทำเรื่องที่นั่นครับ ในเคสของผม เจ้าของรถเดิมอยู่เขตสวนหลวง ก็เลยต้องไปทำที่ กรมขนส่งทางบกพื้นที่ 3 แถวๆ BTS บางจากครับ
ขั้นตอนการโอนรถ
วันโอนรถผมไปตั้งแต่ 7.30 น. เผื่อจะมีคิวทำเยอะ แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่เยอะขนาดนั้นครับ ไปถึงแล้วก็มีคนต่อๆ อยู่แค่ 1-2 คิวเอง (สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์รถ) เค้าเปิดให้ตรวจสภาพรถตอน 8.30 น. ครับ ซึ่ง ณ ตอนนั้นมีคิวต่ออยู่ประมาณ 7-8 คิวเท่านั้นเอง เข้าสู่ขั้นตอนกันเลยครับ
1. ตรวจสภาพรถ (ภายในกรมขนส่งเลย) - ก็ขับรถของเราไปต่อแถวที่ตรวจสภาพรถ รอไม่นานก็ขับเข้าไป ดับเครื่องเปิดฝากระโปรงหน้า ขั้นตอนนี้เค้าก็จะขอเอกสารตัวเล่มทะเบียนรถและแบบคำขอโอนและรับโอน และก็จะเอาเทปย่น (บางคนเรียกเทปหนังไก่) ไปขูดๆ เอาเลขตัวถึงรถเพื่อมาติดกับแบบคำขอโอน
- ในกรณีของผมเป็นรถที่ติดแก๊ส ตอนแรกก็กลัวว่าจะต้องใช้ใบรับรองถังแก๊สจากวิศวกรมั้ยเพื่อตรวจสภาพรถที่ติดแก๊ส ก็เลยไปขอใบรับรองแก๊สวิศวกรมา แต่เอาจริงๆ ไม่ได้ใช้ครับ เค้าไม่ได้ขอเลย (แต่ผมว่าแต่ละขนส่งอาจจะไม่เหมือนกัน ติดไว้เผื่อเสียเวลาดีกว่าครับ ไปตรวจทีราคาประมาณ 500-800 บาทแล้วแต่สถานที่)
2. หลังจากเสร็จการตรวจสภาพแล้วก็เอารถไปจอดเลยครับ จอดไหนก็ได้ที่สะดวก หลังจากนั้นก็มานั่งรอในห้องรับเอกสารที่ตรวจสภาพรถ รอเรียกประมาณ 15-20 นาที พอได้เอกสารแล้ว ก็ขึ้นไปชั้น 2 ที่โอนรถ (ของกรมขนส่งพื้นที่ 3 อยู่ชั้น 2 ครับ)
3. ยื่นเรื่องขอโอนให้กับเจ้าหน้าที่ ในขั้นตอนนี้ก็ให้เราเตรียมเอกสารทั้งหมดที่ผมบอกไว้ในตอนแรกและที่ได้รับกลับมาหลังจากตรวจสภาพรถให้กับเจ้าหน้าที่ได้เลยครับ แล้วรอเรียกประมาณ 20-30 นาที แล้วแต่คิว (ขั้นตอนนี้ ไม่ต้องไปติดอากรสแตมป์ครับ ตอนที่จ่ายเงินเค้าติดให้เองเลย)
4. เจ้าหน้าที่เรียกไปจ่ายเงิน เท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนการโอนแล้วครับ ง่ายมากๆ และใช้เวลาไม่นานอย่างที่คิด ตั้งแต่ทำเรื่อง 8.30 น. เวลาประมาณ 10.15 น. ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
ส่วนค่าใช้จ่ายจะเป็นตามนี้ครับ
- คำขอ 5 บาท
- โอนทะเบียนรถ 100 บาท
- ค่าอากร 1,250 บาท (ถ้าจำไม่ผิด จะอิงจากราคาประเมินรถ * 0.5% ครับ)
- ค่าภาษีรถยนต์ (ภาษีเพิ่ม) 487 บาท ในเคสนี้คือ เราจ่ายภาษีถูกต้องแล้ว แต่ในกรณีที่โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท จะมีภาษีเพิ่มเติมในส่วนนี้ ซึ่งผมไม่ชัวร์ว่ามันคิดยังไง แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหลืออยู่ที่จะต่อภาษีครั้งต่อไปครับ เช่น เหลืออีก 95 วัน จ่ายเพิ่มเท่านั้นเท่านี้ ประมาณนี้ครับ พอดีเห็นเจ้าหน้าที่นั่งกดเครื่องคิดเลขหารเป็นวันอยู่ และดูว่าต่อภาษีครั้งสุดท้ายวันที่เท่าไหร่ เหลืออยู่เท่าไหร่ แต่ตรงนี้หาข้อมูลเพิ่มเติมเองก็ได้ครับ)
รวมค่าโอนทั้งหมด 1,842 บาท
เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ โอนเป็นชื่อบริษัทเรียบร้อยแล้ว ในเคสนี้คือ โอนจาก กทม. มาเป็น กทม. ครับ แต่ถ้าเป็น ตจว. มาเป็น กทม. จะต้องทำเรื่องที่เดียวคือ ขนส่งที่จตุจักรครับ
ปล. สัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ได้ใช้ครับ
หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยใน ณ ที่นี้ กรมขนส่งบางที่อาจจะไม่เหมือนกันครับ
(การบริการของเจ้าหน้าที่ ให้ขั้นดีเยี่ยมครับ แต่ก่อนบริการแย่กว่านี้เยอะ แต่ตอนนี้ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ ตั้งใจบริการสุดๆ เลยครับ)
[CR] รีวิวการโอนรถจากบุคคล (ที่เป็นกรรมการ) เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท
(ทำธุรกรรมวันที่ 10 มกราคม 2562)
เริ่มกันเลยครับ
เอกสารที่จะต้องเตรียมไปโอนก็จะมี
1. เล่มคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
2. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ + หนังสือรับรองบริษัทที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
3. แบบคำขอโอนและรับโอน ดาวน์โหลดได้ที่กรมขนส่งทางบกได้เลยครับ
4. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ในกรณีของผม กรรมกาที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ไปโอนเอง
- ในแบบคำขอโอนและรับโอน ทุกช่องเซ็นโดยกรรมการ และในช่องผู้รับโอนให้ตีตราประทับบริษัทด้วย (ถ้ามี)
- ในหนังสือมอบอำนาจให้เป็นชื่อบริษัทมอบอำนาจให้กับกรรมการเป็นผู้ทำเรื่อง และตรงไหนที่เป็นผู้มอบอำนาจ ให้ตีตราประทับบริษัทด้วย (ถ้ามี)
สถานที่โอนรถยนต์
ตอนแรกผมก็พลาดเหมือนกัน ดันไปทำเรื่องโอนที่เขตจตุจักร ตอนไปตรวจสถาพรถ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผมโอนที่นี่ไม่ได้ ต้องไปตามที่ที่คนก่อนหน้าทำเรื่องไว้ ในเคสนี้ให้ดูในเล่มคู่มือจดทะเบียนครับ
ให้ดูที่เจ้าของรถล่าสุดว่าอยู่ที่ไหน ให้ไปทำเรื่องที่นั่นครับ ในเคสของผม เจ้าของรถเดิมอยู่เขตสวนหลวง ก็เลยต้องไปทำที่ กรมขนส่งทางบกพื้นที่ 3 แถวๆ BTS บางจากครับ
ขั้นตอนการโอนรถ
วันโอนรถผมไปตั้งแต่ 7.30 น. เผื่อจะมีคิวทำเยอะ แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่เยอะขนาดนั้นครับ ไปถึงแล้วก็มีคนต่อๆ อยู่แค่ 1-2 คิวเอง (สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์รถ) เค้าเปิดให้ตรวจสภาพรถตอน 8.30 น. ครับ ซึ่ง ณ ตอนนั้นมีคิวต่ออยู่ประมาณ 7-8 คิวเท่านั้นเอง เข้าสู่ขั้นตอนกันเลยครับ
1. ตรวจสภาพรถ (ภายในกรมขนส่งเลย) - ก็ขับรถของเราไปต่อแถวที่ตรวจสภาพรถ รอไม่นานก็ขับเข้าไป ดับเครื่องเปิดฝากระโปรงหน้า ขั้นตอนนี้เค้าก็จะขอเอกสารตัวเล่มทะเบียนรถและแบบคำขอโอนและรับโอน และก็จะเอาเทปย่น (บางคนเรียกเทปหนังไก่) ไปขูดๆ เอาเลขตัวถึงรถเพื่อมาติดกับแบบคำขอโอน
- ในกรณีของผมเป็นรถที่ติดแก๊ส ตอนแรกก็กลัวว่าจะต้องใช้ใบรับรองถังแก๊สจากวิศวกรมั้ยเพื่อตรวจสภาพรถที่ติดแก๊ส ก็เลยไปขอใบรับรองแก๊สวิศวกรมา แต่เอาจริงๆ ไม่ได้ใช้ครับ เค้าไม่ได้ขอเลย (แต่ผมว่าแต่ละขนส่งอาจจะไม่เหมือนกัน ติดไว้เผื่อเสียเวลาดีกว่าครับ ไปตรวจทีราคาประมาณ 500-800 บาทแล้วแต่สถานที่)
2. หลังจากเสร็จการตรวจสภาพแล้วก็เอารถไปจอดเลยครับ จอดไหนก็ได้ที่สะดวก หลังจากนั้นก็มานั่งรอในห้องรับเอกสารที่ตรวจสภาพรถ รอเรียกประมาณ 15-20 นาที พอได้เอกสารแล้ว ก็ขึ้นไปชั้น 2 ที่โอนรถ (ของกรมขนส่งพื้นที่ 3 อยู่ชั้น 2 ครับ)
3. ยื่นเรื่องขอโอนให้กับเจ้าหน้าที่ ในขั้นตอนนี้ก็ให้เราเตรียมเอกสารทั้งหมดที่ผมบอกไว้ในตอนแรกและที่ได้รับกลับมาหลังจากตรวจสภาพรถให้กับเจ้าหน้าที่ได้เลยครับ แล้วรอเรียกประมาณ 20-30 นาที แล้วแต่คิว (ขั้นตอนนี้ ไม่ต้องไปติดอากรสแตมป์ครับ ตอนที่จ่ายเงินเค้าติดให้เองเลย)
4. เจ้าหน้าที่เรียกไปจ่ายเงิน เท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนการโอนแล้วครับ ง่ายมากๆ และใช้เวลาไม่นานอย่างที่คิด ตั้งแต่ทำเรื่อง 8.30 น. เวลาประมาณ 10.15 น. ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
ส่วนค่าใช้จ่ายจะเป็นตามนี้ครับ
- คำขอ 5 บาท
- โอนทะเบียนรถ 100 บาท
- ค่าอากร 1,250 บาท (ถ้าจำไม่ผิด จะอิงจากราคาประเมินรถ * 0.5% ครับ)
- ค่าภาษีรถยนต์ (ภาษีเพิ่ม) 487 บาท ในเคสนี้คือ เราจ่ายภาษีถูกต้องแล้ว แต่ในกรณีที่โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท จะมีภาษีเพิ่มเติมในส่วนนี้ ซึ่งผมไม่ชัวร์ว่ามันคิดยังไง แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหลืออยู่ที่จะต่อภาษีครั้งต่อไปครับ เช่น เหลืออีก 95 วัน จ่ายเพิ่มเท่านั้นเท่านี้ ประมาณนี้ครับ พอดีเห็นเจ้าหน้าที่นั่งกดเครื่องคิดเลขหารเป็นวันอยู่ และดูว่าต่อภาษีครั้งสุดท้ายวันที่เท่าไหร่ เหลืออยู่เท่าไหร่ แต่ตรงนี้หาข้อมูลเพิ่มเติมเองก็ได้ครับ)
รวมค่าโอนทั้งหมด 1,842 บาท
เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ โอนเป็นชื่อบริษัทเรียบร้อยแล้ว ในเคสนี้คือ โอนจาก กทม. มาเป็น กทม. ครับ แต่ถ้าเป็น ตจว. มาเป็น กทม. จะต้องทำเรื่องที่เดียวคือ ขนส่งที่จตุจักรครับ
ปล. สัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ได้ใช้ครับ
หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยใน ณ ที่นี้ กรมขนส่งบางที่อาจจะไม่เหมือนกันครับ
(การบริการของเจ้าหน้าที่ ให้ขั้นดีเยี่ยมครับ แต่ก่อนบริการแย่กว่านี้เยอะ แต่ตอนนี้ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ ตั้งใจบริการสุดๆ เลยครับ)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น