เชียงใหม่ ... พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง พากลับไปสู่ความสุขในวัยเยาว์

วัดร้องเม็ง ตั้งอยู่ใน บ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย เชียงใหม่
พยายามหาความหมายของชื่อชุมชนว่ามาจากไหน ... ไม่มีใครบันทึกไว้
จาก วัดร้องแง พบว่า ร้อง เพี้ยนมาจาก ฮ่อง คือ ร่อง(น้ำ) แปลว่า ลำคลอง
และจากบ้านสันนาเม็ง พบว่า เม็งมาจากคำว่า ชาวเม็ง หรือชาวมอญ
บ้านร้องเม็ง จึงน่าจะมาจาก น่าจะมาจากคลองที่ชาวเม็งหรือมอญอยู่




วิหารล้านนา ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ยกเก็จผนัง หน้าบันลายพรรณพฤกษา
หลังคาสองซดสองตับ โครงหลังคาแบบม้าต่างไหม
บันไดทางขึ้นของพระสงฆ์อยู่ด้านหลัง
หลังวิหารเป็นเจดีย์
















เจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ ห้ายอด มีกำแพงแก้ว
ฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุมยี่สิบ
เรือนธาตุมีเทวดา
เหนือเรือนธาตุมีฐานลดหลั่นลงไปเพื่อรับองค์ระฆังขนาดเล็ก
ก้านฉัตร ปัทมบาท ปลี และฉัตร
ส่วนยอดเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์




อุโบสถ




ศาลาบาตร




โพธิ์




กำแพงวัดเก่าที่หลงเหลืออยู่




พิพิธภัณฑ์

อยู่ข้างวิหารด้านทิศใต้ มีเสมาธรรมจักร
กระทู้นี้เป็นการนำเสนออดีต และวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในอดีต ที่คนเล่าได้เล่าอย่างมีความสุข ผ่านทางของที่สะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง







พระครูโกวิทธรรมโสภณ สนใจอนุรักษ์ของเก่าประเภทเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
เริ่มจากชิ้นแรก "ปิมดินกี่" ที่ใช้ก่อบ่อน้ำ จากบ้านโยมแม่
... ปิม >> แบบพิมพ์ , ดินกี่ >> ก้อนอิฐ ...

... ภาพจาก //watrongmeng.5u.com/



บ่ะดินกี่ ... บ่ะ เป็น article >> the




อะไรเอ่ย ? อยากรู้ตามมาชมค่ะ




ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์หลังแรก

เริ่มจาก รั้ว >> ฮั้ว , ตั้งบ่อง >> คำนี้ไม่แน่ใจแต่หมายถึงเสาที่เจาะช่องไว้วางไม้ไผ่ในแนวขวาง




เฮือนน้ำต้นมักอยู่นอกรั้ว หรือเป็นส่วนหนึ่งของรั้ว
มีไว้ให้คนที่ผ่านไปมาได้ดื่มน้ำแก้กระหาย
น้ำในหม้อดิน ใช้กระบวยตักดื่มนั้นช่างเย็นชื่นใจ




เรื่องราวของไม้ผุ

กลองหลวง







ฐานเสาอุโบสถ ... ทายถูกไหมคะ




เรื่องราวของข้าว

เครื่องมือทำนา




กระด้งฟัดข้าว ถังไม้คือถังตวงข้าว ปริมาตร 1 ถัง




ผามมอง ... ตำข้าว




เครื่องสีข้าว



ปฏิทินข้าว
ใช้นับวันข้างขึ้นข้างแรมเวลานำข้าวเปลือกไปหยอด
ช่องบนสุดเป็นดวงจันทร์ครึ่งดวง มืดและสว่าง
ช่องล่างสุดเป็นดวงจันทร์เต็มดวง มืดและสว่าง




เรื่องของยานพาหนะ
















คิดอยู่ตั้งนานเพราะล้อไม่น่าวางบนรางรถไฟได้
ถ้าวางคร่อมรางรถไฟ น่าจะเป็นไปได้มากกว่า




นิยมช้างไม้แกะสลักประดับหน้าประตู




อาคารพิพิธภัณฑ์หลังแรกเก็บโบราณวัตถุ

กูบศึกและดาบออกศึก ของ พ่อขุนนงงาม ต้นสกุลนงงาม ใช้ในศึกขับไล่พม่าราวปี พ.ศ. 2317




เครื่องกรองน้ำดื่ม เป็นโถเซรามิกไม่ต้องใส่ตัวกรองอะไรลงไป




กล้องถ้ายรูป กล้องสูบยาเส้น เชี่ยนหมาก




เดรื่องลงบัญชีสมัยโบราณ ... ใช้ในธนาคาร




กระดึง - กระดิ่ง




ก็อบแก๊บ คือรองเท้าเกี๊ยะ




150 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 ใจมือ (หยิบมือ)
4 ใจมือ เป็น 1 กำมือ
8 กำมือ (บางตำราก็ว่า 4 กำมือ) เป็น 1 ฟายมือ (จังวอน)
2 ฟายมือ เป็น 1 แล่ง (กอบมือ)
2 แล่ง เป็น 1 ทะนาน
20 ทะนาน เป็น 1 ถัง (สัด)
50 ถัง เป็น 1 บั้น
2 บั้น เป็น 1 เกวียน

1 ถังตวงข้าว




ตะกร้าใส่เสื้อผ้า




นึ่งข้าวแบบชาวเหนือ
หม้อใส่น้ำ สีดำเป็นไม้ท่อนกลมและกลวง ใช้ใส่ข้าวที่จะนึ่ง มีแผ่นไม้มีรูกั้นไว้เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้ ใช้ผ้าชุบน้ำยัดตามขอบไห เพื่อกันไอน้ำออก
แล้วปิดฝา




ชิ้นที่เป็นเหมือนถาดไม้ รูปร่างกลมคือกั๊วะข้าว
เมื่อนึ่งข้าวสุกจะนำมาเทลงกั๊วะข้าว ใช้ไม้พายคนให้ไอน้ำออกไป ข้าวเหนียวจะไม่แฉะ แล้วจึงนำไปใส่ในกระติ๊บ







อูป ใส่ข้าวถวายพระ
เป็นเครื่องเขิน คือการนำตอกไม้ผ่มาสานเป็นภาชนะแล้วลงรักปิดทอง




นางงามในอดีต







เอกสาร

พระธรรม ที่เขียนลงในกระดาษสา







บางชิ้นก็ ... เคยเห็นกันหรือเปล่า

















รถถีบ ... ต้องถีบถึงจะไป
รถจักรยาน ... จักร = เฟือง , ยาน = ยานพาหนะ




ถังไม้เป็นถังปูนซีเมนต์
พ.ศ. 2480 ... ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 กระดาษหายากและแพง
บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ตะปู สะบู่ จึงเป็นลังไม้
รางไม้อีกอัน - คือรางข้าวหมู ... รางข้าวใส่อาหารเลี้ยงหมู




ไหนึ่งเมี่ยง




อีดอ้อย




ที่โม่ถั่วลิสง




หีบเสียง รูที่เห็นน่าจะเป็นรูเสียบแกนสำหรับไขลานให้จานหมุน




คอมแพค ทีทั้งที่เล่นแผ่นเสียง วิทยุ และเครื่องเล่นเทป





แบบทำหมวก




สิงห์ไม้แกะสลัก




ภาพเรื่องราวในอดีต






















เตารีดถ่าน




รูปหล่อสำริด







เป็นที่มาของคำว่าฟ้อนเล็บ




ที่คาดเอว ไม่แน่ใจว่าเป็นลูกเดือยหรือเปล่า





แต่อันนี้คือฟันลา




เครืองมือ




แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่