📍มาลาริน/ที่สุดพรรคเพื่อชาติของนายจตุพร ก็ก้าวไม่พ้นทักษิณ ทำลับลวงพรางอยู่ตั้งนานในที่สุดก็โป๊ะแตก จะเอาทักษิณกลับบ้าน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

กลายเป็นประเด็นรัอนแรงทางการเมืองขึ้นมาทันทีเมื่อ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา ในฐานะกองเชียร์พรรคเพื่อชาติ โพสต์เฟซบุ๊กเสนอให้มีการตั้งโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาล และนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมือง และได้กล่าวปราศรัยที่ จ.พิษณุโลก ใจความตอนหนึ่งว่า “เราได้พยายามให้ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาประเทศไทย 3 ครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จ จึงขอโอกาสครั้งนี้ซึ่งถือว่าเป็นครั้งที่ 4 หากได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนเลือกพรรคเพื่อชาติ” เป็นอะไรที่ไม่รู้ว่าคะแนนจะรุ่งหรือจะร่วง ที่ผ่านมาพรรคนี้อุตส่าห์แยกตัวจาก “พรรคเพื่อไทย” มาเป็นเกาะกลางประชาธิปไตย แต่กองเชียร์พรรครุ่นใหญ่กลับอ้างอิง “ทักษิณ” ไม่ต่างกับพรรคเพื่อไทย แล้วจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร?

นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้ชี้แจงผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ถึงข้อความดังกล่าว “เป็นแค่การอ้างถึงเท่านั้น ไม่เห็นว่าการเป็นรัฐบาลจะช่วยให้กลับบ้านได้” ยังกล่าวอีกว่า อยากจะมีพื้นที่ ที่จะทำให้สัมคมได้เห็นว่ายังมีคนกลุ่มหนึ่งที่อยากให้บ้านเมือง เดินไปด้วยความรัก ความสามัคคี ไม่อยากให้มองเป็นเรื่องของการเมือง!



https://www.springnews.co.th/programs/insidethailand-tonight/416820


เปิดเจรจา รัฐ-ทักษิณ ยุทธศาสตร์หาเสียง “นำแม้วกลับปท.”ของพรรคเพื่อชาติ



ความจริง น่าจะจบข่าวก่อนหน้านี้ไปตั้งนานแล้ว สำหรับเรื่องตั้งโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาลปัจจุบัน กับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เป็นจำเลยหลบหนีคดี

เพราะก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เมื่อครั้งยังไม่แตกพรรค แกนนำในพรรคเพื่อไทยหลายคน พยายามเสนอแนวทางนี้ให้รัฐบาลและคสช.ดำเนินการมาแล้ว โดยข้ออ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง

รวมทั้งเหตุผล อยากกลับคืนประเทศบ้านเกิดของนายทักษิณ หลังจากต้องหลบหนีออกจากประเทศไทยตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2551

แต่คำตอบที่ได้ทั้งจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กับพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกฯ ดูแลความมั่นคง คือไม่ได้ห้ามกลับเข้าประเทศไทย แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย

คำตอบนี้จึงไม่มีเสียงขานรับจากนายทักษิณ แต่ขณะเดียวกัน นายทักษิณยังเคลื่อนไหวทั้งผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ การให้สัมภาษณ์สื่อ หรือแสดงความคิดเห็นในทำนองที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลเช่นเดิม รวมกระทั่งคำพูดที่สุ่มเสี่ยงต่อข้อห้ามการเข้าแทรกแซงหรือชี้นำพรรคเพื่อไทย กระทั่งมีข้อเรียกร้องให้กกต.เข้าไปตรวจสอบ ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทยหลายคน โดยเฉพาะนายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค ต้องยืนยันความเป็นอิสระของพรรคอย่างแข็งขัน

กระทั่งการเปิดยุทธศาสตร์ใหม่ แตกพรรคเพื่อรับมือการเลือกตั้งตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่ถูกออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองใหญ่เกินจนเกินควร เพราะจะนำไปสู่เผด็จทางการทางรัฐสภา พรรคเพื่อไทยต้องพรรคคู่ขนานอย่างพรรคไทยรักษาชาติ เพื่อผ่องถ่ายแกนนำสำคัญในพรรค เพื่อหา “ที่ยืน”บนเวทีการเมือง เนื่องจากพรรคยิ่งโต ยิ่งจะได้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อน้อยลง ถึงขั้นอาจจะไม่ได้ด้วยซ้ำ

ขณะที่พรรคเพื่อชาตินั้น แม้จะถูกปฏิเสธความเชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทยจากระดับแกนนำในพรรค แต่โดยข้อเท็จจริง ถือเป็นการรวมตัวของแกนนำนปช.ที่มีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช.เป็นหัวขบวน กับอดีตแกนนำและส.ส.ในพรรคของขั้วเพื่อไทย นำโดยนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน อดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ สมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค

และที่พรรคเพื่อชาตินี้เอง ที่ปรากฏชื่อนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตส.ส.หลายสมัย จังหวัดเชียงราย และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นหนึ่งในหัวขบวนทางความคิดรวมอยู่ด้วย

การหยิบยกข้อเสนอให้รัฐบาลเปิดโต๊ะเจรจากับนายทักษิณ กลับมาปัดฝุ่นใหม่ ก็มาจากนายยงยุทธคนนี้เป็นสำคัญ

สำหรับนายยงยุทธ ลงสมัคร ส.ส.และได้เป็น ส.ส.เชียงรายสมัยแรก ปี 2538 สังกัดพรรคเอกภาพ ภายใต้การนำทีมของนายฉัฐวัสส์ มุตตามระ (ชื่อเดิมนายวีระพล) อดีตเลขาธิการพรรคเอกภาพ ก่อนจะย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นส.ส.ปี 2539 และเมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว นายชวน หลีกภัย กลับขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ ที่โดนน็อคด้วยวิกฤติต้มยำกุ้ง พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีมหาดไทย ได้ให้การสนับสนุนนายยงยุทธอย่างเต็มที่ มีการส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษกวาดล้างผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งจังหวัดเชียงรายด้วย

กระทั่งปี 2544 นายยงยุทธ ย้ายเข้าพรรคไทยรักไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นความใกล้ชิดและเป็นเป็นหนึ่งในสายตรงนายทักษิณ นายยงยุทธไม่ได้ปักธง ส.ส.ทั้งจังหวัดเชียงรายเท่านั้น ยังได้รับมอบหมายดูแลหลายจังหวัดในภาคเหนือด้วย ทำให้เขาได้รับตำแหน่งทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โฆษกรัฐบาล เลขาธิการนายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรฯ กระทั่งเป็นประธานสภาผู้แทนฯ สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ

หลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนายทักษิณ ปี 2549 นายยงยุทธ เป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญที่คณะรัฐประหาร เรียกให้ไปรายงานตัว

การจุดพลุให้รัฐบาลตั้งโต๊ะเจรจากับนายทักษิณครั้งนี้ น่าจะมาจากแนวนโยบายการชูประเด็นหาเสียงเลือกตั้ง “นำทักษิณกลับบ้าน”ของพรรคเพื่อชาติ เนื่องจากประเมินแล้วว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่ จะแข่งขันรุนแรงดุเดือด และอาจต้องเผชิญกับการเอารัดเอาเปรียบในทุกช่องทางของฝ่ายที่มีอำนาจ

ขณะที่การหาเสียงโดยมุ่งเน้นนำนายทักษิณกลับบ้าน น่าจะสั้น กระชับ และได้ผลที่สุด ภายใต้ความเชื่อว่า คนระดับฐานรากยังคงชื่นชมในตัวนายทักษิณ

ไม่ต้องพูดมาก..เจ็บคอ

https://www.springnews.co.th/column/416788

สงสัยท่อน้ำเลี้ยงจะไหลมาเทมาแล้วกระมัง

จึงออกตัวมากมายไม่เกรงใจประชาชนคนร้องยี้ไม่เอาทักษิณนักโทษหนีศาล

ตอนนี้ต้องยี้ พรรคเพื่อชาติไปก่อนละกัน...ยี้ ยี้ ยี้

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่