สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
ถ้าลองหาๆใน Pantip นี้ก่อน
จะเห็นว่าวิธีการจ่ายค่างวดของ UOB ออมสิน และ กสิกร(ปัจจุบัน) จะชวนปวดหัวสำหรับคนชอบโปะ มากกว่าแบ้งค์อื่นๆครับ
เพราะวิธีคิดการตัดค่างวดของแบ้งค์เหล่านี้ จะไม่ได้คิดแบบตรงไปตรงมา
ตรงไปตรงมาคือ
จ่าย ณ วันไหน ก็หักดอกเบี้ยสะสมก่อน ที่เหลือไปหักเงินต้น
ส่วนเมื่อถึงกำหนดค่างวด ก็ต้องจ่ายเต็มก้อนตามปกติที่สัญญาทำไว้
ส่วน 3 แบ้งค์ที่ว่า จะใช้วิธี จ่ายเข้าไปเท่าไหร่ จะเอาพักรอไว้ในระบบก่อน
เมื่อถึงวันตัดยอด ก็เอาจำนวนเงินสะสมที่พักรอไปตัดยอด
ส่วนจะโปะ ต้องมีกระบวนการต่างหากอีก ส่วนใหญ่คือให้ไปเค้าเตอร์แล้วแจ้งว่าจ่ายเงินต้น จะชัวว์สุดๆ
ซึ่งทั้ง 3 แบ้งค์ที่ว่า เค้ามีเหตุผลนะ ว่าทำไมต้องใช้แบบนี้ เท่าที่ตามอ่านคือ
ถ้าคิดแบบตรงไปตรงมา ถ้าผู้ชำระมีวินัยทางการเงินไม่ดี เช่น จ่ายโปะ แต่ดันลืมจ่ายค่างวดปกติตามรอบ ระบบจะมองว่าขาดชำระ หรือ ค้างจ่ายเกินวันตัดรอบบัญชี จะถูกมองว่าค้างชำระ
ส่วนวิธีที่ 3 แบ้งค์คิด จ่ายทีละน้อย หรือ จ่ายเกิน มันจะไปพักรอในถัง เมื่อถึงวันตัดรอบ ระบบจะไปดูในถังเพื่อหักค่างวดก่อน ดังนั้นจะช่วยให้มีโอกาสผิดนัดชำระยากขึ้น
สรุป ถ้าชอบจ่ายค่างวดแบบตามรอบปกติ 3 แบ้งค์นี้โอเคครับ แต่ถ้าเป็นพวกชอบโปะ ชอบคำนวณดอกเบี้ย แนะนำให้ไปใช้สินเชื่อของแบ้งค์ที่คิดแบบตรงไปตรงมาครับ
จะเห็นว่าวิธีการจ่ายค่างวดของ UOB ออมสิน และ กสิกร(ปัจจุบัน) จะชวนปวดหัวสำหรับคนชอบโปะ มากกว่าแบ้งค์อื่นๆครับ
เพราะวิธีคิดการตัดค่างวดของแบ้งค์เหล่านี้ จะไม่ได้คิดแบบตรงไปตรงมา
ตรงไปตรงมาคือ
จ่าย ณ วันไหน ก็หักดอกเบี้ยสะสมก่อน ที่เหลือไปหักเงินต้น
ส่วนเมื่อถึงกำหนดค่างวด ก็ต้องจ่ายเต็มก้อนตามปกติที่สัญญาทำไว้
ส่วน 3 แบ้งค์ที่ว่า จะใช้วิธี จ่ายเข้าไปเท่าไหร่ จะเอาพักรอไว้ในระบบก่อน
เมื่อถึงวันตัดยอด ก็เอาจำนวนเงินสะสมที่พักรอไปตัดยอด
ส่วนจะโปะ ต้องมีกระบวนการต่างหากอีก ส่วนใหญ่คือให้ไปเค้าเตอร์แล้วแจ้งว่าจ่ายเงินต้น จะชัวว์สุดๆ
ซึ่งทั้ง 3 แบ้งค์ที่ว่า เค้ามีเหตุผลนะ ว่าทำไมต้องใช้แบบนี้ เท่าที่ตามอ่านคือ
ถ้าคิดแบบตรงไปตรงมา ถ้าผู้ชำระมีวินัยทางการเงินไม่ดี เช่น จ่ายโปะ แต่ดันลืมจ่ายค่างวดปกติตามรอบ ระบบจะมองว่าขาดชำระ หรือ ค้างจ่ายเกินวันตัดรอบบัญชี จะถูกมองว่าค้างชำระ
ส่วนวิธีที่ 3 แบ้งค์คิด จ่ายทีละน้อย หรือ จ่ายเกิน มันจะไปพักรอในถัง เมื่อถึงวันตัดรอบ ระบบจะไปดูในถังเพื่อหักค่างวดก่อน ดังนั้นจะช่วยให้มีโอกาสผิดนัดชำระยากขึ้น
สรุป ถ้าชอบจ่ายค่างวดแบบตามรอบปกติ 3 แบ้งค์นี้โอเคครับ แต่ถ้าเป็นพวกชอบโปะ ชอบคำนวณดอกเบี้ย แนะนำให้ไปใช้สินเชื่อของแบ้งค์ที่คิดแบบตรงไปตรงมาครับ
แสดงความคิดเห็น
ประสบการณ์แย่ขั้นสุดกับสินเชื่อบ้าน UOB
1. เมื่อชำระเงิน เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่า ยอดที่ชำระเข้าไป จะตัดดอกเท่าไหร่ เงินต้นเท่าไหร่ เราจะได้แค่ใบเสร็จที่มีแค่ยอดเงินอย่างเดียว โดยไม่ระบุข้อมูลอะไรเลย ว่าเราชำระค่าอะไร ต้องรอใบเสร็จตัวจริงส่งไปที่บ้านอีกครั้ง
2. ใบเสร็จตัวจริง อาจจะมาถึงบ้างไม่ถึงบ้างต้องรอลุ้นเอาเอง ถ้ามาไม่ถึงก็ต้องโทรตามที่ Call center และ Call center ก็จะบอกให้เราไปตรวจสอบกับไปรษณีย์เอาเอง
3. พนักงานธนาคารที่สาขา (ขอระบุ เซ็นทรัลพระราม 9) แจ้งว่า ธนาคาร UOB มีการปรับเปลี่ยนการคิดดอกเบี้ยแบบใหม่ โดยหากลูกค้าต้องการชำระเงินก่อนวันครบกำหนดชำระ ต้องชำระเงินตามยอดที่แจ้งเท่านั้น ห้ามชำระเกินเด็ดขาด ถ้าชำระเกินระบบของธนาคารจะตัดยอดเป็น ยอดชำระล่วงหน้า และเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระ ยอดที่เราชำระเกินจะไม่ถูกตัดยอดใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าต้นหรือดอก แต่จะค้างอยู่ในบัญชีจนกว่าจะถึงรอบชำระครั้งถัดไป ถึงจะนำยอดนี้มาตัด (ซึ่งมั่วมาก)
ตัวอย่าง: วันครบกำหนดชำระทุกวันที่ 10 ยอดชำระ 15,000 บาท
- วันที่ 5 มกราคม ชำระเข้าไป 20,000 บาท
- วันที่ 10 มกราคม จะตัดยอด 15,000 บาทตามงวดที่ต้องชำระเงิน ส่วนอีก 5,000 บาท จะค้างอยู่ในระบบเป็นยอดชำระล่วงหน้า
- วันที่ 10 กุมภาพันธ์ จะตัดยอด 5,000 ที่ชำระล่วงหน้ามา เหลือยอดที่ชำระในเดือนนี้อีก 10,000 บาท
โดยแจ้งว่า หากต้องการจะโปะเงินต้น ให้โปะได้แค่วันเดียวคือวันที่ 11 มกราคม โดยระบบจะคิดดอกเบี้ยแค่ 1 วัน ที่เหลือจะไปตัดเงินต้นให้
(ซึ่งดิฉันเอาหลักการตรงนี้มาคิดกับยอดภาระหนี้คงเหลือที่ตรวจสอบผ่านระบบ Online ก็พบว่าไม่มีความถูกต้องตรงกันเลยแม้แต่น้อย แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ เนื่องจากใบเสร็จก็ไม่ได้รับ ระบบ Online ก็ไม่มีรายละเอียดใดๆ มีแต่เพียงยอดภาระหนี้คงเหลือเท่านั้น)
จากนั้นดิฉันได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมใน Internet พบวิธีการคำนวณดอกเบี้ยดังนี้ https://www.uob.co.th/th/personal/homeloan-advpay/index.html ซึ่งก็ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่มั่นใจเพราะ จนท.ธนาคารให้ข้อมูลมาอีกแบบนึง
4. วันที่ 5 มกราคม ภาระหนี้คงเหลือ เป็น x บาท มีการชำระเงินเข้าไป 20,000 บาท แล้ววันที่ 6 มกราคม เข้าไปเช็คยอดบนระบบ Online อีกครั้ง พบว่า ภาระหนี้คงเหลือเพิ่มขึ้นจ้า เป็น x + y บาท แล้วมียอดชำระเงินล่วงหน้า 20,000 บาทค้างไว้ โทรถาม Call center แจ้งว่า ระบบ Online ข้อมูลไม่ Online นะจ้ะ ยอดที่เราเห็นไม่ Update จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อวันตัดรอบบัญชีเท่านั้น เหมือนบัญชีบัตรเครดิตเลยจ้า ซึ่งวันตัดรอบบัญชีเราคือ 20 มกราคม จะไม่สามารถเช็คยอดอะไรได้ จนวันที่ 20 มกราคมเลย แต่ระบบจะตัดยอดแล้วนะวันที่ 10 มกราคม (ยิ่งพูดยิ่งงง บัญชีสินเชื่อบ้านมีวันตัดรอบบัญชี และวันครบกำหนดชำระเหมือนบัตรเครดิตเลยจ้า และจะส่งใบเสร็จของการชำระเงินในรอบนี้ให้ในวันตัดบัญชี)
5. จนท. Call center ไม่รู้วิธีคำนวณสินเชื่อบ้าน คือเรางงมาก บอกตามตรงว่าปวดหัวเลยกับ UOB ทั้งเจ้าหน้าที่ทั้งหลายแหล่ที่ให้ข้อมูลไม่ตรงกัน นอกจากวันครบกำหนดชำระแล้ว มีวันตัดยอดไปอีก เราเลยถามว่า กรุณาช่วยอธิบายวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบ้าน และวิธีการชำระเงินของ UOB อย่างละเอียดด้วยค่ะ จนท.ตอบเราว่าอะไรรู้ไม๊ บอกว่า คิดดอกเบี้ยรายวันค่ะ (เอ้ออ ใครบ้างที่ทำสินเชื่อบ้านไม่รู้ว่า ดอกเบี้ยบ้านคิดรายวัน ดีมาก ตอบอย่างกับเป็น Robot) จนสุดท้ายต้องคาดคั้นว่า กรุณาอธิบายมา อย่างละเอียด ปรากฎว่า อธิบายมาอีกเรื่องเลยจ้า ไม่เหมือนที่จนท.สาขา และไม่เหมือนใน Website UOB จนเราต้องถามว่า เค้ามั่ว หรือ เวบไซต์มั่ว ถ้าในเวบไซต์มั่วเราจะได้แจ้งเรื่องร้องเรียนว่าทำไมให้ข้อมูลแบบนี้ สุดท้ายนางบอกให้ถือสายรอซักพักใหญ่ แล้วกลับมาบอกว่าเวบไซต์ถูกแล้ว คำนวณตามนั้นเลย เราเลยถามว่า สรุปเค้ามั่วใช่ไม๊ ให้ข้อมูลลูกค้าผิดๆแบบนี้ได้ยังไง นางก็ตอบว่า ที่ให้ข้อมูลก่อนหน้านี้คือข้อมูลเบื้องต้น (เบื้องต้นอะไรล่ะ คนละเรื่องเลยต่างหาก)
6. สุดท้าย พอเราจับได้ว่า Call center มั่วเรื่องคำนวณดอกเบี้ย เลยถามเค้าอีกครั้งว่า สรุปยอดภาระหนี้คงเหลือในระบบ Online เราจะเห็นหลังวันครบกำหนดชำระ หรือวันตัดรอบบัญชี เราไม่เชื่อใจคุณแล้ว เพราะคุณให้ข้อมูลผิดๆกับลูกค้า ถ้าคุณไม่รู้กรุณาโอนสายไปยังผู้รู้ นางตอบว่า ไม่มีใครที่รู้ข้อมูลมากกว่านี้แล้ว ดิฉันสงสัยว่า ธนาคาร UOB คุณมีการอบรมพนักงานมากน้อยแค่ไหน ตัวพนักงานเองยังไม่รู้เลยว่า ผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็นแบบไหน มีรายละเอียดยังไง พอลูกค้าถามก็ตอบมาแบบขอไปที (ดิฉันคิดว่า ตัวดิฉันยังเข้าใจตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน มากกว่าพนักงานของคุณเองซะอีก) สุดท้ายนางเลยขอให้ถือสายรออีกซักพักใหญ่ๆ แล้วกลับมาตอบว่าระบบ Online ข้อมูล Online จ้า จะเห็นยอดภาระหนี้คงเหลือลดลงหลังวันครบกำหนดชำระ ซึ่งคนละคำตอบกับครั้งแรกเลยจ้า
สรุปสุดท้ายนี้ ขอเตือน คนที่คิดจะทำสินเชื่อบ้านกับ ธนาคาร UOB กรุณาคิดไตร่ตรองอีกรอบจะดีกว่า อัตราดอกเบี้ยดีก็จริง แต่ก็มีที่อื่นที่ใกล้เคียงกัน รวม 3 ปี ดอกเบี้ยต่างกันไม่กี่บาท ไปที่อื่นดีกว่ามาปวดหัว ที่นี่นอกจากระบบจะห่วยแล้ว จนท.ก็ไม่สามารถตอบคำถามคุณได้หรอก ถ้าดิฉันรู้เรื่องพวกนี้ก่อน คงไม่ตัดสินใจทำสัญญากับ UOB แน่นอน