สวัสดีค่ะน้องๆ พี่เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร (มก.ฉกส.) นิสิตชั้นปีที่4 นะค่ะ
น้องๆอาจจะคิดว่าเรียนจบการเงินมาแล้ว ต้องทำงานธนาคารหรือเรียนจบการเงินมาแล้วจะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง สายงานไหนบ้าง
วันนี้พี่จะมาแนะนำอาชีพที่น่าสนใจสำหรับคนที่เรียนจบในด้านการเงินและประสบการณ์ในด้านการเรียนและการออกฝึกทำงานจริงหรือเรียกว่าการออกฝึกประสบการณ์ เพื่อให้น้องๆได้เข้าใจในการเรียนการเงินมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในการเลือกสาขาวิชาที่ชอบ และเหมาะกับตัวเราเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในด้านอาชีพและการทำงานที่มีความสุข
1)ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน CFO
การทำงานคือ บริหารด้านการเงินสำหรับองค์กร หรือหน่วยงาน โดยมีการวางแผน การจัดระเบียบและควบคุมกำกับกิจกรรมทางการเงินในองค์กร เช่น การจัดซื้อ หรือการบริหารเงินทุนขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ประมาณเงินเดือน 100000+ บาท
2)วานิชธนากร IB
การทำงานคือ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุน ให้คำแนะนำในการหาเงินทุนในตลาดทุน ซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ เช่น ในการปรับโครงสร้างกิจการการซื้อขายกิจการ หรือการประเมินค่ามูลค่ากิจการ
ประมาณเงินเดือน 30000+ บาท
3)ผู้ตรวจสอบบัญชี
การทำงานคือ ตรวจสอบเอกสารการบัญชีของแต่ละบริษัท เมื่อออกไปสำรวจธุรกิจต่างๆเรียบร้อยแล้วและวิเคราะห์เอกสารการบัญชี ตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่เราไปสำรวจมา เพื่อวิเคราะห์ว่าสมควรให้ผ่านการประเมินหรือไม่ ซึ่งดูจากเกณฑ์ที่ตั้งเป้าหมายไว้
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
4)ผู้แนะนำการลงทุน IC
การทำงานคือ คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร และกองทุนต่างๆ
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
5)นักวิเคราะห์การลงทุน IA
การทำงานคือ สามารถคิดวิเคราะห์วางแผนและการตัดสินใจได้ โดยการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของการลงทุนรวมไปถึงสามารถดัดแปลงการประมวลผลการประยุกต์ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆที่มีผลต่อการลงทุน
ประมาณเงินเดือน 30000+ บาท
6)นักวางแผนทางการเงิน CFP
การทำงานคือ ให้คำแนะนำและวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนการลงทุน และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ
ประมาณเงินเดือน 30000+ บาท
7)ผู้จัดการกองทุน FM
การทำงานคือ การบริหารจัดการเงินทุนให้เกิดดอกผลสูงสุด ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสมกับนักลงทุน
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทบทวนความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อพอร์ตการลงทุนหลังลงทุนไปแล้ว และการปรับพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และบริหารจัดการความเสี่ยงควบคู่ไปด้วย
ประมาณเงินเดือน 40000+ บาท
1-7 อาชีพข้างต้นนี้ ที่พี่กล่าวมาถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
8)งานวิเคราะห์สินเชื่อ
การทำงานคือ ตรวจสอบเอกสารของลูกค้าที่สมัครบัตรเครดิตหรือการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าเพื่อความถูกต้องและพิจารณาผลของการให้ขอสินเชื่อของบุคลนั้น
ประมาณเงินเดือน 17000+ บาท
9)นักการเงินของบริษัท
การทำงานคือ เป็นผู้ดูแลการเงินให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรหรือไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งแต่การจัดหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินกิจการ เช่น ใช้ส่วนของทุน (Equity) ใช้กู้ยืม (Debt) หรือใช้เครดิตทางการค้า
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
10)นักการธนาคาร
การทำงานคือ บริหารทางด้านการบัญชี เปิดปิดบัญชี และการหาลูกค้าสำหรับการลงทุน ทั้งการทำประกันภัย ประกันชีวิต บริหารทางการเงิน รวมไปถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการเงินแก่ลูกค้า
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
*ทั้งนี้โครงสร้างของฐานเงินเดือนขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์กร ฐานเงินเดือนแต่ละที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการมองของผลตอบแทนที่ได้ และอายุของการทำงานของบุคคลนั้น ความสามารถและประสบการณ์🙂
ประสบการณ์ในการเรียนของพี่ และการใช้ชีวิตในรั้วมหาลัย จะว่ายากก็ยากค่ะ จะว่าง่ายก็ง่าย ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ล้วนแล้วอยู่ที่ตัวเราและความพยายามของเราทั้งนั้นนะค่ะ การเรียนการเงินมีทั้งการสอนในห้องเรียน และการออกสัมมนาดูงานเพื่อเรียนรู้จริง สถานที่จริง และการพบผู้คนมากมาย พี่ได้ทั้งความรู้ทฤษฎีในห้องเรียนและปฏิบัติจริงจากการสัมมนาดูงาน เพื่อการเตรียมความพร้อมในการทำงานจริงๆของเรา การใช้ชีวิตในรั้วมหาลัยทำให้พี่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆมากมาย ทั้งการวางแผนทางการเรียน การคบเพื่อน ซึ่งตลอดเวลาที่พี่เรียนการเงินมา4ปี ก็เป็นความสุขอีกหนึ่งความสุขของพี่เลยค่ะ
และการออกฝึกประสบการณ์ของพี่ พี่ได้ออกฝึกที่ธนาคารออมสิน พี่อยู่ศูนย์ควบคุมและบริหารหนี้ค่ะ ซึ่งเกี่ยวกับการติดตามหนี้ของลูกค้า การให้สินเชื่อแก่ลูกค้าและวิเคราะห์เครดิตของลูกค้า เพื่อการพิจารณาในการให้สินเชื่อนั้น และการทำงานมีหลายหน่วยงานที่ทำงานรวมกันอย่างเป็นระบบเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และนั้นคืออีกส่วนหนึ่งในการใช้ความรู้ที่มีมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงาน แต่สิ่งที่สำคัญคือการใช้ชีวิตในการทำงานร่วมกับผู้คนมากมาย หลากหลายความคิด ซึ่งเป็นอีกส่วนที่สำคัญเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมที่แท้จริงในการทำงาน และสอนให้เราเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นและเข้าใจในการทำงาน เข้าใจถึงผู้คนที่ทำงานด้วยกัน หรือที่เรียกว่าการทำงานเป็นทีมเพื่อเป้าหมายเดียวกันค่ะ
สุดท้ายนี้พี่อยากฝากถึงน้องๆ ที่มองหาสาขาวิชาที่ชอบหรืออยากเรียนในสาขาการเงิน แต่ยังไม่เข้าใจพอสมควรหวังว่าสิ่งที่พี่แชร์ออกมาจะเป็นประโยชน์ต่อน้องๆเป็นอย่างมากนะค่ะ
ลองมองตัวเราให้ดี ถามตัวเองให้ดี ว่าเราชอบอะไร อะไรที่เหมาะกับตัวเรา เพื่อการเรียนรู้และการได้ทำงานในอาชีพได้อย่างมีความสุขนะค่ะ สู้ๆนะค่ะ^^
ประสบการณ์เรียนการเงิน ม.เกษตร สกลนคร
น้องๆอาจจะคิดว่าเรียนจบการเงินมาแล้ว ต้องทำงานธนาคารหรือเรียนจบการเงินมาแล้วจะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง สายงานไหนบ้าง
วันนี้พี่จะมาแนะนำอาชีพที่น่าสนใจสำหรับคนที่เรียนจบในด้านการเงินและประสบการณ์ในด้านการเรียนและการออกฝึกทำงานจริงหรือเรียกว่าการออกฝึกประสบการณ์ เพื่อให้น้องๆได้เข้าใจในการเรียนการเงินมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในการเลือกสาขาวิชาที่ชอบ และเหมาะกับตัวเราเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในด้านอาชีพและการทำงานที่มีความสุข
1)ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน CFO
การทำงานคือ บริหารด้านการเงินสำหรับองค์กร หรือหน่วยงาน โดยมีการวางแผน การจัดระเบียบและควบคุมกำกับกิจกรรมทางการเงินในองค์กร เช่น การจัดซื้อ หรือการบริหารเงินทุนขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ประมาณเงินเดือน 100000+ บาท
2)วานิชธนากร IB
การทำงานคือ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุน ให้คำแนะนำในการหาเงินทุนในตลาดทุน ซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ เช่น ในการปรับโครงสร้างกิจการการซื้อขายกิจการ หรือการประเมินค่ามูลค่ากิจการ
ประมาณเงินเดือน 30000+ บาท
3)ผู้ตรวจสอบบัญชี
การทำงานคือ ตรวจสอบเอกสารการบัญชีของแต่ละบริษัท เมื่อออกไปสำรวจธุรกิจต่างๆเรียบร้อยแล้วและวิเคราะห์เอกสารการบัญชี ตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่เราไปสำรวจมา เพื่อวิเคราะห์ว่าสมควรให้ผ่านการประเมินหรือไม่ ซึ่งดูจากเกณฑ์ที่ตั้งเป้าหมายไว้
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
4)ผู้แนะนำการลงทุน IC
การทำงานคือ คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร และกองทุนต่างๆ
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
5)นักวิเคราะห์การลงทุน IA
การทำงานคือ สามารถคิดวิเคราะห์วางแผนและการตัดสินใจได้ โดยการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของการลงทุนรวมไปถึงสามารถดัดแปลงการประมวลผลการประยุกต์ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆที่มีผลต่อการลงทุน
ประมาณเงินเดือน 30000+ บาท
6)นักวางแผนทางการเงิน CFP
การทำงานคือ ให้คำแนะนำและวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนการลงทุน และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ
ประมาณเงินเดือน 30000+ บาท
7)ผู้จัดการกองทุน FM
การทำงานคือ การบริหารจัดการเงินทุนให้เกิดดอกผลสูงสุด ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสมกับนักลงทุน
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทบทวนความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อพอร์ตการลงทุนหลังลงทุนไปแล้ว และการปรับพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และบริหารจัดการความเสี่ยงควบคู่ไปด้วย
ประมาณเงินเดือน 40000+ บาท
1-7 อาชีพข้างต้นนี้ ที่พี่กล่าวมาถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
8)งานวิเคราะห์สินเชื่อ
การทำงานคือ ตรวจสอบเอกสารของลูกค้าที่สมัครบัตรเครดิตหรือการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าเพื่อความถูกต้องและพิจารณาผลของการให้ขอสินเชื่อของบุคลนั้น
ประมาณเงินเดือน 17000+ บาท
9)นักการเงินของบริษัท
การทำงานคือ เป็นผู้ดูแลการเงินให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรหรือไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งแต่การจัดหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินกิจการ เช่น ใช้ส่วนของทุน (Equity) ใช้กู้ยืม (Debt) หรือใช้เครดิตทางการค้า
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
10)นักการธนาคาร
การทำงานคือ บริหารทางด้านการบัญชี เปิดปิดบัญชี และการหาลูกค้าสำหรับการลงทุน ทั้งการทำประกันภัย ประกันชีวิต บริหารทางการเงิน รวมไปถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการเงินแก่ลูกค้า
ประมาณเงินเดือน 20000+ บาท
*ทั้งนี้โครงสร้างของฐานเงินเดือนขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์กร ฐานเงินเดือนแต่ละที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการมองของผลตอบแทนที่ได้ และอายุของการทำงานของบุคคลนั้น ความสามารถและประสบการณ์🙂
ประสบการณ์ในการเรียนของพี่ และการใช้ชีวิตในรั้วมหาลัย จะว่ายากก็ยากค่ะ จะว่าง่ายก็ง่าย ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ล้วนแล้วอยู่ที่ตัวเราและความพยายามของเราทั้งนั้นนะค่ะ การเรียนการเงินมีทั้งการสอนในห้องเรียน และการออกสัมมนาดูงานเพื่อเรียนรู้จริง สถานที่จริง และการพบผู้คนมากมาย พี่ได้ทั้งความรู้ทฤษฎีในห้องเรียนและปฏิบัติจริงจากการสัมมนาดูงาน เพื่อการเตรียมความพร้อมในการทำงานจริงๆของเรา การใช้ชีวิตในรั้วมหาลัยทำให้พี่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆมากมาย ทั้งการวางแผนทางการเรียน การคบเพื่อน ซึ่งตลอดเวลาที่พี่เรียนการเงินมา4ปี ก็เป็นความสุขอีกหนึ่งความสุขของพี่เลยค่ะ
และการออกฝึกประสบการณ์ของพี่ พี่ได้ออกฝึกที่ธนาคารออมสิน พี่อยู่ศูนย์ควบคุมและบริหารหนี้ค่ะ ซึ่งเกี่ยวกับการติดตามหนี้ของลูกค้า การให้สินเชื่อแก่ลูกค้าและวิเคราะห์เครดิตของลูกค้า เพื่อการพิจารณาในการให้สินเชื่อนั้น และการทำงานมีหลายหน่วยงานที่ทำงานรวมกันอย่างเป็นระบบเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และนั้นคืออีกส่วนหนึ่งในการใช้ความรู้ที่มีมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงาน แต่สิ่งที่สำคัญคือการใช้ชีวิตในการทำงานร่วมกับผู้คนมากมาย หลากหลายความคิด ซึ่งเป็นอีกส่วนที่สำคัญเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมที่แท้จริงในการทำงาน และสอนให้เราเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นและเข้าใจในการทำงาน เข้าใจถึงผู้คนที่ทำงานด้วยกัน หรือที่เรียกว่าการทำงานเป็นทีมเพื่อเป้าหมายเดียวกันค่ะ
สุดท้ายนี้พี่อยากฝากถึงน้องๆ ที่มองหาสาขาวิชาที่ชอบหรืออยากเรียนในสาขาการเงิน แต่ยังไม่เข้าใจพอสมควรหวังว่าสิ่งที่พี่แชร์ออกมาจะเป็นประโยชน์ต่อน้องๆเป็นอย่างมากนะค่ะ
ลองมองตัวเราให้ดี ถามตัวเองให้ดี ว่าเราชอบอะไร อะไรที่เหมาะกับตัวเรา เพื่อการเรียนรู้และการได้ทำงานในอาชีพได้อย่างมีความสุขนะค่ะ สู้ๆนะค่ะ^^