เมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ยานอวกาศของนาซาชื่อ นิวเฮอไรซอนส์ ได้พุ่งเข้าเฉียดดาวพลูโตพร้อมกับส่งภาพระยะใกล้ของดาวเคราะห์แคระดวงนี้รวมทั้งบริวารกลับมายังโลก เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมสุดพิศวงจากดินแดนไกลโพ้นของระบบสุริยะดวงนี้
นิวเฮอไรซอนส์เผยว่า ดาวพลูโตไม่ใช่ดินแดนตายซากเย็นชืดดังที่เคยเชื่อกัน หากแต่ยังคุกรุ่นไปด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยา มีธารน้ำแข็ง มีบรรยากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีแม้แต่มหาสมุทรบาดาล สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายของนักดาราศาสตร์ทั้งสิ้น
ในอีกไม่ถึงสัปดาห์ข้างหน้า บรรยากาศแห่งความอัศจรรย์ใจอย่างนั้นจะเกิดขึ้นอีกครั้ง
ดาวพลูโตไม่ใช่เป้าหมายเดียวของยานนิวเฮอไรซอนส์ หลังจากที่ยานผ่านพ้นดาวพลูโตไปแล้ว ได้จุดจรวดปรับทิศทางอีกสี่ครั้งเพื่อเบนเส้นทางไปยังเป้าหมายถัดไปซึ่งอยู่ห่างออกไปอีก 1,600 ล้านกิโลเมตร เป้าหมายใหม่นี้มีชื่อว่า 2014 เอ็มยู 69 (2014 MU69) หรือที่มีชื่อสามัญอย่างไม่เป็นทางการว่า อัลติมาทูลี (Ultima Thule) ซึ่งยานจะเข้าใกล้วัตถุดวงนี้มากที่สุดในวันที่ 1 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่พอดี
ภารกิจการสำรวจดาวอัลติมาทูลียังคงเป็นลักษณะเดียวกับภารกิจสำรวจดาวพลูโต นั่นคือเป็นการพุ่งเฉียด ยานจึงมีเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นในการเก็บข้อมูลจากวัตถุดวงนี้ให้มากที่สุดก่อนที่จะผ่านเลยไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ หลังจากที่ยานเคลื่อนผ่านพ้นไปแล้วระยะหนึ่ง จึงค่อยทยอยส่งข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับสู่โลก
เครดิต
http://thaiastro.nectec.or.th/news/3334/
ยานนิวฮอไรซอนส์กำลังเข้าใกล้าวัตถุไคเปอร์แล้ว
นิวเฮอไรซอนส์เผยว่า ดาวพลูโตไม่ใช่ดินแดนตายซากเย็นชืดดังที่เคยเชื่อกัน หากแต่ยังคุกรุ่นไปด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยา มีธารน้ำแข็ง มีบรรยากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีแม้แต่มหาสมุทรบาดาล สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายของนักดาราศาสตร์ทั้งสิ้น
ในอีกไม่ถึงสัปดาห์ข้างหน้า บรรยากาศแห่งความอัศจรรย์ใจอย่างนั้นจะเกิดขึ้นอีกครั้ง
ดาวพลูโตไม่ใช่เป้าหมายเดียวของยานนิวเฮอไรซอนส์ หลังจากที่ยานผ่านพ้นดาวพลูโตไปแล้ว ได้จุดจรวดปรับทิศทางอีกสี่ครั้งเพื่อเบนเส้นทางไปยังเป้าหมายถัดไปซึ่งอยู่ห่างออกไปอีก 1,600 ล้านกิโลเมตร เป้าหมายใหม่นี้มีชื่อว่า 2014 เอ็มยู 69 (2014 MU69) หรือที่มีชื่อสามัญอย่างไม่เป็นทางการว่า อัลติมาทูลี (Ultima Thule) ซึ่งยานจะเข้าใกล้วัตถุดวงนี้มากที่สุดในวันที่ 1 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่พอดี
ภารกิจการสำรวจดาวอัลติมาทูลียังคงเป็นลักษณะเดียวกับภารกิจสำรวจดาวพลูโต นั่นคือเป็นการพุ่งเฉียด ยานจึงมีเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นในการเก็บข้อมูลจากวัตถุดวงนี้ให้มากที่สุดก่อนที่จะผ่านเลยไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ หลังจากที่ยานเคลื่อนผ่านพ้นไปแล้วระยะหนึ่ง จึงค่อยทยอยส่งข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับสู่โลก
เครดิต http://thaiastro.nectec.or.th/news/3334/