สวัสดีค่ะ
ว่างเว้นจากการอัพเดทภาพจาก New Horizons มาก็ 2 เดือนแล้ว วันนี้จะรวบยอดอัพเดทความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาคร่าว ๆ ค่ะ
ก่อนอื่นมาดูกันว่าภาพถ่ายล่าสุดที่ New Horizons ส่งมานั้น แสดงให้เห็นพื้นผิวพลูโตได้ละเอียดชัดเจนกว่าเดิมแค่ไหนแล้ว
นี่คือภาพถ่ายพลูโตล่าสุดที่เผยออกมาในรูปแบบคลิปวิดีโอค่ะ ถ่ายได้จากระยะห่างเพียง 17,000 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดาว
ในช่วง 15 นาทีก่อนที่ยาน New Horizons จะเฉียดพลูโตในระยะใกล้ที่สุด รายละเอียดพื้นผิวที่ถ่ายได้ก็เป็นแบบนี้..
คลิปวิดีโอนี้ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างหลากหลายของลักษณะภูมิประเทศ 4 แบบด้วยกันค่ะ ดังนี้
1. พื้นผิวที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต สังเกตได้ว่าภายในหลุมหลายหลุมมีลักษณะเป็น Layer ซ้อนทับอีกชั้นด้วยแน่ะ
2. พื้นผิวภูมิประเทศอันแสนขรุขระ
3. เทือกเขา Al-Idrisi พื้นที่ที่ภูเขาน้ำแข็งหลายลูกเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น
4. พื้นผิวราบเรียบบริเวณที่ราบสปุตนิค (Sputnik Planum) หรือก็คือฝั่งซ้ายของหัวใจพลูโต (Tombaugh Regio)
นอกจากภาพถ่ายชุดล่าสุดข้างบนนี้แล้ว ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ NASA ก็ได้เผยภาพจาก New Horizons ออกมาอีกหลายภาพ
กระทู้นี้หยิบบางภาพที่น่าสนใจมาให้ชมนะคะ
::: หลุมปริศนามากมายบนที่ราบสปุตนิค (Sputnik Planum) :::
จากภาพระยะใกล้ แสดงให้เห็นรายละเอียดของพื้นผิวดาวบริเวณที่ราบสปุตนิคที่ทำเอานักวิทยาศาสตร์ฉงนกันใหญ่
มันคือหลุมเล็ก ๆ จำนวนมากมายบนพื้นผิวที่ยังไม่อาจรู้ได้เลยว่ามันเกิดจากอะไรหนอ แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า
น่าจะเกิดจากการระเหิด-ระเหยของพื้นผิวแห่งนี้ ที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่ระเหยง่ายอย่างเช่นไนโตรเจนแข็งค่ะ
::: โฉมหน้าของพลูโตและดวงจันทร์แครอนแบบรอบด้าน :::
นี่คือหน้าตาของพลูโตขณะหมุนรอบตัวเองค่ะ พลูโตหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 6.4 วันโลก ภาพถ่ายแต่ละมุมที่ปรากฏ
อยู่ในภาพนี้ ถ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฏาคม ขณะที่ยานอยู่ห่างพลูโตในระยะ 8 ล้านกิโลเมตร ไปจนถึงวันที่ 13 กรกฏาคม
ขณะที่ยานเข้าใกล้ดาวที่ประมาณ 645,000 กิโลเมตร
ต่อไปมาชมโฉมหน้าแครอน (Charon) ขณะหมุนรอบตัวเองบ้าง แครอนหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 6.4 วันเช่นกันค่ะ
::: Possible Ice Volcanoes ภูเขาไฟน้ำแข็งบนดาวพลูโต ? :::
นักวิทยาศาสตร์ NASA ค้นพบภูมิประเทศที่คาดว่าเป็น ภูเขาไฟน้ำแข็ง (Cryovolcano) 2 แห่งบนดาวพลูโต ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่ง
ลักษณะที่บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์แคระอันไกลโพ้นดวงนี้มีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาแน่ ๆ
ภูเขาไฟน้ำแข็งทั้ง 2 แห่ง ถูกค้นพบจากการนำภาพถ่ายพลูโตไปทำแผนที่ภูมิประเทศ 3 มิติ ที่แสดงให้เห็นความสูงต่ำ
ของพื้นผิว มันได้รับการตั้งชื่อว่า Wright Mons และ Piccard Mons มีความสูง 3 กิโลเมตร และ 5.6 กิโลเมตรตามลำดับ
จากภาพก็จะเห็นได้ว่าภูเขาทั้ง 2 ลูกนี้ มีลักษณะเป็นแอ่งยุบลงไปตรงกลาง คล้ายกับปากปล่องภูเขาไฟเลย
ในขณะที่ภูเขาไฟบนโลกปะทุปล่อยหินหลอมละลาย ภูเขาไฟน้ำแข็งบนพลูโตน่าจะปล่อยสารละลายที่เกิดจากการผสมของน้ำ
ไนโตรเจน แอมโมเนีย หรือมีเทนค่ะ
อย่างไรก็ดีตอนนี้เรื่องภูเขาไฟน้ำแข็งบนพลูโตก็ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานอยู่ แต่หากที่สุดแล้วพบว่ามันคือภูเขาไฟน้ำแข็งจริง
ก็จะลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่าดาวเคราะห์แคระอันไกลโพ้นในห้วงความหนาวเหน็บดวงนี้ มีโครงสร้างภายในที่เย็นและแข็งตัว
มานานแล้ว
::: New Horizons จับภาพวัตถุอวกาศแถบ Kuiper Belt ในระยะใกล้ที่สุด :::
ในขณะที่ยาน New Horizons กำลังเคลื่อนที่ต่อไปเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน.. New Horizons ก็ได้ถ่ายภาพ
วัตถุอวกาศแถบไคเปอร์ (KBO: Kuiper Belt Objects) ชื่อ 1994 JR1 ได้ในระยะใกล้ที่สุด พิสูจน์ให้เห็นความสามารถของมัน
ในการสำรวจวัตถุอวกาศในแถบ Kuiper Belt อันไกลโพ้น ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจนอกเหนือจากการสำรวจพลูโตค่ะ
1994 JR1 เป็นวัตถุอวกาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 กิโลเมตร โดยขณะที่ New Horizons จับภาพชุดนี้ได้
วัตถุแถบไคเปอร์ดวงนี้กำลังโคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5,300 ล้านกิโลเมตร และห่างจากยาน 280 ล้านกิโลเมตรค่ะ
หลังจากจับภาพ 1994 JR1 นี้ได้แล้ว New Horizons จะมีทิศทางมุ่งหน้าไป Flyby เป้าหมายต่อไปในวันที่ 1 มกราคม 2019
โดยวัตถุแถบไคเปอร์ดวงต่อไปก็คือ
2014 MU69
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ค่ะ
พลูโตภาพใหม่และหลากหลายความเคลื่อนไหวจาก New Horizons
ว่างเว้นจากการอัพเดทภาพจาก New Horizons มาก็ 2 เดือนแล้ว วันนี้จะรวบยอดอัพเดทความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาคร่าว ๆ ค่ะ
ก่อนอื่นมาดูกันว่าภาพถ่ายล่าสุดที่ New Horizons ส่งมานั้น แสดงให้เห็นพื้นผิวพลูโตได้ละเอียดชัดเจนกว่าเดิมแค่ไหนแล้ว
นี่คือภาพถ่ายพลูโตล่าสุดที่เผยออกมาในรูปแบบคลิปวิดีโอค่ะ ถ่ายได้จากระยะห่างเพียง 17,000 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดาว
ในช่วง 15 นาทีก่อนที่ยาน New Horizons จะเฉียดพลูโตในระยะใกล้ที่สุด รายละเอียดพื้นผิวที่ถ่ายได้ก็เป็นแบบนี้..
คลิปวิดีโอนี้ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างหลากหลายของลักษณะภูมิประเทศ 4 แบบด้วยกันค่ะ ดังนี้
1. พื้นผิวที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต สังเกตได้ว่าภายในหลุมหลายหลุมมีลักษณะเป็น Layer ซ้อนทับอีกชั้นด้วยแน่ะ
2. พื้นผิวภูมิประเทศอันแสนขรุขระ
3. เทือกเขา Al-Idrisi พื้นที่ที่ภูเขาน้ำแข็งหลายลูกเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น
4. พื้นผิวราบเรียบบริเวณที่ราบสปุตนิค (Sputnik Planum) หรือก็คือฝั่งซ้ายของหัวใจพลูโต (Tombaugh Regio)
นอกจากภาพถ่ายชุดล่าสุดข้างบนนี้แล้ว ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ NASA ก็ได้เผยภาพจาก New Horizons ออกมาอีกหลายภาพ
กระทู้นี้หยิบบางภาพที่น่าสนใจมาให้ชมนะคะ
::: หลุมปริศนามากมายบนที่ราบสปุตนิค (Sputnik Planum) :::
จากภาพระยะใกล้ แสดงให้เห็นรายละเอียดของพื้นผิวดาวบริเวณที่ราบสปุตนิคที่ทำเอานักวิทยาศาสตร์ฉงนกันใหญ่
มันคือหลุมเล็ก ๆ จำนวนมากมายบนพื้นผิวที่ยังไม่อาจรู้ได้เลยว่ามันเกิดจากอะไรหนอ แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า
น่าจะเกิดจากการระเหิด-ระเหยของพื้นผิวแห่งนี้ ที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่ระเหยง่ายอย่างเช่นไนโตรเจนแข็งค่ะ
::: โฉมหน้าของพลูโตและดวงจันทร์แครอนแบบรอบด้าน :::
นี่คือหน้าตาของพลูโตขณะหมุนรอบตัวเองค่ะ พลูโตหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 6.4 วันโลก ภาพถ่ายแต่ละมุมที่ปรากฏ
อยู่ในภาพนี้ ถ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฏาคม ขณะที่ยานอยู่ห่างพลูโตในระยะ 8 ล้านกิโลเมตร ไปจนถึงวันที่ 13 กรกฏาคม
ขณะที่ยานเข้าใกล้ดาวที่ประมาณ 645,000 กิโลเมตร
ต่อไปมาชมโฉมหน้าแครอน (Charon) ขณะหมุนรอบตัวเองบ้าง แครอนหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 6.4 วันเช่นกันค่ะ
::: Possible Ice Volcanoes ภูเขาไฟน้ำแข็งบนดาวพลูโต ? :::
นักวิทยาศาสตร์ NASA ค้นพบภูมิประเทศที่คาดว่าเป็น ภูเขาไฟน้ำแข็ง (Cryovolcano) 2 แห่งบนดาวพลูโต ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่ง
ลักษณะที่บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์แคระอันไกลโพ้นดวงนี้มีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาแน่ ๆ
ภูเขาไฟน้ำแข็งทั้ง 2 แห่ง ถูกค้นพบจากการนำภาพถ่ายพลูโตไปทำแผนที่ภูมิประเทศ 3 มิติ ที่แสดงให้เห็นความสูงต่ำ
ของพื้นผิว มันได้รับการตั้งชื่อว่า Wright Mons และ Piccard Mons มีความสูง 3 กิโลเมตร และ 5.6 กิโลเมตรตามลำดับ
จากภาพก็จะเห็นได้ว่าภูเขาทั้ง 2 ลูกนี้ มีลักษณะเป็นแอ่งยุบลงไปตรงกลาง คล้ายกับปากปล่องภูเขาไฟเลย
ในขณะที่ภูเขาไฟบนโลกปะทุปล่อยหินหลอมละลาย ภูเขาไฟน้ำแข็งบนพลูโตน่าจะปล่อยสารละลายที่เกิดจากการผสมของน้ำ
ไนโตรเจน แอมโมเนีย หรือมีเทนค่ะ
อย่างไรก็ดีตอนนี้เรื่องภูเขาไฟน้ำแข็งบนพลูโตก็ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานอยู่ แต่หากที่สุดแล้วพบว่ามันคือภูเขาไฟน้ำแข็งจริง
ก็จะลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่าดาวเคราะห์แคระอันไกลโพ้นในห้วงความหนาวเหน็บดวงนี้ มีโครงสร้างภายในที่เย็นและแข็งตัว
มานานแล้ว
::: New Horizons จับภาพวัตถุอวกาศแถบ Kuiper Belt ในระยะใกล้ที่สุด :::
ในขณะที่ยาน New Horizons กำลังเคลื่อนที่ต่อไปเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน.. New Horizons ก็ได้ถ่ายภาพ
วัตถุอวกาศแถบไคเปอร์ (KBO: Kuiper Belt Objects) ชื่อ 1994 JR1 ได้ในระยะใกล้ที่สุด พิสูจน์ให้เห็นความสามารถของมัน
ในการสำรวจวัตถุอวกาศในแถบ Kuiper Belt อันไกลโพ้น ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจนอกเหนือจากการสำรวจพลูโตค่ะ
1994 JR1 เป็นวัตถุอวกาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 กิโลเมตร โดยขณะที่ New Horizons จับภาพชุดนี้ได้
วัตถุแถบไคเปอร์ดวงนี้กำลังโคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5,300 ล้านกิโลเมตร และห่างจากยาน 280 ล้านกิโลเมตรค่ะ
หลังจากจับภาพ 1994 JR1 นี้ได้แล้ว New Horizons จะมีทิศทางมุ่งหน้าไป Flyby เป้าหมายต่อไปในวันที่ 1 มกราคม 2019
โดยวัตถุแถบไคเปอร์ดวงต่อไปก็คือ 2014 MU69
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ค่ะ