แผนที่ส่วนหนึ่งของดาวพลูโต
(แผนที่เบื้องต้นของพลูโตให้สมบูรณ์ ภาพผ่านยานอวกาศของ NASA / JHU-APL / SwRI / New Horizons)
จากประวัติศาสตร์ภารกิจของนิวฮอริซอนส์ที่ผ่านมาของการสำรวจดาวพลูโต เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ได้เผยแพร่แผนที่ของพลูโตและชารอนด้วยการกำหนดแผนที่เบื้องต้นสำหรับคุณสมบัติที่พบในดาวที่ห่างไกลเหล่านี้
ที่ผ่านมาเราไม่เคยเห็นดาวเหล่านี้มากไปกว่าลูกบอลที่พร่ามัว แต่ตอนนี้เรามีแผนที่พื้นผิวของมัน และการตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการแล้วบนดาวพลูโต
ซึ่งชื่อเหล่านี้มาจากหลายวัฒนธรรมในทุกส่วนของโลก ในสี่ประเภทหลักคือ ภารกิจอวกาศและยานอวกาศ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร นักสำรวจประวัติศาสตร์ และสถานที่ต่างๆในโลกมนุษย์
สำหรับการตั้งชื่อในพลูโตนี้ เมื่อต้นปี 2558 ทีมนิวฮอริซอนส์ได้เชิญคนทั่วไปให้ส่งชื่อเข้ามา และนาซาได้ปล่อยรายชื่อเริ่มต้นของชื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2558 ต่อมาสิงหาคม 2562 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหรือไอเอยู ได้รับรองชื่อภูมิลักษณ์บนดาวพลูโตเพิ่มอีก 14 ชื่อ
ที่มา:
A Bunch of New Names for Pluto’s Surface Features Were Just Approved - universetoday.com
Cr.
http://thaiastro.nectec.or.th/news/3442/ โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
Cr.
https://earthsky.org/space/first-maps-of-charon-and-pluto / โดยAndrew R. BrownและDeborah ByrdในSCIENCE WIRE
แผนที่ส่วนหนึ่งของ Charon
(แผนที่เบื้องต้นของชารอน ภาพผ่าน NASA / JHU-APL / SwRI ยานอวกาศ Horizons ใหม่)
รูปแบบการตั้งชื่อสำหรับ Charon ดาวบริวารของพลูโตก็อยู่ภายใต้หมวดหมู่สี่ประเภทเช่นกันคือ นักสำรวจและนักเดินทางสวมบทบาท; ต้นกำเนิดของตัวละครและจุดหมายปลายทาง ตัวละครเรือ; และผู้แต่งสำรวจศิลปินและกรรมการ
ด้วยคุณสมบัติหลายอย่าง การตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการมาจากตัวละครในนิยายวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะจากภ. Star Trek และ Star Wars บางส่วนจากภ.เอเลี่ยน และภ.เรื่อง ดร. Mordor Macular โดยชื่อในส่วนที่ครอบคลุมพื้นที่ขั้วโลกเหนือรวมถึงขั้วโลกเหนือของชารอนมาจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
ภาพแผนที่ของชารอนซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในห้าดวงของพลูโตมีคำอธิบายประกอบเป็นชื่อชุดแรกอย่างเป็นทางการ ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1215 กม. ดวงจันทร์ขนาดฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในวัตถุที่รู้จักกันดีที่สุดในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีน้ำแข็งและเป็นหินที่อยู่เหนือเนปจูน
ที่มา :
แผนที่เบื้องต้นของพลูโตและชารอนจากนิวฮอริซอนส์ '14 กรกฎาคม 2558 flyby
Cr.
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Charon_map_annotated_iau1803b.jpg
Cr.
https://earthsky.org/space/first-maps-of-charon-and-pluto / โดยAndrew R. BrownและDeborah ByrdในSCIENCE WIRE
แผนที่ชุดแรกของผิวดาวพุธ
หลังวาระสุดท้ายของยานเมสเซนเจอร์นาน 1 ปี เราจึงสร้างแผนที่ดาวพุธได้สำเร็จ
ยานเมสเซนเจอร์พุ่งเข้าชนผิวดาวพุธ เพื่อจบสิ้นภารกิจเนื่องจากพลังงานของยานหมดลงหลังโคจรรอบดาวพุธเพื่อสำรวจและศึกษายาวนานกว่า 4 ปี (1,504 วันกับอีก 18 ชั่วโมง) ด้วยจำนวนรอบโคจรกว่า 4,104 รอบ และส่งข้อมูลรวมทั้งภาพถ่ายจำนวนมหาศาลกลับมายังโลก
แต่หลังจากที่มันสิ้นชีพไปแล้ว ด้วยจำนวนไฟล์ภาพมากมายกว่า 10,000 ภาพและข้อมูลตัวเลขอีกแทบนับไม่ถ้วน ทีมงานจาก USGS ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านภูมิศาสตร์ก็ได้เข้ามาร่วมมือกับทาง NASA ในการแปรผลข้อมูลเพื่อสร้างแผนที่ของดาวพุธซึ่งถือเป็นแผนที่ของพื้นผิวดาวเคราะห์ทั้งดวงที่ประกอบด้วยภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิดตั้งแต่ร่องรอยของภูเขาไฟโบราณไปจนถึงหลุมอุกาาบาตขนาดต่างๆกัน ทางนาซาเรียกว่า DEM หรือ Digital elevation model
และไม่เกินความพยายาม เมื่อผ่านไปครบรอบ 1 ปีที่เมสเซนเจอร์สิ้นสุดการทำงาน เราก็ได้แผนที่ดาวพุธฉบับสมบูรณ์ขึ้นมาโดยมีรายละเอียดความสูงต่ำของภูมิประเทศต่างๆแยกตามสีดังคลิปด้านล่าง ส่วนแผนที่แยกย่อยนั้นทางทีมงานก็จะจัดการออกมาเป็นสัดส่วนเพื่อใช้งานจริงต่อไปในอนาคต
อ้างอิง
http://messenger.jhuapl.edu/
http://motherboard.vice.com/read/first-ever-complete-map-of-mercury-reveals-violent-volcanic-past-NASA-topographical?utm_source=mbtwitter / เรียบเรียงโดย @MrVop
Cr.
https://stem.in.th/แผนที่ชุดแรกของผิวดาวพ/
แผนที่ส่วนหนึ่งของดาวศุกร์
(แผนที่ดาวศุกร์ ภูเขาแมกซ์เวลล์ (Maxwell Montes) ที่สูงอะโฟรไดท์ ( Aphrodite))
(แผนที่ทั้งสองฝั่งของดาวศุกร์ จากยานอวกาศ Magellan โดยใช้เรดาร์ในการสำรวจ แผนที่นี้ถูกปรับสีให้เพี้ยนเพื่อให้สีเหล่านี้แสดงระดับความสูงต่ำจากระดับรัศมีเฉลี่ยของดาวศุกร์)
[Credit ภาพ: NASA, JPL & Caltech]
ยานแมคเจลแลนถูกส่งขึ้นไปในอวกาศในปี พ.ศ. 2532 เพื่อทำแผนที่ดาวศุกร์แบบสามมิติโดยใช้เรดาร์ ซึ่งมีหลักการง่ายๆ คือ การส่งคลื่นไมโครเวฟไปสะท้อนที่พื้นผิวของดาวศุกร์ และวัดความล่าช้าของคลื่นที่สะท้อนกลับมา ประกอบกับการรู้ตำแหน่งที่แน่นอนของยานแมคเจลแลน ทำให้เราทราบถึงความสูงต่ำของพื้นผิวและสามารถทำแผนที่แบบสามมิติได้
นอกจากนี้การใช้เรดาร์ยังมีข้อดีที่สามารถสำรวจทะลุผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นและชั้นฝุ่นที่ปกคลุมพื้นผิวของดาวศุกร์ได้
พื้นผิวของดาวศุกร์ปกคลุมไปด้วยที่ราบที่เกิดจากการระเบิดของภู เขาไฟ ประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด มีส่วนที่เป็นที่สูงอยู่เพียงเล็กน้อย บริเวณที่สูงอะโฟรไดท์ (Aphrodite Terra) มีรูปร่างคล้ายแมงป่องวางตัวอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวศุกร์ ที่บริเวณขั้วเหนือของดาว มีภูเขาขนาดยักษ์ มีชื่อว่า ภูเขาแมกซ์เวลล์ (Maxwell Montes) ซึ่งมีความสูงถึง 11 กิโลเมตร (สูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ถึง 2 กิโลเมตร)
ภูเขาไฟบนดาวศุกร์แตกต่างจากภูเขาไฟบนโลก บนโลกมีน้ำอยู่มากมาย ก๊าซที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะละลายกลับลงไปในน้ำในมหาสมุทร และตกตะกอนอยู่ใต้มหาสมุทร แต่การที่บนดาวศุกร์ไม่มีน้ำ ทำให้ก๊าซต่างๆที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก นอกจากนี้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ยังทำปฏิกิริยากับน้ำในบรรยากาศ กลายเป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งถ้าไม่เก็บกักอยู่ในชั้นเมฆก็จะตกลงสู่พื้นผิวดาวศุกร์
ที่มา : อีเลินนิ่งครูมัธยมตระการพืชผล : คุณครูธนวัติ ปาณะวงศ์
Cr.
https://www.mtk.ac.th/ebook/forum_posts.asp?TID=843&get=last ผู้เขียน tanawat science02
ที่มา: Daejeonastronomy
ที่ซุกหัวของหนุ่มแทจ็อน: The substitution of daejeonastronomy.exteen.com
Cr.
https://daejeonastronomy.wordpress.com/2013/10/19/our-solar-system-04-venus/
“แผนที่น้ำแข็งบนดาวอังคาร”
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของทางนาซา ได้ออกมาทำการเปิดเผยแผ่นที่ดาวอังคารชิ้นใหม่ ที่มีการระบุตำแหน่งที่มีการตรวจสอบแล้วว่ามีน้ำแข็งอยู่ใต้พื้นผิวจริงๆ ราวกับเป็น “แผนที่สมบัติ” ไม่มีผิด
แผนที่ที่ออกมานี้ จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลของยานอวกาศ 2 ลำอย่าง “Mars Reconnaissance Orbiter” และ “Mars Odyssey” ซึ่งทำการเก็บข้อมูลของดาวอังคารมานานกว่า 10 ปี และมีความละเอียดมากถึงขนาดที่ ตรวจจับได้แม้แต่น้ำแข็งขนาด 2.5 เซนติเมตร
อ้างอิงจากองค์กรนาซา แผนที่ที่ออกมานี้ จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการวางแผนจุดลงจอดของยานอวกาศในอนาคต
โดยพวกเขาได้ยกตัวอย่างพื้นที่ที่น่าสนใจอย่างโซนขนาดใหญ่ในซีกเหนือของดาว ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีน้ำแข็งอยู่เท่านั้น แต่ยังมีแสงแดดส่องถึง และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสำรวจเป็นอย่างมากด้วย
นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของการสำรวจดาวอังคารของมวลมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ และความสำเร็จในครั้งนี้เอง ก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญ ต่อความสำเร็จในการส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคาร ตามที่เราตั้งกำหนดการกันไว้ในปี 2030 เลยก็เป็นได้
ที่มา sciencealert, livescience และ nasa
Cr.
https://www.catdumb.tv/nasa-ice-on-mars-maps-378/ By เหมียวศรัทธา
แผนที่ดาวพฤหัสด้วยกล้องฮับเบิล
แผนที่โลกที่เราคุ้นตา เป็นแผนที่ชนิดแผ่นสี่เหลี่ยมแบนๆ ดาวพฤหัสก็โดนทำแผนที่ในลักษณะนี้ โดยใช้กล้องฮับเบิ้ล
กล้องฮับเบิลใช้เวลาราว 10 ชั่วโมง ตามคาบการหมุนรอบตัวเองของดาวแก้สยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ตั้งกล้องถ่ายไปเรื่อยๆ จากนั้นก็สร้างออกมาเป็นภาพ กลายมาเป็น “แผนที่” ของดาวพฤหัสที่กางออกจากทรงกลมกลายเป็นแผ่นแบนๆเหมือนแผนที่โลกที่เราใช้กันบ่อยๆ
ในแผนที่เราจะเห็นตำแหน่งของจุดแดงใหญ่ ที่ความจริงคือพายุหมุนขนาดยักษ์ที่กำเนิดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และวันนี้พายุหมุนลูกก็ยังไม่สลายตัว เพียงแต่เริ่มหดเล็กลง ที่เหลือก็เป็นแถบเมฆสีต่างๆทอดยาวไปตามแนวละติจูดหรือแนวขวางของดาว และเนื่องจากดาวพฤหัสไม่มีพื้นดาว (เป็นดาวแก๊ส)
ตำแหน่งของลวดลายที่เห็นก็คือแถบเมฆสีต่างๆที่หมุนรอบดาวด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ไม่นิ่งเหมือนผิวดาวที่เป็นหินแบบโลกหรือดาวดังคาร
การทำแผนที่ดาวพฤหัสของกล้องฮับเบิ้ล ทำโดยถ่ายภาพใน 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกจากเวลา 09:00 ถึง 19:30 ตามเวลาในประเทศไทย และช่วงที่สองจาก 22:00 ถึง 06:40 ของวันถัดมา ตามเวลาในประเทศไทยเช่นกัน เมื่อนำสองภาพสองช่วงเวลามาต่อกัน แถบเมฆจะขยับไปเล็กน้อยตามภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏให้เห็นด้านบน (คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
อ้างอิง
http://news.discovery.com/space/astronomy/hubbles-stunning-jupiter-map-reveals-weird-structures-151013.htm
(การถ่ายภาพทำในวันที่ 19 มกราคม 58 เครดิตภาพ NASA)
เรียบเรียงโดย @MrVop
Cr.
https://stem.in.th/ทำแผนที่ดาวพฤหัสด้วยกล/
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา
แผนที่ส่วนหนึ่งของดาวต่างๆ
(แผนที่เบื้องต้นของพลูโตให้สมบูรณ์ ภาพผ่านยานอวกาศของ NASA / JHU-APL / SwRI / New Horizons)
จากประวัติศาสตร์ภารกิจของนิวฮอริซอนส์ที่ผ่านมาของการสำรวจดาวพลูโต เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ได้เผยแพร่แผนที่ของพลูโตและชารอนด้วยการกำหนดแผนที่เบื้องต้นสำหรับคุณสมบัติที่พบในดาวที่ห่างไกลเหล่านี้
ที่ผ่านมาเราไม่เคยเห็นดาวเหล่านี้มากไปกว่าลูกบอลที่พร่ามัว แต่ตอนนี้เรามีแผนที่พื้นผิวของมัน และการตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการแล้วบนดาวพลูโต
ซึ่งชื่อเหล่านี้มาจากหลายวัฒนธรรมในทุกส่วนของโลก ในสี่ประเภทหลักคือ ภารกิจอวกาศและยานอวกาศ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร นักสำรวจประวัติศาสตร์ และสถานที่ต่างๆในโลกมนุษย์
สำหรับการตั้งชื่อในพลูโตนี้ เมื่อต้นปี 2558 ทีมนิวฮอริซอนส์ได้เชิญคนทั่วไปให้ส่งชื่อเข้ามา และนาซาได้ปล่อยรายชื่อเริ่มต้นของชื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2558 ต่อมาสิงหาคม 2562 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหรือไอเอยู ได้รับรองชื่อภูมิลักษณ์บนดาวพลูโตเพิ่มอีก 14 ชื่อ
ที่มา:
A Bunch of New Names for Pluto’s Surface Features Were Just Approved - universetoday.com
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/3442/ โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
Cr.https://earthsky.org/space/first-maps-of-charon-and-pluto / โดยAndrew R. BrownและDeborah ByrdในSCIENCE WIRE
แผนที่ส่วนหนึ่งของ Charon
(แผนที่เบื้องต้นของชารอน ภาพผ่าน NASA / JHU-APL / SwRI ยานอวกาศ Horizons ใหม่)
รูปแบบการตั้งชื่อสำหรับ Charon ดาวบริวารของพลูโตก็อยู่ภายใต้หมวดหมู่สี่ประเภทเช่นกันคือ นักสำรวจและนักเดินทางสวมบทบาท; ต้นกำเนิดของตัวละครและจุดหมายปลายทาง ตัวละครเรือ; และผู้แต่งสำรวจศิลปินและกรรมการ
ด้วยคุณสมบัติหลายอย่าง การตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการมาจากตัวละครในนิยายวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะจากภ. Star Trek และ Star Wars บางส่วนจากภ.เอเลี่ยน และภ.เรื่อง ดร. Mordor Macular โดยชื่อในส่วนที่ครอบคลุมพื้นที่ขั้วโลกเหนือรวมถึงขั้วโลกเหนือของชารอนมาจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
ภาพแผนที่ของชารอนซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในห้าดวงของพลูโตมีคำอธิบายประกอบเป็นชื่อชุดแรกอย่างเป็นทางการ ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1215 กม. ดวงจันทร์ขนาดฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในวัตถุที่รู้จักกันดีที่สุดในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีน้ำแข็งและเป็นหินที่อยู่เหนือเนปจูน
ที่มา :
แผนที่เบื้องต้นของพลูโตและชารอนจากนิวฮอริซอนส์ '14 กรกฎาคม 2558 flyby
Cr.https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Charon_map_annotated_iau1803b.jpg
Cr.https://earthsky.org/space/first-maps-of-charon-and-pluto / โดยAndrew R. BrownและDeborah ByrdในSCIENCE WIRE
แผนที่ชุดแรกของผิวดาวพุธ
หลังวาระสุดท้ายของยานเมสเซนเจอร์นาน 1 ปี เราจึงสร้างแผนที่ดาวพุธได้สำเร็จ
ยานเมสเซนเจอร์พุ่งเข้าชนผิวดาวพุธ เพื่อจบสิ้นภารกิจเนื่องจากพลังงานของยานหมดลงหลังโคจรรอบดาวพุธเพื่อสำรวจและศึกษายาวนานกว่า 4 ปี (1,504 วันกับอีก 18 ชั่วโมง) ด้วยจำนวนรอบโคจรกว่า 4,104 รอบ และส่งข้อมูลรวมทั้งภาพถ่ายจำนวนมหาศาลกลับมายังโลก
แต่หลังจากที่มันสิ้นชีพไปแล้ว ด้วยจำนวนไฟล์ภาพมากมายกว่า 10,000 ภาพและข้อมูลตัวเลขอีกแทบนับไม่ถ้วน ทีมงานจาก USGS ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านภูมิศาสตร์ก็ได้เข้ามาร่วมมือกับทาง NASA ในการแปรผลข้อมูลเพื่อสร้างแผนที่ของดาวพุธซึ่งถือเป็นแผนที่ของพื้นผิวดาวเคราะห์ทั้งดวงที่ประกอบด้วยภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิดตั้งแต่ร่องรอยของภูเขาไฟโบราณไปจนถึงหลุมอุกาาบาตขนาดต่างๆกัน ทางนาซาเรียกว่า DEM หรือ Digital elevation model
และไม่เกินความพยายาม เมื่อผ่านไปครบรอบ 1 ปีที่เมสเซนเจอร์สิ้นสุดการทำงาน เราก็ได้แผนที่ดาวพุธฉบับสมบูรณ์ขึ้นมาโดยมีรายละเอียดความสูงต่ำของภูมิประเทศต่างๆแยกตามสีดังคลิปด้านล่าง ส่วนแผนที่แยกย่อยนั้นทางทีมงานก็จะจัดการออกมาเป็นสัดส่วนเพื่อใช้งานจริงต่อไปในอนาคต
อ้างอิง http://messenger.jhuapl.edu/
http://motherboard.vice.com/read/first-ever-complete-map-of-mercury-reveals-violent-volcanic-past-NASA-topographical?utm_source=mbtwitter / เรียบเรียงโดย @MrVop
Cr.https://stem.in.th/แผนที่ชุดแรกของผิวดาวพ/
แผนที่ส่วนหนึ่งของดาวศุกร์
(แผนที่ดาวศุกร์ ภูเขาแมกซ์เวลล์ (Maxwell Montes) ที่สูงอะโฟรไดท์ ( Aphrodite))
(แผนที่ทั้งสองฝั่งของดาวศุกร์ จากยานอวกาศ Magellan โดยใช้เรดาร์ในการสำรวจ แผนที่นี้ถูกปรับสีให้เพี้ยนเพื่อให้สีเหล่านี้แสดงระดับความสูงต่ำจากระดับรัศมีเฉลี่ยของดาวศุกร์)
[Credit ภาพ: NASA, JPL & Caltech]
ยานแมคเจลแลนถูกส่งขึ้นไปในอวกาศในปี พ.ศ. 2532 เพื่อทำแผนที่ดาวศุกร์แบบสามมิติโดยใช้เรดาร์ ซึ่งมีหลักการง่ายๆ คือ การส่งคลื่นไมโครเวฟไปสะท้อนที่พื้นผิวของดาวศุกร์ และวัดความล่าช้าของคลื่นที่สะท้อนกลับมา ประกอบกับการรู้ตำแหน่งที่แน่นอนของยานแมคเจลแลน ทำให้เราทราบถึงความสูงต่ำของพื้นผิวและสามารถทำแผนที่แบบสามมิติได้
นอกจากนี้การใช้เรดาร์ยังมีข้อดีที่สามารถสำรวจทะลุผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นและชั้นฝุ่นที่ปกคลุมพื้นผิวของดาวศุกร์ได้
พื้นผิวของดาวศุกร์ปกคลุมไปด้วยที่ราบที่เกิดจากการระเบิดของภู เขาไฟ ประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด มีส่วนที่เป็นที่สูงอยู่เพียงเล็กน้อย บริเวณที่สูงอะโฟรไดท์ (Aphrodite Terra) มีรูปร่างคล้ายแมงป่องวางตัวอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวศุกร์ ที่บริเวณขั้วเหนือของดาว มีภูเขาขนาดยักษ์ มีชื่อว่า ภูเขาแมกซ์เวลล์ (Maxwell Montes) ซึ่งมีความสูงถึง 11 กิโลเมตร (สูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ถึง 2 กิโลเมตร)
ภูเขาไฟบนดาวศุกร์แตกต่างจากภูเขาไฟบนโลก บนโลกมีน้ำอยู่มากมาย ก๊าซที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะละลายกลับลงไปในน้ำในมหาสมุทร และตกตะกอนอยู่ใต้มหาสมุทร แต่การที่บนดาวศุกร์ไม่มีน้ำ ทำให้ก๊าซต่างๆที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก นอกจากนี้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ยังทำปฏิกิริยากับน้ำในบรรยากาศ กลายเป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งถ้าไม่เก็บกักอยู่ในชั้นเมฆก็จะตกลงสู่พื้นผิวดาวศุกร์
ที่มา : อีเลินนิ่งครูมัธยมตระการพืชผล : คุณครูธนวัติ ปาณะวงศ์
Cr.https://www.mtk.ac.th/ebook/forum_posts.asp?TID=843&get=last ผู้เขียน tanawat science02
ที่มา: Daejeonastronomy
ที่ซุกหัวของหนุ่มแทจ็อน: The substitution of daejeonastronomy.exteen.com
Cr.https://daejeonastronomy.wordpress.com/2013/10/19/our-solar-system-04-venus/
“แผนที่น้ำแข็งบนดาวอังคาร”
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของทางนาซา ได้ออกมาทำการเปิดเผยแผ่นที่ดาวอังคารชิ้นใหม่ ที่มีการระบุตำแหน่งที่มีการตรวจสอบแล้วว่ามีน้ำแข็งอยู่ใต้พื้นผิวจริงๆ ราวกับเป็น “แผนที่สมบัติ” ไม่มีผิด
แผนที่ที่ออกมานี้ จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลของยานอวกาศ 2 ลำอย่าง “Mars Reconnaissance Orbiter” และ “Mars Odyssey” ซึ่งทำการเก็บข้อมูลของดาวอังคารมานานกว่า 10 ปี และมีความละเอียดมากถึงขนาดที่ ตรวจจับได้แม้แต่น้ำแข็งขนาด 2.5 เซนติเมตร
อ้างอิงจากองค์กรนาซา แผนที่ที่ออกมานี้ จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการวางแผนจุดลงจอดของยานอวกาศในอนาคต
โดยพวกเขาได้ยกตัวอย่างพื้นที่ที่น่าสนใจอย่างโซนขนาดใหญ่ในซีกเหนือของดาว ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีน้ำแข็งอยู่เท่านั้น แต่ยังมีแสงแดดส่องถึง และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสำรวจเป็นอย่างมากด้วย
นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของการสำรวจดาวอังคารของมวลมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ และความสำเร็จในครั้งนี้เอง ก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญ ต่อความสำเร็จในการส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคาร ตามที่เราตั้งกำหนดการกันไว้ในปี 2030 เลยก็เป็นได้
ที่มา sciencealert, livescience และ nasa
Cr.https://www.catdumb.tv/nasa-ice-on-mars-maps-378/ By เหมียวศรัทธา
แผนที่ดาวพฤหัสด้วยกล้องฮับเบิล
แผนที่โลกที่เราคุ้นตา เป็นแผนที่ชนิดแผ่นสี่เหลี่ยมแบนๆ ดาวพฤหัสก็โดนทำแผนที่ในลักษณะนี้ โดยใช้กล้องฮับเบิ้ล
กล้องฮับเบิลใช้เวลาราว 10 ชั่วโมง ตามคาบการหมุนรอบตัวเองของดาวแก้สยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ตั้งกล้องถ่ายไปเรื่อยๆ จากนั้นก็สร้างออกมาเป็นภาพ กลายมาเป็น “แผนที่” ของดาวพฤหัสที่กางออกจากทรงกลมกลายเป็นแผ่นแบนๆเหมือนแผนที่โลกที่เราใช้กันบ่อยๆ
ในแผนที่เราจะเห็นตำแหน่งของจุดแดงใหญ่ ที่ความจริงคือพายุหมุนขนาดยักษ์ที่กำเนิดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และวันนี้พายุหมุนลูกก็ยังไม่สลายตัว เพียงแต่เริ่มหดเล็กลง ที่เหลือก็เป็นแถบเมฆสีต่างๆทอดยาวไปตามแนวละติจูดหรือแนวขวางของดาว และเนื่องจากดาวพฤหัสไม่มีพื้นดาว (เป็นดาวแก๊ส)
ตำแหน่งของลวดลายที่เห็นก็คือแถบเมฆสีต่างๆที่หมุนรอบดาวด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ไม่นิ่งเหมือนผิวดาวที่เป็นหินแบบโลกหรือดาวดังคาร
การทำแผนที่ดาวพฤหัสของกล้องฮับเบิ้ล ทำโดยถ่ายภาพใน 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกจากเวลา 09:00 ถึง 19:30 ตามเวลาในประเทศไทย และช่วงที่สองจาก 22:00 ถึง 06:40 ของวันถัดมา ตามเวลาในประเทศไทยเช่นกัน เมื่อนำสองภาพสองช่วงเวลามาต่อกัน แถบเมฆจะขยับไปเล็กน้อยตามภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏให้เห็นด้านบน (คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
อ้างอิง http://news.discovery.com/space/astronomy/hubbles-stunning-jupiter-map-reveals-weird-structures-151013.htm
(การถ่ายภาพทำในวันที่ 19 มกราคม 58 เครดิตภาพ NASA)
เรียบเรียงโดย @MrVop
Cr.https://stem.in.th/ทำแผนที่ดาวพฤหัสด้วยกล/
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา