มาแร้ววว .... ภาพวัตถุ Ultima Thule ชัด ๆ ถ่ายโดยยาน New Horizons ในระยะ 27,000 กิโลเมตร

กระทู้สนทนา
หลังจากที่ยาน New Horizons ได้ fly by ผ่านวัตถุ Kuiper belt object ที่ชื่อว่า "Ultima Thule" ไปเมื่อ 1 มกราคม ที่ผ่านมา  
ยาน New Horizons ก็ได้ส่งข้อมูลภาพของ Ultima Thule กลับมาเรื่อย ๆ ครับ
จนเมื่อวานนี้  ทาง NASA ได้เผยแพร่ภาพวัตถุ Ultima Thule ที่ถ่ายได้ในระยะ 27,000 กิโลเมตร  ออกมาแล้ว

นี่คือ "ภาพจริง" ของ Ultima Thule ที่ยาน New Horizons ถ่ายในระยะ 27,000 กิโลเมตร
เป็นภาพจากกล้อง Long-Range Reconnaissance Imager (LORRI)
https://jhuapl.edu/Content/images/pressrelease/20190102_image1_lg.png

วัตถุนี้  ประกอบร่างขึ้นจากวัตถุทรงกลม 2 ลูกมาเชื่อมต่อกัน  ก้อนใหญ่ชื่อว่า Ultima  ขนาด 19 กิโลเมตร
ก้อนเล็กชื่อว่า Thule  มีขนาด 14 กิโลเมตร  ซึ่งทางทีมนักดาราศาสตร์เชื่อว่าการเชื่อมติดกัน 2 ก้อนนี้
เป็นมาตั้งแต่ช่วงกำเนิดระบบสุริยะแล้วครับ

ส่วนภาพล่างนี้  คือภาพถ่ายในระยะ 137,000 กิโลเมตร  และได้มีการเติมสีโทนแดงลงไป
ภาพซ้ายสุดได้มาจากอุปกรณ์ Multispectral Visible Imaging Camera (MVIC) ซึ่งเป็นภาพ
จากการนำภาพย่าน near Infrared มารวมกับภาพใน RED - Blue channels  ภาพกลางคือภาพ
จากกล้อง LORRI  และภาพขวาคือภาพ composite ที่สมบูรณ์แล้วจากการนำ 2 ภาพ (กลาง-ซ้าย) มารวมกันครับ
http://pluto.jhuapl.edu/Galleries/Featured-Images/pics/MU69_image_v1%20copy.png


และในโอกาสต่อไป  ทาง NASA จะทยอยนำภาพมาลงเรื่อย ๆ ครับ  
แน่นอนว่าจะมีภาพที่ชัดกว่านี้มาอีกเรื่อย ๆ  เพราะยาน New Horizons
ได้ fly by  ผ่านวัตถุนี้ใกล้สุดเพียง 3,500 กิโลเมตร เท่านั้น .... เพื่อนสมาชิก
รอภาพในลำดับต่อไปจากกระทู้นี้ได้เลย  หาก NASA ปล่อยภาพออกมา
ผมจะนำมาลง update ให้ครับ

ติดตามการ update ภาพได้ที่นี่
- http://pluto.jhuapl.edu/soc/UltimaThule-Encounter/
- http://pluto.jhuapl.edu/ (ดูที่หัวข้อ Lastest news ทางด้านบนขวา)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่