เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (20 ธันวาคม 2561)
ภารกิจการบินและสำรวจดาวอังคาร ขององค์การการบินและอวกาศของภาคพื้นยุโรป (The European Space Agency's Mars Express mission) ได้เปิดเผยภาพแอ่งน้ำแข็ง บริเวณ
ปากปล่องภูเขาไฟโคโรเลฟ (Korolev crater) ในบริเวณที่เรียกว่า
"Olympia Undae" เป็นที่ราบทางทิศใต้ในส่วนขั้วโลกเหนือของดาวอังคาร
โดยแอ่งดังกล่าวมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50.1 ไมล์ ลึกกว่า 1.2 ไมล์จากขอบถึงก้นหลุม "แอ่งน้ำแข็ง" ดังกล่าวมีอากาศเย็นปกคลุมอยู่เบื้องบน ป้องกันการระเหยของน้ำแข็งที่อยู่ด้านล่าง โดยปากปล่องภูเขาไฟตั้งชื่อตาม วิศวกรการบินและนักออกแบบกระสวยอวกาศ "
เซียร์เกย์ โคโรเลฟ" ผู้ก่อตั้งโครงการสปุตนิต และวอสตอค รวมถึงการออกแบบยานอวกาศโซยุซ
ภาพ "แอ่งน้ำแข็ง" ที่ค้นพบ
โดยภาพดังกล่าวถ่ายโดยกล้องความละเอียดสูงของยานสำรวจที่โคจรรอบดาวอังคาร ที่ถูกปล่อยในเดือนมิถุนายน และได้เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2003 นับตั้งแต่องค์การนาซ่าได้เริ่มสำรวจดาวอังคารตั้งแต่ปี 1965 นี่เป็นการค้นพบครั้งสำคัญอีกครั้งในหน้าประวัติศาสตร์
บริเวณ Olympia Undae
ขอบคุณที่มา :
https://edition.cnn.com/2018/12/20/world/mars-express-ice-nasa-insight/index.html?
utm_medium=social&utm_content=2018-12-21T08%3A31%3A03&utm_source=twCNN&utm_term=image
โครงการสำรวจดาวอังคารของยุโรปค้นพบ "แอ่งน้ำแข็ง" เส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 50 ไมล์บนดาวอังคาร
โดยแอ่งดังกล่าวมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50.1 ไมล์ ลึกกว่า 1.2 ไมล์จากขอบถึงก้นหลุม "แอ่งน้ำแข็ง" ดังกล่าวมีอากาศเย็นปกคลุมอยู่เบื้องบน ป้องกันการระเหยของน้ำแข็งที่อยู่ด้านล่าง โดยปากปล่องภูเขาไฟตั้งชื่อตาม วิศวกรการบินและนักออกแบบกระสวยอวกาศ "เซียร์เกย์ โคโรเลฟ" ผู้ก่อตั้งโครงการสปุตนิต และวอสตอค รวมถึงการออกแบบยานอวกาศโซยุซ
โดยภาพดังกล่าวถ่ายโดยกล้องความละเอียดสูงของยานสำรวจที่โคจรรอบดาวอังคาร ที่ถูกปล่อยในเดือนมิถุนายน และได้เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2003 นับตั้งแต่องค์การนาซ่าได้เริ่มสำรวจดาวอังคารตั้งแต่ปี 1965 นี่เป็นการค้นพบครั้งสำคัญอีกครั้งในหน้าประวัติศาสตร์
ขอบคุณที่มา : https://edition.cnn.com/2018/12/20/world/mars-express-ice-nasa-insight/index.html?
utm_medium=social&utm_content=2018-12-21T08%3A31%3A03&utm_source=twCNN&utm_term=image