บทวิเคราะห์ บล. เคจีไอ(ประเทศไทย) ส่อง ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP เจอปัจจัยลบหลายตัว เราพบว่ามีปัจจัยลบถึง 3 ตัวที่จะกดดันผลประกอบการ และแนวโน้มธุรกิจของ KKP ในปีหน้า ได้แก่ 1.) ผลขาดทุนจากการลงทุนจะมากขึ้น 2.) รายได้ค่าธรรมเนียม IB จะลดลงอย่างมาก 3.) สินเชื่อหดตัวจนแทบไม่โตเลย นอกจากนี้ เรายังเป็นห่วงการลงทุนในธุรกิจการลงทุนโดยตรง ซึ่งใน 3Q61 มีผลขาดทุนที่ยังไม่รับรู้อยู่ 685 ล้านบาท ทั้งนี้ ตลาดหุ้นที่ลดลง ต่ออีกใน 4Q61 ทำให้มีความเสี่ยงว่าพอร์ตลงทุนของบริษัทจะขาดทุนหนักขึ้นใน 4Q61 นอกจากนี้ ถ้าหากตลาดยังคงผันผวนต่อไปอีก ก็จะเป็นความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรปีหน้าของเรา
ผลขาดทุนจากการลงทุนมีน้ำหนักมากที่สุดต่อความเสี่ยงของกำไรมากที่สุด
หนึ่งในแหล่งรายได้หลักของ KKP มาจากธุรกิจการลงทุน ซึ่งมักจะคิดเป็นสัดส่วน 20-25% ของ non-NII หรือประมาณ 10% ของรายได้รวม ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้น แต่เนื่องจากตลาดผันผวนหนักในปีนี้ ทำให้ KKP มีผลขาดทุนที่ยังไม่รับรู้ 675 ล้านบาทใน 3Q61 (จากที่มีกำไรที่ยังไม่รับรู้ 685 ล้านบาทเมื่อปลายปี 2560) ทั้งนี้ จากพอร์ตการลงทุนทั้งหมดที่ 4.18 หมื่นล้านบาทใน 3Q61 ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเป็นหุ้น ซึ่งประมาณ 90% เป็นหุ้นไทย และที่เหลืออีก 10% เป็นหุ้นในต่างประเทศ การที่ภาวะตลาดหุ้นผันผวน ทำให้เราปรับลดประมาณการกำไรจากการลงทุนในปีหน้าลงเหลือ 200 ล้านบาท (จากเดิม 500 ล้านบาท) และคงประมาณการปีนี้เอาไว้ที่ 400 ล้านบาท
สินเชื่อแทบไม่เพิ่มเลยเนื่องจากสินเชื่อบ้าน และ SME หดตัว
สินเชื่อของ KKP เติบโตอย่างมากจากการขยายสินเชื่อจดจำนอง และสินเชื่อ SME แต่เราคาดว่าการที่ธปท. ปรับเกณฑ์เพื่อคุมการเก็งกำไรในราคาอสังหาริมทรัพย์จะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์สินเชื่อจดจำนอง และการขยายสินเชื่อของ KKP ในปี 2562-63 โดยเราคาดว่าอัตราการเติบโตของสินเชื่อจดจำนองจะลดลงจาก >100% ในปี 2560 และจากแค่กือบ 50% YTD เหลือแค่ปีละ 5% ในปี 2562/63
ปรับลดประมาณการกำไรปี 2562/63 ลง 19%/17% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 2562 ลงเหลือ 66 บาท
การปรับลดประมาณการของเราสะท้อนการปรับสมติฐาน 3 ตัวด้วยกัน ได้แก่ 1.) การปรับลดสมมติฐานอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมปี 2562/63 เป็น -15%/+5% (จากเดิมที่ +10%/+7%) เนื่องจากฐานที่สูงในปี 2561 2.) การปรับลดสมมติฐานอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในปี 2562/63 ลงเหลือปีละ 5% (จากเดิมปีละ 9%) และ 3.) การปรับลดสมมติฐานกำไรจากการลงทุนปี 2562/63 เหลือ 200 ล้านบาท/500 ล้านบาท (จากเดิม 500/500 ล้านบาท)
โดยหลังจากการปรับประมาณการแล้ว ประมาณการใหม่ของเราในปี 2562/63 จะอยู่ที่ -11%/+4% ต่ำกว่า consensus 11%/12% ตามลำดับ และเมื่อใช้ P/E ที่ 10x และ P/BV ที่ 1.2x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 66 บาท (ลดลงจากเดิม 86 บาท) แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลจะสูงถึง 8% ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงราคาหุ้น
https://portal.settrade.com/brokerpage/IPO/Research/upload/2000000356080/Daily%20Story_KKP_2018_12_21_th-thai.pdf
Finance อื่น ๆคงโดนทุกตัวเรื่องว่าพอร์ตลงทุนของบริษัทจะขาดทุนหนักหรือเปล่า น่าตรึกตรองดูก่อนจะลงทุน
KKP เป้า 66 บาท
ผลขาดทุนจากการลงทุนมีน้ำหนักมากที่สุดต่อความเสี่ยงของกำไรมากที่สุด
หนึ่งในแหล่งรายได้หลักของ KKP มาจากธุรกิจการลงทุน ซึ่งมักจะคิดเป็นสัดส่วน 20-25% ของ non-NII หรือประมาณ 10% ของรายได้รวม ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้น แต่เนื่องจากตลาดผันผวนหนักในปีนี้ ทำให้ KKP มีผลขาดทุนที่ยังไม่รับรู้ 675 ล้านบาทใน 3Q61 (จากที่มีกำไรที่ยังไม่รับรู้ 685 ล้านบาทเมื่อปลายปี 2560) ทั้งนี้ จากพอร์ตการลงทุนทั้งหมดที่ 4.18 หมื่นล้านบาทใน 3Q61 ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเป็นหุ้น ซึ่งประมาณ 90% เป็นหุ้นไทย และที่เหลืออีก 10% เป็นหุ้นในต่างประเทศ การที่ภาวะตลาดหุ้นผันผวน ทำให้เราปรับลดประมาณการกำไรจากการลงทุนในปีหน้าลงเหลือ 200 ล้านบาท (จากเดิม 500 ล้านบาท) และคงประมาณการปีนี้เอาไว้ที่ 400 ล้านบาท
สินเชื่อแทบไม่เพิ่มเลยเนื่องจากสินเชื่อบ้าน และ SME หดตัว
สินเชื่อของ KKP เติบโตอย่างมากจากการขยายสินเชื่อจดจำนอง และสินเชื่อ SME แต่เราคาดว่าการที่ธปท. ปรับเกณฑ์เพื่อคุมการเก็งกำไรในราคาอสังหาริมทรัพย์จะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์สินเชื่อจดจำนอง และการขยายสินเชื่อของ KKP ในปี 2562-63 โดยเราคาดว่าอัตราการเติบโตของสินเชื่อจดจำนองจะลดลงจาก >100% ในปี 2560 และจากแค่กือบ 50% YTD เหลือแค่ปีละ 5% ในปี 2562/63
ปรับลดประมาณการกำไรปี 2562/63 ลง 19%/17% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 2562 ลงเหลือ 66 บาท
การปรับลดประมาณการของเราสะท้อนการปรับสมติฐาน 3 ตัวด้วยกัน ได้แก่ 1.) การปรับลดสมมติฐานอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมปี 2562/63 เป็น -15%/+5% (จากเดิมที่ +10%/+7%) เนื่องจากฐานที่สูงในปี 2561 2.) การปรับลดสมมติฐานอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในปี 2562/63 ลงเหลือปีละ 5% (จากเดิมปีละ 9%) และ 3.) การปรับลดสมมติฐานกำไรจากการลงทุนปี 2562/63 เหลือ 200 ล้านบาท/500 ล้านบาท (จากเดิม 500/500 ล้านบาท)
โดยหลังจากการปรับประมาณการแล้ว ประมาณการใหม่ของเราในปี 2562/63 จะอยู่ที่ -11%/+4% ต่ำกว่า consensus 11%/12% ตามลำดับ และเมื่อใช้ P/E ที่ 10x และ P/BV ที่ 1.2x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 66 บาท (ลดลงจากเดิม 86 บาท) แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลจะสูงถึง 8% ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงราคาหุ้น
https://portal.settrade.com/brokerpage/IPO/Research/upload/2000000356080/Daily%20Story_KKP_2018_12_21_th-thai.pdf
Finance อื่น ๆคงโดนทุกตัวเรื่องว่าพอร์ตลงทุนของบริษัทจะขาดทุนหนักหรือเปล่า น่าตรึกตรองดูก่อนจะลงทุน