รู้สึกยังไง? ที่สื่อสมัยนี้ พูดเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง...หนักขึ้นๆ

เปลี่ยนช่องมาเจอรายการายการ The Knowledge รู้เท่าทันสื่อ (ช่อง 3 SD เวลา 4 ทุ่ม) ประเด็นหัวข้อรายการ พูดถึงเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง เรื่องเหล่านี้ ออกสื่อได้หรือไม่??

พอได้นั่งดูก็รู้สึกว่า “เอ่อว่ะ…จริงๆแล้วมันผ่านสื่อได้ขนาดนั้นเลยเหรอ??”  ทำให้เริ่มสนใจหัวข้อนี้ (ปกติรายการคุยข่าวอะไรแบบนี้ ไม่ค่อยดูนานเท่าไหร่ เปลี่ยนหนีตลอด) เพราะในปัจจุบัน ฉากเลิฟซีนต่างๆ ทั้งในละคร ภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรือตามสื่อโซเซียลต่างๆ มันเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งทางรายการได้นำประเด็นนี้มาถกกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของ กสทช. และ พจน์ อานนท์

ซึ่งเอาจริงๆ ก่อนดูรายการเราก็คิดว่ามันไม่ได้โป๊ะ มันไม่ได้ดูเกินไปหรือมากไป หน่วยงานต่างๆนาๆหัวโบราณไปหรือเปล่า ก็ตามยุคตามสมัยนิ แต่พอได้ดูรายการได้มาฟังอีกมุมของตัวแทนฝั่ง กสทช. ที่มาอธิบายถึงเหตุผลในการคัดกรองเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง ผ่านสื่อ

และเรื่องที่ทำให้เราชุกคิดคือ ถ้าผู้ผลิตและผู้เสพสื่อเคยชินกับสื่อเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง ไปโดยไม่รู้ตัวและมองเป็นเรื่องปกติ แล้วในอนาคตลูกหลานที่โตมากับโลกยุคดิจิตอลที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ไม่มีวิจารณ์ในการเสพสื่อเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาก็ได้  เราเห็นด้วยกับเรื่องนี้มาก เพราะไม่ต้องรออนาคตหรอกปัจจุบันเราก็มักได้ยินข่าวเกี่ยวกับวัยรุ่นที่มีพฤติกรรม เรื่องเพศ การใช้ความรุนแรงต่างๆเกิดขึ้นเยอะมาก  

ซึ่งด้วยเหตุผลนี้ กสทช. จึงต้องควบคุมดูแลและมีคู่มือการจัดเรต คำพูด เซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามกฎระเบียบ เพื่อผลิตสื่อที่มีคุณภาพมาโดยตลอด แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ช่องทางการเสพสื่อมากขึ้น ทำให้การคัดกรองจากหน่วยงานรัฐอาจไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหานี้ ก็คือ ผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองต้องดูแล ให้คำแนะนำต่อบุตรหลานของท่าน ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไร ควรหรือไม่ควรทำตามยังไง ให้เหตุผลและอธิบายให้เยาวชนได้เข้าใจ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างวิจารณ์ในการเสพสื่อ เพียงเท่านี้ลูกหลานของท่านก็สามารถเรียนรู้และอยู่กับสื่อเรื่องต่างได้อย่างปลอดภัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต



อยากให้ลองไปย้อนดูรายการมากๆ มันช่วยเปิดมุมมองหลากหลายด้านเกี่ยวกับสื่อ ซึ่งมันมีประโยชน์กับคนอย่างเราๆมาก ที่ควรรู้เรื่องการใช้สื่อในยุคปัจจุบัน นี่ก็ว่าจะย้อนไปดูตอนเก่าๆ ให้หมด ในเพจเฟสบุ๊กมีพวก Infographic ความรู้ดีๆ อีกด้วย




เครดิตรูปจาก Facebook : The Knowledge รู้เท่าทันสื่อ
https://www.facebook.com/theknowledgeth/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่