ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=4196
ตลอดเดือนพ.ย.61 หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างได้รับความสนใจคึกคัก เนื่องจากมีแรงเก็งกำไรจากการประมูลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือ ไฮสปีดเทรน ซึ่งมี 2 กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ยื่นซองประมูล ประกอบด้วย กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด (CP ถือหุ้น 70% BEM 10%, CK 5%, China Railway 10%, ITD 5%) และกลุ่ม BSR (BTS 60%, STEC 20% และ RATCH 20%) ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาตัดสิน จากนั้นขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการเจรจาต่อรองและนำสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจ โดยคาดว่าผลการประมูลอาจจะได้เร็วกว่ากำหนดเดิมคือภายใน 31 ม.ค.62
แม้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นจะไม่เป็นใจเท่าไรนัก โดยภาพรวมของดัชนีหุ้นไทยในเดือนพ.ย.61ปรับตัวลดลง 1.64% แต่ราคาหุ้นในกลุ่มผู้ยื่นประมูลปรับตัวขึ้น สวนทางดัชนีหุ้นไทย โดยราคาหุ้น BEM เพิ่มขึ้น 4.12% จากราคา 8.50 บาทเป็น 8.85 บาท หุ้นCK เพิ่มขึ้น 0.98% จากราคา 25.50 บาท เป็น 25.75 บาท หุ้นITD ลดลง 4.38% จากราคา 2.74 บาทเหลือ 2.62 บาท
ขณะที่ หุ้นBTS เพิ่มขึ้น 3.28% จากราคา 9.15 บาทเป็น 9.45 บาท หุ้นSTEC ลดลง 2.82% จากราคา 24.80บาท เป็น 24.10 บาท และหุ้นRATCH เพิ่มขึ้น 1.53% จากราคา 49 บาทเพิ่มเป็น 49.75บาท
การที่ราคาหุ้นหลายบริษัทที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น น่าจะเกิดจากแรงเก็งกำไรที่เข้ามาเทรดในช่วงระหว่างรอผลประมูลจะสรุปออกมา อย่างไรก็ตาม แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือการซื้อขายหุ้นของกลุ่มผู้บริหารบริษัท ในช่วงที่มีการยื่นประมูลในครั้งนี้
ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ในส่วนการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหารพบว่ามีผู้บริหารระดับสูงและภรรยาของผู้บริหารของบริษัทช.การช่าง (CK) ได้รายงานขายหุ้นออกมาอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะช่วงเดือนพ.ย.2561 และราคาที่เสนอขายเป็นราคาใกล้ระดับสูงสุดที่ซื้อขายของเดือน
ข้อมูลระบุว่า "สิทธิเดช ตรีวิศวเวทย์" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานบริหาร รายงานขายหุ้นในเดือนพ.ย.ราว 1.5 ล้านหุ้น ราคาขายระหว่าง 25.25-25.75 บาทต่อหุ้น มูลค่ารวม 39.5 ล้านบาท ขณะที่ "วลัยณัฐ ตรีวิศวเวทย์" รายงานในฐานะภริยาของ "อนุกูล ตันติมาสน์"กรรมการ และกรรมการบริหาร โดยขายหุ้น จำนวน 2.55 ล้านหุ้น ระหว่างราคา 25.04-26 บาท มูลค่ารวม 63.7 ล้านบาท ดังนั้น มีการทำรายการ 4.05 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 103.29 ล้านบาท
การขายหุ้นของผู้บริหารในครั้งนี้ถือว่าเป็นการขายหุ้นสวนทางคำแนะนำของนักวิเคราะห์ซึ่งมีมุมมองที่ดีต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ เพราะจะได้รับอานิสงส์จากโครงการภาครัฐ และช.การช่างเป็นบริษัทหนึ่งที่มีโอกาสได้งานในอีกหลายๆโครงการ
บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย)แนะนำซื้อหุ้นCK เพราะมองเป็นหุ้นที่ไปตามประเด็นการลงทุนโครงการภาครัฐฯ ซึ่งกิจกรรมงานประมูลน่าจะเทไปปีหน้า ทั้งนี้ ภาพรวมแผนประมูล 9.68 แสนล้านบาท จะรู้ผลประมูลปีนี้แค่ 1 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ 2.36 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 7.32 แสนล้านบาท คงยกไปปีหน้า
ฝ่ายวิเคราะห์มองว่า CKแนวโน้มกำไรยังมีทางเติบโต เนื่องจากปีนี้มีกำไรพิเศษจากบริษัทร่วม (ขายเงินลงทุน/ตีมูลค่าเงินลงทุนของ บ.ร่วม สูงขึ้น) ทำให้ส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมปีนี้สูงกว่าปกติราว 700 ล้านบาท ขณะที่ รายได้ก่อสร้างลดลง 15% เพราะฐานรายได้ปีก่อนมีงานส่วนเพิ่มพิเศษเข้ามามาร์จิ้นดีขึ้นเพราะปี 60 มีงานส่วนเพิ่มไซยะบุรีมาร์จิ้นต่ำกดดัน แต่กำไรพิเศษจากบริษัทร่วมช่วยผลักดันกำไรปีนี้เติบโต 30%
ส่วนปีหน้า คาดรายได้ทรงตัว เพราะการเซ็นงานใหม่ปีนี้ไม่มากแค่ 5.4 พันล้านบาท ส่วนการประมูลงานใหม่จะทราบผลปี 62 การรับรู้งานใหม่จะเห็นผลในปี 63 แต่สัดส่วนงานปี 62 จะเป็นงาน MRT มากขึ้นมาร์จิ้น น่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ดี บริษัทร่วมไม่น่ามีรายการพิเศษ กำไรปี 62 น่าจะลดลง 29% หากการประมูลปี 62 มาตามคาด และการผลักดันโครงการภาครัฐฯต่อเนื่องไปถึงปี 63 ทางฝ่ายคาดหมายการกลับมาเติบโตในปี 63
หุ้นโยง “ไฮสปีดเทรน” เทรดสนั่น (คอลัมน์พูเมซ่า/share2trade)
ตลอดเดือนพ.ย.61 หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างได้รับความสนใจคึกคัก เนื่องจากมีแรงเก็งกำไรจากการประมูลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือ ไฮสปีดเทรน ซึ่งมี 2 กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ยื่นซองประมูล ประกอบด้วย กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด (CP ถือหุ้น 70% BEM 10%, CK 5%, China Railway 10%, ITD 5%) และกลุ่ม BSR (BTS 60%, STEC 20% และ RATCH 20%) ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาตัดสิน จากนั้นขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการเจรจาต่อรองและนำสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจ โดยคาดว่าผลการประมูลอาจจะได้เร็วกว่ากำหนดเดิมคือภายใน 31 ม.ค.62
แม้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นจะไม่เป็นใจเท่าไรนัก โดยภาพรวมของดัชนีหุ้นไทยในเดือนพ.ย.61ปรับตัวลดลง 1.64% แต่ราคาหุ้นในกลุ่มผู้ยื่นประมูลปรับตัวขึ้น สวนทางดัชนีหุ้นไทย โดยราคาหุ้น BEM เพิ่มขึ้น 4.12% จากราคา 8.50 บาทเป็น 8.85 บาท หุ้นCK เพิ่มขึ้น 0.98% จากราคา 25.50 บาท เป็น 25.75 บาท หุ้นITD ลดลง 4.38% จากราคา 2.74 บาทเหลือ 2.62 บาท
ขณะที่ หุ้นBTS เพิ่มขึ้น 3.28% จากราคา 9.15 บาทเป็น 9.45 บาท หุ้นSTEC ลดลง 2.82% จากราคา 24.80บาท เป็น 24.10 บาท และหุ้นRATCH เพิ่มขึ้น 1.53% จากราคา 49 บาทเพิ่มเป็น 49.75บาท
การที่ราคาหุ้นหลายบริษัทที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น น่าจะเกิดจากแรงเก็งกำไรที่เข้ามาเทรดในช่วงระหว่างรอผลประมูลจะสรุปออกมา อย่างไรก็ตาม แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือการซื้อขายหุ้นของกลุ่มผู้บริหารบริษัท ในช่วงที่มีการยื่นประมูลในครั้งนี้
ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ในส่วนการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหารพบว่ามีผู้บริหารระดับสูงและภรรยาของผู้บริหารของบริษัทช.การช่าง (CK) ได้รายงานขายหุ้นออกมาอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะช่วงเดือนพ.ย.2561 และราคาที่เสนอขายเป็นราคาใกล้ระดับสูงสุดที่ซื้อขายของเดือน
ข้อมูลระบุว่า "สิทธิเดช ตรีวิศวเวทย์" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานบริหาร รายงานขายหุ้นในเดือนพ.ย.ราว 1.5 ล้านหุ้น ราคาขายระหว่าง 25.25-25.75 บาทต่อหุ้น มูลค่ารวม 39.5 ล้านบาท ขณะที่ "วลัยณัฐ ตรีวิศวเวทย์" รายงานในฐานะภริยาของ "อนุกูล ตันติมาสน์"กรรมการ และกรรมการบริหาร โดยขายหุ้น จำนวน 2.55 ล้านหุ้น ระหว่างราคา 25.04-26 บาท มูลค่ารวม 63.7 ล้านบาท ดังนั้น มีการทำรายการ 4.05 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 103.29 ล้านบาท
การขายหุ้นของผู้บริหารในครั้งนี้ถือว่าเป็นการขายหุ้นสวนทางคำแนะนำของนักวิเคราะห์ซึ่งมีมุมมองที่ดีต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ เพราะจะได้รับอานิสงส์จากโครงการภาครัฐ และช.การช่างเป็นบริษัทหนึ่งที่มีโอกาสได้งานในอีกหลายๆโครงการ
บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย)แนะนำซื้อหุ้นCK เพราะมองเป็นหุ้นที่ไปตามประเด็นการลงทุนโครงการภาครัฐฯ ซึ่งกิจกรรมงานประมูลน่าจะเทไปปีหน้า ทั้งนี้ ภาพรวมแผนประมูล 9.68 แสนล้านบาท จะรู้ผลประมูลปีนี้แค่ 1 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ 2.36 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 7.32 แสนล้านบาท คงยกไปปีหน้า
ฝ่ายวิเคราะห์มองว่า CKแนวโน้มกำไรยังมีทางเติบโต เนื่องจากปีนี้มีกำไรพิเศษจากบริษัทร่วม (ขายเงินลงทุน/ตีมูลค่าเงินลงทุนของ บ.ร่วม สูงขึ้น) ทำให้ส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมปีนี้สูงกว่าปกติราว 700 ล้านบาท ขณะที่ รายได้ก่อสร้างลดลง 15% เพราะฐานรายได้ปีก่อนมีงานส่วนเพิ่มพิเศษเข้ามามาร์จิ้นดีขึ้นเพราะปี 60 มีงานส่วนเพิ่มไซยะบุรีมาร์จิ้นต่ำกดดัน แต่กำไรพิเศษจากบริษัทร่วมช่วยผลักดันกำไรปีนี้เติบโต 30%
ส่วนปีหน้า คาดรายได้ทรงตัว เพราะการเซ็นงานใหม่ปีนี้ไม่มากแค่ 5.4 พันล้านบาท ส่วนการประมูลงานใหม่จะทราบผลปี 62 การรับรู้งานใหม่จะเห็นผลในปี 63 แต่สัดส่วนงานปี 62 จะเป็นงาน MRT มากขึ้นมาร์จิ้น น่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ดี บริษัทร่วมไม่น่ามีรายการพิเศษ กำไรปี 62 น่าจะลดลง 29% หากการประมูลปี 62 มาตามคาด และการผลักดันโครงการภาครัฐฯต่อเนื่องไปถึงปี 63 ทางฝ่ายคาดหมายการกลับมาเติบโตในปี 63