"ขอขอบคุณทางร้าน bullethouse เป็นอย่างสูงครับ"
นายแบบสัปดาห์นี้ เป็นคอมมานเดอร์ สเตนเลส โดยน้ำหนักตัวจัดเป็นอันดับสองในชุดของ ไวลีย์ แคล็ป และเป็นตัวเดียวที่ใช้วัสดุสเตนเลสทั้งกระบอก ขนาดกระสุน .45 ACP ไวลีย์ แคล็ป (Wiley Clapp) ทหาร ผ่านศึกจากเวียดนาม, อดีตตำรวจรัฐแคลิฟอร์ เนีย, บรรณาธิการภาคสนามของ American Rifleman เขียนบทความเรื่องปืนตีพิมพ์ในวารสารหลายฉบับ ติดต่อกันมากว่า 35 ปี กล่าวได้ว่าเป็นผู้ีมี “อิทธิพลทางความคิด” ค่อนข้างสูงในหมู่นักนิยมปืนอเมริกัน รับงานเป็นที่ปรึกษาของทาโล (TALO Distribution, Inc.) บริษัทจัดจำหน่ายปืนรายใหญ่ มีส่วนช่วยกำหนดสเปกปืนให้ ทาโล สั่งทำพิเศษหลายรุ่น
บริษัท ทาโล ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1965โดยการรวมตัวของร้านขายปืนในรัฐ Texas, Arkansas, Louisiana, และ Oklahoma ใช้อักษรตัวแรกของชื่อรัฐมาต่อกันเป็นชื่อบริษัท ซึ่งเมื่อรวมยอดขายจากสี่รัฐเช่นนี้ทำให้มีอำนาจต่อรองสูง สามารถสั่งปืนตามต้องการโดยตรงจากผู้ผลิต เช่น โคลท์, สมิธแอนด์เวสสัน,รูเกอร์ ทำปืนในลักษณะ “Exclusive” ไม่ขายให้รายอื่นนอกเครือข่าย โคลท์ รับทำปืน 1911 ตามแบบที่ ไวลีย์ แคล็ป กำหนดสี่รุ่น คือ กัฟเวิร์นเมนท์, คอมมานเดอร์สเตนเลส, คอมมานเดอร์ไลท์เวท, และคอนซีลแครีออฟฟิสเซอร์ ซึ่งตัวหลังสุดนี้ใช้โครงอัลลอยด้ามสั้นของ ออฟฟิสเซอร์ มาใส่ชุดลำกล้องและลำเลื่อนของคอมมานเดอร์ ลักษณะร่วมกันที่เห็นได้จากภายนอกของปืนในชุดนี้คือ ไกทึบ, นกกลม, ห้ามไกสั้นแบบปืนทหารดั้งเดิม, ศูนย์ต่อสู้ของโนแว็ค, เรือนสปริงหลังด้ามตรง, หลังอ่อนรับนก มีสันกดอุ้งมือ, แกะลายกันลื่นหน้าหลังด้าม และประกับด้ามที่ไม่เหมือนใคร
สโลแกนในการขายปืนโคลท์ ไวลีย์ แคล็ป ชุดนี้ คือ “Everything you need,nothing you don’t.” มีครบทุกอย่าง เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ตัวปืนจึงมาในแนวเรียบง่าย มีความพิเศษในรายละเอียดเป็นบางจุด ไม่ติดอุปกรณ์จนเกินเลย มีที่เปลี่ยนจากปืนทหารของเดิมคือ ศูนย์หลังใช้ของโนแว็ค, ศูนย์หน้าเพิ่มตุ่มทองเหลือง, นกสับห่วงแบบคอมมานเดอร์, หลังอ่อนสมัยใหม่, ประกับด้ามที่แต่งส่วนหน้าบาง ส่วนหลังหนา แกะลายกันลื่นเฉพาะบริเวณที่นิ้วสัมผัส รับกับลายบนโครงโลหะและเรือนสปริงนกสับด้านหลัง และปาดโครงใต้โกร่งไกให้นิ้วกลางเลื่อนสูงขึ้นจับถนัดขึ้น กลไกภายในส่วนควบคุมการยิงใช้แบบของ ซีรีส์ 70 ไม่มีสมอล็อกเข็มที่จะทำให้ไกหนัก, ใช้บูชลำกล้องแบบเดิม ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่ทำแบบที่ลำกล้องสั้นกว่าระดับคอมมานเดอร์ ตัวเล็กสุดเพียงใช้โครงด้ามสั้น และไม่ใส่แกนสปริงลำเลื่อนยาว ด้วยแนวคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับปืนต่อสู้
นายแบบสัปดาห์นี้ เป็น คอมมานเดอร์ สเตนเลส โดยน้ำหนักตัวจัดเป็นอันดับสองในชุดของ ไวลีย์ แคล็ป และเป็นตัวเดียวที่ใช้วัสดุสเตนเลสทั้งกระบอก ขนาดกระสุน .45 ACP น้ำหนักตัว 1,020 กรัม หนักกว่ารุ่นไลท์เวทโครงอัลลอยประมาณ 130 กรัม ซึ่งช่วยให้การยิงนุ่มนวลดีกว่าปืนเบา ศูนย์หลังค่อนข้างกว้างเมื่อเทียบกับศูนย์หน้า เหมาะกับการยิงต่อสู้ ตุ่มทองเหลืองที่ศูนย์หน้าช่วยให้เล็งได้เร็ว น้ำหนักไกเพียงสามปอนด์ครึ่ง จัดว่าเบาสำหรับปืนโรงงานของยุคสมัยนี้ ประกับด้ามพิเศษจับถนัดดีมาก ให้ความรู้สึกคล้ายปืนโครงด้ามแคบ EMP ของสปริงฟีลด์
โดยรวม ไวลีย์ แคล็ป คอมมานเดอร์ ตัวนี้ เหมาะสำหรับเป็นปืนพกซองนอก คล่องตัวดีกว่ารุ่นลำกล้องห้านิ้วมาตรฐาน ด้ามยาวปกติ จุกระสุนแปดนัด การทำงานไว้ใจได้เต็มที่ วัสดุต้านสนิม ทนทาน ดูแลรักษาง่าย เป็นปืนรุ่นพิเศษที่สวยแบบไม่ฉูดฉาด และใช้งานจริงได้ดี
.
............................................................
ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก:...
นสพ.เดลินิวส์ ออนไลน์
คอลัมน์ รู้ลองเลือกปืน
โดย ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 247 Colt Wiley Clapp Commander
นายแบบสัปดาห์นี้ เป็นคอมมานเดอร์ สเตนเลส โดยน้ำหนักตัวจัดเป็นอันดับสองในชุดของ ไวลีย์ แคล็ป และเป็นตัวเดียวที่ใช้วัสดุสเตนเลสทั้งกระบอก ขนาดกระสุน .45 ACP ไวลีย์ แคล็ป (Wiley Clapp) ทหาร ผ่านศึกจากเวียดนาม, อดีตตำรวจรัฐแคลิฟอร์ เนีย, บรรณาธิการภาคสนามของ American Rifleman เขียนบทความเรื่องปืนตีพิมพ์ในวารสารหลายฉบับ ติดต่อกันมากว่า 35 ปี กล่าวได้ว่าเป็นผู้ีมี “อิทธิพลทางความคิด” ค่อนข้างสูงในหมู่นักนิยมปืนอเมริกัน รับงานเป็นที่ปรึกษาของทาโล (TALO Distribution, Inc.) บริษัทจัดจำหน่ายปืนรายใหญ่ มีส่วนช่วยกำหนดสเปกปืนให้ ทาโล สั่งทำพิเศษหลายรุ่น
บริษัท ทาโล ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1965โดยการรวมตัวของร้านขายปืนในรัฐ Texas, Arkansas, Louisiana, และ Oklahoma ใช้อักษรตัวแรกของชื่อรัฐมาต่อกันเป็นชื่อบริษัท ซึ่งเมื่อรวมยอดขายจากสี่รัฐเช่นนี้ทำให้มีอำนาจต่อรองสูง สามารถสั่งปืนตามต้องการโดยตรงจากผู้ผลิต เช่น โคลท์, สมิธแอนด์เวสสัน,รูเกอร์ ทำปืนในลักษณะ “Exclusive” ไม่ขายให้รายอื่นนอกเครือข่าย โคลท์ รับทำปืน 1911 ตามแบบที่ ไวลีย์ แคล็ป กำหนดสี่รุ่น คือ กัฟเวิร์นเมนท์, คอมมานเดอร์สเตนเลส, คอมมานเดอร์ไลท์เวท, และคอนซีลแครีออฟฟิสเซอร์ ซึ่งตัวหลังสุดนี้ใช้โครงอัลลอยด้ามสั้นของ ออฟฟิสเซอร์ มาใส่ชุดลำกล้องและลำเลื่อนของคอมมานเดอร์ ลักษณะร่วมกันที่เห็นได้จากภายนอกของปืนในชุดนี้คือ ไกทึบ, นกกลม, ห้ามไกสั้นแบบปืนทหารดั้งเดิม, ศูนย์ต่อสู้ของโนแว็ค, เรือนสปริงหลังด้ามตรง, หลังอ่อนรับนก มีสันกดอุ้งมือ, แกะลายกันลื่นหน้าหลังด้าม และประกับด้ามที่ไม่เหมือนใคร
สโลแกนในการขายปืนโคลท์ ไวลีย์ แคล็ป ชุดนี้ คือ “Everything you need,nothing you don’t.” มีครบทุกอย่าง เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ตัวปืนจึงมาในแนวเรียบง่าย มีความพิเศษในรายละเอียดเป็นบางจุด ไม่ติดอุปกรณ์จนเกินเลย มีที่เปลี่ยนจากปืนทหารของเดิมคือ ศูนย์หลังใช้ของโนแว็ค, ศูนย์หน้าเพิ่มตุ่มทองเหลือง, นกสับห่วงแบบคอมมานเดอร์, หลังอ่อนสมัยใหม่, ประกับด้ามที่แต่งส่วนหน้าบาง ส่วนหลังหนา แกะลายกันลื่นเฉพาะบริเวณที่นิ้วสัมผัส รับกับลายบนโครงโลหะและเรือนสปริงนกสับด้านหลัง และปาดโครงใต้โกร่งไกให้นิ้วกลางเลื่อนสูงขึ้นจับถนัดขึ้น กลไกภายในส่วนควบคุมการยิงใช้แบบของ ซีรีส์ 70 ไม่มีสมอล็อกเข็มที่จะทำให้ไกหนัก, ใช้บูชลำกล้องแบบเดิม ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่ทำแบบที่ลำกล้องสั้นกว่าระดับคอมมานเดอร์ ตัวเล็กสุดเพียงใช้โครงด้ามสั้น และไม่ใส่แกนสปริงลำเลื่อนยาว ด้วยแนวคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับปืนต่อสู้
นายแบบสัปดาห์นี้ เป็น คอมมานเดอร์ สเตนเลส โดยน้ำหนักตัวจัดเป็นอันดับสองในชุดของ ไวลีย์ แคล็ป และเป็นตัวเดียวที่ใช้วัสดุสเตนเลสทั้งกระบอก ขนาดกระสุน .45 ACP น้ำหนักตัว 1,020 กรัม หนักกว่ารุ่นไลท์เวทโครงอัลลอยประมาณ 130 กรัม ซึ่งช่วยให้การยิงนุ่มนวลดีกว่าปืนเบา ศูนย์หลังค่อนข้างกว้างเมื่อเทียบกับศูนย์หน้า เหมาะกับการยิงต่อสู้ ตุ่มทองเหลืองที่ศูนย์หน้าช่วยให้เล็งได้เร็ว น้ำหนักไกเพียงสามปอนด์ครึ่ง จัดว่าเบาสำหรับปืนโรงงานของยุคสมัยนี้ ประกับด้ามพิเศษจับถนัดดีมาก ให้ความรู้สึกคล้ายปืนโครงด้ามแคบ EMP ของสปริงฟีลด์
โดยรวม ไวลีย์ แคล็ป คอมมานเดอร์ ตัวนี้ เหมาะสำหรับเป็นปืนพกซองนอก คล่องตัวดีกว่ารุ่นลำกล้องห้านิ้วมาตรฐาน ด้ามยาวปกติ จุกระสุนแปดนัด การทำงานไว้ใจได้เต็มที่ วัสดุต้านสนิม ทนทาน ดูแลรักษาง่าย เป็นปืนรุ่นพิเศษที่สวยแบบไม่ฉูดฉาด และใช้งานจริงได้ดี
.
............................................................
ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก:...
นสพ.เดลินิวส์ ออนไลน์
คอลัมน์ รู้ลองเลือกปืน
โดย ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช