1
.
.
Ⓒ Robert Lennon/Flickr
.
.
Halifax Gibbet
ยืนตระหง่านใจกลางพื้นที่ว่างเปล่า
พร้อมกับฉากหลังต้นไม้จำนวนหนึ่ง
ในเมือง
Halifax ที่ West Yorkshire
มันเป็นเครื่องมือประหัตประหารที่น่ากลัว
สถานที่นี้ว่า
ตะแลงแกง Gibbet
ผ่านการตัดหัวนักโทษมานานกว่า 350 ปี
แม้ว่าจะเป็นโทษเล็กน้อย
/อาชญากรรมที่ไม่รุนแรงในทุกวันนี้
เช่น การลักขโมยทรัพย์สิน
Halifax Gibbet
มีโครงสร้างหลักคือ เสาไม้ 2 ต้น
มีใบมีดคมยึดติดตรึงตรากับท่อนไม้
ที่แขวนอยู่บนคานที่ด้านบน
มีห่วง/รอกไว้ผูกเชือก ใช้ชักขึ้น/ลงได้
นักโทษประหารจะถูกจับมัดอย่างแน่นหนา
พาดคอไว้ในร่องไม้รอใบมีดหล่นลงมา
ใบมีดจะใช้วัวหรือม้าลากที่รั้งใบมีดขึ้นจนสุด
เพชฌฆาตจะรั้งใบมีดยึดติดไว้กับตะขอ
พอถึงเวลาประหารชีวิตนักโทษ
เพชฌฆาตจะใช้มือปลดเชือกจากตะขอ
บางครั้ง ก็ใช้ดาบฟันเชือกให้ขาด
ใบมีดขนาดใหญ่จะหล่นลงมา
ด้วยแรงโน้มถ่วงตรงดิ่งลงมา
ตัดคอนักโทษประหาร
กระเด็นแยกออกจากร่างกาย
บางคนคิดว่าอุปกรณ์นี้คือ
Guillotine
ที่ใช้ตัดคอชายหญิงจำนวนมาก
ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789
แต่ Halifax Gibbet มีการใช้งานก่อน
Guillotine นานกว่า 500 ปีแล้ว
ในยุคนั้น
การตัดคอนักโทษประหารด้วยดาบ/ขวาน
เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอังกฤษ
แต่ถ้าดาบ/ขวานที่ไม่คม หรือฟันพลาดไป
ยิ่งทำให้นักโทษต้องทนทุกข์ทรมานยิ่งขึ้น
เพราะต้องฟันซ้ำอีกจนกระทั่งตาย
จึงเชื่อกันว่า Halifax Gibbet คือ
เครื่องจักรสังหารที่ประโยชน์สูง สะดวกสุด
ในปี ค.ศ.1286
มีบันทึกการใช้งาน Halifax Gibbet
โดย
Lord of the Manor
ขุนนางศักดินาเจ้าที่ดิน
ที่มีลำดับล่างสุดในพวก Lord
แต่มีอำนาจตัดสินประหารชีวิตนักโทษได้
เช่น รายใดที่ขโมยข้าวของสินค้า
ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 เพนนีครึ่ง
เรื่องนี้ทำให้กฎหมาย Halifax Gibbet Law
เลื่องชื่อลือชาว่า มีบทลงโทษที่รุนแรงมากที่สุด
.
.
.
.
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า
กฎหมาย Halifax Gibbet Law
คือ ร่องรอยประเพณีดั้งเดิม
Infangthief กับพวก
Anglo-Saxon
ซึ่งอนุญาตให้เจ้าที่ดินบังคับกฎหมาย
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
รวมถึงการลงโทษประหารชีวิตพวกโจร
ที่ถูกจับได้ภายในเขตที่ดินของพวกเจ้าที่ดิน
กฎหมายดังกล่าวเป็นมาตรฐานทั่วไป
ของเจ้าที่ดินท้องถิ่น/ขุนนางท้องถิ่น
จนกระทั่งถูกยกเลิกไป
ในรัชสมัย พระเจ้า
Edward III
แต่ที่ Halifax ยังมีการลงโทษประหารชีวิต
อยู่ใน Yorkshire เพราะกษัตริย์อนุญาต
ในปี ค.ศ.1278
ในยุค
King Edward I มีรายงานว่า
มีตะแลงแกงและที่แขวนคอนักโทษ
ใน Yorkshire มีถึง 94 แห่ง
มีที่หนึ่งเป็นของ
Archbishop of York ด้วย
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
ทำให้เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี
ปีค.ศ.1622
John Taylor กวีชาวอังกฤษ
ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่า The Water Poet
ได้ร่ายบทกวีเรื่อง
Beggar's Litany ว่า
มีคำพังเพยและคำอธิษฐาน
สามสถานที่อโคจรที่ไม่ควรจะไป
ที่ Hull ที่ Halifax ที่ Hell (นรก)
ทั้งสามที่นี้ พระเจ้ามอบให้แก่เรา
Hull เครื่องมือประหารชีวิต
ใช้กับนักโทษประเภทขโมยกับขอทาน
ซึ่งเป็นพวกไม่พึงประสงค์อย่างมากในยุคนั้น
นักโทษจะถูกจับมัดขังอยู่ภายในกรงขัง
ที่จำกัดการเคลื่อนไหว ที่เป็นลานประหาร
วางไว้ปากแม่น้ำ
Humber
ช่วงน้ำทะเลลง รอให้น้ำขึ้น
จะท่วมกรงขังจนนักโทษจมน้ำตาย
Halifax Gibbet
จะประหารชีวิตนักโทษในวันที่มีตลาดนัด
เพื่อให้ชาวบ้านมาชมการประหารให้มากที่สุด
ก่อนจะทำการประหารชีวิตนักโทษ
นักโทษจะถูกล่ามโซ่แล้วแห่ประจาน
เป็นเวลา 3 วันก่อนมีตลาดนัด
พร้อมกับนำตัวนักโทษมาแสดงตัว
ที่ใจกลางเมืองพร้อมกับข้าวของที่ขโมยมา
ในวันประหารชีวิต
นักโทษจะถูกนำตัวไปยังลานประหาร
ชายแดนของเมืองอยู่ห่างราวครึ่งกิโลเมตร
จากเขตอำนาจศาลในการจับกุมลงโทษ
เพราะตามกฎหมายอังกฤษเดิมระบุว่า
การลงโทษต้องทำในพื้นที่
แยกต่างหากออกไปจากชุมชน
โดย Halifax เป็นส่วนหนึ่ง
ของป่าไม้ Forest of Hardwick
ถ้านักโทษหลบหนีข้ามเขตแดน
/เขตอำนาจศาลไปได้แล้ว
เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถข้ามเขต
ไปจับตัวนักโทษกลับมาลงโทษได้
มีผู้รอดตายหลบหนีไปได้ 2 รายคือ
นักโทษชาย Dinnis วิ่งหนีไปเกิน 500 เมตร
ในปี 1616
นักโทษชาย Lacey ก็วิ่งหนีออกไปได้
7 ปีต่อมา Lacey ได้ย้อนกลับมาที่ Halifax
จึงถูกจับกุม/ประหารชีวิตภายในวันนั้นเลย
ในปีค.ศ.1650 (27 ปีต่อมา)
Halifax Gibbet ใช้ลงโทษครั้งสุดท้าย
ด้วยการตัดคอนักโทษ 2 คน
ภายในวันเดียวกัน คือ
Abraham Wilkinson
ข้อหาขโมยผ้ายาว 16 หลา
กับ Anthony Mitchell
ข้อหาขโมยม้านำไปขายรวม 2 ตัว
.
.
ต่อมามีการยกเลิกบังคับใช้
กฎหมาย Halifax Gibbet Law
ทำให้ Halifax Gibbet สิ้นสุดการใช้งาน
แต่มีนักโทษไม่เกินกว่า 100 คน
ที่ตายเพราะเครื่องจักรสังหารตัวนี้
25 เมย.1599 – 3 กย.1658
Oliver Cromwell
Lord Protector of the
Comonwealth of England, Scotland, and Ireland
คือ ผู้ออกกฎหมายยกเลิก
การประหารชีวิตด้วย Halifax Gibbet
แต่ในที่สุด Oliver Cromwell
ก็ถูกนำศพมาแขวนคอแล้วตัดศีรษะด้วยดาบ
3 ปีหลังจากตายและฝังศพไปแล้ว
.
.
ในปี 1974
ตะแลงแกง Gibbet ใน Halifax
มีการจำลองแบบขึ้นมา
ด้วยการวางบนลานหินเดิม
เพราะโครงไม้หลักประหารเดิม
ถูกรื้อถอดออกไปหลังจาก
เลิกใช้งานในปีค.ศ.1650
แต่ใบมีดตัดคอคนยังถูกเก็บรักษาไว้
ในพิพิธภัณฑ์ Bankfield Museum
ใน Boothtown ชานเมือง Halifax
พร้อมกับป้ายจารึกชื่อนักโทษประหารชีวิต
52 รายทั้งชายและหญิง ที่ทราบชื่อว่า
ถูกตัดคอด้วยเครื่องจักรสังหารตัวนี้
คาดว่า Halifax Gibbet
ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 13
ประกอบด้วยเสาไม้ 2 ต้น
สูงราว 15 ฟุต(4.6 เมตร)
มีคานขวางยึดเสา/รับน้ำหนักใบมีด
พร้อมกับติดห่วงเหล็กทำหน้าที่เป็นรอก
เพื่อใช้ชักเชือกขึ้นลงด้วยวัวหรือม้า
ท่อนไม้ขนาด 4 ฟุต 6 นิ้ว(1.37 เมตร)
ด้านปลายท่อนไม้จะติดหัวขวาน
หนักราว 7 ปอนด์ 12 ออนซ์(3.5 กิโลกรัม)
เครื่องจักรสังหารจะวางบน
ลานประหารก้อนหินที่เรียงขึ้นมาเป็นแท่น
บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส 9 ฟุต (2.7 เมตร)
ความสูงจากพื้นดิน 4 ฟุต (1.2 เมตร)
มีบันได้ขึ้นลงไปบนแท่นประหารได้
ในปึ 1789 (ศตวรรษที่ 18)
ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
แต่ต้องรอถึงในปี 1792
จึงเริ่มใช้ Guillotine ตัดหัวนักโทษประหาร
เพราะ Guillotine เป็นเครื่องจักรสังหาร
ที่ตัดคอคนได้เร็ว และมีประสิทธิผลที่สุด
ในช่วง 10 เดือนยุคแห่งความสยดสยอง
กันยายน 1793 ถึงกรกฏาคม 1794
โดย
Maximillian Robespierre
แกนนำกลุ่ม
Jacobin
มีการตัดคอนักโทษไม่น้อยกว่า 17,000 ราย
(เฉลี่ยเดือนละ 1,700 ราย)
กิโยตินได้ฆ่าคนราว 40,000 คน
จากนักโทษ 300,000 คน (
https://bit.ly/2pMcWN8)
แต่นักโทษจำนวนมากตายก่อน
เพราะโรคภัยไข้เจ็บ/ทุกข์ทรมาน
เพชฌฆาต Guillotin จะสวมชุดสีแดง
เพื่อปกปิดคราบเลือดที่กระเด็นใส่
เครื่องจักรสังหารรูปทรง/ประเภทอื่น ๆ
ที่ใช้ตัดคอนักโทษ เดิมมีการใช้กันในยุโรป
มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยุติไปก่อน
เรื่องแบบนี้ทำให้ไม่แน่ใจว่า
Dr.Joseph-Ignace Guillotin
จะคุ้นเคย/เคยเห็น Halifax Gibbet หรือไม่
แต่รูปลักษณ์/การออกแบบคล้ายกับ
ได้แรงบันดาลใจ Copy and Development
จากเครื่องจักรสังหารของ
Scottish Maiden
ในปี 1564
James Douglas 4th Earl of Morton
ผู้ริเริ่มให้สร้างเครื่องจักรสังหารนี้
ซึ่งสร้างเลียนแบบ Halifax Gibbet
ด้วยนิยามว่า งานสะอาดใช้ตัดคอคน
ในปี 1581
ผู้ริเริ่มรายนี้ก็ถูกตัดคอด้วยเครื่องจักรนี้
ทำให้มีการมโน/สร้างตำนานเหมารวมว่า
คนคิดค้นคนสร้าง Guillotine
ถูกตัดคอด้วย Guillotine ในภายหลัง
แต่ผู้สร้าง Guillotine ตายด้วยโรคชรา
ต่อมาภายหลัง ลูกหลานที่ใช้สกุล Guillotin
ต้องเปลี่ยนไปใช้สกุลอื่นไม่ใช้ Guillotin อีก
เพราะเสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูลมาก
เพราะคำว่า Guillotin กลายเป็นคำสามัญ
ที่มีความหมายทางไม่ดี/หฤโหดที่สุด
คือ เครื่องจักรสังหารตัดคอคน
ได้วันเป็นร้อยคนช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส
ทุกวันนี้ Scottish Maiden
จัดแสดงที่ National Museum of Scotland
โดยมีความสูงน้อยกว่า Halifax Gibbet
มีความสูงเพียง 10 ฟุต(3.0 m)
สูงเท่ากับ French Guillotine
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2E669X3
https://bit.ly/2Ek6Tci
https://bit.ly/2Qgv1D1
https://bit.ly/2RN00mV
.
.
.
2
.
.
ใบมีดจำลองแบบจากของเดิม
Ⓒ August Schwerdfeger/Wikimedia
.
.
3
.
.
.
4
.
.
.
5
.
.
.
6
.
.
.
7
.
.
.
8
.
.
รายชื่อนักโทษประหารที่ใช้ Halifax Gibbet
.
.
9
.
.
Scottish Maiden ปีที่ผลิต 1564
.
.
10
.
.
Guillotine เริ่มใช้งานในปี 1792
.
.
11
.
.
.
Fallbeil หรือ Drop-Axe ของเยอรมัน
ในอดีต น่าจะมีการใช้งานมาก่อนแล้วยุติไป
จึงต่อยอด/พัฒนาขึ้นมาใหม่หลายรุ่นมาก
หลังปี ค.ศ.1800 สมกับสินค้าเยอรมัน
มีคุณภาพ ทนถึก ใช้ทน ใช้นาน ใช้จนรำคาญ
สมัยนาซีเยอรมันนี ก็ใช้ตัดคอไปหลายราย
.
.
.
.
Charles-Henri Sanson
ตัดคอนักโทษมากกว่า 3,000 ราย
ตอบคำถามจักรพรรดิ์นโปเลียน ว่า
“ ถ้าจักรพรรดิ์ ราชา ทรราชย์ นอนหลับได้
แล้วทำไมเพชฌฆาตจะนอบหลับไม่ได้ ”
.
.
เรื่องเดิม
.
พิพากษาลงโทษจำเลยอย่างรุนแรงที่สุดอีกหลังมรณกรรม
.
.
การประหารชีวิต Oliver Cromwell,
Henry Ireton และ John Bradshaw
ในปีค.ศ.1661
.
.
Oliver Cromwell กับหัวกระโหลก
ที่ถูกเสียบประจานร่วม 25 ปี
หลังจากนั้นมีการโอนเปลี่ยนมือ
โยกย้ายไปมาร่วม 300 ปี
ก่อนจะมีพิธีแอบฝังไว้
ที่สุสานลับในปี ค.ศ.1960
.
.
ภาพทัณฑ์ทรมานในยุคอดีต
.
.
.
Halifax Gibbet เครื่องตัดศีรษะที่มีก่อน Guillotine
.
.
Ⓒ Robert Lennon/Flickr
.
Halifax Gibbet
ยืนตระหง่านใจกลางพื้นที่ว่างเปล่า
พร้อมกับฉากหลังต้นไม้จำนวนหนึ่ง
ในเมือง Halifax ที่ West Yorkshire
มันเป็นเครื่องมือประหัตประหารที่น่ากลัว
สถานที่นี้ว่า ตะแลงแกง Gibbet
ผ่านการตัดหัวนักโทษมานานกว่า 350 ปี
แม้ว่าจะเป็นโทษเล็กน้อย
/อาชญากรรมที่ไม่รุนแรงในทุกวันนี้
เช่น การลักขโมยทรัพย์สิน
Halifax Gibbet
มีโครงสร้างหลักคือ เสาไม้ 2 ต้น
มีใบมีดคมยึดติดตรึงตรากับท่อนไม้
ที่แขวนอยู่บนคานที่ด้านบน
มีห่วง/รอกไว้ผูกเชือก ใช้ชักขึ้น/ลงได้
นักโทษประหารจะถูกจับมัดอย่างแน่นหนา
พาดคอไว้ในร่องไม้รอใบมีดหล่นลงมา
ใบมีดจะใช้วัวหรือม้าลากที่รั้งใบมีดขึ้นจนสุด
เพชฌฆาตจะรั้งใบมีดยึดติดไว้กับตะขอ
พอถึงเวลาประหารชีวิตนักโทษ
เพชฌฆาตจะใช้มือปลดเชือกจากตะขอ
บางครั้ง ก็ใช้ดาบฟันเชือกให้ขาด
ใบมีดขนาดใหญ่จะหล่นลงมา
ด้วยแรงโน้มถ่วงตรงดิ่งลงมา
ตัดคอนักโทษประหาร
กระเด็นแยกออกจากร่างกาย
บางคนคิดว่าอุปกรณ์นี้คือ Guillotine
ที่ใช้ตัดคอชายหญิงจำนวนมาก
ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789
แต่ Halifax Gibbet มีการใช้งานก่อน
Guillotine นานกว่า 500 ปีแล้ว
ในยุคนั้น
การตัดคอนักโทษประหารด้วยดาบ/ขวาน
เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอังกฤษ
แต่ถ้าดาบ/ขวานที่ไม่คม หรือฟันพลาดไป
ยิ่งทำให้นักโทษต้องทนทุกข์ทรมานยิ่งขึ้น
เพราะต้องฟันซ้ำอีกจนกระทั่งตาย
จึงเชื่อกันว่า Halifax Gibbet คือ
เครื่องจักรสังหารที่ประโยชน์สูง สะดวกสุด
ในปี ค.ศ.1286
มีบันทึกการใช้งาน Halifax Gibbet
โดย Lord of the Manor
ขุนนางศักดินาเจ้าที่ดิน
ที่มีลำดับล่างสุดในพวก Lord
แต่มีอำนาจตัดสินประหารชีวิตนักโทษได้
เช่น รายใดที่ขโมยข้าวของสินค้า
ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 เพนนีครึ่ง
เรื่องนี้ทำให้กฎหมาย Halifax Gibbet Law
เลื่องชื่อลือชาว่า มีบทลงโทษที่รุนแรงมากที่สุด
.
.
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า
กฎหมาย Halifax Gibbet Law
คือ ร่องรอยประเพณีดั้งเดิม
Infangthief กับพวก Anglo-Saxon
ซึ่งอนุญาตให้เจ้าที่ดินบังคับกฎหมาย
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
รวมถึงการลงโทษประหารชีวิตพวกโจร
ที่ถูกจับได้ภายในเขตที่ดินของพวกเจ้าที่ดิน
กฎหมายดังกล่าวเป็นมาตรฐานทั่วไป
ของเจ้าที่ดินท้องถิ่น/ขุนนางท้องถิ่น
จนกระทั่งถูกยกเลิกไป
ในรัชสมัย พระเจ้า Edward III
แต่ที่ Halifax ยังมีการลงโทษประหารชีวิต
อยู่ใน Yorkshire เพราะกษัตริย์อนุญาต
ในปี ค.ศ.1278
ในยุค King Edward I มีรายงานว่า
มีตะแลงแกงและที่แขวนคอนักโทษ
ใน Yorkshire มีถึง 94 แห่ง
มีที่หนึ่งเป็นของ Archbishop of York ด้วย
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
ทำให้เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี
ปีค.ศ.1622
John Taylor กวีชาวอังกฤษ
ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่า The Water Poet
ได้ร่ายบทกวีเรื่อง Beggar's Litany ว่า
มีคำพังเพยและคำอธิษฐาน
สามสถานที่อโคจรที่ไม่ควรจะไป
ที่ Hull ที่ Halifax ที่ Hell (นรก)
ทั้งสามที่นี้ พระเจ้ามอบให้แก่เรา
Hull เครื่องมือประหารชีวิต
ใช้กับนักโทษประเภทขโมยกับขอทาน
ซึ่งเป็นพวกไม่พึงประสงค์อย่างมากในยุคนั้น
นักโทษจะถูกจับมัดขังอยู่ภายในกรงขัง
ที่จำกัดการเคลื่อนไหว ที่เป็นลานประหาร
วางไว้ปากแม่น้ำ Humber
ช่วงน้ำทะเลลง รอให้น้ำขึ้น
จะท่วมกรงขังจนนักโทษจมน้ำตาย
Halifax Gibbet
จะประหารชีวิตนักโทษในวันที่มีตลาดนัด
เพื่อให้ชาวบ้านมาชมการประหารให้มากที่สุด
ก่อนจะทำการประหารชีวิตนักโทษ
นักโทษจะถูกล่ามโซ่แล้วแห่ประจาน
เป็นเวลา 3 วันก่อนมีตลาดนัด
พร้อมกับนำตัวนักโทษมาแสดงตัว
ที่ใจกลางเมืองพร้อมกับข้าวของที่ขโมยมา
ในวันประหารชีวิต
นักโทษจะถูกนำตัวไปยังลานประหาร
ชายแดนของเมืองอยู่ห่างราวครึ่งกิโลเมตร
จากเขตอำนาจศาลในการจับกุมลงโทษ
เพราะตามกฎหมายอังกฤษเดิมระบุว่า
การลงโทษต้องทำในพื้นที่
แยกต่างหากออกไปจากชุมชน
โดย Halifax เป็นส่วนหนึ่ง
ของป่าไม้ Forest of Hardwick
ถ้านักโทษหลบหนีข้ามเขตแดน
/เขตอำนาจศาลไปได้แล้ว
เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถข้ามเขต
ไปจับตัวนักโทษกลับมาลงโทษได้
มีผู้รอดตายหลบหนีไปได้ 2 รายคือ
นักโทษชาย Dinnis วิ่งหนีไปเกิน 500 เมตร
ในปี 1616
นักโทษชาย Lacey ก็วิ่งหนีออกไปได้
7 ปีต่อมา Lacey ได้ย้อนกลับมาที่ Halifax
จึงถูกจับกุม/ประหารชีวิตภายในวันนั้นเลย
ในปีค.ศ.1650 (27 ปีต่อมา)
Halifax Gibbet ใช้ลงโทษครั้งสุดท้าย
ด้วยการตัดคอนักโทษ 2 คน
ภายในวันเดียวกัน คือ
Abraham Wilkinson
ข้อหาขโมยผ้ายาว 16 หลา
กับ Anthony Mitchell
ข้อหาขโมยม้านำไปขายรวม 2 ตัว
.
.
ต่อมามีการยกเลิกบังคับใช้
กฎหมาย Halifax Gibbet Law
ทำให้ Halifax Gibbet สิ้นสุดการใช้งาน
แต่มีนักโทษไม่เกินกว่า 100 คน
ที่ตายเพราะเครื่องจักรสังหารตัวนี้
25 เมย.1599 – 3 กย.1658
Oliver Cromwell
Lord Protector of the Comonwealth of England, Scotland, and Ireland
คือ ผู้ออกกฎหมายยกเลิก
การประหารชีวิตด้วย Halifax Gibbet
แต่ในที่สุด Oliver Cromwell
ก็ถูกนำศพมาแขวนคอแล้วตัดศีรษะด้วยดาบ
3 ปีหลังจากตายและฝังศพไปแล้ว
.
.
ในปี 1974
ตะแลงแกง Gibbet ใน Halifax
มีการจำลองแบบขึ้นมา
ด้วยการวางบนลานหินเดิม
เพราะโครงไม้หลักประหารเดิม
ถูกรื้อถอดออกไปหลังจาก
เลิกใช้งานในปีค.ศ.1650
แต่ใบมีดตัดคอคนยังถูกเก็บรักษาไว้
ในพิพิธภัณฑ์ Bankfield Museum
ใน Boothtown ชานเมือง Halifax
พร้อมกับป้ายจารึกชื่อนักโทษประหารชีวิต
52 รายทั้งชายและหญิง ที่ทราบชื่อว่า
ถูกตัดคอด้วยเครื่องจักรสังหารตัวนี้
คาดว่า Halifax Gibbet
ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 13
ประกอบด้วยเสาไม้ 2 ต้น
สูงราว 15 ฟุต(4.6 เมตร)
มีคานขวางยึดเสา/รับน้ำหนักใบมีด
พร้อมกับติดห่วงเหล็กทำหน้าที่เป็นรอก
เพื่อใช้ชักเชือกขึ้นลงด้วยวัวหรือม้า
ท่อนไม้ขนาด 4 ฟุต 6 นิ้ว(1.37 เมตร)
ด้านปลายท่อนไม้จะติดหัวขวาน
หนักราว 7 ปอนด์ 12 ออนซ์(3.5 กิโลกรัม)
เครื่องจักรสังหารจะวางบน
ลานประหารก้อนหินที่เรียงขึ้นมาเป็นแท่น
บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส 9 ฟุต (2.7 เมตร)
ความสูงจากพื้นดิน 4 ฟุต (1.2 เมตร)
มีบันได้ขึ้นลงไปบนแท่นประหารได้
ในปึ 1789 (ศตวรรษที่ 18)
ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
แต่ต้องรอถึงในปี 1792
จึงเริ่มใช้ Guillotine ตัดหัวนักโทษประหาร
เพราะ Guillotine เป็นเครื่องจักรสังหาร
ที่ตัดคอคนได้เร็ว และมีประสิทธิผลที่สุด
ในช่วง 10 เดือนยุคแห่งความสยดสยอง
กันยายน 1793 ถึงกรกฏาคม 1794
โดย Maximillian Robespierre
แกนนำกลุ่ม Jacobin
มีการตัดคอนักโทษไม่น้อยกว่า 17,000 ราย
(เฉลี่ยเดือนละ 1,700 ราย)
กิโยตินได้ฆ่าคนราว 40,000 คน
จากนักโทษ 300,000 คน (https://bit.ly/2pMcWN8)
แต่นักโทษจำนวนมากตายก่อน
เพราะโรคภัยไข้เจ็บ/ทุกข์ทรมาน
เพชฌฆาต Guillotin จะสวมชุดสีแดง
เพื่อปกปิดคราบเลือดที่กระเด็นใส่
เครื่องจักรสังหารรูปทรง/ประเภทอื่น ๆ
ที่ใช้ตัดคอนักโทษ เดิมมีการใช้กันในยุโรป
มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยุติไปก่อน
เรื่องแบบนี้ทำให้ไม่แน่ใจว่า
Dr.Joseph-Ignace Guillotin
จะคุ้นเคย/เคยเห็น Halifax Gibbet หรือไม่
แต่รูปลักษณ์/การออกแบบคล้ายกับ
ได้แรงบันดาลใจ Copy and Development
จากเครื่องจักรสังหารของ
Scottish Maiden
ในปี 1564
James Douglas 4th Earl of Morton
ผู้ริเริ่มให้สร้างเครื่องจักรสังหารนี้
ซึ่งสร้างเลียนแบบ Halifax Gibbet
ด้วยนิยามว่า งานสะอาดใช้ตัดคอคน
ในปี 1581
ผู้ริเริ่มรายนี้ก็ถูกตัดคอด้วยเครื่องจักรนี้
ทำให้มีการมโน/สร้างตำนานเหมารวมว่า
คนคิดค้นคนสร้าง Guillotine
ถูกตัดคอด้วย Guillotine ในภายหลัง
แต่ผู้สร้าง Guillotine ตายด้วยโรคชรา
ต่อมาภายหลัง ลูกหลานที่ใช้สกุล Guillotin
ต้องเปลี่ยนไปใช้สกุลอื่นไม่ใช้ Guillotin อีก
เพราะเสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูลมาก
เพราะคำว่า Guillotin กลายเป็นคำสามัญ
ที่มีความหมายทางไม่ดี/หฤโหดที่สุด
คือ เครื่องจักรสังหารตัดคอคน
ได้วันเป็นร้อยคนช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส
ทุกวันนี้ Scottish Maiden
จัดแสดงที่ National Museum of Scotland
โดยมีความสูงน้อยกว่า Halifax Gibbet
มีความสูงเพียง 10 ฟุต(3.0 m)
สูงเท่ากับ French Guillotine
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2E669X3
https://bit.ly/2Ek6Tci
https://bit.ly/2Qgv1D1
https://bit.ly/2RN00mV
.
.
2
.
.
ใบมีดจำลองแบบจากของเดิม
Ⓒ August Schwerdfeger/Wikimedia
.
.
3
.
.
.
4
.
.
.
5
.
.
.
6
.
.
.
7
.
.
.
8
.
.
รายชื่อนักโทษประหารที่ใช้ Halifax Gibbet
.
.
9
.
.
Scottish Maiden ปีที่ผลิต 1564
.
.
10
.
.
Guillotine เริ่มใช้งานในปี 1792
.
.
11
.
.
Fallbeil หรือ Drop-Axe ของเยอรมัน
ในอดีต น่าจะมีการใช้งานมาก่อนแล้วยุติไป
จึงต่อยอด/พัฒนาขึ้นมาใหม่หลายรุ่นมาก
หลังปี ค.ศ.1800 สมกับสินค้าเยอรมัน
มีคุณภาพ ทนถึก ใช้ทน ใช้นาน ใช้จนรำคาญ
สมัยนาซีเยอรมันนี ก็ใช้ตัดคอไปหลายราย
.
.
.
Charles-Henri Sanson
ตัดคอนักโทษมากกว่า 3,000 ราย
ตอบคำถามจักรพรรดิ์นโปเลียน ว่า
“ ถ้าจักรพรรดิ์ ราชา ทรราชย์ นอนหลับได้
แล้วทำไมเพชฌฆาตจะนอบหลับไม่ได้ ”
.
.
เรื่องเดิม
.
พิพากษาลงโทษจำเลยอย่างรุนแรงที่สุดอีกหลังมรณกรรม
.
.
การประหารชีวิต Oliver Cromwell,
Henry Ireton และ John Bradshaw
ในปีค.ศ.1661
.
.
Oliver Cromwell กับหัวกระโหลก
ที่ถูกเสียบประจานร่วม 25 ปี
หลังจากนั้นมีการโอนเปลี่ยนมือ
โยกย้ายไปมาร่วม 300 ปี
ก่อนจะมีพิธีแอบฝังไว้
ที่สุสานลับในปี ค.ศ.1960
.
.
ภาพทัณฑ์ทรมานในยุคอดีต
.
.