ก่อนอื่นคือผมเป็นคน Gen Z อาจไม่ทันเซเลอร์มูนแบบคน Gen Y หรือถ้ากลับไปดูย้อนหลังอาจจะไม่อินเท่าไหร่ แต่ผมได้ศึกษาข่อมูลเกี่ยวกับเซเลอร์มูนมาบางส่วนก็พอจะทราบถึงเรื่องราวคร่าว ๆ ต้นกำเนิดของตัวละครต่าง ๆ แล้วได้พบกับจุดที่น่าสนใจ แต่ในความคิดของผมช่างไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่ครับ
ถ้าเทียบกับตัวละครแก๊งนางเอกนะครับ (ขอยกมาแค่ 5 ตัวหลักอย่าง มูน เมอร์คิวรี มาร์ส จูปิเตอร์ และวีนัส) เริ่มจากมวลของดาวแต่ละดวงเนี่ย มันไม่เท่ากันอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะดวงจันทร์เนี่ย เบาที่สุดแน่นอนครับ ขนาดก็เล็กที่สุด บทบาทก็เป็นแค่ดาวบริวารของโลก ถ้าเทียบกับเพื่อน ๆ อีก 4 คนนั้น ในความคิดของผม มูนคือแกะดำชัด ๆ เพื่อน ๆ ของนางเป็นถึงดาวเคราะห์ แน่นอนครับว่าความยิ่งใหญ่มันมีมากกว่าดวงจันทร์อยู่แล้ว
ผมขอเทียบกับสมการตัวนี้นะครับ
ถ้าคิดแรงดึงดูดโดยดาวทุกดวงนั้นเป็นมวลคงที่ ซึ่งค่าตัวแปรพวกนี้ก็ไม่เท่ากันอยู่แล้ว โดยเรียงจากน้อยไปมากนะครับ มูน>เมอร์คิวรี>มาร์ส>วีนัส>จูปิเตอร์ เเละสมมติให้ระยะห่างของดาวทั้ง 5 ดวง มีระยะห่างจากโลกเป็นระยะที่เท่ากันนะครับ (ถ้าจะเทียบเป็นอัตราส่วนก็คือ สามารถตัดค่ามวลโลก ระยะห่าง และค่าคงที่ G ออกจากสมการได้เลยครับ) แล้วจะพบว่าแรงดึงดูดนี้แปรผันตรงกับมวลของดาวแต่ละดวงเลยครับ มวลยิ่งมาก แรงหรือพลังดึงดูดก็มาก และแน่นอนครับ ดวงจันทร์ที่มวลน้อยกว่าโลกหลายเท่าอยู่เเล้วเนี่ย ไม่ติดฝุ่นเลยครับ
แต่ในการ์ตูนกลับให้ความสำคัญกับดวงจันทร์มากเกินไปครับ นางได้เป็นนางเอก แถมยังได้เป็นราชินีอะไรสักอย่างนี่แหละ (ผมจำไม่ได้จริง ๆ ครับ ต้องขออภัย) ทั้ง ๆ ที่ตามหลักการแล้วนางน่าจะกระจอกที่สุดเลย (หรือเพราะว่ามันเป็นการ์ตูนอะไรก็เกิดขึ้นได้) อีกทั้งมังงะเล่มเเรกได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2535 โดยเมื่อ 14 ปีก่อนหน้านั้น (พ.ศ.2521) นาซาประสบความสำเร็จในการไปสำรวจดวงจันทร์มาแล้ว ยิ่งตอกย้ำว่าดวงจันทร์ไม่ได้สวยงามอย่างที่มองจากโลกเลยแม้แต่น้อย ซึ่งตรงจุดนี้ผมมองว่าคนเขียนมังงะอาจไม่ได้ทำการบ้านมา แต่ในทางกลับกัน มังงะได้รับความนิยมสูง และได้ผลิตเป็นแอนิเมชั่น และมีการผลิตซ้ำอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ.2557 - 2558
สุดท้ายนี้ สิ่งที่กระผมกล่าวมาเป็นเพียงความคิดเห็นจากหลักฐาน หรือประสบการณ์จากการเรียนรู้ของผม มิได้มีเจตนากล่าวหาผู้ใด หากมีความเห็นใดเพิ่มเติม ตอบกระทู้นี้ได้เลยครับ ผมจะอ่านทุก comment แน่นอน ขอบคุณครับ
มองระบบสุริยะผ่านเซเลอร์มูน
ถ้าเทียบกับตัวละครแก๊งนางเอกนะครับ (ขอยกมาแค่ 5 ตัวหลักอย่าง มูน เมอร์คิวรี มาร์ส จูปิเตอร์ และวีนัส) เริ่มจากมวลของดาวแต่ละดวงเนี่ย มันไม่เท่ากันอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะดวงจันทร์เนี่ย เบาที่สุดแน่นอนครับ ขนาดก็เล็กที่สุด บทบาทก็เป็นแค่ดาวบริวารของโลก ถ้าเทียบกับเพื่อน ๆ อีก 4 คนนั้น ในความคิดของผม มูนคือแกะดำชัด ๆ เพื่อน ๆ ของนางเป็นถึงดาวเคราะห์ แน่นอนครับว่าความยิ่งใหญ่มันมีมากกว่าดวงจันทร์อยู่แล้ว
ผมขอเทียบกับสมการตัวนี้นะครับ
ถ้าคิดแรงดึงดูดโดยดาวทุกดวงนั้นเป็นมวลคงที่ ซึ่งค่าตัวแปรพวกนี้ก็ไม่เท่ากันอยู่แล้ว โดยเรียงจากน้อยไปมากนะครับ มูน>เมอร์คิวรี>มาร์ส>วีนัส>จูปิเตอร์ เเละสมมติให้ระยะห่างของดาวทั้ง 5 ดวง มีระยะห่างจากโลกเป็นระยะที่เท่ากันนะครับ (ถ้าจะเทียบเป็นอัตราส่วนก็คือ สามารถตัดค่ามวลโลก ระยะห่าง และค่าคงที่ G ออกจากสมการได้เลยครับ) แล้วจะพบว่าแรงดึงดูดนี้แปรผันตรงกับมวลของดาวแต่ละดวงเลยครับ มวลยิ่งมาก แรงหรือพลังดึงดูดก็มาก และแน่นอนครับ ดวงจันทร์ที่มวลน้อยกว่าโลกหลายเท่าอยู่เเล้วเนี่ย ไม่ติดฝุ่นเลยครับ
แต่ในการ์ตูนกลับให้ความสำคัญกับดวงจันทร์มากเกินไปครับ นางได้เป็นนางเอก แถมยังได้เป็นราชินีอะไรสักอย่างนี่แหละ (ผมจำไม่ได้จริง ๆ ครับ ต้องขออภัย) ทั้ง ๆ ที่ตามหลักการแล้วนางน่าจะกระจอกที่สุดเลย (หรือเพราะว่ามันเป็นการ์ตูนอะไรก็เกิดขึ้นได้) อีกทั้งมังงะเล่มเเรกได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2535 โดยเมื่อ 14 ปีก่อนหน้านั้น (พ.ศ.2521) นาซาประสบความสำเร็จในการไปสำรวจดวงจันทร์มาแล้ว ยิ่งตอกย้ำว่าดวงจันทร์ไม่ได้สวยงามอย่างที่มองจากโลกเลยแม้แต่น้อย ซึ่งตรงจุดนี้ผมมองว่าคนเขียนมังงะอาจไม่ได้ทำการบ้านมา แต่ในทางกลับกัน มังงะได้รับความนิยมสูง และได้ผลิตเป็นแอนิเมชั่น และมีการผลิตซ้ำอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ.2557 - 2558
สุดท้ายนี้ สิ่งที่กระผมกล่าวมาเป็นเพียงความคิดเห็นจากหลักฐาน หรือประสบการณ์จากการเรียนรู้ของผม มิได้มีเจตนากล่าวหาผู้ใด หากมีความเห็นใดเพิ่มเติม ตอบกระทู้นี้ได้เลยครับ ผมจะอ่านทุก comment แน่นอน ขอบคุณครับ