ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=4096
ตลอดเดือนพ.ย.2561 ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จนลดลงหลุด 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากนักลงทุนเกิดความกังวลซัพพลายจะล้นตลาด ขณะที่ประเด็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ยังมีให้เห็นต่อเนื่อง ดังนั้น ทำให้แนวโน้มของราคาน้ำมัน ยังเป็นขาลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นต่อไป
ทั้งนี้ แรงกดดันส่วนใหญ่ จะให้น้ำหนักไปอยู่ที่หุ้นกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี เมื่อราคาน้ำมันลดลง ก็จะมีทำให้ผลประกอบการ โดยเฉพาะโค้งสุดท้ายปีนี้แผ่วลงอย่างแน่นอน และจะเชื่อมโยงไปถึงภาพรวมของบริษัจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยด้วย ซึ่งตอนนี้ จะเริ่มเห็นนักวิเคราะห์ออกมาปรับลดประมาณกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยลง และหากสถานการณ์ราคาน้ำมัน ยังไม่มีดีขึ้น เชื่อว่าอาจจะกระทบการประเมินความสามารถในการทำกำไรในปีหน้าอีกด้วย
ล่าสุด บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า การที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรง คาดว่าจะทำให้กำไรกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะอ่อนแอลง ซึ่งกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี เป็นหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป) รวมกันมีสัดส่วนสูงถึง 28-30%ของตลาดหุ้นไทย ดังนั้นน่าจะมีผลกระทบไปถึงบรรยากาศการลงหุ้นกลุ่มดังกล่าวในระยะนี้
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยได้ปรับลดอัตราเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS growth)ของตลาดหุ้นไทยปี 2561 ลดลงเหลือ 8%จากเดิม 10% ส่วนปี 2562 อยู่ที่ 6% จากเดิม 8% ดังนั้น เมื่อให้พีอีเรโชเป้าหมายของตลาดหุ้นไทยปี 2562 จะอยู่ที่ระดับ 15.5-16เท่า และจะได้เป้าหมายดัชนีปีหน้าที่ 1,760-1,820 จุด
ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) ได้คาดการณ์ว่า การที่ราคาน้ำมันดิบร่วงกว่า 30%ในรอบไตรมาสนี้ สิ่งที่ควรจับตา คือ การปรับประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยปีหน้า โดยจากสมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบ ในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยได้แนะให้นักลงทุนระมัดระวังแรงขายทำกำไรกลุ่มโภคภัณฑ์ และ Global play เนื่องจากประเมินว่า เศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะการชะลอตัวที่เร็วกว่าคาดจากสงครามการค้า โดย IMF และ World bank ต่างประมาณการเศรษฐกิจโลกในปีหน้าลงเหลือ 3.7% ขณะที่ตัวเลขดัชนีภาคการผลิต(PMI)ในหลายประเทศทั้งสหรัฐ,จีน, ยุโรป เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวทั้งสิ้น
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดมากกว่า 30% ที่ 59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน โดยแนะนักลงทุนจับตาการปรับประมาณการสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปีหน้าลง จากปัจจุบันที่นักวิคราะห์ส่วนมาก คาดไว้ที่ระดับ 70ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อกำไรตลาดกำไรสุทธิต่อหุ้น( EPS) ปีนี้ จากปัจจุบันที่ประมาณ 117.8บาท
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส ระบุว่า เดือนพ.ย.นี้ ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมาแล้วกว่า 22.8%และเป็นเดือนที่ราคาน้ำมันตกแรงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ตราบใดที่ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงต่อเนื่อง น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย เพราะดัชนีหุ้นไทย มีสัดส่วนมาร์เก็ตแคปในหุ้นกลุ่มพลังงานสูงสุดถึง 22.2% ของหุ้นทั้งหมด ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีสัดส่วน 4.5%
หากพิจารณาเป็นรายหุ้น เช่น หุ้น PTT มีสัดส่วน 8.4% ของตลาด หุ้น PTTEP มีสัดส่วน 3.1% และ หุ้น PTTGC มีสัดส่วน 2.1% เป็นต้น และหากหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีปรับตัวลดลงทุกๆ 1% จะกดดันให้ดัชนีปรับตัวลดลงถึง 4.3 จุด
"การที่ราคาน้ำมันดูไบหลุด 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นการยืนยันว่า เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว คล้ายกับเหตุการณ์ในอดีต แต่รอบนี้น่าจะเป็นผลกระทบจากสงครามทางการค้าโลก ซึ่งผลสรุปของสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าจีนเป็นรอบ 4 อีก 2.67 แสนดอลลาร์ จะสรุปผลในในต้น ธ.ค.นี้ ถือว่ามีน้ำกดดันเพิ่มขึ้นอีกครั้ง"
จากข้อมูลดังกล่าว ความคาดหวังว่าหุ้นกลุ่มพลังงานจะเป็นกลุ่มชูธง ช่วยผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยกลับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างคึกคักในปีช่วงสิ้นปีนี้ คงเป็นไปไม่ได้แล้วจริงๆ
ฤาจะหมดหวังกับหุ้นพลังงาน
ตลอดเดือนพ.ย.2561 ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จนลดลงหลุด 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากนักลงทุนเกิดความกังวลซัพพลายจะล้นตลาด ขณะที่ประเด็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ยังมีให้เห็นต่อเนื่อง ดังนั้น ทำให้แนวโน้มของราคาน้ำมัน ยังเป็นขาลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นต่อไป
ทั้งนี้ แรงกดดันส่วนใหญ่ จะให้น้ำหนักไปอยู่ที่หุ้นกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี เมื่อราคาน้ำมันลดลง ก็จะมีทำให้ผลประกอบการ โดยเฉพาะโค้งสุดท้ายปีนี้แผ่วลงอย่างแน่นอน และจะเชื่อมโยงไปถึงภาพรวมของบริษัจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยด้วย ซึ่งตอนนี้ จะเริ่มเห็นนักวิเคราะห์ออกมาปรับลดประมาณกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยลง และหากสถานการณ์ราคาน้ำมัน ยังไม่มีดีขึ้น เชื่อว่าอาจจะกระทบการประเมินความสามารถในการทำกำไรในปีหน้าอีกด้วย
ล่าสุด บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า การที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรง คาดว่าจะทำให้กำไรกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะอ่อนแอลง ซึ่งกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี เป็นหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป) รวมกันมีสัดส่วนสูงถึง 28-30%ของตลาดหุ้นไทย ดังนั้นน่าจะมีผลกระทบไปถึงบรรยากาศการลงหุ้นกลุ่มดังกล่าวในระยะนี้
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยได้ปรับลดอัตราเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS growth)ของตลาดหุ้นไทยปี 2561 ลดลงเหลือ 8%จากเดิม 10% ส่วนปี 2562 อยู่ที่ 6% จากเดิม 8% ดังนั้น เมื่อให้พีอีเรโชเป้าหมายของตลาดหุ้นไทยปี 2562 จะอยู่ที่ระดับ 15.5-16เท่า และจะได้เป้าหมายดัชนีปีหน้าที่ 1,760-1,820 จุด
ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) ได้คาดการณ์ว่า การที่ราคาน้ำมันดิบร่วงกว่า 30%ในรอบไตรมาสนี้ สิ่งที่ควรจับตา คือ การปรับประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยปีหน้า โดยจากสมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบ ในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยได้แนะให้นักลงทุนระมัดระวังแรงขายทำกำไรกลุ่มโภคภัณฑ์ และ Global play เนื่องจากประเมินว่า เศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะการชะลอตัวที่เร็วกว่าคาดจากสงครามการค้า โดย IMF และ World bank ต่างประมาณการเศรษฐกิจโลกในปีหน้าลงเหลือ 3.7% ขณะที่ตัวเลขดัชนีภาคการผลิต(PMI)ในหลายประเทศทั้งสหรัฐ,จีน, ยุโรป เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวทั้งสิ้น
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดมากกว่า 30% ที่ 59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน โดยแนะนักลงทุนจับตาการปรับประมาณการสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปีหน้าลง จากปัจจุบันที่นักวิคราะห์ส่วนมาก คาดไว้ที่ระดับ 70ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อกำไรตลาดกำไรสุทธิต่อหุ้น( EPS) ปีนี้ จากปัจจุบันที่ประมาณ 117.8บาท
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส ระบุว่า เดือนพ.ย.นี้ ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมาแล้วกว่า 22.8%และเป็นเดือนที่ราคาน้ำมันตกแรงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ตราบใดที่ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงต่อเนื่อง น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย เพราะดัชนีหุ้นไทย มีสัดส่วนมาร์เก็ตแคปในหุ้นกลุ่มพลังงานสูงสุดถึง 22.2% ของหุ้นทั้งหมด ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีสัดส่วน 4.5%
หากพิจารณาเป็นรายหุ้น เช่น หุ้น PTT มีสัดส่วน 8.4% ของตลาด หุ้น PTTEP มีสัดส่วน 3.1% และ หุ้น PTTGC มีสัดส่วน 2.1% เป็นต้น และหากหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีปรับตัวลดลงทุกๆ 1% จะกดดันให้ดัชนีปรับตัวลดลงถึง 4.3 จุด
"การที่ราคาน้ำมันดูไบหลุด 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นการยืนยันว่า เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว คล้ายกับเหตุการณ์ในอดีต แต่รอบนี้น่าจะเป็นผลกระทบจากสงครามทางการค้าโลก ซึ่งผลสรุปของสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าจีนเป็นรอบ 4 อีก 2.67 แสนดอลลาร์ จะสรุปผลในในต้น ธ.ค.นี้ ถือว่ามีน้ำกดดันเพิ่มขึ้นอีกครั้ง"
จากข้อมูลดังกล่าว ความคาดหวังว่าหุ้นกลุ่มพลังงานจะเป็นกลุ่มชูธง ช่วยผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยกลับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างคึกคักในปีช่วงสิ้นปีนี้ คงเป็นไปไม่ได้แล้วจริงๆ