พอดีอ่านเจอบทความของ จำกัด พลางกูร เขียนไว้เมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ แต่ทำให้สงสัยว่า มันจะเป็นไปได้จริง หรือมันเป็นแค่อุดมคติ มีประเทศไหน ทำได้ไหมครับ
บทความว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง
หน้าที่ของรัฐ
คือ ทำให้คนเป็นคนดี หรือเป็นอิสระกันแน่
การบอกว่าหน้าที่ของรัฐคือทำให้คนเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เท่ากับบอกเป็นนัยว่าคนที่ถูกปกครองโดยรัฐไม่มีสิทธิเลือกในเรื่องดังกล่าว หรือกล่าวได้ว่าพวกไม่สามารถตัดสินใจว่ารัฐควรทำให้พวกเขาเป็นคนดี หรือเป็นอิสระ ทว่าได้แต่ก้มหน้ายอมรับการตัดสิยใจตามที่รัฐบรรลุเกี่ยวกับหน้าที่ของตน ปัญหาข้อนี้จะนำเราไปสู่การอภิปรายเรื่องธรรมขาติของรัฐ
หากเราถือว่ารัฐ มีคนกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่แทน ซึ่ง ไปๆ มาๆ คนเหล่านี้ก็กลายเป็นคณะผู้ปกครอง เช่นนั้นเราก็สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ว่าคนกลุ่มนี้ควรปกครองประชาชนส่วนใหญ่ผู้เป็นสมาชิกของรัฐอย่างไร แต่หากเราคิดว่ารัฐคือสิ่งที่ประชาชนสร้างขึ้นในฐานะเครื่องแสดง “เจตจำนงร่วม” (General Will) หรือเครื่องมือสำหรับรักษาผลประโยชน์ของพวกตน เราก็ไม่อาจกล่าวแม้กระทั่งในทางทฤษฏีได้ว่าหน้าที่ของรัฐคืออะไร เพราะรัฐ หรือกล่าวให้ถูกคือรัฐบาล ซึ่งพยายามกำหนดหน้าที่ของตนเองโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชนนั้น จักถึงแก่กาลสิ้นสุดในไม่ช้า แล้วเราก็จะได้รัฐบาลชุดใหม่ซึ่งยอมทำตามความต้องการของประชาชน
ดูเหมือนมุมมองที่ว่าหน้าที่ของรัฐคือการทำให้คนเป็นอิสระจะมีความย้อนแย้งในตัวเอง เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว คนที่อยู่ใต้การปกครองโดยรัฐก็จะไม่มีอิสระในการกำหนดหน้าที่ของรัฐด้วยตัวเอง และอิสรภาพที่จะกำหนดหน้าที่ของรัฐนี้ก็จัดว่าเป็นอิสรภาพทางการเมืองประเภทที่สำคัญที่สุด อิสรภาพประเภทนี้เองที่เป็นฐานรองรับรัฐบาลอันเป็นประชาธิปไตย แก่นแท้ของประชาธิปไตยมีอยู่ว่าอาจมีการเปลี่ยนรัฐบาลได้เมื่อรัฐบาลชุดนั้นมิได้เป็นตัวแทนของผลประโยชน์ของประชาชนอีกต่อไป หรือกล่าวให้ฟังดูไพเราะกว่านั้น คือเมื่อรัฐบาลมิได้เป็นเครื่องแสดงเจตจำนงร่วมอีกต่อไป ในปัจจุบัน เมื่อเหล่าเผด็จการอ้างว่าได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเกือบร้อยละร้อย จึงเป็นการเหมาะที่จะกำหนดคุณสมบัติบางประการขึ้นมา นั่นคือในประเทศประชาธิปไตย จะต้องไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางการเปลี่ยนคณะรัฐบาล หากว่ารัฐบาลสมัยนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม เราพึงหยุดพักกันสักนิดเพื่อพิจารณาความหมายของตำว่า “อิสรภาพ” สมควรแก่เหตุอยู่ที่อิสรภาพไม่ได้หมายความถึงการไร้ซึ่งข้อจำกัดภายนอกใดๆ เพราะหากเป็นเช่นนั้นรัฐก็คงไม่อาจมีอยู่ได้ การดำรงอยู่ของรัฐย่อมบ่งบอกเป็นนัยว่ามีข้อจำกัดบางประการคอยควบคุมการกระทำของสมาชิกของรัฐเอาไว้ อิสระภาพภายในรัฐจึงหมายถึงอิสระภาพที่จะ คิด พูด หรือกระทำการใด ๆ ภายในกรอบข้อจำกัด ซึ่งในที่นี้ก็คือภายในกรอบของกฎหมายและกฎระเบียบบางอย่างซึ่งรัฐบัญญัติไว้ ดังนั้นยิ่งมีข้อจำกัดน้อยเท่าไร ประชาชนก็ยิ่งมีอิสระมากขึ้นเท่านั้น แต่ตอนนี้เราจำเป็นต้องตั้งคำถามว่าสิ่งใดควรเป็นเป้าประสงค์ของรัฐในการกำหนดข้อจำกัดหนึ่งๆ แก่ประชาชน อย่างไรก็ดี ก่อนจะมุ่งสู่ประเด็นต่อไป เราต้องสังเกตว่ารัฐค่อนช้างไร้อำนาจในการทำให้ประชาชนเป็นอิสระทางศีลธรรมตามถ้อยคำของคันท์ (Kant) กล่าวคือ เป็นอิสระจากการครอบงำของความเอนเอียง รัฐมิได้ห่วงว่าสมาชิกทุกคนของรัฐจะเป็นอิสระทางศีลธรรมกันหมดหรือไม่ ตราบใดที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้กระทำสิ่งใดที่ฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐ
เรากล่าวไปแล้วว่ารัฐทุกรัฐต้องมีกฏหมายในฐานะวิธีการอันจะช่วยให้รัฐบรรลุเป้าประสงค์ได้จริง เนื่องจากกฎหมายก็คือข้อจำกัด และหากเราถือว่ามีความแตกต่างระหว่างวิธีกับผลลัพธ์ กฎหมายซึ่งเป็นวิธีการก็จะไม่อาจพุ่งเป้าไปยังสิ่งอื่นแทน กฎหมายต่างๆ ควรมีไว้เพื่ออิสรภาพ หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน หากเป้าหมายคือ อิสรภาพ ดังนี้ก็จะบ่งบอกเป็นนัยว่าต้องมีข้อจำกัดในระดับน้อยที่สุด จากนั้นอิสรภาพเต็มขั้นจะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ รัฐ “ร่วงโรย” ไปแล้ว ในทางกลับกัน หากเป้าหมายคือผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เราอาจจะต้องบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติม แต่แล้วก็จะมีคำถามตามมาว่าคุณงามความดีซึ่งรัฐต้องการพร่ำสอนประชาชนนั้นเป็นเชิงนิมาน หรือ นิเสธ กฎหมายไม่สามารถทำให้ผู้คนเป็นคนดีโดยสิ้นเชิง ทว่าทำได้เพียงชักนำให้พวกเขาละเว้นจากการกระทำไม่ดีไม่งามเพราะกลัวผลที่จะตามมา กฎหมายสามารถป้องกันไม่ให้ผู้คนลักขโมย แต่ไม่อาจทำให้พวกเขาเป็นคนใจบุญสุนทานโดยสันดาน คุณงามความดีเชิงนิมาน (Positive Goodness) เป็นเรื่องทางจิตวิญญาณซึ่งต้องผุดขึ้นมาจากใจคนเอง อย่างไรก็ตาม รัฐอาจสอนพลเมืองผู้เยาว์ให้เป็นคนดีโดยตั้งความหวังว่าเมื่อโตขึ้นแล้วพวกเขาจะเป็นคนดีโดยสิ้นเชิง เรื่องนอกเหนือจากนั้นรัฐก็ไม่อาจทำอะไรได้เลย แต่ถึงกระนั้นเราต้องระลึกเอาไว้ว่าความดีเป็นเรื่องของความคิดเห็นมาตรฐานของมันหาได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวใดไม่ สิ่งที่ฮิตเลอร์คิดว่าดีอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิดว่าดี ทั้งนี้เป็นเรื่องอันตรายหากจะมอบหมายให้รัฐเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจเพื่อทำให้คนเป็นคนดี โดยเฉพาะเมื่อต้องแลกกับอิสรภาพของคนเหล่านั้น ขณะนี้ฮิตเลอร์กำลังทำให้ชาวเยอรมันทุกคนในเยอรมนี “เป็นคนดีอย่างชาวอารยัน” (Aryanly good) ผู้ใดมีแนวความคิดเกี่ยวกับความดีต่างออกไป ถ้าไม่หนีออกนอกประเทศก็ต้องยอมคล้อยตามความดีอันสูงสุดของฮิตเลอร์
ท้ายที่สุด เราก็โดนบังคับให้ถามว่าตัวอิสรภาพเองนั้นดีหรือไม่ และถ้าดีจริง การทำให้คนเป็นอิสระคือการทำให้เขาเป็นคนดีด้วยหรือไม่ ทั้งนี้เราจะเป็นคนดีได้ก็ต่อเมื่อเราเป็นอิสระเท่านั้น เราจะไม่เป็นดีในทางศีลธรรมหากว่าโดนบังคับให้กระทำการบางอย่าง หรือละเว้นจากการกระทำอีกอย่าง หน้าที่ของรัฐ คือ ทำให้คนเป็นอิสระที่จะกำหนดหน้าที่ของรัฐด้วยตัวเอง
จำกัด พลางกูร
เราควรมีอิสรภาพแค่ไหนกันครับ
หน้าที่ของรัฐ
คือ ทำให้คนเป็นคนดี หรือเป็นอิสระกันแน่
การบอกว่าหน้าที่ของรัฐคือทำให้คนเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เท่ากับบอกเป็นนัยว่าคนที่ถูกปกครองโดยรัฐไม่มีสิทธิเลือกในเรื่องดังกล่าว หรือกล่าวได้ว่าพวกไม่สามารถตัดสินใจว่ารัฐควรทำให้พวกเขาเป็นคนดี หรือเป็นอิสระ ทว่าได้แต่ก้มหน้ายอมรับการตัดสิยใจตามที่รัฐบรรลุเกี่ยวกับหน้าที่ของตน ปัญหาข้อนี้จะนำเราไปสู่การอภิปรายเรื่องธรรมขาติของรัฐ
หากเราถือว่ารัฐ มีคนกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่แทน ซึ่ง ไปๆ มาๆ คนเหล่านี้ก็กลายเป็นคณะผู้ปกครอง เช่นนั้นเราก็สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ว่าคนกลุ่มนี้ควรปกครองประชาชนส่วนใหญ่ผู้เป็นสมาชิกของรัฐอย่างไร แต่หากเราคิดว่ารัฐคือสิ่งที่ประชาชนสร้างขึ้นในฐานะเครื่องแสดง “เจตจำนงร่วม” (General Will) หรือเครื่องมือสำหรับรักษาผลประโยชน์ของพวกตน เราก็ไม่อาจกล่าวแม้กระทั่งในทางทฤษฏีได้ว่าหน้าที่ของรัฐคืออะไร เพราะรัฐ หรือกล่าวให้ถูกคือรัฐบาล ซึ่งพยายามกำหนดหน้าที่ของตนเองโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชนนั้น จักถึงแก่กาลสิ้นสุดในไม่ช้า แล้วเราก็จะได้รัฐบาลชุดใหม่ซึ่งยอมทำตามความต้องการของประชาชน
ดูเหมือนมุมมองที่ว่าหน้าที่ของรัฐคือการทำให้คนเป็นอิสระจะมีความย้อนแย้งในตัวเอง เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว คนที่อยู่ใต้การปกครองโดยรัฐก็จะไม่มีอิสระในการกำหนดหน้าที่ของรัฐด้วยตัวเอง และอิสรภาพที่จะกำหนดหน้าที่ของรัฐนี้ก็จัดว่าเป็นอิสรภาพทางการเมืองประเภทที่สำคัญที่สุด อิสรภาพประเภทนี้เองที่เป็นฐานรองรับรัฐบาลอันเป็นประชาธิปไตย แก่นแท้ของประชาธิปไตยมีอยู่ว่าอาจมีการเปลี่ยนรัฐบาลได้เมื่อรัฐบาลชุดนั้นมิได้เป็นตัวแทนของผลประโยชน์ของประชาชนอีกต่อไป หรือกล่าวให้ฟังดูไพเราะกว่านั้น คือเมื่อรัฐบาลมิได้เป็นเครื่องแสดงเจตจำนงร่วมอีกต่อไป ในปัจจุบัน เมื่อเหล่าเผด็จการอ้างว่าได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเกือบร้อยละร้อย จึงเป็นการเหมาะที่จะกำหนดคุณสมบัติบางประการขึ้นมา นั่นคือในประเทศประชาธิปไตย จะต้องไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางการเปลี่ยนคณะรัฐบาล หากว่ารัฐบาลสมัยนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม เราพึงหยุดพักกันสักนิดเพื่อพิจารณาความหมายของตำว่า “อิสรภาพ” สมควรแก่เหตุอยู่ที่อิสรภาพไม่ได้หมายความถึงการไร้ซึ่งข้อจำกัดภายนอกใดๆ เพราะหากเป็นเช่นนั้นรัฐก็คงไม่อาจมีอยู่ได้ การดำรงอยู่ของรัฐย่อมบ่งบอกเป็นนัยว่ามีข้อจำกัดบางประการคอยควบคุมการกระทำของสมาชิกของรัฐเอาไว้ อิสระภาพภายในรัฐจึงหมายถึงอิสระภาพที่จะ คิด พูด หรือกระทำการใด ๆ ภายในกรอบข้อจำกัด ซึ่งในที่นี้ก็คือภายในกรอบของกฎหมายและกฎระเบียบบางอย่างซึ่งรัฐบัญญัติไว้ ดังนั้นยิ่งมีข้อจำกัดน้อยเท่าไร ประชาชนก็ยิ่งมีอิสระมากขึ้นเท่านั้น แต่ตอนนี้เราจำเป็นต้องตั้งคำถามว่าสิ่งใดควรเป็นเป้าประสงค์ของรัฐในการกำหนดข้อจำกัดหนึ่งๆ แก่ประชาชน อย่างไรก็ดี ก่อนจะมุ่งสู่ประเด็นต่อไป เราต้องสังเกตว่ารัฐค่อนช้างไร้อำนาจในการทำให้ประชาชนเป็นอิสระทางศีลธรรมตามถ้อยคำของคันท์ (Kant) กล่าวคือ เป็นอิสระจากการครอบงำของความเอนเอียง รัฐมิได้ห่วงว่าสมาชิกทุกคนของรัฐจะเป็นอิสระทางศีลธรรมกันหมดหรือไม่ ตราบใดที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้กระทำสิ่งใดที่ฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐ
เรากล่าวไปแล้วว่ารัฐทุกรัฐต้องมีกฏหมายในฐานะวิธีการอันจะช่วยให้รัฐบรรลุเป้าประสงค์ได้จริง เนื่องจากกฎหมายก็คือข้อจำกัด และหากเราถือว่ามีความแตกต่างระหว่างวิธีกับผลลัพธ์ กฎหมายซึ่งเป็นวิธีการก็จะไม่อาจพุ่งเป้าไปยังสิ่งอื่นแทน กฎหมายต่างๆ ควรมีไว้เพื่ออิสรภาพ หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน หากเป้าหมายคือ อิสรภาพ ดังนี้ก็จะบ่งบอกเป็นนัยว่าต้องมีข้อจำกัดในระดับน้อยที่สุด จากนั้นอิสรภาพเต็มขั้นจะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ รัฐ “ร่วงโรย” ไปแล้ว ในทางกลับกัน หากเป้าหมายคือผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เราอาจจะต้องบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติม แต่แล้วก็จะมีคำถามตามมาว่าคุณงามความดีซึ่งรัฐต้องการพร่ำสอนประชาชนนั้นเป็นเชิงนิมาน หรือ นิเสธ กฎหมายไม่สามารถทำให้ผู้คนเป็นคนดีโดยสิ้นเชิง ทว่าทำได้เพียงชักนำให้พวกเขาละเว้นจากการกระทำไม่ดีไม่งามเพราะกลัวผลที่จะตามมา กฎหมายสามารถป้องกันไม่ให้ผู้คนลักขโมย แต่ไม่อาจทำให้พวกเขาเป็นคนใจบุญสุนทานโดยสันดาน คุณงามความดีเชิงนิมาน (Positive Goodness) เป็นเรื่องทางจิตวิญญาณซึ่งต้องผุดขึ้นมาจากใจคนเอง อย่างไรก็ตาม รัฐอาจสอนพลเมืองผู้เยาว์ให้เป็นคนดีโดยตั้งความหวังว่าเมื่อโตขึ้นแล้วพวกเขาจะเป็นคนดีโดยสิ้นเชิง เรื่องนอกเหนือจากนั้นรัฐก็ไม่อาจทำอะไรได้เลย แต่ถึงกระนั้นเราต้องระลึกเอาไว้ว่าความดีเป็นเรื่องของความคิดเห็นมาตรฐานของมันหาได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวใดไม่ สิ่งที่ฮิตเลอร์คิดว่าดีอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิดว่าดี ทั้งนี้เป็นเรื่องอันตรายหากจะมอบหมายให้รัฐเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจเพื่อทำให้คนเป็นคนดี โดยเฉพาะเมื่อต้องแลกกับอิสรภาพของคนเหล่านั้น ขณะนี้ฮิตเลอร์กำลังทำให้ชาวเยอรมันทุกคนในเยอรมนี “เป็นคนดีอย่างชาวอารยัน” (Aryanly good) ผู้ใดมีแนวความคิดเกี่ยวกับความดีต่างออกไป ถ้าไม่หนีออกนอกประเทศก็ต้องยอมคล้อยตามความดีอันสูงสุดของฮิตเลอร์
ท้ายที่สุด เราก็โดนบังคับให้ถามว่าตัวอิสรภาพเองนั้นดีหรือไม่ และถ้าดีจริง การทำให้คนเป็นอิสระคือการทำให้เขาเป็นคนดีด้วยหรือไม่ ทั้งนี้เราจะเป็นคนดีได้ก็ต่อเมื่อเราเป็นอิสระเท่านั้น เราจะไม่เป็นดีในทางศีลธรรมหากว่าโดนบังคับให้กระทำการบางอย่าง หรือละเว้นจากการกระทำอีกอย่าง หน้าที่ของรัฐ คือ ทำให้คนเป็นอิสระที่จะกำหนดหน้าที่ของรัฐด้วยตัวเอง
จำกัด พลางกูร