แพทยสภา วอนเลิกใช้ภาษาผิด "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว"
ขอช่วยตั้งหลักใหม่ ไม่ถึงขั้นภาษาวิบัติ แต่ทางการแพทย์ไม่มีอาการนี้ ...
กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ ที่วงการแพทย์ต้องออกมาชี้แจง หลังมีการตั้งกระทู้ถามถึงการใช้คำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" จากการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมหลายๆ ครั้ง รวมถึงล่าสุด กับกรณีการลอบยิง เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม อดีตนักยิงปืนทีมชาติไทย ว่าแท้จริงแล้วถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากบางคนตั้งข้อสังเกตว่า บาดแผลมีพิษด้วยหรือ ? หรือการทนพิษบาดแผลไม่ไหวเกี่ยวกับอาการเสียเลือดมากเกินไปหรือไม่ ? หรือเป็นเพราะเจ็บปวดมากจนช็อก และเสียชีวิต ?
ในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นตอบคำถามกระทู้นี้อย่างหลากหลาย แต่ยังไม่มีการฟันธงจากกูรูว่าตกลงใช้คำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" ได้หรือไม่ หากใช้ไม่ได้ ควรใช้คำว่าอะไร
ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ สอบถาม ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภาอาวุโส ได้ความว่า ในทางการแพทย์ไม่เคยใช้คำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" เนื่องจากคำนี้มีความหมายไม่ชัดเจน และไม่ถูกต้องตามสาเหตุการเสียชีวิต พร้อมอธิบายว่า โดยทั่วไปการเสียชีวิตมาจากหลายสาเหตุ เช่น ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนร่างกายทนรับอาการเจ็บปวดไม่ไหวและเสียชีวิต (Pain Shock) อาทิ กระดูกหักหลายส่วนจนกดเส้นประสาท หรืออวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือเสียชีวิตจากการได้รับพิษเข้าสู่ร่างกาย “การใช้คำว่า ทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงไม่ถูกต้องและไม่ควรใช้” นายกแพทยสภาอาวุโสย้ำ
ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวต่อว่า สำหรับการเผยแพร่ของคำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" ส่วนตัวได้ยินคำนี้มานานกว่า 30-40 ปีแล้ว คาดว่าน่าจะมาจากสื่อมวลชนที่รายงานข่าวให้สาธารณชนรับทราบ โดยยังไม่ทราบถึงสาเหตุการเสียชีวิตแท้จริง จึงเลือกใช้คำที่มีความหมายแบบกลางๆ ไม่ฟันธง แต่จริงๆ แล้ว ไม่ควรใช้เพราะผิดความหมาย อยากให้รอรายงานผลการชันสูตรที่แน่ชัดก่อนนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวออกไป ซึ่งโดยทั่วไประยะเวลาการตรวจพิสูจน์ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการชันสูตร
"ในกรณีที่สาเหตุการเสียชีวิตไม่ซับซ้อน อาจใช้เวลาชันสูตรเพียง 1 วัน ก็ทราบผล เช่น ผ่าศพแล้วพบว่าหัวใจฉีกขาด เลือดออกเต็มช่องอก ก็สามารถสรุปสาเหตุการเสียชีวิตได้ทันที แต่หากเป็นกรณีที่สลับซับซ้อน อาจต้องใช้เวลานานประมาณ 1 สัปดาห์ - 1 เดือน เพราะต้องตรวจเลือด และนำชิ้นเนื้อไปตรวจ เป็นต้น" ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าว
นายกแพทยสภาอาวุโส ยังขอให้สื่อมวลชนใช้คำที่ถูกต้องในการรายงานข่าวเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสังคม หากยังไม่ทราบผลการชันสูตรศพ ให้ใช้ข้อความเพื่อรายงานข้อมูล ตามสาเหตุของอาการนั้นและระบุว่าเสียชีวิตที่ใด เช่น พลัดตกจากอาคารสูง 10 ชั้น เป็นเหตุให้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ, ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงและเสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาล, ถูกทำร้ายร่างกายและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ผลการชันสูตรจะทำให้ทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตเพราะเหตุใด สื่อมวลชนอาจจะรายงานข่าวตามสาเหตุของการเสียชีวิตตามผลการชันสูตรศพนั้นก็ได้
"ที่ผ่านมาทางแพทยสภาไม่ได้ทำหนังสือชี้แจง หรือส่งเรื่องไปตามหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการใช้คำว่า ทนพิษบาดแผลไม่ไหว รวมทั้งขณะนี้ยังไม่ได้วางแผนว่าจะต้องชี้แจงอย่างเร่งด่วน เพราะไม่ได้เป็นเรื่องที่สร้างความเสียหายต่อวงการแพทย์ หรือกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เพียงแต่ต้องการอธิบายและสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน เพราะสุดท้ายสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง ญาติของผู้ตายจะทราบในวันมารับศพอยู่แล้ว" นายกแพทยสภาอาวุโส กล่าวทิ้งท้าย
ส่วน รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในเนื้อข่าวผ่านโซเชียลมีเดียว่า "มีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ทั้งเขียนผิด ใช้คำไม่ถูกกับความหมายที่จะสื่อสาร และเรียงลำดับความสำคัญไม่ถูกต้อง แต่ด้วยความเป็นธรรมชาติของโลกออนไลน์ เน้นความเร็วในการสื่อสาร และประหยัดพื้นที่หน้าเว็บไซต์ จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ไม่เป็นปัญหาจะทำให้ภาษาไทยวิบัติในความคิดของผม"
รศ.ดร.สุธาชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาษาก็คือเครื่องสื่อสารของมนุษยชาติ ภาษาสามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับการสื่อสารของคนได้ เน้นความสะดวกของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แท้จริงแล้วไม่มีใครสามารถตั้งตัวเป็นคนกำหนดว่าคำนั้นผิดหรือถูก เพียงแต่การใช้ภาษาต้องสื่อสารออกมาถูกต้อง ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกัน จะใช้อย่างไรไม่ถือเป็นเรื่องผิด
"ภาษาอังกฤษก็มี Oxford เป็นมาตรฐานของภาษาอังกฤษ ประเทศไทยเองก็มีราชบัณฑิตยสถานกำหนดรูปแบบของภาษาเราเช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าราชบัณฑิตยสถานก็พยายามปรับปรุงคำศัพท์ใหม่ๆ แม้บางคำจะดูตลก คนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ในความคิดเห็นของผม การบัญญัติคำตามกระแสลงในพจนานุกรมก็เพื่อให้การสื่อสารคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่เข้าใจคำศัพท์ที่เกิดใหม่ตรงกัน" ผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวทิ้งท้าย.
https://www.thairath.co.th/content/377519
แพทยสภา วอนเลิกใช้ภาษาผิด "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว"
ขอช่วยตั้งหลักใหม่ ไม่ถึงขั้นภาษาวิบัติ แต่ทางการแพทย์ไม่มีอาการนี้ ...
กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ ที่วงการแพทย์ต้องออกมาชี้แจง หลังมีการตั้งกระทู้ถามถึงการใช้คำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" จากการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมหลายๆ ครั้ง รวมถึงล่าสุด กับกรณีการลอบยิง เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม อดีตนักยิงปืนทีมชาติไทย ว่าแท้จริงแล้วถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากบางคนตั้งข้อสังเกตว่า บาดแผลมีพิษด้วยหรือ ? หรือการทนพิษบาดแผลไม่ไหวเกี่ยวกับอาการเสียเลือดมากเกินไปหรือไม่ ? หรือเป็นเพราะเจ็บปวดมากจนช็อก และเสียชีวิต ?
ในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นตอบคำถามกระทู้นี้อย่างหลากหลาย แต่ยังไม่มีการฟันธงจากกูรูว่าตกลงใช้คำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" ได้หรือไม่ หากใช้ไม่ได้ ควรใช้คำว่าอะไร
ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ สอบถาม ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภาอาวุโส ได้ความว่า ในทางการแพทย์ไม่เคยใช้คำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" เนื่องจากคำนี้มีความหมายไม่ชัดเจน และไม่ถูกต้องตามสาเหตุการเสียชีวิต พร้อมอธิบายว่า โดยทั่วไปการเสียชีวิตมาจากหลายสาเหตุ เช่น ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนร่างกายทนรับอาการเจ็บปวดไม่ไหวและเสียชีวิต (Pain Shock) อาทิ กระดูกหักหลายส่วนจนกดเส้นประสาท หรืออวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือเสียชีวิตจากการได้รับพิษเข้าสู่ร่างกาย “การใช้คำว่า ทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงไม่ถูกต้องและไม่ควรใช้” นายกแพทยสภาอาวุโสย้ำ
ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวต่อว่า สำหรับการเผยแพร่ของคำว่า "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" ส่วนตัวได้ยินคำนี้มานานกว่า 30-40 ปีแล้ว คาดว่าน่าจะมาจากสื่อมวลชนที่รายงานข่าวให้สาธารณชนรับทราบ โดยยังไม่ทราบถึงสาเหตุการเสียชีวิตแท้จริง จึงเลือกใช้คำที่มีความหมายแบบกลางๆ ไม่ฟันธง แต่จริงๆ แล้ว ไม่ควรใช้เพราะผิดความหมาย อยากให้รอรายงานผลการชันสูตรที่แน่ชัดก่อนนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวออกไป ซึ่งโดยทั่วไประยะเวลาการตรวจพิสูจน์ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการชันสูตร
"ในกรณีที่สาเหตุการเสียชีวิตไม่ซับซ้อน อาจใช้เวลาชันสูตรเพียง 1 วัน ก็ทราบผล เช่น ผ่าศพแล้วพบว่าหัวใจฉีกขาด เลือดออกเต็มช่องอก ก็สามารถสรุปสาเหตุการเสียชีวิตได้ทันที แต่หากเป็นกรณีที่สลับซับซ้อน อาจต้องใช้เวลานานประมาณ 1 สัปดาห์ - 1 เดือน เพราะต้องตรวจเลือด และนำชิ้นเนื้อไปตรวจ เป็นต้น" ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าว
นายกแพทยสภาอาวุโส ยังขอให้สื่อมวลชนใช้คำที่ถูกต้องในการรายงานข่าวเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสังคม หากยังไม่ทราบผลการชันสูตรศพ ให้ใช้ข้อความเพื่อรายงานข้อมูล ตามสาเหตุของอาการนั้นและระบุว่าเสียชีวิตที่ใด เช่น พลัดตกจากอาคารสูง 10 ชั้น เป็นเหตุให้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ, ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงและเสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาล, ถูกทำร้ายร่างกายและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ผลการชันสูตรจะทำให้ทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตเพราะเหตุใด สื่อมวลชนอาจจะรายงานข่าวตามสาเหตุของการเสียชีวิตตามผลการชันสูตรศพนั้นก็ได้
"ที่ผ่านมาทางแพทยสภาไม่ได้ทำหนังสือชี้แจง หรือส่งเรื่องไปตามหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการใช้คำว่า ทนพิษบาดแผลไม่ไหว รวมทั้งขณะนี้ยังไม่ได้วางแผนว่าจะต้องชี้แจงอย่างเร่งด่วน เพราะไม่ได้เป็นเรื่องที่สร้างความเสียหายต่อวงการแพทย์ หรือกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เพียงแต่ต้องการอธิบายและสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน เพราะสุดท้ายสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง ญาติของผู้ตายจะทราบในวันมารับศพอยู่แล้ว" นายกแพทยสภาอาวุโส กล่าวทิ้งท้าย
ส่วน รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในเนื้อข่าวผ่านโซเชียลมีเดียว่า "มีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ทั้งเขียนผิด ใช้คำไม่ถูกกับความหมายที่จะสื่อสาร และเรียงลำดับความสำคัญไม่ถูกต้อง แต่ด้วยความเป็นธรรมชาติของโลกออนไลน์ เน้นความเร็วในการสื่อสาร และประหยัดพื้นที่หน้าเว็บไซต์ จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ไม่เป็นปัญหาจะทำให้ภาษาไทยวิบัติในความคิดของผม"
รศ.ดร.สุธาชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาษาก็คือเครื่องสื่อสารของมนุษยชาติ ภาษาสามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับการสื่อสารของคนได้ เน้นความสะดวกของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แท้จริงแล้วไม่มีใครสามารถตั้งตัวเป็นคนกำหนดว่าคำนั้นผิดหรือถูก เพียงแต่การใช้ภาษาต้องสื่อสารออกมาถูกต้อง ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกัน จะใช้อย่างไรไม่ถือเป็นเรื่องผิด
"ภาษาอังกฤษก็มี Oxford เป็นมาตรฐานของภาษาอังกฤษ ประเทศไทยเองก็มีราชบัณฑิตยสถานกำหนดรูปแบบของภาษาเราเช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าราชบัณฑิตยสถานก็พยายามปรับปรุงคำศัพท์ใหม่ๆ แม้บางคำจะดูตลก คนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ในความคิดเห็นของผม การบัญญัติคำตามกระแสลงในพจนานุกรมก็เพื่อให้การสื่อสารคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่เข้าใจคำศัพท์ที่เกิดใหม่ตรงกัน" ผู้เชี่ยวชาญภาษาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวทิ้งท้าย.
https://www.thairath.co.th/content/377519