'องค์กรสิทธิ' งัดพยานหลักฐาน กล่าวหา 4 ทหารไทยเอี่ยวซ้อมทรมานชาวพม่าดับที่ชายแดนแม่สอด
https://prachatai.com/journal/2024/11/111415
• องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ‘ฟอร์ติฟายไรต์’ เผยแพร่รายงานยาว 42 หน้า เปิดพยานหลักฐาน กล่าวหา 4 ทหารไทยเอี่ยวซ้อมทรมาน ใช้ท่อนไม้ทุบตี 'อ่องโกโก' ชายชาวเมียนมา วัย 37 ปีจนถึงแก่ความตายที่ชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก พร้อมเรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนคดีดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา
• ด้าน 'วิโรจน์' ประธาน กมธ.ทหาร รับเรื่องแล้ว เตรียมเรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง ภายในต้นเดือน ธ.ค. 2567
14 พ.ย. 2567
‘ฟอติฟายไรต์’ (Fortify Rights) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เผยแพร่รายงานจำนวน 42 หน้า เปิดพยานหลักฐาน กล่าวหาทหารไทย 4 นาย จับกุมโดยพลการ และซ้อมทรมาน
อ่องโกโก (Aung Ko Ko) พลเมืองชาย สัญชาติเมียนมา อายุ 37 ปี อดีตสมาชิกชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จนเสียชีวิตเมื่อ 12 ม.ค.ที่ผ่านมา ใกล้บริเวณพื้นที่ ‘no man land’ ชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก และ จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด และโปร่งใส ตรงไปตรงมา
ย้อนเหตุการณ์ 'ซ้อมทรมานชาวเมียนมา'
เหตุการณ์ที่
อ่องโกโกเสียชีวิตเกิดขึ้นเมื่อ 12 ม.ค. 2567 เวลาประมาณ 10.00 น. ชรบ.ที่เป็นประจักษ์พยานให้ข้อมูลกับฟอร์ติฟายไรต์ เผยว่า เขาได้รับแจ้งจากผู้ช่วยของผู้ใหญ่บ้าน บ้านใต้ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ประสานให้เดินทางไปสังเกตการณ์กรณีที่ทหาร 4 นาย จับกุม
อ่องโกโก ไม่ไกลจากพื้นที่ที่เรียกว่า “พื้นที่ 70 ไร่” ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ ‘No man land’ (พื้นที่ที่ไม่มีผู้ใดครอบครอง)
ภาพของอ่องโกโก ที่ทหารส่งให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านใต้ (ที่มา: รายงานของฟอร์ติฟายไรต์)
แผนที่ (1) จุดที่อ่องโกโก ถูกจับกุม (2) ป้อมทหารเก่าที่ซึ่งถูกเชื่อว่า
อ่องโกโก ถูกมาซ้อมทรมาน (ที่มา:
ฟอร์ติฟายไรต์)
เมื่อกลุ่ม ชรบ.ไปถึงจุดจับกุม พวกเขาบรรยายว่าเห็น
อ่องโกโก กำลังนั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้น มือ 2 ข้างถูกมัดไว้ข้างหลัง โดยมีทหาร 4 นายยืนอยู่ข้างๆ กำลังสอบสวนว่า ทำไมเขาถึงมีเสื้อกั๊กหน่วย ชรบ.ไว้ในครอบครอง
"
เขา (อ่องโกโก) เป็นสมาชิก ชรบ.หรือเปล่า" ทหารไทยแต่งกายด้วยชุดลายพรางเต็มยศ สวมหมวก และสะพายปืนยาว ไม่ทราบสังกัด ถามกลุ่ม ชรบ.
"
(ทหาร) ถามอ่องโกโกว่า ใส่เสื้อกั๊ก (ชรบ.) มาทำไม ขายยาเสพติดหรืออะไรหรือเปล่า ทำไมใส่เสื้อมาแบบนี้ (ธงชาติไทย) ไม่ใช่ธงชาติ มันเป็นประเทศของกู" ประจักษ์พยาน กล่าวต่อ
ทาง ชรบ. ตอบยืนยันว่า
อ่องโกโก ชายชาวเมียนมา เคยเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านจริง แม้ว่าจะกลับไปทำงานที่เมียวดีเมื่อ 1 เดือนแล้ว และขอร้องให้ทหารปล่อยตัว
อ่องโกโก แต่แทนที่จะมีการปล่อยตัว
อ่องโกโก เจ้าหน้าที่ทหาร 3 นายกลับพา
อ่องโกโกไปทำร้ายร่างกาย
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เป็นกลุ่มพลเรือนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่และดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน แม้มีข้อกำหนดว่า ชรบ.ต้องมีสัญชาติไทย แต่ในทางปฏิบัติพบว่า ผู้ใหญ่บ้านมักแต่งตั้งชาวเมียนมาที่มีเอกสารพำนักอาศัยในประเทศไทยระยะยาว เช่น ผู้ถือบัตร 10 ปี เป็น ชรบ. ด้วย เหตุว่าความขาดแคลนบุคลากร และต้องการคนที่สามารถสื่อสารภาษาพม่าในพื้นที่ เพื่อให้ช่วยเคลียร์ปัญหาข้อพิพาท หรือสื่อสารกับชาวพม่าด้วยกันเอง แต่อย่างไรก็ตาม "
คนเมียนมาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ชรบ.จะไม่มีเอกสารใบแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ"
อ่องโกโก ถูกพาไปที่ป้อมทหารเก่าบริเวณใกล้เคียงกับที่เขาถูกจับกุม (ดูแผนที่) และจากนั้นมีการทุบตีทำร้ายร่างกาย
อ่องโกโกเกิดขึ้น ประจักษ์พยานเผยว่ามีการใช้ทั้งไม้ไผ่และท่อนไม้ยาวขนาดประมาณ 1.5 เมตร ทุบตีชายชาวเมียนมา อย่างรุนแรงจนไม้หัก
"
ทหารที่ดูอายุน้อยกว่ามีผิวสีคล้ำตัวเตี้ยกว่า เป็นคนที่ใช้ไม้ฟาดใส่อ่องโกโก … หน้าของอ่องโกโก ปกคลุมไปด้วยดิน ผมมองเห็นรอยแผลบนหน้าของเขาไม่ชัดเจน เพราะเปื้อนดินปนกับเลือด" ชรบ. หนึ่งในประจักษ์พยาน กล่าว
ประจักษ์พยาน กล่าวว่า ตั้งแต่สอบสวนจนถึงการทุบตีใช้ระยะเวลาประมาณ 30 นาที หลังจากทุบตีเสร็จสิ้น ทหาร 3 นายได้สั่งให้ ชรบ.รายหนึ่งนำร่างของ
อ่องโกโกไปไว้ที่พรมแดนเมียนมา พร้อมกับขู่ว่าหากเขากลับมาอีกครั้งจะไม่มีชีวิตอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเดินไปได้เพียงนิดเดียว
อ่องโกโก ทรุดตัวลง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ข้อมูลภาพถ่ายศพที่ฟอร์ติฟายไรต์ได้รับ พบว่า '
อ่องโกโก' มีบาดแผลและรอยฟกช้ำทั่วร่างกายที่บนหน้าผาก กระดูกแก้ม 2 ข้าง จมูก ส่วนหลังเกือบทั้งหมดตั้งแต่กระดูกสะบักลงมาถึงเอว และมีรอยบาดแผลลึกประมาณ 1 นิ้วที่ข้อศอกขวา
ขณะที่รายงานชันสูตรพลิกศพจากโรงพยาบาลแม่สอด ระบุด้วยว่า อ่องโกโก เสียชีวิต "เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจากการถูกทำร้ายร่างกาย และได้ระบุอาการบาดเจ็บอื่นๆ อีกหลายแห่งบนร่างกาย" อีกทั้ง พบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง หุ้มสมองชั้นกลางด้านซ้าย และมีอาการสมองบวม
ภาพของ
อ่องโกโก ในชุดเครื่องแบบ ชรบ. อ.แม่สอด จ.ตาก (ที่มา:
ฟอร์ติฟายไรต์)
ต้องให้ผ่านไป 1 เดือน ถึงเริ่มสืบสวน
ยังไม่มีทหารถูกแจ้งข้อกล่าวหา
หลังการจากไปของ
อ่องโกโกผ่านไปเกือบ 1 เดือน จนเมื่อ 6 ก.พ. 2567 ตำรวจ สภ.แม่สอด ได้เริ่มทำการสอบสวนจนสามารถจับกุม 1 ในผู้ร่วมก่อเหตุคือ
'ศิรชัช' ชายชาวเมียนมาอายุ 24 ปี เป็น ชรบ.บ้านใต้ และเป็นพยานรู้เห็นการซ้อมทำร้ายร่างกายอ่องโกโก ‘
ศิรชัช’ ถูกแจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตโดยไม่เจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ประกอบกับมาตรา 83
ต่อมา 27 ก.ย. 2567 ศาลจังหวัดแม่สอดสั่งจำคุกศิรชัช 5 ปี ก่อนลดเหลือ 3 ปี 4 เดือน และทำให้เขาถูกจำคุกที่เรือนจำแม่สอด จ.ตาก จนถึงตอนนี้
ศิรชัช ให้สัมภาษณ์กับฟอร์ติฟายไรต์ จากในเรือนจำแม่สอด ยอมรับว่า ช่วงเวลาที่อ่องโกโก ถูกนายทหารซ้อมทรมาน เขาได้ร่วมใช้ไม้ไผ่ตีที่ก้นของอ่องโกโก 1 ครั้ง และตีที่หน้าแข้ง 2 ครั้ง แต่เขาอ้างเจตนาว่า ทำไปเพื่อต้องการให้เรื่องนี้จบลงโดยเร็ว และให้ทหารยอมปล่อยตัวอ่องโกโก แต่อย่างไรก็ตาม ศิรชัช เผยว่า เขาเดินทางกลับก่อน ขณะที่ทหารอีก 3 นายยังคงทุบตีอ่องโกโก ชายชาวเมียนมาต่อไป
รายงาน 'ฟอร์ติฟายไรต์' เผยว่า ช่วงระหว่างเขียนรายงานชิ้นนี้ยังไม่มีนายทหารถูกแจ้งกล่าวหาในกรณีดังกล่าว
นอกจากยังไม่สามารถดำเนินคดีกับนายทหาร รายงานของฟอร์ติฟายไรต์ เปิดเผยด้วยว่า ตำรวจแม่สอดไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับการตอบคำถามขององค์กรภาคประชาสังคมในกรณีดังกล่าว และยังไม่มีการเปิดเผยรายงานการสืบสวนต่อสาธารณชน
ทางการต้องสอบสวนอย่างอิสระ โปร่งใส ไม่ลำเอียง
จากเหตุที่เกิดขึ้น องค์กรฟอร์ติฟายไรต์ จึงเรียกร้องไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวน โดยเฉพาะตำรวจ สภ.แม่สอด ให้ทำงานอย่างตรงไปตรงมา พร้อมกับเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายงานการสืบสวนต่อสาธารณชน และเรียกร้องให้กองทัพบกทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทำการจับกุมโดยพลการ และซ้อมทรมานอ่องโกโก
"
ฟอร์ตี้ฟายไรต์มีเจตนาเผยแพร่ข้อเท็จจริงที่ค้นพบเหล่านี้เพื่อให้ความเหลือแก่ทางการไทยในการรับรองความยุติธรรม และความรับผิดชอบที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตของอ่องโกโก รวมทั้งกองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องประกันให้มีการสอบสวนไม่ลำเอียง รอบด้าน และโปร่งใส ต่อกรณีการเสียชีวิตของอ่องโกโก รัฐบาลไทยควรประกันให้มีการเผยแพร่ผลการสอบสวนต่อสาธารณะ สอดคล้องตามสิทธิในการกระบวนการอันควรตามกฎหมาย ซึ่งได้รับการรับรองโดยกฎหมายไทยและหว่างประเทศ และผู้ที่มีส่วนในการทรมานและสังหารอ่องโกโกควรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน" รายงานระบุ
ไม่ควรมีใครเจอแบบนี้
ฟอร์ติฟายไรต์ เผยกับผู้สื่อข่าวว่า เหตุผลที่ทำให้องค์กรเลือกจับคดีนี้ เพราะทราบว่าชายชาวเมียนมาถูกซ้อมทรมานจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และเมื่อคุยกับประจักษ์พยานทำให้พบความผิดปกติหลายอย่างในช่วงระหว่างการสืบสวน อย่างการมีทหารเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี หรือการเร่งรัดให้มีการฌาปนกิจศพ ทั้งที่ควรมีการชันสูตรตามกระบวนการ ป.วิอาญา
“
มันไม่ใช่จะทำ (ซ้อมทำร้าย) แบบนี้กับใครก็ได้ เพราะว่ามันก็คือหนึ่งชีวิต อย่างเวลาที่เราไปคุยกับญาติ มันคือน้องชายเขาทั้งคน มันคือคนที่เขารักทั้งคน ตอนที่เขาเสียชีวิตมันไม่มีใครสนใจ ตอนที่เขาเห็นสภาพ หรือตอนที่คุยกับเขา เขาก็ยังร้องไห้หนักมาก เราเลยคิดว่าเลยก็ต้องตามต่อจนจบ” ฟอร์ติฟายไรต์ กล่าว
กมธ.ทหาร เตรียมเรียกทุกฝ่ายให้ข้อมูล ไม่หวั่นกระแสต่อต้าน
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ กล่าวว่า เขาได้รับเรื่องจากองค์กรฟอร์ติฟายไรต์ และยืนยันไม่กลัวกระแสต่อต้าน พร้อมให้ความเป็นธรรมกับชาวเมียนมา
"
บางคนอาจจะกังวลว่าจะรับดีไหม มันจะเป็นกระแสพรรคประชาชนพม่า แต่ว่ามนุษย์คือมนุษย์ ถ้าเรามีความเป็นไทย แต่ไร้ความเป็นมนุษย์ เราจะต่างจาก ‘เสาไฟฟ้า’ ที่มาปักในราชอาณาจักรตรงไหน" วิโรจน์ กล่าว
เบื้องต้น กมธ.การทหาร มีแผนเรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อคดีที่เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าเร็วสุดประมาณต้นเดือน ธ.ค. 2567
วิโรจน์ ตั้งข้อสังเกตต่อรายงานของฟอร์ติฟายไรต์ ว่ายังมีหลายประเด็นที่เขาต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในคดี ยกตัวอย่าง มูลเหตุจูงใจของทหารในการก่อเหตุซ้อมทรมานที่เกิดขึ้น ที่ไปที่มาของตัว
อ่องโกโก ประเด็นการสอบสวนของตำรวจ สำนวนเอกสารของทางราชการ และอื่นๆ อีกมาก
‘โรม’ หวังคดี 44 สส.ยื่นแก้ 112 ป.ป.ช.ไม่เลือกปฏิบัติ
https://www.dailynews.co.th/news/4089159/https://www.dailynews.co.th/news/4089159/
‘โรม’ หวังคดี 44 สส.ยื่นแก้ 112 ป.ป.ช.ไม่เลือกปฏิบัติ ยันสส.ที่เข้าชื่อเปล่าแกล้งตายรอผลคดี ย้ำทุกคนรู้เป็น ‘สส.พรรคประชาชน’ไม่ง่าย ยังทำหน้าที่แม้รู้ว่าเสี่ยง ยันแก้กฎหมายเป็นอำนาจนิติบัญญัติ
JJNY : 4 ทหารไทยเอี่ยวซ้อมทรมาน│‘โรม’หวังป.ป.ช.ไม่เลือกปฏิบัติ│รร.ดังโคราช ระดมทุนติดตะแกรง│พายุโซนร้อนทำฮอนดูรัสเสียหาย
https://prachatai.com/journal/2024/11/111415
• ด้าน 'วิโรจน์' ประธาน กมธ.ทหาร รับเรื่องแล้ว เตรียมเรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง ภายในต้นเดือน ธ.ค. 2567
14 พ.ย. 2567 ‘ฟอติฟายไรต์’ (Fortify Rights) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เผยแพร่รายงานจำนวน 42 หน้า เปิดพยานหลักฐาน กล่าวหาทหารไทย 4 นาย จับกุมโดยพลการ และซ้อมทรมาน อ่องโกโก (Aung Ko Ko) พลเมืองชาย สัญชาติเมียนมา อายุ 37 ปี อดีตสมาชิกชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จนเสียชีวิตเมื่อ 12 ม.ค.ที่ผ่านมา ใกล้บริเวณพื้นที่ ‘no man land’ ชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก และ จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด และโปร่งใส ตรงไปตรงมา
ย้อนเหตุการณ์ 'ซ้อมทรมานชาวเมียนมา'
เหตุการณ์ที่อ่องโกโกเสียชีวิตเกิดขึ้นเมื่อ 12 ม.ค. 2567 เวลาประมาณ 10.00 น. ชรบ.ที่เป็นประจักษ์พยานให้ข้อมูลกับฟอร์ติฟายไรต์ เผยว่า เขาได้รับแจ้งจากผู้ช่วยของผู้ใหญ่บ้าน บ้านใต้ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ประสานให้เดินทางไปสังเกตการณ์กรณีที่ทหาร 4 นาย จับกุมอ่องโกโก ไม่ไกลจากพื้นที่ที่เรียกว่า “พื้นที่ 70 ไร่” ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ ‘No man land’ (พื้นที่ที่ไม่มีผู้ใดครอบครอง)
ภาพของอ่องโกโก ที่ทหารส่งให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านใต้ (ที่มา: รายงานของฟอร์ติฟายไรต์)
แผนที่ (1) จุดที่อ่องโกโก ถูกจับกุม (2) ป้อมทหารเก่าที่ซึ่งถูกเชื่อว่า อ่องโกโก ถูกมาซ้อมทรมาน (ที่มา: ฟอร์ติฟายไรต์)
เมื่อกลุ่ม ชรบ.ไปถึงจุดจับกุม พวกเขาบรรยายว่าเห็นอ่องโกโก กำลังนั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้น มือ 2 ข้างถูกมัดไว้ข้างหลัง โดยมีทหาร 4 นายยืนอยู่ข้างๆ กำลังสอบสวนว่า ทำไมเขาถึงมีเสื้อกั๊กหน่วย ชรบ.ไว้ในครอบครอง
"เขา (อ่องโกโก) เป็นสมาชิก ชรบ.หรือเปล่า" ทหารไทยแต่งกายด้วยชุดลายพรางเต็มยศ สวมหมวก และสะพายปืนยาว ไม่ทราบสังกัด ถามกลุ่ม ชรบ.
"(ทหาร) ถามอ่องโกโกว่า ใส่เสื้อกั๊ก (ชรบ.) มาทำไม ขายยาเสพติดหรืออะไรหรือเปล่า ทำไมใส่เสื้อมาแบบนี้ (ธงชาติไทย) ไม่ใช่ธงชาติ มันเป็นประเทศของกู" ประจักษ์พยาน กล่าวต่อ
ทาง ชรบ. ตอบยืนยันว่า อ่องโกโก ชายชาวเมียนมา เคยเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านจริง แม้ว่าจะกลับไปทำงานที่เมียวดีเมื่อ 1 เดือนแล้ว และขอร้องให้ทหารปล่อยตัวอ่องโกโก แต่แทนที่จะมีการปล่อยตัวอ่องโกโก เจ้าหน้าที่ทหาร 3 นายกลับพาอ่องโกโกไปทำร้ายร่างกาย
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เป็นกลุ่มพลเรือนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่และดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน แม้มีข้อกำหนดว่า ชรบ.ต้องมีสัญชาติไทย แต่ในทางปฏิบัติพบว่า ผู้ใหญ่บ้านมักแต่งตั้งชาวเมียนมาที่มีเอกสารพำนักอาศัยในประเทศไทยระยะยาว เช่น ผู้ถือบัตร 10 ปี เป็น ชรบ. ด้วย เหตุว่าความขาดแคลนบุคลากร และต้องการคนที่สามารถสื่อสารภาษาพม่าในพื้นที่ เพื่อให้ช่วยเคลียร์ปัญหาข้อพิพาท หรือสื่อสารกับชาวพม่าด้วยกันเอง แต่อย่างไรก็ตาม "คนเมียนมาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ชรบ.จะไม่มีเอกสารใบแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ"
อ่องโกโก ถูกพาไปที่ป้อมทหารเก่าบริเวณใกล้เคียงกับที่เขาถูกจับกุม (ดูแผนที่) และจากนั้นมีการทุบตีทำร้ายร่างกายอ่องโกโกเกิดขึ้น ประจักษ์พยานเผยว่ามีการใช้ทั้งไม้ไผ่และท่อนไม้ยาวขนาดประมาณ 1.5 เมตร ทุบตีชายชาวเมียนมา อย่างรุนแรงจนไม้หัก
"ทหารที่ดูอายุน้อยกว่ามีผิวสีคล้ำตัวเตี้ยกว่า เป็นคนที่ใช้ไม้ฟาดใส่อ่องโกโก … หน้าของอ่องโกโก ปกคลุมไปด้วยดิน ผมมองเห็นรอยแผลบนหน้าของเขาไม่ชัดเจน เพราะเปื้อนดินปนกับเลือด" ชรบ. หนึ่งในประจักษ์พยาน กล่าว
ประจักษ์พยาน กล่าวว่า ตั้งแต่สอบสวนจนถึงการทุบตีใช้ระยะเวลาประมาณ 30 นาที หลังจากทุบตีเสร็จสิ้น ทหาร 3 นายได้สั่งให้ ชรบ.รายหนึ่งนำร่างของอ่องโกโกไปไว้ที่พรมแดนเมียนมา พร้อมกับขู่ว่าหากเขากลับมาอีกครั้งจะไม่มีชีวิตอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเดินไปได้เพียงนิดเดียว อ่องโกโก ทรุดตัวลง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ข้อมูลภาพถ่ายศพที่ฟอร์ติฟายไรต์ได้รับ พบว่า 'อ่องโกโก' มีบาดแผลและรอยฟกช้ำทั่วร่างกายที่บนหน้าผาก กระดูกแก้ม 2 ข้าง จมูก ส่วนหลังเกือบทั้งหมดตั้งแต่กระดูกสะบักลงมาถึงเอว และมีรอยบาดแผลลึกประมาณ 1 นิ้วที่ข้อศอกขวา
ขณะที่รายงานชันสูตรพลิกศพจากโรงพยาบาลแม่สอด ระบุด้วยว่า อ่องโกโก เสียชีวิต "เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจากการถูกทำร้ายร่างกาย และได้ระบุอาการบาดเจ็บอื่นๆ อีกหลายแห่งบนร่างกาย" อีกทั้ง พบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง หุ้มสมองชั้นกลางด้านซ้าย และมีอาการสมองบวม
ภาพของอ่องโกโก ในชุดเครื่องแบบ ชรบ. อ.แม่สอด จ.ตาก (ที่มา: ฟอร์ติฟายไรต์)
ต้องให้ผ่านไป 1 เดือน ถึงเริ่มสืบสวน
ยังไม่มีทหารถูกแจ้งข้อกล่าวหา
หลังการจากไปของอ่องโกโกผ่านไปเกือบ 1 เดือน จนเมื่อ 6 ก.พ. 2567 ตำรวจ สภ.แม่สอด ได้เริ่มทำการสอบสวนจนสามารถจับกุม 1 ในผู้ร่วมก่อเหตุคือ 'ศิรชัช' ชายชาวเมียนมาอายุ 24 ปี เป็น ชรบ.บ้านใต้ และเป็นพยานรู้เห็นการซ้อมทำร้ายร่างกายอ่องโกโก ‘ศิรชัช’ ถูกแจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตโดยไม่เจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ประกอบกับมาตรา 83
ต่อมา 27 ก.ย. 2567 ศาลจังหวัดแม่สอดสั่งจำคุกศิรชัช 5 ปี ก่อนลดเหลือ 3 ปี 4 เดือน และทำให้เขาถูกจำคุกที่เรือนจำแม่สอด จ.ตาก จนถึงตอนนี้
ศิรชัช ให้สัมภาษณ์กับฟอร์ติฟายไรต์ จากในเรือนจำแม่สอด ยอมรับว่า ช่วงเวลาที่อ่องโกโก ถูกนายทหารซ้อมทรมาน เขาได้ร่วมใช้ไม้ไผ่ตีที่ก้นของอ่องโกโก 1 ครั้ง และตีที่หน้าแข้ง 2 ครั้ง แต่เขาอ้างเจตนาว่า ทำไปเพื่อต้องการให้เรื่องนี้จบลงโดยเร็ว และให้ทหารยอมปล่อยตัวอ่องโกโก แต่อย่างไรก็ตาม ศิรชัช เผยว่า เขาเดินทางกลับก่อน ขณะที่ทหารอีก 3 นายยังคงทุบตีอ่องโกโก ชายชาวเมียนมาต่อไป
รายงาน 'ฟอร์ติฟายไรต์' เผยว่า ช่วงระหว่างเขียนรายงานชิ้นนี้ยังไม่มีนายทหารถูกแจ้งกล่าวหาในกรณีดังกล่าว
นอกจากยังไม่สามารถดำเนินคดีกับนายทหาร รายงานของฟอร์ติฟายไรต์ เปิดเผยด้วยว่า ตำรวจแม่สอดไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับการตอบคำถามขององค์กรภาคประชาสังคมในกรณีดังกล่าว และยังไม่มีการเปิดเผยรายงานการสืบสวนต่อสาธารณชน
ทางการต้องสอบสวนอย่างอิสระ โปร่งใส ไม่ลำเอียง
จากเหตุที่เกิดขึ้น องค์กรฟอร์ติฟายไรต์ จึงเรียกร้องไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวน โดยเฉพาะตำรวจ สภ.แม่สอด ให้ทำงานอย่างตรงไปตรงมา พร้อมกับเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายงานการสืบสวนต่อสาธารณชน และเรียกร้องให้กองทัพบกทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทำการจับกุมโดยพลการ และซ้อมทรมานอ่องโกโก
"ฟอร์ตี้ฟายไรต์มีเจตนาเผยแพร่ข้อเท็จจริงที่ค้นพบเหล่านี้เพื่อให้ความเหลือแก่ทางการไทยในการรับรองความยุติธรรม และความรับผิดชอบที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตของอ่องโกโก รวมทั้งกองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องประกันให้มีการสอบสวนไม่ลำเอียง รอบด้าน และโปร่งใส ต่อกรณีการเสียชีวิตของอ่องโกโก รัฐบาลไทยควรประกันให้มีการเผยแพร่ผลการสอบสวนต่อสาธารณะ สอดคล้องตามสิทธิในการกระบวนการอันควรตามกฎหมาย ซึ่งได้รับการรับรองโดยกฎหมายไทยและหว่างประเทศ และผู้ที่มีส่วนในการทรมานและสังหารอ่องโกโกควรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน" รายงานระบุ
ไม่ควรมีใครเจอแบบนี้
ฟอร์ติฟายไรต์ เผยกับผู้สื่อข่าวว่า เหตุผลที่ทำให้องค์กรเลือกจับคดีนี้ เพราะทราบว่าชายชาวเมียนมาถูกซ้อมทรมานจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และเมื่อคุยกับประจักษ์พยานทำให้พบความผิดปกติหลายอย่างในช่วงระหว่างการสืบสวน อย่างการมีทหารเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี หรือการเร่งรัดให้มีการฌาปนกิจศพ ทั้งที่ควรมีการชันสูตรตามกระบวนการ ป.วิอาญา
“มันไม่ใช่จะทำ (ซ้อมทำร้าย) แบบนี้กับใครก็ได้ เพราะว่ามันก็คือหนึ่งชีวิต อย่างเวลาที่เราไปคุยกับญาติ มันคือน้องชายเขาทั้งคน มันคือคนที่เขารักทั้งคน ตอนที่เขาเสียชีวิตมันไม่มีใครสนใจ ตอนที่เขาเห็นสภาพ หรือตอนที่คุยกับเขา เขาก็ยังร้องไห้หนักมาก เราเลยคิดว่าเลยก็ต้องตามต่อจนจบ” ฟอร์ติฟายไรต์ กล่าว
กมธ.ทหาร เตรียมเรียกทุกฝ่ายให้ข้อมูล ไม่หวั่นกระแสต่อต้าน
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ กล่าวว่า เขาได้รับเรื่องจากองค์กรฟอร์ติฟายไรต์ และยืนยันไม่กลัวกระแสต่อต้าน พร้อมให้ความเป็นธรรมกับชาวเมียนมา
"บางคนอาจจะกังวลว่าจะรับดีไหม มันจะเป็นกระแสพรรคประชาชนพม่า แต่ว่ามนุษย์คือมนุษย์ ถ้าเรามีความเป็นไทย แต่ไร้ความเป็นมนุษย์ เราจะต่างจาก ‘เสาไฟฟ้า’ ที่มาปักในราชอาณาจักรตรงไหน" วิโรจน์ กล่าว
เบื้องต้น กมธ.การทหาร มีแผนเรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อคดีที่เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าเร็วสุดประมาณต้นเดือน ธ.ค. 2567
วิโรจน์ ตั้งข้อสังเกตต่อรายงานของฟอร์ติฟายไรต์ ว่ายังมีหลายประเด็นที่เขาต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในคดี ยกตัวอย่าง มูลเหตุจูงใจของทหารในการก่อเหตุซ้อมทรมานที่เกิดขึ้น ที่ไปที่มาของตัวอ่องโกโก ประเด็นการสอบสวนของตำรวจ สำนวนเอกสารของทางราชการ และอื่นๆ อีกมาก
‘โรม’ หวังคดี 44 สส.ยื่นแก้ 112 ป.ป.ช.ไม่เลือกปฏิบัติ
https://www.dailynews.co.th/news/4089159/https://www.dailynews.co.th/news/4089159/
‘โรม’ หวังคดี 44 สส.ยื่นแก้ 112 ป.ป.ช.ไม่เลือกปฏิบัติ ยันสส.ที่เข้าชื่อเปล่าแกล้งตายรอผลคดี ย้ำทุกคนรู้เป็น ‘สส.พรรคประชาชน’ไม่ง่าย ยังทำหน้าที่แม้รู้ว่าเสี่ยง ยันแก้กฎหมายเป็นอำนาจนิติบัญญัติ