สีลัพพตปรามาสเป็นอย่างไร?
เราควรมาทำความเข้าใจว่าสีลัพพตปรามาสนั้นเป็นอย่างไร แล้วอย่างไรถึงจะไม่ใช่สีลัพพตปรามาส มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ดังนี้
สีลัพพตปรามาส (อ่านว่า สี-ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) แยกศัพท์เป็น สีล + พต + ปรามาส อาจารย์นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย (๒๕๕๗) อธิบายว่า
๑. "สีล" มาจากคำว่า สีลฺ (ธาตุ = สงบ, ทรงไว้) + อ ปัจจัย : สีลฺ + อ = สีล แปลตามศัพท์ว่า “เหตุสงบแห่งจิต” “เหตุให้ธำรงกุศลธรรมไว้ได้” “ธรรมที่ธำรงผู้ปฏิบัติไว้มิให้เกิดในอบาย”
สิ (ธาตุ = ผูก) + ล ปัจจัย, ยืดเสียง (ทีฆะ) อิ ที่ สิ เป็น อี : สิ + ล = สิล > สีล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องผูกจิตไว้”
นัยหนึ่งนิยมแปลกันว่า “เย็น” หรือ “ปกติ” โดยความหมายว่า เมื่อไม่ละเมิดข้อห้ามก็จะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นปกติเรียบร้อย
๒. "พต" มาจากภาษาบาลีเป็น “วต” (วะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก วตฺ (ธาตุ = เป็นไป) + อ ปัจจัย : วตฺ + อ = วต แปลตามศัพท์ว่า “การที่เป็นไปตามปกติ”
วชฺ (ธาตุ = ปรุงแต่ง, กระทำ) + อ ปัจจัย, แปลง ช เป็น ต : วชฺ > วต + อ = วต แปลตามศัพท์ว่า “การอันเขาปรุงแต่ง”
ภาษาบาลีเป็น “วตฺต” (วัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = ถือเอา, ประพฤติ) + อ ปัจจัย : วตฺต + อ = วตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ข้อที่ควรถือประพฤติ”
“วต” หรือ “วตฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัตร” หมายถึงกิจที่ควรถือประพฤติ, กิจพึงกระทำ, ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งที่ทำ, หน้าที่, การบริการ, ประเพณี, งาน (observance, vow, virtue, that which is done, which goes on or is customary, duty, service, custom, function)
๓. "ปรามาส" เป็นภาษาบาลี อ่านว่า ปะ-รา-มา-สะ รากศัพท์มาจาก ปร (อื่น, สิ่งอื่น, อย่างอื่น) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ ม-(สฺ) เป็น อา (มสฺ > มาส) : ปร + อา + มสฺ = ปรามสฺ + ณ = ปรามสณ > ปรามส > ปรามาส แปลตามศัพท์ว่า “การละเลยภาวะที่เป็นจริงเสียแล้วยึดถือโดยประการอื่น”
“ปรามาส” (ปุงลิงค์) ในบาลีหมายถึง การจับต้อง, การติดต่อ, ความรักชอบ, การเกาะติด, การอยู่ในอิทธิพลของ-, การติดต่อโดยทางสัมผัส (touching, contact, being attached to, hanging on, being under the influence of, contagion)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (๒๕๕๗ : ๓-๗) ได้ให้ความหมายและอธิบาย สีลัพพตปรามาส ว่า
"สีลัพพตปรามาส แปลว่า ความถือมั่นในศีลพรตจนเลยเถิด ควรแยกศัพท์ดูกันนิดหนึ่ง
“สีลัพพต” = ศีลและพรต; สีล ก็คือ ศีล, พต มาจาก วต; เอา วต ตัวนี้เป็น พต เพราะในบาลี ว เป็น พ ได้, วต จึงเป็น พต, แต่ไทยเอาเป็นพรต โดยใช้คำสันสกฤต คือแปลจากบาลีไปเขียนอย่างสันสกฤต กลายเป็น พรต,
สีล + พต = (ซ้อน “พ” เข้าไปตามหลักภาษาของเขา) ก็เป็น สีลัพพต แล้วก็แปลว่า ศีลและพรต
กำหนดไว้ให้ดีว่า วต นี้แปลว่า พต แล้วเป็น พรต ไม่ใช่ วัตต (วัตต ที่แปลว่า วัตร) คนละคำ (กิจวัตร เป็นต้น ไม่อยู่ใน วต หรือ พรตนี้) สีลัพพต จึงไม่ใช่ ศีลและวัตร
ในเมืองไทยเรานี่ใช้ผิดเยอะ ผมเองตอนแรกก็พลอยเขียนตาม เช่น เราชอบพูดกันว่า “ธุดงควัตร” แต่พอตรวจสอบกันจริงๆ ธุดงควัตรไม่มีหรอก แล้วแถมอรรถกถาบาลีฉบับไทยนี่ชำระกัน ก็ไม่แน่ลงไป เป็น ธุตงฺควตฺต บ้าง เป็น ธุตงฺควต บ้าง คำนี้ ในฉบับพม่าเขาเสมอต้นเสมอปลายแน่นอนลงไปเลย คือของเขาเป็น ธุตงฺควต อย่างเดียว ไม่มี ธุตงฺควตฺต เลย แต่ฉบับของไทยเรานี่ยังยุ่ง มีปนๆ กันไป ควรจะต้องค้นตรวจสอบให้ลงกันทั้งหมด เป็นอันว่า เป็นคนละคำ วต ก็คำหนึ่ง วตฺต อีกคำหนึ่ง, วต เป็นพรต วตฺต เป็นวัตร)
วตฺต คือ วัตร เป็นพวกขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติแต่ละกิจแต่ละเรื่อง เช่น จะปฏิบัติตัวในการเข้าส้วมเข้าห้องน้ำ ก็มีวัจจกุฎีวัตร อาคันตุกะมาจะปฏิบัติหรือต้อนรับอย่างไร ก็มีอาคันตุกวัตร จะไปอยู่อาศัยไปนอนไปนั่งจะปฏิบัติต่อที่นั่นอย่างไร ก็ทำตามเสนาสนวัตร นี่คือ วตฺต (วัตร)
ส่วน วต คือ พรต เป็นหลักการที่ถือปฏิบัติ ที่เรียกว่าบำเพ็ญพรต เช่น ถืออดอาหาร ถือโหนกิ่งไม้ ถือยืนขาเดียว มีมากนอกพุทธศาสนา ในพุทธศาสนาท่านให้ปฏิบัติได้ในขอบเขตหนึ่งโดยมีความเข้าใจที่จะทำให้ถูกต้อง ไม่ให้กลายเป็นการทรมานตนของคนขาดปัญญา
ตัวอย่างที่ชัด คือธุดงค์ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่ยกขึ้นมาถือ คือเป็นพรตชุดหนึ่ง แต่อย่างที่ว่าแล้ว ของเราไม่รุนแรงอย่างเขา แค่ใช้ขัดเกลากิเลส เช่น นอกพุทธศาสนา เขาถือพรตอดอาหาร เราถือธุดงค์แค่ฉันมื้อเดียว นอกพุทธศาสนาเขาถือไม่นุ่งผ้า หรือนุ่งแบบคนป่า ปิดข้างหน้า เปิดข้างหลัง หรือปิดข้างหลัง เปิดข้างหน้า เราถือธุดงค์แค่นุ่งห่มจีวรบังสุกุล
เป็นอันว่า พรต คือ วต เป็นหลักใหญ่ของชีวิตที่ถือไว้ โดยเข้าใจว่าจะทำให้หลุดพ้น ไม่ใช่เป็นธรรมเนียมวิธีปฏิบัติในแต่ละกิจแต่ละเรื่อง อย่างที่ว่าแล้ว กิจวัตรก็อยู่ใน วตฺต คือ วัตร ไม่ใช่ พรต แยกให้ได้นะ ในอรรถกถาบาลีของไทยเรา คำนี้สับสนพลาดไป
เป็นอันว่า ในคำว่า “สีลัพพต” ได้แก่ ศีลและพรต นั้น คือ สีล และ วต (พรต ไม่ใช่วัตร)
ทีนี้ “ปรามาส” แปลว่า การยึดถือมั่นจนเลยเถิด ถือเลยเถิดเป็นอย่างไร ที่ว่ายึดถือศีลพรตเลยเถิด ก็คือ ไม่ถือให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย ก็เลยไม่ตรง ไม่พอดี จึงเลยเถิดไปเสีย
ยึดถือตามจุดมุ่งหมาย คือ ถือปฏิบัติโดยมีความรู้เข้าใจด้วยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาจะรู้จุดหมายได้อย่างไร พูดสั้นๆ ก็คือว่า ถือปฏิบัติด้วยปัญญาที่รู้ความมุ่งหมาย เมื่อรู้ความมุ่งหมาย ก็ปฏิบัติถูกต้องได้ เมื่อเราจะปฏิบัติอะไร เราศึกษาไต่ถามให้รู้ชัดลงไปว่า อันนี้มีความหมายอย่างนี้ มีความมุ่งหมายอย่างนี้ เราก็ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความมุ่งหมาย เวลาทำอะไร ก็มองไปที่จุดหมาย อย่างนี้ไม่เป็นสีลัพพตปรามาส
การยึดถือปฏิบัติที่เป็นสีลัพพตปรามาสนั้น เป็นความผิดพลาดเลยเถิดไปเพราะเจตนาของใจที่ขุ่นมัวโง่เลอะ ก็เลยยึดถือไปตามกิเลสที่เป็นเหตุต่างๆ คือ
๑. สีลัพพตปรามาสด้วยโมหะ คือยึดถือด้วยโมหะ ถือโดยหลงโง่งมงาย ปฏิบัติตามๆ เขาไปอย่างนั้นๆ โดยไม่รู้เรื่อง โดยไม่รู้ความหมาย ไม่รู้ความมุ่งหมาย อย่างที่ว่าแล้ว เขาสอนมาอย่างนั้น อาจารย์ทำมา ก็ทำตามกันไป อย่างนี้เป็นกันมาก เป็นสีลัพพตปรามาสด้วยโมหะ
๒. สีลัพพตปรามาสด้วยโลภะ ข้อนี้ท่านยกตัวอย่างบ่อยๆ เช่น ถือศีลโดยอยากไปเป็นเทวดา คิดว่า เราถือศีลอย่างนี้แล้ว จะได้เป็นเทวดาองค์นั้นองค์นี้ จะได้มีอำนาจฤทธิ์เดชอย่างนั้นๆ เรียกว่า ยึดถือด้วยโลภะ ที่จริงนั้น การไปเป็นเทวดา ไปสวรรค์อะไรๆ นั้น เป็นเรื่องของผลพลอยได้ เป็นผลพ่วง เมื่อปฏิบัติถูก ก็ไปเอง เป็นธรรมดาของมัน ไม่ต้องไปอยาก
๓. สีลัพพตปรามาสด้วยโทสะ เช่น ยึดถืออย่างเป็นปฏิกิริยา ได้ยินเขาว่าแล้วขัดใจขึ้นมา ฮึดฮัดบอกว่า ข้าจะถือของข้าอย่างนี้แหละ ใครจะว่าอย่างไรก็ว่าไป โกรธ อย่างนี้ก็โทสะ"
พุทธทาส (๒๕๕๔ : ๑๗๔, ๑๗๙) กล่าวว่า “สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต (clinging to mere rule and ritual) ความอยากได้ อยากเป็นอยู่ ความกลัวต่อการสูญสลายของตัวตน โดยไม่เข้าใจกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ผสมกับความยึดมั่นในทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ประพฤติปฏิบัติตามๆกันอย่างงมงายในสิ่งที่นิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ ที่จะสนองความอยากของตนได้
ทั้งที่มองไม่เห็นความสัมพันธ์ทางเหตุผล ความอยากให้ตัวตนคงอยู่ มีอยู่ และความยึดมั่นในตัวตน แสดงออกมาภายนอก หรือ ทางสังคม ในรูปของความยึดมั่นในแบบแผน พฤติกรรมต่างๆ การทำสืบๆกันมา ระเบียบวิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธี
ตลอดจนสถาบันที่แน่นอนตายตัวว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยไม่ตระหนักรู้ในความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์ และความสัมพันธ์โดยเหตุผล กลายเป็นว่า มนุษย์สร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อปิดกั้น ปิดล้อมตัวเอง และทำให้แข็งทื่อ ยากแก่การปรับตัว และการที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งทั้งหลายที่ตนเข้าไปสัมพันธ์”
"เพื่อไม่ให้การกระทำของเราเป็นไปในลักษณะของ สีลัพพตปรามาส เราจึงต้องมีโยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบ จนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ) ต้องรู้จุดมุ่งหมายของการกระทำของเราเอง เพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามธรรม และสัมพันธ์ กลมกลืนกับธรรมที่มารับช่วงต่อ เนื่องจาก
“เมื่อมองในแง่ปรมัตถ์ (มิใช่ในแง่ทิฏฐธัมมกัตถ์ สัมปรายิกัตถ์ ปรัตถะ หรือในแง่สังคม) ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างก็มีจุดหมายสุดท้ายเพื่อนิพพานเหมือนกัน แต่เมื่อมองจำกัดเฉพาะตัวแต่ละอย่าง มีขีดขั้นขอบเขตของตนที่ต้องไปเชื่อมต่อกับอย่างอื่น จึงจะให้บรรลุจุดหมายสุดท้ายได้ลำพังอย่างหนึ่งอย่างเดียวหาสำเร็จผลล่วงตลอดไม่ แต่จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดเสียทีเดียวก็ไม่ได้
จึงมีหลักว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ ถ้าปฏิบัติศีลขาดเป้าหมาย ก็อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาส ช่วยส่งเสริมอัตตกิลมถานุโยค ถ้าบำเพ็ญสมาธิโดยไม่คำนึงถึงอรรถ ก็อาจหมกติดอยู่ในฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐิบางอย่าง หรือส่งเสริมติรัจฉานวิชาบางประเภท ถ้าเจริญปัญญาชนิดไม่เป็นไปเพื่อวิมุตติ ก็เป็นอันคลาดออกนอกมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา อาจหลงอยู่ข้างๆระหว่างทาง หรือติดค้างในมิจฉาทิฏฐิแบบใดแบบหนึ่ง”
สรุปแล้วก็คือ สีลัพพตปรามาส คือ เขามีความคิดว่าจะหลุดพ้นด้วยความศรัทธา แต่โดยความเป็นจริงแล้วไม่ได้ ถามว่าถ้าหลุดพ้นจากเบื้องล่างได้ไหม? ย่อมได้แต่ได้เฉพาะเบื้องล่าง ข้อ ๑-๓ นี้ แต่ขั้นกลางและขั้นสูง ชักไปไม่ไหวแล้ว อาศัยสีลัพพตปรามาสให้หลุดพ้นด้วยขั้นระดับกลางไม่ได้แล้ว ถ้าขั้นสูงยิ่งไปได้ไม่ไหว
ถ้าคุณธรรมเบื้องล่างนี้ได้ อย่างเช่น ถ้าเราจะทำชั่ว แต่เรามีศรัทธาในพระพุทธเจ้า หรือต่อองค์เทพเทวดา ต่อศีลธรรม เราก็ไม่ทำชั่วนั้น
การถือวัตร ก็คือ การทำปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำ ทำประจำ
การถือพรต ก็คือ การถือพรตนี้จะเหนือกว่าวัตรขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง คือ เราต้องไปตั้งกฎกติกาในการปฏิบัติสูงกว่าเป็นวัตร นั้นก็คือ "อภิ" สูงขึ้นไปอีก
การถือวัตร เป็นกฎ
แต่การถือพรตเป็นอภิ
ยกตัวอย่าง เราจะกวาดบ้านทุกวัน แต่ถ้าเป็นพรต เราจะต้องกวาดอะไรบ้าง และจะต้องกวาดกี่ครั้ง อะไรบ้าง กี่ครั้งถึงจะเรียกว่าพรต จะต้องยิ่งขึ้นไป นี่แหละเป็นอภิ
อย่างเช่น เวลานี้เรากินเจ จะกินอะไรที่เคร่งครัดกว่าเจ เช่น วันนี้เราจะไม่กินกับข้าว จะกินข้าวเปล่าๆ นี่แหละ การถือพรตจะหนักมากขึ้นไป
แล้วการตั้งพรตนี้จะทำให้หลุดพ้นได้หรือไม่? การถือพรตนี้ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นได้ การถือพรตนี้จะได้ถึงระดับ ๓ แต่ถ้าจะให้สูงเกินกว่าระดับ ๓ ขั้นขึ้นไป ก็ต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละจะเป็นขั้นๆ
สิ่งที่เป็นวัตรกับพรตนี้ทำให้หลุดพ้นได้ เฉพาะขั้นล่างๆ เบื้องล่าง เพราะเป็นการหลุดพ้นด้วยศรัทธา ดังนั้นจะศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีองค์ธรรมอย่างอื่นเข้ามาประกอบด้วย ถือจะเกิดสัปปายะในการหลุดพ้นได้ เช่น บางคนบอกว่ากินเจแล้วสามารถทำให้หลุดพ้นได้ อย่างนี้เป็นไปไม่ได้
รายการอ้างอิง
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ๒๕๕๗. ตอบเรื่อง สีลัพพตปรามาส วินัย ดูใจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์
พุทธทาส. ๒๕๕๔. คู่มือพ้นทุกข์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
ทองย้อย แสงสินชัย. ๒๕๕๗. บาลีวันละคำ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
สีลัพพตปรามาสเป็นอย่างไร?
เราควรมาทำความเข้าใจว่าสีลัพพตปรามาสนั้นเป็นอย่างไร แล้วอย่างไรถึงจะไม่ใช่สีลัพพตปรามาส มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ดังนี้
สีลัพพตปรามาส (อ่านว่า สี-ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) แยกศัพท์เป็น สีล + พต + ปรามาส อาจารย์นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย (๒๕๕๗) อธิบายว่า
๑. "สีล" มาจากคำว่า สีลฺ (ธาตุ = สงบ, ทรงไว้) + อ ปัจจัย : สีลฺ + อ = สีล แปลตามศัพท์ว่า “เหตุสงบแห่งจิต” “เหตุให้ธำรงกุศลธรรมไว้ได้” “ธรรมที่ธำรงผู้ปฏิบัติไว้มิให้เกิดในอบาย”
สิ (ธาตุ = ผูก) + ล ปัจจัย, ยืดเสียง (ทีฆะ) อิ ที่ สิ เป็น อี : สิ + ล = สิล > สีล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องผูกจิตไว้”
นัยหนึ่งนิยมแปลกันว่า “เย็น” หรือ “ปกติ” โดยความหมายว่า เมื่อไม่ละเมิดข้อห้ามก็จะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นปกติเรียบร้อย
๒. "พต" มาจากภาษาบาลีเป็น “วต” (วะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก วตฺ (ธาตุ = เป็นไป) + อ ปัจจัย : วตฺ + อ = วต แปลตามศัพท์ว่า “การที่เป็นไปตามปกติ”
วชฺ (ธาตุ = ปรุงแต่ง, กระทำ) + อ ปัจจัย, แปลง ช เป็น ต : วชฺ > วต + อ = วต แปลตามศัพท์ว่า “การอันเขาปรุงแต่ง”
ภาษาบาลีเป็น “วตฺต” (วัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = ถือเอา, ประพฤติ) + อ ปัจจัย : วตฺต + อ = วตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ข้อที่ควรถือประพฤติ”
“วต” หรือ “วตฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัตร” หมายถึงกิจที่ควรถือประพฤติ, กิจพึงกระทำ, ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งที่ทำ, หน้าที่, การบริการ, ประเพณี, งาน (observance, vow, virtue, that which is done, which goes on or is customary, duty, service, custom, function)
๓. "ปรามาส" เป็นภาษาบาลี อ่านว่า ปะ-รา-มา-สะ รากศัพท์มาจาก ปร (อื่น, สิ่งอื่น, อย่างอื่น) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ ม-(สฺ) เป็น อา (มสฺ > มาส) : ปร + อา + มสฺ = ปรามสฺ + ณ = ปรามสณ > ปรามส > ปรามาส แปลตามศัพท์ว่า “การละเลยภาวะที่เป็นจริงเสียแล้วยึดถือโดยประการอื่น”
“ปรามาส” (ปุงลิงค์) ในบาลีหมายถึง การจับต้อง, การติดต่อ, ความรักชอบ, การเกาะติด, การอยู่ในอิทธิพลของ-, การติดต่อโดยทางสัมผัส (touching, contact, being attached to, hanging on, being under the influence of, contagion)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (๒๕๕๗ : ๓-๗) ได้ให้ความหมายและอธิบาย สีลัพพตปรามาส ว่า
"สีลัพพตปรามาส แปลว่า ความถือมั่นในศีลพรตจนเลยเถิด ควรแยกศัพท์ดูกันนิดหนึ่ง
“สีลัพพต” = ศีลและพรต; สีล ก็คือ ศีล, พต มาจาก วต; เอา วต ตัวนี้เป็น พต เพราะในบาลี ว เป็น พ ได้, วต จึงเป็น พต, แต่ไทยเอาเป็นพรต โดยใช้คำสันสกฤต คือแปลจากบาลีไปเขียนอย่างสันสกฤต กลายเป็น พรต,
สีล + พต = (ซ้อน “พ” เข้าไปตามหลักภาษาของเขา) ก็เป็น สีลัพพต แล้วก็แปลว่า ศีลและพรต
กำหนดไว้ให้ดีว่า วต นี้แปลว่า พต แล้วเป็น พรต ไม่ใช่ วัตต (วัตต ที่แปลว่า วัตร) คนละคำ (กิจวัตร เป็นต้น ไม่อยู่ใน วต หรือ พรตนี้) สีลัพพต จึงไม่ใช่ ศีลและวัตร
ในเมืองไทยเรานี่ใช้ผิดเยอะ ผมเองตอนแรกก็พลอยเขียนตาม เช่น เราชอบพูดกันว่า “ธุดงควัตร” แต่พอตรวจสอบกันจริงๆ ธุดงควัตรไม่มีหรอก แล้วแถมอรรถกถาบาลีฉบับไทยนี่ชำระกัน ก็ไม่แน่ลงไป เป็น ธุตงฺควตฺต บ้าง เป็น ธุตงฺควต บ้าง คำนี้ ในฉบับพม่าเขาเสมอต้นเสมอปลายแน่นอนลงไปเลย คือของเขาเป็น ธุตงฺควต อย่างเดียว ไม่มี ธุตงฺควตฺต เลย แต่ฉบับของไทยเรานี่ยังยุ่ง มีปนๆ กันไป ควรจะต้องค้นตรวจสอบให้ลงกันทั้งหมด เป็นอันว่า เป็นคนละคำ วต ก็คำหนึ่ง วตฺต อีกคำหนึ่ง, วต เป็นพรต วตฺต เป็นวัตร)
วตฺต คือ วัตร เป็นพวกขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติแต่ละกิจแต่ละเรื่อง เช่น จะปฏิบัติตัวในการเข้าส้วมเข้าห้องน้ำ ก็มีวัจจกุฎีวัตร อาคันตุกะมาจะปฏิบัติหรือต้อนรับอย่างไร ก็มีอาคันตุกวัตร จะไปอยู่อาศัยไปนอนไปนั่งจะปฏิบัติต่อที่นั่นอย่างไร ก็ทำตามเสนาสนวัตร นี่คือ วตฺต (วัตร)
ส่วน วต คือ พรต เป็นหลักการที่ถือปฏิบัติ ที่เรียกว่าบำเพ็ญพรต เช่น ถืออดอาหาร ถือโหนกิ่งไม้ ถือยืนขาเดียว มีมากนอกพุทธศาสนา ในพุทธศาสนาท่านให้ปฏิบัติได้ในขอบเขตหนึ่งโดยมีความเข้าใจที่จะทำให้ถูกต้อง ไม่ให้กลายเป็นการทรมานตนของคนขาดปัญญา
ตัวอย่างที่ชัด คือธุดงค์ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่ยกขึ้นมาถือ คือเป็นพรตชุดหนึ่ง แต่อย่างที่ว่าแล้ว ของเราไม่รุนแรงอย่างเขา แค่ใช้ขัดเกลากิเลส เช่น นอกพุทธศาสนา เขาถือพรตอดอาหาร เราถือธุดงค์แค่ฉันมื้อเดียว นอกพุทธศาสนาเขาถือไม่นุ่งผ้า หรือนุ่งแบบคนป่า ปิดข้างหน้า เปิดข้างหลัง หรือปิดข้างหลัง เปิดข้างหน้า เราถือธุดงค์แค่นุ่งห่มจีวรบังสุกุล
เป็นอันว่า พรต คือ วต เป็นหลักใหญ่ของชีวิตที่ถือไว้ โดยเข้าใจว่าจะทำให้หลุดพ้น ไม่ใช่เป็นธรรมเนียมวิธีปฏิบัติในแต่ละกิจแต่ละเรื่อง อย่างที่ว่าแล้ว กิจวัตรก็อยู่ใน วตฺต คือ วัตร ไม่ใช่ พรต แยกให้ได้นะ ในอรรถกถาบาลีของไทยเรา คำนี้สับสนพลาดไป
เป็นอันว่า ในคำว่า “สีลัพพต” ได้แก่ ศีลและพรต นั้น คือ สีล และ วต (พรต ไม่ใช่วัตร)
ทีนี้ “ปรามาส” แปลว่า การยึดถือมั่นจนเลยเถิด ถือเลยเถิดเป็นอย่างไร ที่ว่ายึดถือศีลพรตเลยเถิด ก็คือ ไม่ถือให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย ก็เลยไม่ตรง ไม่พอดี จึงเลยเถิดไปเสีย
ยึดถือตามจุดมุ่งหมาย คือ ถือปฏิบัติโดยมีความรู้เข้าใจด้วยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาจะรู้จุดหมายได้อย่างไร พูดสั้นๆ ก็คือว่า ถือปฏิบัติด้วยปัญญาที่รู้ความมุ่งหมาย เมื่อรู้ความมุ่งหมาย ก็ปฏิบัติถูกต้องได้ เมื่อเราจะปฏิบัติอะไร เราศึกษาไต่ถามให้รู้ชัดลงไปว่า อันนี้มีความหมายอย่างนี้ มีความมุ่งหมายอย่างนี้ เราก็ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความมุ่งหมาย เวลาทำอะไร ก็มองไปที่จุดหมาย อย่างนี้ไม่เป็นสีลัพพตปรามาส
การยึดถือปฏิบัติที่เป็นสีลัพพตปรามาสนั้น เป็นความผิดพลาดเลยเถิดไปเพราะเจตนาของใจที่ขุ่นมัวโง่เลอะ ก็เลยยึดถือไปตามกิเลสที่เป็นเหตุต่างๆ คือ
๑. สีลัพพตปรามาสด้วยโมหะ คือยึดถือด้วยโมหะ ถือโดยหลงโง่งมงาย ปฏิบัติตามๆ เขาไปอย่างนั้นๆ โดยไม่รู้เรื่อง โดยไม่รู้ความหมาย ไม่รู้ความมุ่งหมาย อย่างที่ว่าแล้ว เขาสอนมาอย่างนั้น อาจารย์ทำมา ก็ทำตามกันไป อย่างนี้เป็นกันมาก เป็นสีลัพพตปรามาสด้วยโมหะ
๒. สีลัพพตปรามาสด้วยโลภะ ข้อนี้ท่านยกตัวอย่างบ่อยๆ เช่น ถือศีลโดยอยากไปเป็นเทวดา คิดว่า เราถือศีลอย่างนี้แล้ว จะได้เป็นเทวดาองค์นั้นองค์นี้ จะได้มีอำนาจฤทธิ์เดชอย่างนั้นๆ เรียกว่า ยึดถือด้วยโลภะ ที่จริงนั้น การไปเป็นเทวดา ไปสวรรค์อะไรๆ นั้น เป็นเรื่องของผลพลอยได้ เป็นผลพ่วง เมื่อปฏิบัติถูก ก็ไปเอง เป็นธรรมดาของมัน ไม่ต้องไปอยาก
๓. สีลัพพตปรามาสด้วยโทสะ เช่น ยึดถืออย่างเป็นปฏิกิริยา ได้ยินเขาว่าแล้วขัดใจขึ้นมา ฮึดฮัดบอกว่า ข้าจะถือของข้าอย่างนี้แหละ ใครจะว่าอย่างไรก็ว่าไป โกรธ อย่างนี้ก็โทสะ"
พุทธทาส (๒๕๕๔ : ๑๗๔, ๑๗๙) กล่าวว่า “สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต (clinging to mere rule and ritual) ความอยากได้ อยากเป็นอยู่ ความกลัวต่อการสูญสลายของตัวตน โดยไม่เข้าใจกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ผสมกับความยึดมั่นในทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ประพฤติปฏิบัติตามๆกันอย่างงมงายในสิ่งที่นิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ ที่จะสนองความอยากของตนได้
ทั้งที่มองไม่เห็นความสัมพันธ์ทางเหตุผล ความอยากให้ตัวตนคงอยู่ มีอยู่ และความยึดมั่นในตัวตน แสดงออกมาภายนอก หรือ ทางสังคม ในรูปของความยึดมั่นในแบบแผน พฤติกรรมต่างๆ การทำสืบๆกันมา ระเบียบวิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธี
ตลอดจนสถาบันที่แน่นอนตายตัวว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยไม่ตระหนักรู้ในความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์ และความสัมพันธ์โดยเหตุผล กลายเป็นว่า มนุษย์สร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อปิดกั้น ปิดล้อมตัวเอง และทำให้แข็งทื่อ ยากแก่การปรับตัว และการที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งทั้งหลายที่ตนเข้าไปสัมพันธ์”
"เพื่อไม่ให้การกระทำของเราเป็นไปในลักษณะของ สีลัพพตปรามาส เราจึงต้องมีโยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบ จนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ) ต้องรู้จุดมุ่งหมายของการกระทำของเราเอง เพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามธรรม และสัมพันธ์ กลมกลืนกับธรรมที่มารับช่วงต่อ เนื่องจาก
“เมื่อมองในแง่ปรมัตถ์ (มิใช่ในแง่ทิฏฐธัมมกัตถ์ สัมปรายิกัตถ์ ปรัตถะ หรือในแง่สังคม) ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างก็มีจุดหมายสุดท้ายเพื่อนิพพานเหมือนกัน แต่เมื่อมองจำกัดเฉพาะตัวแต่ละอย่าง มีขีดขั้นขอบเขตของตนที่ต้องไปเชื่อมต่อกับอย่างอื่น จึงจะให้บรรลุจุดหมายสุดท้ายได้ลำพังอย่างหนึ่งอย่างเดียวหาสำเร็จผลล่วงตลอดไม่ แต่จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดเสียทีเดียวก็ไม่ได้
จึงมีหลักว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ ถ้าปฏิบัติศีลขาดเป้าหมาย ก็อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาส ช่วยส่งเสริมอัตตกิลมถานุโยค ถ้าบำเพ็ญสมาธิโดยไม่คำนึงถึงอรรถ ก็อาจหมกติดอยู่ในฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐิบางอย่าง หรือส่งเสริมติรัจฉานวิชาบางประเภท ถ้าเจริญปัญญาชนิดไม่เป็นไปเพื่อวิมุตติ ก็เป็นอันคลาดออกนอกมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา อาจหลงอยู่ข้างๆระหว่างทาง หรือติดค้างในมิจฉาทิฏฐิแบบใดแบบหนึ่ง”
สรุปแล้วก็คือ สีลัพพตปรามาส คือ เขามีความคิดว่าจะหลุดพ้นด้วยความศรัทธา แต่โดยความเป็นจริงแล้วไม่ได้ ถามว่าถ้าหลุดพ้นจากเบื้องล่างได้ไหม? ย่อมได้แต่ได้เฉพาะเบื้องล่าง ข้อ ๑-๓ นี้ แต่ขั้นกลางและขั้นสูง ชักไปไม่ไหวแล้ว อาศัยสีลัพพตปรามาสให้หลุดพ้นด้วยขั้นระดับกลางไม่ได้แล้ว ถ้าขั้นสูงยิ่งไปได้ไม่ไหว
ถ้าคุณธรรมเบื้องล่างนี้ได้ อย่างเช่น ถ้าเราจะทำชั่ว แต่เรามีศรัทธาในพระพุทธเจ้า หรือต่อองค์เทพเทวดา ต่อศีลธรรม เราก็ไม่ทำชั่วนั้น
การถือวัตร ก็คือ การทำปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำ ทำประจำ
การถือพรต ก็คือ การถือพรตนี้จะเหนือกว่าวัตรขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง คือ เราต้องไปตั้งกฎกติกาในการปฏิบัติสูงกว่าเป็นวัตร นั้นก็คือ "อภิ" สูงขึ้นไปอีก
การถือวัตร เป็นกฎ
แต่การถือพรตเป็นอภิ
ยกตัวอย่าง เราจะกวาดบ้านทุกวัน แต่ถ้าเป็นพรต เราจะต้องกวาดอะไรบ้าง และจะต้องกวาดกี่ครั้ง อะไรบ้าง กี่ครั้งถึงจะเรียกว่าพรต จะต้องยิ่งขึ้นไป นี่แหละเป็นอภิ
อย่างเช่น เวลานี้เรากินเจ จะกินอะไรที่เคร่งครัดกว่าเจ เช่น วันนี้เราจะไม่กินกับข้าว จะกินข้าวเปล่าๆ นี่แหละ การถือพรตจะหนักมากขึ้นไป
แล้วการตั้งพรตนี้จะทำให้หลุดพ้นได้หรือไม่? การถือพรตนี้ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นได้ การถือพรตนี้จะได้ถึงระดับ ๓ แต่ถ้าจะให้สูงเกินกว่าระดับ ๓ ขั้นขึ้นไป ก็ต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละจะเป็นขั้นๆ
สิ่งที่เป็นวัตรกับพรตนี้ทำให้หลุดพ้นได้ เฉพาะขั้นล่างๆ เบื้องล่าง เพราะเป็นการหลุดพ้นด้วยศรัทธา ดังนั้นจะศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีองค์ธรรมอย่างอื่นเข้ามาประกอบด้วย ถือจะเกิดสัปปายะในการหลุดพ้นได้ เช่น บางคนบอกว่ากินเจแล้วสามารถทำให้หลุดพ้นได้ อย่างนี้เป็นไปไม่ได้
รายการอ้างอิง
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ๒๕๕๗. ตอบเรื่อง สีลัพพตปรามาส วินัย ดูใจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์
พุทธทาส. ๒๕๕๔. คู่มือพ้นทุกข์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
ทองย้อย แสงสินชัย. ๒๕๕๗. บาลีวันละคำ. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์