ที่บ้านเจอปัญหาไฟดูดที่เครื่องทำน้ำอุ่นครับ แต่ดูดจี๊ดๆ นิดเดียวครับ
ตัวเครื่องก็มีระบบ ELB แล้วครับ แต่ก็ถอดออกไว้ก่อนครับ เพื่อเช็คไฟรั่ว
ผมใช้มัลติมิเตอร์ในการวัดครับ
ขอแจ้งระบบไฟตู้เมนบ้านผมก่อนนะครับ ว่าเป็นระบบใหม่ที่การไฟฟ้าให้ทำตอนขอมิเตอร์เมื่อราวๆ 3 ปีที่แล้วครับ
คือ
- สาย N เมน จะต่อเข้า N บาร์ก่อน แล้วจึงเข้าตู้เมน
- จาก N บาร์ ก็จะต้องบังคับให้ต่อกับ G บาร์ด้วยครับ
ดังนั้น เมื่อผมตรวจสอบโอห์มของ N และ G ของวงจรเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว จึงเป็น 0 ครับ
แต่ .... เมื่อผิดปิดทุกวงจรแล้ว วัดค่า V ที่ N พบว่ามี V ขึ้นมาประมาณ 2V กว่าๆ
และเมื่อไปตรวจที่แท่งกราวน์ที่เจ้าของเดิมทำไว้ พบว่า
- แท่งกราว์นรอด เหมือนเป็นเล็กเส้นข้ออ้อยธรรมดา และ ไม่ได้ปักลงดิน แต่ฝังลงในปูน ซึ่งด้านล่างว่างเปล่า (สงสัยจะโครงสร้าง)
- วัด V ที่ต่อกับแท่ง ก็ยังคงได้ 1.8-1.9V กว่าๆ ก็แสดงว่า สายนี้น่าจะเชื่อมกับ N ที่ตู้เมน
ผมก็ยังไม่มั่นใจอีก ลองปลดสายเมนออกจากตู้เลย ก็พบว่า V ที่ขึ้นมา 2V กว่าๆ มันมาจากสายเมน (ถ้าไม่ใช่มาจากนอกบ้าน ก็อาจจะมาจากการรั่วระหว่างมิเตอร์มาถึงตู้เมน)
แต่.... เท่าที่ลองหาอ่านดู บางท่านก็บอกว่า N จะขึ้นได้ 2-3V เป็นเรื่องปรกติ
คำถามครับ
1. สาย N มีขึ้นมา 2-3V คือปรกติ จริงหรือไม่ครับ .... เพราะผมไปลองวัดที่อาคารนิติของหมู่บ้าน ก็ขึ้นเหมือนกัน ทำให้ผมสงสัยว่า มันปรกติ หรือผิดปรกติที่หม้อแปลงไฟของหมู่บ้าน
2. ไฟรั่วขนาดเรารู้สึกได้ ถ้าแตะแบบพื้นที่สัมผัสน้อย จะจี๊ดใหรู้สึกได้ มันจะมี V หรือ I ประมาณเท่าไรครับ ใช้มัลติมิเตอร์วัดจะขึ้นไหมครับ(เพราะผมไม่มั่นใจว่าวัดที่ V นี้จะถูกต้องจริงๆ) และถ้าจะวัดจริงๆ ควรวัดอย่างไรครับ
3. ผมได้ตอกเท่งกราวน์รอดใหม่แล้ว ใช้ความยาว 2.4 ม. แต่ตอกลงไปได้ลึกสุดแค่ราวๆ 2.1 ม. และได้ลองเชื่อมสายเข้าไปดู ยังพบว่า มี V อยู่เหมือนเดิม (เมื่ออีกขั้วหนึ่งจิ้มที่มือของตัวเอง) ซึ่งทำให้ผมสงสัยว่า อาจจะมี V แต่ไม่ได้ไหลผ่านตัวเรา ซึ่งนั่นไม่ใช่วิธีวัดความสำเร็จของการต่อสายดินที่ถูกต้อง ที่ต้องใช้ Earth Tester (แต่ก็ไม่มีปัญญาหาเครื่อง และใช้พื้นที่เทส เพราะเป็นทาวน์เฮ้าส์ปูนทั้งผืน) แล้วผมจะเทสอย่างไรดีครับ ว่าวงจร G ลงดินแล้วอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ
รบกวนสอบถามเกี่ยวกับไฟฟ้ากำลัง ไฟรั่ว ไฟเมน ไฟกราวน์
ตัวเครื่องก็มีระบบ ELB แล้วครับ แต่ก็ถอดออกไว้ก่อนครับ เพื่อเช็คไฟรั่ว
ผมใช้มัลติมิเตอร์ในการวัดครับ
ขอแจ้งระบบไฟตู้เมนบ้านผมก่อนนะครับ ว่าเป็นระบบใหม่ที่การไฟฟ้าให้ทำตอนขอมิเตอร์เมื่อราวๆ 3 ปีที่แล้วครับ
คือ
- สาย N เมน จะต่อเข้า N บาร์ก่อน แล้วจึงเข้าตู้เมน
- จาก N บาร์ ก็จะต้องบังคับให้ต่อกับ G บาร์ด้วยครับ
ดังนั้น เมื่อผมตรวจสอบโอห์มของ N และ G ของวงจรเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว จึงเป็น 0 ครับ
แต่ .... เมื่อผิดปิดทุกวงจรแล้ว วัดค่า V ที่ N พบว่ามี V ขึ้นมาประมาณ 2V กว่าๆ
และเมื่อไปตรวจที่แท่งกราวน์ที่เจ้าของเดิมทำไว้ พบว่า
- แท่งกราว์นรอด เหมือนเป็นเล็กเส้นข้ออ้อยธรรมดา และ ไม่ได้ปักลงดิน แต่ฝังลงในปูน ซึ่งด้านล่างว่างเปล่า (สงสัยจะโครงสร้าง)
- วัด V ที่ต่อกับแท่ง ก็ยังคงได้ 1.8-1.9V กว่าๆ ก็แสดงว่า สายนี้น่าจะเชื่อมกับ N ที่ตู้เมน
ผมก็ยังไม่มั่นใจอีก ลองปลดสายเมนออกจากตู้เลย ก็พบว่า V ที่ขึ้นมา 2V กว่าๆ มันมาจากสายเมน (ถ้าไม่ใช่มาจากนอกบ้าน ก็อาจจะมาจากการรั่วระหว่างมิเตอร์มาถึงตู้เมน)
แต่.... เท่าที่ลองหาอ่านดู บางท่านก็บอกว่า N จะขึ้นได้ 2-3V เป็นเรื่องปรกติ
คำถามครับ
1. สาย N มีขึ้นมา 2-3V คือปรกติ จริงหรือไม่ครับ .... เพราะผมไปลองวัดที่อาคารนิติของหมู่บ้าน ก็ขึ้นเหมือนกัน ทำให้ผมสงสัยว่า มันปรกติ หรือผิดปรกติที่หม้อแปลงไฟของหมู่บ้าน
2. ไฟรั่วขนาดเรารู้สึกได้ ถ้าแตะแบบพื้นที่สัมผัสน้อย จะจี๊ดใหรู้สึกได้ มันจะมี V หรือ I ประมาณเท่าไรครับ ใช้มัลติมิเตอร์วัดจะขึ้นไหมครับ(เพราะผมไม่มั่นใจว่าวัดที่ V นี้จะถูกต้องจริงๆ) และถ้าจะวัดจริงๆ ควรวัดอย่างไรครับ
3. ผมได้ตอกเท่งกราวน์รอดใหม่แล้ว ใช้ความยาว 2.4 ม. แต่ตอกลงไปได้ลึกสุดแค่ราวๆ 2.1 ม. และได้ลองเชื่อมสายเข้าไปดู ยังพบว่า มี V อยู่เหมือนเดิม (เมื่ออีกขั้วหนึ่งจิ้มที่มือของตัวเอง) ซึ่งทำให้ผมสงสัยว่า อาจจะมี V แต่ไม่ได้ไหลผ่านตัวเรา ซึ่งนั่นไม่ใช่วิธีวัดความสำเร็จของการต่อสายดินที่ถูกต้อง ที่ต้องใช้ Earth Tester (แต่ก็ไม่มีปัญญาหาเครื่อง และใช้พื้นที่เทส เพราะเป็นทาวน์เฮ้าส์ปูนทั้งผืน) แล้วผมจะเทสอย่างไรดีครับ ว่าวงจร G ลงดินแล้วอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ