ข้อไหล่ เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อต่อที่เคลื่อนหรือหลุดได้บ่อยที่สุดเช่นกัน
เมื่อเกิดข้อไหล่หลุดครั้งหนึ่งแล้วจะมีโอกาสที่จะหลุดซ้ำอีก
ข้อไหล่หลุด คือภาวะที่หัวกระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้ามากกว่า 90% ส่วนมากจะหลุดมาทางด้านหน้า
เมื่อเกิดข้อไหล่หลุดผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป ขยับแขนไม่ได้ บางรายอาจมีอาการแขนชาจากการบาดเจ็บ
ของเส้นประสาทข้อไหล่หลุด จัดเป็นหนึ่งในภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทันที
จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่า รูปร่างของข้อไหล่มีลักษณะคล้ายกับลูกกอล์ฟที่ตั้งอยู่บนที่ตั้งลูกกอล์ฟ
คือหัวกระดูกต้นแขน (humeral head) ส่วนที่ตั้งลูกกอล์ฟคือเบ้ากระดูกสะบัก (glenoid) ที่มีลักษณะเป็นแอ่งตื้นๆ
ธรรมชาติสร้างให้ข้อไหล่มีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วยดารสร้างขอบที่เป็นกระดูกอ่อน (glenoidal labrum)
เพื่อเพิ่มความลึกของเบ้าและมีเยื่อหุ้มข้อต่อโดยรอบที่แข็งแรง (glenohumeral ligament) นอกจากรูปร่างของกระดูกหัวไหล่แล้ว
กล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงของข้อไหล่
สาเหตุของข้อไหล่หลุด
ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น แขนถูกกระชากหรือกระแทก โรคลมชัก ไฟฟ้าช็อต ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ
เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทต้นแขน ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด
(Ehler - Danlos syndrome, Marfan’syndrome)
การรักษาข้อไหล่หลุด
แพทย์จะให้ยาระงับปวด ดึงข้อไหล่ให้เข้าที่ แล้วยึดตรึงข้อไหล่ให้นิ่งด้วยผ้าคล้องแขนประมาณ 2 -3 สัปดาห์
จากนั้นจะทำกายภาพบำบัดและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ ข้อควรระวังคือบ่อยครั้งที่ผู้ใกล้ชิด
จะช่วยดึงข้อไหล่ให้กลับเข้าที่กันเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียกับผู้ป่วย เนื่องจากภาวะข้อไหล่หลุดอาจเกิดร่วมกับกระดูกหัก
หรือการบาดเจ็บของเส้นเลือดและเส้นประสาท จำเป็นต้องตรวจอย่างละเอียดก่อนทำการรักษา
ดังนั้นควรส่งผู้ป่วยที่สงสัยว่าข้อไหล่หลุดมาพบแพทย์เสมอ
แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด
1. ลดอาการปวดบริเวณข้อไหล่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ร่วมด้วย
2. ดึงดัดข้อไหล่ เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้มากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไหล่ติดร่วมด้วย
3. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่
4. ให้คำแนะนำถึงการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค
สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อไหล่หลุดซ้ำบ่อยๆ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่รุนแรงจนโครงสร้างข้อไหล่ไม่มั่นคง
หรือจากการยึดตรึงหัวไหล่ไว้ไม่นานพอ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้หัวไหล่จะหลวมและหลุดได้ง่ายเช่น ขณะยกแขนสูงกว่าระดับไหล่
หรือนอนยกแขนก่ายหน้าผาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถดึงหัวไหล่กลับเข้าที่ได้ง่าย แต่หัวไหล่จะหลุดซ้ำบ่อยๆ จนรบกวนชีวิตประจำวัน
การรักษาคือการบริหารกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ให้แข็งแรงขึ้น ถ้าหัวไหล่ยังหลุดอยู่จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมขอบกระดูกอ่อน
เยื่อหุ้มข้อ หรือ เสริมกระดูกส่วนที่แตก ผลสำเร็จของการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด สามารถป้องกันข้อไหล่หลุดซ้ำได้ประมาณ 90 %
ในปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะข้อไหล่เป็นข้อที่อยู่ลึก การผ่าตัดโดยวิธีเปิด
จะต้องแหวกผ่านกล้ามเนื้อหลายชั้น แผลผ่าตัดค่อนข้างใหญ่ ส่วนการผ่าตัดผ่าน กล้องส่องข้อจะเป็นการเจาะรู
แผลผ่าตัดเล็ก มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หากแต่อุปกรณ์ผ่าตัดยังมีราคาแพงอยู่บ้าง
การดูแลหลังผ่าตัดจะต้องป้องกันการบาดเจ็บซ้ำในช่วง 6 สัปดาห์แรก จากนั้นทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องอีกประมาณ 3 เดือน
จึงจะกลับไปใช้งานได้ตามปกติ
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
เมื่อข้อไหล่เคลื่อนหรือหลุด ควรทำอย่างไร
เมื่อเกิดข้อไหล่หลุดครั้งหนึ่งแล้วจะมีโอกาสที่จะหลุดซ้ำอีก
ข้อไหล่หลุด คือภาวะที่หัวกระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้ามากกว่า 90% ส่วนมากจะหลุดมาทางด้านหน้า
เมื่อเกิดข้อไหล่หลุดผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป ขยับแขนไม่ได้ บางรายอาจมีอาการแขนชาจากการบาดเจ็บ
ของเส้นประสาทข้อไหล่หลุด จัดเป็นหนึ่งในภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทันที
จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่า รูปร่างของข้อไหล่มีลักษณะคล้ายกับลูกกอล์ฟที่ตั้งอยู่บนที่ตั้งลูกกอล์ฟ
คือหัวกระดูกต้นแขน (humeral head) ส่วนที่ตั้งลูกกอล์ฟคือเบ้ากระดูกสะบัก (glenoid) ที่มีลักษณะเป็นแอ่งตื้นๆ
ธรรมชาติสร้างให้ข้อไหล่มีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วยดารสร้างขอบที่เป็นกระดูกอ่อน (glenoidal labrum)
เพื่อเพิ่มความลึกของเบ้าและมีเยื่อหุ้มข้อต่อโดยรอบที่แข็งแรง (glenohumeral ligament) นอกจากรูปร่างของกระดูกหัวไหล่แล้ว
กล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงของข้อไหล่
สาเหตุของข้อไหล่หลุด
ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น แขนถูกกระชากหรือกระแทก โรคลมชัก ไฟฟ้าช็อต ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ
เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทต้นแขน ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด
(Ehler - Danlos syndrome, Marfan’syndrome)
การรักษาข้อไหล่หลุด
แพทย์จะให้ยาระงับปวด ดึงข้อไหล่ให้เข้าที่ แล้วยึดตรึงข้อไหล่ให้นิ่งด้วยผ้าคล้องแขนประมาณ 2 -3 สัปดาห์
จากนั้นจะทำกายภาพบำบัดและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ ข้อควรระวังคือบ่อยครั้งที่ผู้ใกล้ชิด
จะช่วยดึงข้อไหล่ให้กลับเข้าที่กันเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียกับผู้ป่วย เนื่องจากภาวะข้อไหล่หลุดอาจเกิดร่วมกับกระดูกหัก
หรือการบาดเจ็บของเส้นเลือดและเส้นประสาท จำเป็นต้องตรวจอย่างละเอียดก่อนทำการรักษา
ดังนั้นควรส่งผู้ป่วยที่สงสัยว่าข้อไหล่หลุดมาพบแพทย์เสมอ
แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด
1. ลดอาการปวดบริเวณข้อไหล่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ร่วมด้วย
2. ดึงดัดข้อไหล่ เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้มากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไหล่ติดร่วมด้วย
3. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่
4. ให้คำแนะนำถึงการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค
สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อไหล่หลุดซ้ำบ่อยๆ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่รุนแรงจนโครงสร้างข้อไหล่ไม่มั่นคง
หรือจากการยึดตรึงหัวไหล่ไว้ไม่นานพอ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้หัวไหล่จะหลวมและหลุดได้ง่ายเช่น ขณะยกแขนสูงกว่าระดับไหล่
หรือนอนยกแขนก่ายหน้าผาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถดึงหัวไหล่กลับเข้าที่ได้ง่าย แต่หัวไหล่จะหลุดซ้ำบ่อยๆ จนรบกวนชีวิตประจำวัน
การรักษาคือการบริหารกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ให้แข็งแรงขึ้น ถ้าหัวไหล่ยังหลุดอยู่จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมขอบกระดูกอ่อน
เยื่อหุ้มข้อ หรือ เสริมกระดูกส่วนที่แตก ผลสำเร็จของการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด สามารถป้องกันข้อไหล่หลุดซ้ำได้ประมาณ 90 %
ในปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะข้อไหล่เป็นข้อที่อยู่ลึก การผ่าตัดโดยวิธีเปิด
จะต้องแหวกผ่านกล้ามเนื้อหลายชั้น แผลผ่าตัดค่อนข้างใหญ่ ส่วนการผ่าตัดผ่าน กล้องส่องข้อจะเป็นการเจาะรู
แผลผ่าตัดเล็ก มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หากแต่อุปกรณ์ผ่าตัดยังมีราคาแพงอยู่บ้าง
การดูแลหลังผ่าตัดจะต้องป้องกันการบาดเจ็บซ้ำในช่วง 6 สัปดาห์แรก จากนั้นทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องอีกประมาณ 3 เดือน
จึงจะกลับไปใช้งานได้ตามปกติ
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด