อาการปวดไหล่เรื้อรังจากเอ็นหัวไหล่อักเสบ ไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจากการไม่สามารถใช้แขนได้สะดวก แต่ผู้ป่วยยังต้องทนทรมานจากอาการปวดด้วย โดยสาเหตุของอาการปวดไหล่เรื้อรังมักเกิดจากเอ็นหัวไหล่บาดเจ็บหรือฉีกขาด ทั้งจากการเล่นกีฬา ใช้งานหนัก รวมทั้งอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ บางรายอาจร้าวมาถึงข้อศอก หากปล่อยไว้อาจทำให้เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดมากขึ้นและส่งผลกระทบไปยังเส้นเอ็นอื่นได้
การรักษาเอ็นหัวไหล่อักเสบ แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
-
ยาและกายภาพบำบัด ในกรณีที่เส้นเอ็นอักเสบหรือฉีกขาดขนาดน้อยกว่า 50% แพทย์จะให้รับประทานยาหรือฉีดยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดและงดใช้งานไหล่ชั่วคราว ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นและกลับไปใช้งานไหล่ได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติ
-
ผ่าตัดส่องกล้อง ในกรณีที่เส้นเอ็นฉีกขาดเกิน 50% หรือน้อยกว่านั้นแต่รักษาด้วยยาและกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เพื่อให้ไหล่สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันไม่น่ากลัวเพราะมีเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยจะมีแผลผ่าตัดขนาด 1 เซนติเมตรเท่านั้น จึงลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและผิวหนังช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดไหล่ ควรรีบมาพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้อาการปวดเรื้อรังและเส้นเอ็นบาดเจ็บมากขึ้น กลายเป็นความทรมานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ข้อมูลโดย
นพ. รัฐภูมิ วัชโรภาส ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ - เวชศาสตร์การกีฬาและโรคข้อไหล่
ปวดไหล่…ไม่ใช่เรื่องที่ต้องทน
การรักษาเอ็นหัวไหล่อักเสบ แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
- ยาและกายภาพบำบัด ในกรณีที่เส้นเอ็นอักเสบหรือฉีกขาดขนาดน้อยกว่า 50% แพทย์จะให้รับประทานยาหรือฉีดยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดและงดใช้งานไหล่ชั่วคราว ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นและกลับไปใช้งานไหล่ได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติ
- ผ่าตัดส่องกล้อง ในกรณีที่เส้นเอ็นฉีกขาดเกิน 50% หรือน้อยกว่านั้นแต่รักษาด้วยยาและกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เพื่อให้ไหล่สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันไม่น่ากลัวเพราะมีเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยจะมีแผลผ่าตัดขนาด 1 เซนติเมตรเท่านั้น จึงลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและผิวหนังช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดไหล่ ควรรีบมาพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้อาการปวดเรื้อรังและเส้นเอ็นบาดเจ็บมากขึ้น กลายเป็นความทรมานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ข้อมูลโดย นพ. รัฐภูมิ วัชโรภาส ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ - เวชศาสตร์การกีฬาและโรคข้อไหล่