นางอัปสร: ภาพสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจและเพศสถานะบนสวรรค์

นางอัปสร หรือ นางอัปสรา (Apsara)
หินสลักนางรำในดินแดนอีสานใต้ สปป.ลาว และชายแดนไทย-ขะแมร์

(ผู้เขียนประมวลข้อมูลจากแหล่งสืนค้นต่างๆ)

ถ่ายจาก: ปราสาทหินวัดพู (มรดกโลกทางวัฒนธรรม) เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว (Wat Phou, Champasak, Lao PDR.)

ในท้องถิ่นมีปรัมปรา เรื่องเล่า นิทาน ตำนาน เกี่ยวกับเรื่องราวของเทพสตรีนามว่า อัปสร หรือ อัปสรา เทพนางรำผู้มีความสามารถแตกต่างหลากหลาย หลายคนสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของนาง รวมถึงงานศึกษาเชิงวิชาการบางชิ้นได้วิเคราะห์เกี่ยวกับ มุมมองสภาพสังคมของชาวเขมรผ่านภาพสลักอัปสรา ปรากฏข้อเท็จริงของเรื่องราวว่า นางอัปสรา คือ เทพนางรำ นางระบำ หรือเทพธิดารื่นรมย์แห่งสรวงสวรรค์ บ้างก็เล่าว่า นางคือนางบำเรอบนท้องฟ้า คำว่า "อัปสร" มาจากคำว่า "อัป" ในภาษาสันสกฤต หมายถึง น้ำ และ "สร" หมายถึง การเคลื่อนไป ดังนั้น "อัปสร" จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำอันเป็นกำเนิดของนางจากการกวนเกษียรสมุทร 14 อย่าง ซึ่ง 1 ในนั้นคือนางอัปสร (35 ล้านองค์) ตามมหากาพย์มหาภารตะอินเดีย

ของ 10 อย่างที่กำเนิดขึ้นจากการกวนเกียรสมุทร ได้แก่
1. ดวงจันทร์ พระศิวะหยิบมาปักไว้บนเกศ
2. เพชรเกาสตุภะ
3. ดอกบัวลอยขึ้นมาพร้อมพระลักษมี
4. วารุณี เทวีแห่งสุรา
5. ช้างเผือกเอราวัณ
6. ม้าอุจฉัยศรพ
7. ต้นปาริชาติ
8. โคสุรภี หรือ โคอุสุภราช พร้อมของหอม
9. หริธนู
10.สังข์
11.ปวงเทพีอัปสรสวรรค์
12.พิษร้าย ฝูงนาคและงูสูบพิษไว้
13.ธันวันตริ แพทย์สวรรค์
14.หม้อน้ำทิพย์อมฤต

ถ่ายจาก: ปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย (Prang Ku Castle, Sriket Province, Thailand)

เหล่าเทพมักจะให้เทพหญิงงามเหล่านี้ลงไปโลกมนุษย์เพื่อทำลายตะบะฤาษีที่เกรงว่าจะเก่งกล้ากว่าเทวดา และหลอกล่อยั่วยวนหลอกล่อเหล่าอสูรให้ลุ่มหลงในกาม นางอัปสรจึงถูกจัดเป็นเทพชั้นต่ำของสวรรค์เพราะยังติดอยู่กับรูป รส กลิ่น และเสียง

ถ่ายจาก: ผามออีแดง อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ (Pha moo E-Dang, Sriket Province, Thailand-Cambodia Border)

โดยนางอัปสร มีอำนาจแปลงกาย ระบำ รำ เต้น และเล่นดนตรี ซึ่งแต่ละนางมีความสามารถ และเครื่องแต่งกายงดงามแตกต่างกัน ปรากฎภาพสลักมากมายตามปราสาทหิน ทับหลัง ปรางค์ ฯลฯ แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนมากในดินแดนแถบลุ่มน้ำโขงและประเทศแถบอุษาคเนย์ อาทิ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ไทย สปป.ลาว และกัมพูชา เป็นต้น นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเดินทางไปชมความงามของภาพสลักได้ที่จังหวัดทางภาคอีสานตอนลางของประเทศไทย อาทิ โคราช บุรีรีมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี หรือ ปราสาทหินวัดพู ในเขตเมืองจำปาสัก แขวงปากเซ สปป.ลาว  หรือภาพสลักจำนวนมากที่นครวัด กัมพูชา

ถ่ายจาก: ปราสาทหินระแงง หรือศรีขรภูมิ อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ประเทศไทย (Srikhoraphum Temple, Surin Province, Thailand)

อย่างไรก็ตาม นางอัปสรา หรือนางอัปสร ถูกยกย่องให้เป็นเทพสตรีที่มีความสามารถ เช่น ปราสาทนครวัดในกัมพูชามีภาพสลักของนางอัปสรมากมาย และเป็นเทพแห่งความดีงาม ซึ่งผู้ที่ต้องการมีบุตรก็ให้ไปลูบที่เต้านมของนาง ที่รับอิทธิผลตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และถูกสลักไว้บนหินของปราสาทโบราณต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับชั้นวรรณะ และสะท้อนมิติความสัมพันธ์เชิงอำนาจและเพศสถานะบนสรวงสวรรค์ ที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนา

ติดตามและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่ Facebook แฟนเพจ Mekong Basin Folk-Tales
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่