ตอนที่ 1 อ่านที่นี้
http://ppantip.com/topic/33666695
วันที่ 3 วัดสีสุมั่ง-วัดพู-วัดนางสีดา-วัดบ้านเมืองกาง-จำปาสัก-ล่องเรื่อข้ามโขง-วัดโตะโมะ(อูบมง)
ตื่นมาสดใสพร้อมตะลุยต่อ วันนี้จุดหมายแรกคือวัดพูค่ะ ก็ออกเดินทางตั้งแต่เช้าเพื่อจะไปวัดพู แต่ว่าเส้นทางที่ไปนั้นต้องผ่านทางด่วนลาว ก็ไม่รู้ว่าต้องจ่ายเงินไหมแต่จขกท.ไม่ได้จ่าย ก็ขับไปเรื่อยๆเจอด่านจ้าาาาาาาาาา ตำรวจลาวเรียกค่ะ ก็จอดรถ แล้วท่านตำรวจก็ถามว่ามาจากไหน ประเทศอะไร แล้วก็ขอหลักฐานแสดงรถ ก็มึนค่ะ ไม่เอามา จะกลับไปเอาท่านตำรวจก็กล่าวว่า "ถึงกลับไปเอาก็ต้องจ่ายอยู่ดี" ก็...จ่ายดีกว่าเนอะ โดนไปเบาๆ 95,000 กีบ
ไปต่อค่ะ ขับตามทางมาเรื่อยๆ ได้นิดนึงก็หิวน้ำ เลยแวะซื้อกาแฟที่ร้านกาแฟสินุก ผ่านตัวเมืองจำปาสักเห็นวัดริมฝั่งโขงเลยแวะเข้าไปดู เป็นพระพุทธรูปหันหน้าไปทางแม่น้ำโขงอีกค่ะ วัดนี้ชื่อวัดสีสุมั่งวัดเก่าแก่อายุได้กว่า 300 ปี แต่ว่าร้างเพราะแม่น้ำเปลี่ยนทิศทาง
จากจำปาสักก็ไปทางใต้ราว 10กม. ถึงวัดพูค่ะ เข้ามาในวัดพูก็ไปพิพิธภัณฑ์โบราณสถานวัดพูก่อนค่ะ อ่านประวัติ์ความเป็นมานิดนึง ด้านในไม่ให้ถ่ายภาพนะคะ
ธงชาติลาว
จากนั้นนั่งรถกอล์ฟเข้ามาชมปราสาทด้านใน ระยะทางไกลนะคะ ถ้าอยากเดินก็ได้ค่ะ แต่ไม่เดินดีกว่า
ปราสาทหินวัดพู : นครวัดมีถนนเชื่อมต่ออยู่สามสาย สายหนึ่งไปยังอาณาจักรจามปาในเวียดนาม สายหนึ่งมายังไทย และอีกสายหนึ่งทอดไปสู่วัดพูจำปาสักแห่งนี้ ครั้งอดีตกาลบริเวศรัศมี 40กม. รอบจำปาสักหนาแน่นไปด้วยประชากร เป็นเมืองสำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยางมาก และมีวัดพูเป็นศาสนสถานเอกประจำเมือง ความที่ตั้งอยู่ระหว่างพูเก้าซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ กับแม่น้ำโขงซึ่งถือแทนมหาสมุทรสีทันดร วัดพูจึงดำรงความเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มาได้อย่างต่อเนื่อง เริ่มจากเป็นเทวสถานฮินดูในยุดอาณาจักรเจนละ คริสต์ศตวรรษที่ 7 สืบเนื่องสู่ยุคนครวัด ต่อมาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 จึงเปลี่ยนเป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วคลายความรุ่งเรืองลงในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบัน UNESCO ประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ของลาว ถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาชาวลาวใต้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
ภายในก็จะมี
บาราย อ่างเก็บน้ำตามแบบขอม
เบื้องหลังเห็นพูเก้าหรือลิงคบรรพต ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีรูปคล้ายศิวลึงค์
โรงโคนนท์ ปราสาทหินทรายขนาดเล็ก เป็นที่พักของวัวซึ่งเป็นพาหนะพระศิวะ และเป็นจุดปลายถนนที่เชื่อมต่อไปนครวัด
โรงท้าว โรงนาง อาคาร 44x62 เมตร ตรงกลางเป็นสนามหญ้ากว้าง ล้อมรอบด้วยระเบียงคดสี่ด้าน ด้านหน้าเชื่อมต่อด้วยทางเดินและซุ้มประตูแกะสลักงดงาม สันนิษฐานว่าเอาไว้ใช้ประกอบพิธีกรรม มีอายุราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11
ต้นตาลคู่
ทวารบาล นายประตูหินแกะสลักศิลปะบาปวน อายุปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 บ้างก็เชื่อว่าเป็นตัวแทนพญานาคกมมะทา กษัตริย์ผู้สร้างวัดพู
ซุ้มจำปา
ปราสาทประธาน เทวาลัยหลักซึ่งสร้างขึ้นอุทิศแด่พระศิวะ ด้านหน้าแกะสลักลายทวารบาลและนางอัปสรอย่างวิจิตรบรรจง
ประตูด้านในมีทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สะท้อนศิลปะบาปวนอายุกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11
แต่เดิมภายในเป็นที่ประดิษฐานศิวะลึงค์ทองคำ แต่เปลี่ยนมาเป็นพุทธรูปตามความเชื่อในภายหลัง
ส่วนของปราสาทด้านหลังที่เป็นอิฐนั้นถูกสร้างขึ้นก่อนส่วนหน้าที่เป็นหินถึง 400 ปี
ลวดลายหน้ากาลบนทับหลัง
นางอัปสร
น้ำศักดิ์สิทธิ์ น้ำพุธรรมชาติซึ่งเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ไหลตามร่องหินมารวมกันที่ใต้ผา ขาวบ้านนิยมนำมาใส่ขวดกลับไปบูชา เดิมมีรางน้ำเรียกว่าโสมสูตรต่อให้น้ำไหลเข้าไปถึงปราสาทประธาน รดศิวลึงค์ภายในให้ชุ่มฉ่ำตลอดเวลา
โบสถ์ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานอิฐและหิน ล้อมรอบด้วยใบเสมา ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดกลาง
พระตรีมูรติ รูปสลักสามมหาเทพ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์
หินแกะสลักรูปจระเข้และบันไดนาค อายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 สันนิษฐานว่าชาวเจนละสร้างไว้ประกอบพิธีบูชายัญมนุษย์
หินแกะสลักรูปช้าง
ชมปราสาทหินวัดพูเสร็จก็ไปต่อกันที่วัดนางสีดาค่ะ ออกจากวัดพูก็ขับรถไปตามถนนเลียบฝั่งขวาของวัดพูจนสุดสามแยกจึงเลี้ยวซ้าย ตรงไปประมาณ 850ม. ก็จะเจอวัดนางสีดา ถนนที่มาวีดนางสีดาเป็นถนนโบราณ ซึ่งเชื่อมระหว่างวัดพูกับนครวัดนะคะ
ตามนิทานเก่าแก่ของลาว นางสีดาได้ถูกนำมาขังไว้ที่นี่เพื่อเป็นอาหารของยักษ์ ส่วนในความเป็นจริง ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานขอมเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 5 บนถนนโบราณที่เชื่อมระหว่างวัดพูกับนครวัด
ปัจจุบันตัวปราสาทพังทลายลงเป็นกองหินเสียเกินครึ่งองค์
ออกจากวัดนางสีดาแล้วก็วิ่งกลับทางเดิมไปยังเมืองจำปาสัก แต่ระหว่างทางไปจำปาสักก็แวะวัดบ้านเมืองกาง
วัดบ้านเมืองกางหรือวัดพุดทะวะนาราม - เป็นวัดเก่าแก่ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
หอไตรจตุรมุขสองชั้น ยอดหลังคาทรงฝรั่ง ประดับลวดลายจีนแปลกตา
อุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาสามชั้นรายรอบด้วยเสาพาไล
ศาลาการเปรียญมีกลิ่นอายของเฟรนช์โคโลเนียลในขณะที่เครื่องบนมีช่อฟ้าใบระกาครบ ผสานศิลปะตะวันตกกับตะวันออกได้อย่างงดงาม
ด้านหลังวัดเป็นแม่น้ำโขงคะ มีทางลงไปด้านล่างด้วย
เสร็จจากสำรวจบ้านเมืองกางก็ได้ตรงไปยังเมืองจำปาสัก
หาข้าวทานรองท้องซักหน่อยที่ร้านอาหารอินทรา
ชมเมืองจำปาสักสักหน่อย
บ้านเจ้าราชดนัย - พระตำหนักของเจ้าผู้ครองนครจำปาสัก พระบิดาของเจ้าบุญอุ้มอดีตนายกรัฐมนตรีลาว
บ้านเจ้าบุญอ้อม - พระตำหนักพระโอรสของเจ้าราชดนัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว
[CR] รีวิวปากเซ-จำปาสัก <เที่ยวลาวใต้ด้วยตัวเอง> ตอนที่ 2
วันที่ 3 วัดสีสุมั่ง-วัดพู-วัดนางสีดา-วัดบ้านเมืองกาง-จำปาสัก-ล่องเรื่อข้ามโขง-วัดโตะโมะ(อูบมง)
ตื่นมาสดใสพร้อมตะลุยต่อ วันนี้จุดหมายแรกคือวัดพูค่ะ ก็ออกเดินทางตั้งแต่เช้าเพื่อจะไปวัดพู แต่ว่าเส้นทางที่ไปนั้นต้องผ่านทางด่วนลาว ก็ไม่รู้ว่าต้องจ่ายเงินไหมแต่จขกท.ไม่ได้จ่าย ก็ขับไปเรื่อยๆเจอด่านจ้าาาาาาาาาา ตำรวจลาวเรียกค่ะ ก็จอดรถ แล้วท่านตำรวจก็ถามว่ามาจากไหน ประเทศอะไร แล้วก็ขอหลักฐานแสดงรถ ก็มึนค่ะ ไม่เอามา จะกลับไปเอาท่านตำรวจก็กล่าวว่า "ถึงกลับไปเอาก็ต้องจ่ายอยู่ดี" ก็...จ่ายดีกว่าเนอะ โดนไปเบาๆ 95,000 กีบ
ไปต่อค่ะ ขับตามทางมาเรื่อยๆ ได้นิดนึงก็หิวน้ำ เลยแวะซื้อกาแฟที่ร้านกาแฟสินุก ผ่านตัวเมืองจำปาสักเห็นวัดริมฝั่งโขงเลยแวะเข้าไปดู เป็นพระพุทธรูปหันหน้าไปทางแม่น้ำโขงอีกค่ะ วัดนี้ชื่อวัดสีสุมั่งวัดเก่าแก่อายุได้กว่า 300 ปี แต่ว่าร้างเพราะแม่น้ำเปลี่ยนทิศทาง
จากจำปาสักก็ไปทางใต้ราว 10กม. ถึงวัดพูค่ะ เข้ามาในวัดพูก็ไปพิพิธภัณฑ์โบราณสถานวัดพูก่อนค่ะ อ่านประวัติ์ความเป็นมานิดนึง ด้านในไม่ให้ถ่ายภาพนะคะ
ธงชาติลาว
จากนั้นนั่งรถกอล์ฟเข้ามาชมปราสาทด้านใน ระยะทางไกลนะคะ ถ้าอยากเดินก็ได้ค่ะ แต่ไม่เดินดีกว่า
ปราสาทหินวัดพู : นครวัดมีถนนเชื่อมต่ออยู่สามสาย สายหนึ่งไปยังอาณาจักรจามปาในเวียดนาม สายหนึ่งมายังไทย และอีกสายหนึ่งทอดไปสู่วัดพูจำปาสักแห่งนี้ ครั้งอดีตกาลบริเวศรัศมี 40กม. รอบจำปาสักหนาแน่นไปด้วยประชากร เป็นเมืองสำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยางมาก และมีวัดพูเป็นศาสนสถานเอกประจำเมือง ความที่ตั้งอยู่ระหว่างพูเก้าซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ กับแม่น้ำโขงซึ่งถือแทนมหาสมุทรสีทันดร วัดพูจึงดำรงความเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มาได้อย่างต่อเนื่อง เริ่มจากเป็นเทวสถานฮินดูในยุดอาณาจักรเจนละ คริสต์ศตวรรษที่ 7 สืบเนื่องสู่ยุคนครวัด ต่อมาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 จึงเปลี่ยนเป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วคลายความรุ่งเรืองลงในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบัน UNESCO ประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ของลาว ถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาชาวลาวใต้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
ภายในก็จะมี บาราย อ่างเก็บน้ำตามแบบขอม
เบื้องหลังเห็นพูเก้าหรือลิงคบรรพต ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีรูปคล้ายศิวลึงค์
โรงโคนนท์ ปราสาทหินทรายขนาดเล็ก เป็นที่พักของวัวซึ่งเป็นพาหนะพระศิวะ และเป็นจุดปลายถนนที่เชื่อมต่อไปนครวัด
โรงท้าว โรงนาง อาคาร 44x62 เมตร ตรงกลางเป็นสนามหญ้ากว้าง ล้อมรอบด้วยระเบียงคดสี่ด้าน ด้านหน้าเชื่อมต่อด้วยทางเดินและซุ้มประตูแกะสลักงดงาม สันนิษฐานว่าเอาไว้ใช้ประกอบพิธีกรรม มีอายุราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11
ต้นตาลคู่
ทวารบาล นายประตูหินแกะสลักศิลปะบาปวน อายุปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 บ้างก็เชื่อว่าเป็นตัวแทนพญานาคกมมะทา กษัตริย์ผู้สร้างวัดพู
ซุ้มจำปา
ปราสาทประธาน เทวาลัยหลักซึ่งสร้างขึ้นอุทิศแด่พระศิวะ ด้านหน้าแกะสลักลายทวารบาลและนางอัปสรอย่างวิจิตรบรรจง
ประตูด้านในมีทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สะท้อนศิลปะบาปวนอายุกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11
แต่เดิมภายในเป็นที่ประดิษฐานศิวะลึงค์ทองคำ แต่เปลี่ยนมาเป็นพุทธรูปตามความเชื่อในภายหลัง
ส่วนของปราสาทด้านหลังที่เป็นอิฐนั้นถูกสร้างขึ้นก่อนส่วนหน้าที่เป็นหินถึง 400 ปี
ลวดลายหน้ากาลบนทับหลัง
นางอัปสร
น้ำศักดิ์สิทธิ์ น้ำพุธรรมชาติซึ่งเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ไหลตามร่องหินมารวมกันที่ใต้ผา ขาวบ้านนิยมนำมาใส่ขวดกลับไปบูชา เดิมมีรางน้ำเรียกว่าโสมสูตรต่อให้น้ำไหลเข้าไปถึงปราสาทประธาน รดศิวลึงค์ภายในให้ชุ่มฉ่ำตลอดเวลา
โบสถ์ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานอิฐและหิน ล้อมรอบด้วยใบเสมา ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดกลาง
พระตรีมูรติ รูปสลักสามมหาเทพ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์
หินแกะสลักรูปจระเข้และบันไดนาค อายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 สันนิษฐานว่าชาวเจนละสร้างไว้ประกอบพิธีบูชายัญมนุษย์
หินแกะสลักรูปช้าง
ชมปราสาทหินวัดพูเสร็จก็ไปต่อกันที่วัดนางสีดาค่ะ ออกจากวัดพูก็ขับรถไปตามถนนเลียบฝั่งขวาของวัดพูจนสุดสามแยกจึงเลี้ยวซ้าย ตรงไปประมาณ 850ม. ก็จะเจอวัดนางสีดา ถนนที่มาวีดนางสีดาเป็นถนนโบราณ ซึ่งเชื่อมระหว่างวัดพูกับนครวัดนะคะ
ตามนิทานเก่าแก่ของลาว นางสีดาได้ถูกนำมาขังไว้ที่นี่เพื่อเป็นอาหารของยักษ์ ส่วนในความเป็นจริง ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานขอมเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 5 บนถนนโบราณที่เชื่อมระหว่างวัดพูกับนครวัด
ปัจจุบันตัวปราสาทพังทลายลงเป็นกองหินเสียเกินครึ่งองค์
ออกจากวัดนางสีดาแล้วก็วิ่งกลับทางเดิมไปยังเมืองจำปาสัก แต่ระหว่างทางไปจำปาสักก็แวะวัดบ้านเมืองกาง
วัดบ้านเมืองกางหรือวัดพุดทะวะนาราม - เป็นวัดเก่าแก่ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
หอไตรจตุรมุขสองชั้น ยอดหลังคาทรงฝรั่ง ประดับลวดลายจีนแปลกตา
อุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาสามชั้นรายรอบด้วยเสาพาไล
ศาลาการเปรียญมีกลิ่นอายของเฟรนช์โคโลเนียลในขณะที่เครื่องบนมีช่อฟ้าใบระกาครบ ผสานศิลปะตะวันตกกับตะวันออกได้อย่างงดงาม
ด้านหลังวัดเป็นแม่น้ำโขงคะ มีทางลงไปด้านล่างด้วย
เสร็จจากสำรวจบ้านเมืองกางก็ได้ตรงไปยังเมืองจำปาสัก
หาข้าวทานรองท้องซักหน่อยที่ร้านอาหารอินทรา
ชมเมืองจำปาสักสักหน่อย
บ้านเจ้าราชดนัย - พระตำหนักของเจ้าผู้ครองนครจำปาสัก พระบิดาของเจ้าบุญอุ้มอดีตนายกรัฐมนตรีลาว
บ้านเจ้าบุญอ้อม - พระตำหนักพระโอรสของเจ้าราชดนัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว