ทำไม ?
คำตอบก็ง่าย ๆ ครับ เพราะไม่เข้าข้อกฎหมายน่ะสิ
เป็นเรื่องข้อกฎหมายครับ ไม่ใช่เรื่องความรู้สึก
แบบที่หลายคนรู้สึกว่า ทำลายประเทศ ต้องลงโทษ ต้องไล่ไปอยู่ประเทศอื่น ต้องดำเนินคดี ฯลฯ
ไม่ได้ครับ จะเอาความรู้สึกมาอ้างเพื่อเอาผิดไม่ได้ ขืนทำ ตำรวจจะโดนข้อหาปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
ตามอาญามาตรา 157 และ 200
อย่างที่เคยตั้งกระทู้ครับ ว่า จะเอาผิดใครทางกฎหมาย ต้องมีข้อเท็จจริง มีข้อกฎหมายรองรับ
จะใช้แค่ความรู้สึกไม่ได้
เช่น มีคนพูดว่า คน ๆ หนึ่งชอบอ้างว่าตัวเองหล่อ ก็หล่อจริงแระ แต่โม้เกินไป
อย่างนี้ หล่อขวัญจะ "รู้สึก" เองไม่ได้ว่า คนอื่นพูดพาดพิงให้ตัวเองเสียหาย
เพราะคำพูดนั้น ไม่ได้ระบุถึงใครชัดเจนในทางข้อเท็จจริงอันนำไปสู่ข้อกฎหมาย
จะใช้แค่ความรู้สึกว่า เฮ้ย แบบนี้ ทำให้เสียหาย ต้องแจ้งความ
ไม่ได้เด็ดขาดครับ
ขืนทำ ก็จะโดนอาญา ดังต่อไปนี้
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
มาตรา 174 ถ้าการแจ้งข้อความตามมาตรา 172 หรือมาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรก เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(แจ้งความเท็จ ก็คือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม(ตำรวจ) ตำรวจก็กลายเป็นพยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้)
สาหัสครับ
อย่าเข้าใจผิดนะครับ ว่าเมื่อแจ้งความแล้ว ตำรวจรับแจ้งแล้ว คือสบายแล้ว
เพราะหน้าที่ตำรวจคือ รับแจ้งความ เมื่อมีเหตุสมควร ตำรวจก็รับแจ้ง จะจริงหรือไม่จริง ตำรวจไม่รู้นะครับ
และเมื่อปรากฎว่าไม่จริง ยกฟ้องเพราะคดีขาดข้อเท็จจริง คราวนี้ คนแจ้งเอาคนอื่นเข้าคุก ก็จะเข้าคุกซะเอง
หรือคิดว่า ไม่รู้นี่ว่าจะผิด เห็นว่าตัวเองเสียหายก็ไปแจ้งความ ผิดด้วยเหรอ
ผิดสิครับ เพราะอย่างที่บอก จะเอาความรู้สึกมาใช้ไม่ได้ เรื่องกฎหมาย ก็ต้องอิงหลักกฎหมาย
ไม่งั้น ใครรู้สึกอะไรขึ้นมา ก็แจ้งความกันโกลาหล
จำไว้นะครับ
เรื่องข้อกฎหมาย ต้องมีความรู้ทางกฎหมาย จะใช้ความรู้สึกไม่ได้
ไม่งั้น จะกลายเป็นจำเลยซะเอง
และเรื่องแบบนี้ ศาลท่านมักไม่เมตตาด้วยครับ เพราะเห็นว่ามีเจตนาจะเอาคนอื่นเข้าคุก
ศาลท่านก็จะให้คุกเป็นรางวัล
อาเมน
ทำไมตำรวจต้องยอมถอยการเอาผิดเรื่องเพลง ............................................. โดย ตระกองขวัญ
คำตอบก็ง่าย ๆ ครับ เพราะไม่เข้าข้อกฎหมายน่ะสิ
เป็นเรื่องข้อกฎหมายครับ ไม่ใช่เรื่องความรู้สึก
แบบที่หลายคนรู้สึกว่า ทำลายประเทศ ต้องลงโทษ ต้องไล่ไปอยู่ประเทศอื่น ต้องดำเนินคดี ฯลฯ
ไม่ได้ครับ จะเอาความรู้สึกมาอ้างเพื่อเอาผิดไม่ได้ ขืนทำ ตำรวจจะโดนข้อหาปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
ตามอาญามาตรา 157 และ 200
อย่างที่เคยตั้งกระทู้ครับ ว่า จะเอาผิดใครทางกฎหมาย ต้องมีข้อเท็จจริง มีข้อกฎหมายรองรับ
จะใช้แค่ความรู้สึกไม่ได้
เช่น มีคนพูดว่า คน ๆ หนึ่งชอบอ้างว่าตัวเองหล่อ ก็หล่อจริงแระ แต่โม้เกินไป
อย่างนี้ หล่อขวัญจะ "รู้สึก" เองไม่ได้ว่า คนอื่นพูดพาดพิงให้ตัวเองเสียหาย
เพราะคำพูดนั้น ไม่ได้ระบุถึงใครชัดเจนในทางข้อเท็จจริงอันนำไปสู่ข้อกฎหมาย
จะใช้แค่ความรู้สึกว่า เฮ้ย แบบนี้ ทำให้เสียหาย ต้องแจ้งความ
ไม่ได้เด็ดขาดครับ
ขืนทำ ก็จะโดนอาญา ดังต่อไปนี้
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
มาตรา 174 ถ้าการแจ้งข้อความตามมาตรา 172 หรือมาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรก เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(แจ้งความเท็จ ก็คือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม(ตำรวจ) ตำรวจก็กลายเป็นพยานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้)
สาหัสครับ
อย่าเข้าใจผิดนะครับ ว่าเมื่อแจ้งความแล้ว ตำรวจรับแจ้งแล้ว คือสบายแล้ว
เพราะหน้าที่ตำรวจคือ รับแจ้งความ เมื่อมีเหตุสมควร ตำรวจก็รับแจ้ง จะจริงหรือไม่จริง ตำรวจไม่รู้นะครับ
และเมื่อปรากฎว่าไม่จริง ยกฟ้องเพราะคดีขาดข้อเท็จจริง คราวนี้ คนแจ้งเอาคนอื่นเข้าคุก ก็จะเข้าคุกซะเอง
หรือคิดว่า ไม่รู้นี่ว่าจะผิด เห็นว่าตัวเองเสียหายก็ไปแจ้งความ ผิดด้วยเหรอ
ผิดสิครับ เพราะอย่างที่บอก จะเอาความรู้สึกมาใช้ไม่ได้ เรื่องกฎหมาย ก็ต้องอิงหลักกฎหมาย
ไม่งั้น ใครรู้สึกอะไรขึ้นมา ก็แจ้งความกันโกลาหล
จำไว้นะครับ
เรื่องข้อกฎหมาย ต้องมีความรู้ทางกฎหมาย จะใช้ความรู้สึกไม่ได้
ไม่งั้น จะกลายเป็นจำเลยซะเอง
และเรื่องแบบนี้ ศาลท่านมักไม่เมตตาด้วยครับ เพราะเห็นว่ามีเจตนาจะเอาคนอื่นเข้าคุก
ศาลท่านก็จะให้คุกเป็นรางวัล
อาเมน