ขอแยกกระทู้ออกมาต่างหากเลยละกันนะคะ จะได้คุยประเด็นนี้ให้เต็มที่ไปเลย เพราะอ่านจากหลายกระทู้หลายคนมีมุมมองที่ต่างกัน
ส่วนตัวเรามองว่าพายไม่ได้สมยอมครูเพื่อผลประโยชน์แบบที่มีข่าวนักศึกษาเอาตัวเข้าแลกเกรดแบบนั้นนะคะ เราว่าหนังไม่ได้สะท้อนประเด็นนั้น แต่ตั้งใจจะสะท้อนมุมมืดของสังคมของ "เหยื่อ" ที่ถูกคนที่ใช้สถานภาพสูงกว่าเอาเปรียบล่วงเกินมากกว่า ถ้าใครเคยอ่านหรือดูหนังเกี่ยวกับคดีแนวๆนี้จะรู้ว่า ปัญหาก็คือเหยื่อไม่ได้เต็มใจจะถูกกระทำแต่ไม่กล้าขัดขืน ไม่กล้าเรียกร้อง ไปจนถึงไม่กล้าแม้แต่จะยอมรับว่าตัวเองเป็นเหยื่อ ไม่แน่ใจกรณีเข้าข่าย Stockholm Syndrome หรือเปล่า แต่เคยอ่านเจอว่าเหยื่อที่ถูกล่วงละเมิดโดยเฉพาะตั้งแต่อายุน้อยๆบางทีจะรู้สึกผูกพันธ์กับผู้กระทำ มันเกิดเพราะเป็นกลไกการป้องกันตัวอย่างหนึ่ง เป็นการหลีกหนีความจริง ไม่งั้นอาจจะสติแตกไปก่อนได้
https://en.wikipedia.org/wiki/Stockholm_syndrome
ซึ่งในกรณีพาย เสียดายที่หนังปูแบคกราวด์พายมาน้อยเกินไป แค่พอจะอนุมานได้จากฉากดาดฟ้าว่าพายเป็นเด็กสาวที่การไปแข่งดาราศาสตร์โอลิมปิกเป็นทุกอย่างในชีวิต แต่มันอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องผลประโยชน์ อาจจะด้วยวุฒิภาวะ นิสัย ความหวาดกลัว ความอายที่จะถูกเปิดเผยหรืออะไรก็ตาม ที่ทำให้พายทั้งๆที่เป็นเด็กฉลาดแต่เมื่อเจอปัญหาแบบนี้กลับหลงทางแก้ปัญหาไม่ถูกนอกจากยอมจำนนไป และพยายามหลอกตัวเองว่าจริงๆครูที่กระทำนั้นเป็นคนดี เป็นคนที่ทำให้พายมีวันนี้ ฟังดูแล้วเหมือนพายดูโง่อย่างที่มินว่านั่นแหละ แทนที่จะต่อต้านกลับไปยึดติดและเชิดชูผู้กระทำตนเอง แต่เราคิดว่าหนังสะท้อนออกมาได้เรียลทีเดียว (คนเขียนบทน่าจะศึกษามาแล้ว) ที่พายคิดแบบนั้นมันคือกลไกการป้องกันตัวของพาย ที่ไม่อยากยอมรับความจริงว่าตัวเองเป็นเหยื่อ อาจจะกลัวการสูญเสียผลประโยชน์เรื่องการเรียน และยอมรับตัวเองไม่ได้ที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ จนกระทั่งมาถึงจุดที่มินตอกย้ำเรื่องนี้ตรงๆ พายถึงเริ่มถูกสะกิดมุมนี้ขึ้นมา พอคิดได้เลยกลายเป็นรังเกียจตัวเองและอยากตายขึ้นมาแทน
เราว่ามันเป็นประเด็นสังคมที่ดีมากๆ เสียดายที่หนังดันขยี้ไปไม่สุดคลี่คลายออกมาได้ไม่ชัดพอ ทิ้งไว้กลางทางให้คนไปคิดต่อเอาเอง หลายคนเลยตีความตัวละครนี้ผิดกลายเป็นเด็กสาวโง่ๆน่ารำคาญ บางคนหนักถึงขั้นมองว่าพายนอกใจมินไปอีก จริงๆมันก็ไม่ต่างอะไรกับชีวิตจริงที่เวลาเกิดเหตุการณ์แบบนี้หลายคนเลือกที่จะโทษหยื่อว่าทำไมไม่สู้ ยอมทำไม เต็มใจหรือเปล่า แทนที่จะเยียวยาและปกป้อง จริงๆตัวละครนี้น่าสงสารมากนะคะ การที่หนังสอดแทรกประเด็นนี้มาช่วยสะท้อนให้เข้าใจว่า ทำไมเหยื่อที่อยู่ในสถานะแบบนั้นถึงคิดและตัดสินใจแบบนั้น และส่ง message ถึงสังคมให้ระวังและควรตั้งรับยังไงหากเจอสถานการณ์แบบนี้ เพราะเหตุการณ์แบบนี้มันสามารถเกิดกับเพศไหน สถานะใดก็ได้ทั้ง ครู-ลูกศิษย์ หัวหน้าครอบครัว-คนในครอบครัว เจ้านาย-ลูกน้อง ฯลฯ หรือสำหรับเหยื่อที่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้หรือใครที่มีคนใกล้ตัวเจอเหตุการณ์แบบนี้ เราว่าหนังช่วยให้มุมมองว่าจะก้าวเดินต่อไปได้ยังไง คนรอบข้างจะให้กำลังใจยังไง เหมือนที่มินพยายามช่วยพายยืนยันที่จะอยู่ข้างๆพาย ช่วยให้พายคิดได้เลิกคิดที่จะอยากตายและกลับมามีความสุขกับชีวิตอีกครึ่งหนึ่ง
ถกประเด็นพายใน Homestay ตัวละครที่น่าสงสาร ประเด็นดีมากถ้าเล่นให้ชัดกว่านี้อาจจะยกระดับหนังได้เลย (SPOIL)
ส่วนตัวเรามองว่าพายไม่ได้สมยอมครูเพื่อผลประโยชน์แบบที่มีข่าวนักศึกษาเอาตัวเข้าแลกเกรดแบบนั้นนะคะ เราว่าหนังไม่ได้สะท้อนประเด็นนั้น แต่ตั้งใจจะสะท้อนมุมมืดของสังคมของ "เหยื่อ" ที่ถูกคนที่ใช้สถานภาพสูงกว่าเอาเปรียบล่วงเกินมากกว่า ถ้าใครเคยอ่านหรือดูหนังเกี่ยวกับคดีแนวๆนี้จะรู้ว่า ปัญหาก็คือเหยื่อไม่ได้เต็มใจจะถูกกระทำแต่ไม่กล้าขัดขืน ไม่กล้าเรียกร้อง ไปจนถึงไม่กล้าแม้แต่จะยอมรับว่าตัวเองเป็นเหยื่อ ไม่แน่ใจกรณีเข้าข่าย Stockholm Syndrome หรือเปล่า แต่เคยอ่านเจอว่าเหยื่อที่ถูกล่วงละเมิดโดยเฉพาะตั้งแต่อายุน้อยๆบางทีจะรู้สึกผูกพันธ์กับผู้กระทำ มันเกิดเพราะเป็นกลไกการป้องกันตัวอย่างหนึ่ง เป็นการหลีกหนีความจริง ไม่งั้นอาจจะสติแตกไปก่อนได้
https://en.wikipedia.org/wiki/Stockholm_syndrome
ซึ่งในกรณีพาย เสียดายที่หนังปูแบคกราวด์พายมาน้อยเกินไป แค่พอจะอนุมานได้จากฉากดาดฟ้าว่าพายเป็นเด็กสาวที่การไปแข่งดาราศาสตร์โอลิมปิกเป็นทุกอย่างในชีวิต แต่มันอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องผลประโยชน์ อาจจะด้วยวุฒิภาวะ นิสัย ความหวาดกลัว ความอายที่จะถูกเปิดเผยหรืออะไรก็ตาม ที่ทำให้พายทั้งๆที่เป็นเด็กฉลาดแต่เมื่อเจอปัญหาแบบนี้กลับหลงทางแก้ปัญหาไม่ถูกนอกจากยอมจำนนไป และพยายามหลอกตัวเองว่าจริงๆครูที่กระทำนั้นเป็นคนดี เป็นคนที่ทำให้พายมีวันนี้ ฟังดูแล้วเหมือนพายดูโง่อย่างที่มินว่านั่นแหละ แทนที่จะต่อต้านกลับไปยึดติดและเชิดชูผู้กระทำตนเอง แต่เราคิดว่าหนังสะท้อนออกมาได้เรียลทีเดียว (คนเขียนบทน่าจะศึกษามาแล้ว) ที่พายคิดแบบนั้นมันคือกลไกการป้องกันตัวของพาย ที่ไม่อยากยอมรับความจริงว่าตัวเองเป็นเหยื่อ อาจจะกลัวการสูญเสียผลประโยชน์เรื่องการเรียน และยอมรับตัวเองไม่ได้ที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ จนกระทั่งมาถึงจุดที่มินตอกย้ำเรื่องนี้ตรงๆ พายถึงเริ่มถูกสะกิดมุมนี้ขึ้นมา พอคิดได้เลยกลายเป็นรังเกียจตัวเองและอยากตายขึ้นมาแทน
เราว่ามันเป็นประเด็นสังคมที่ดีมากๆ เสียดายที่หนังดันขยี้ไปไม่สุดคลี่คลายออกมาได้ไม่ชัดพอ ทิ้งไว้กลางทางให้คนไปคิดต่อเอาเอง หลายคนเลยตีความตัวละครนี้ผิดกลายเป็นเด็กสาวโง่ๆน่ารำคาญ บางคนหนักถึงขั้นมองว่าพายนอกใจมินไปอีก จริงๆมันก็ไม่ต่างอะไรกับชีวิตจริงที่เวลาเกิดเหตุการณ์แบบนี้หลายคนเลือกที่จะโทษหยื่อว่าทำไมไม่สู้ ยอมทำไม เต็มใจหรือเปล่า แทนที่จะเยียวยาและปกป้อง จริงๆตัวละครนี้น่าสงสารมากนะคะ การที่หนังสอดแทรกประเด็นนี้มาช่วยสะท้อนให้เข้าใจว่า ทำไมเหยื่อที่อยู่ในสถานะแบบนั้นถึงคิดและตัดสินใจแบบนั้น และส่ง message ถึงสังคมให้ระวังและควรตั้งรับยังไงหากเจอสถานการณ์แบบนี้ เพราะเหตุการณ์แบบนี้มันสามารถเกิดกับเพศไหน สถานะใดก็ได้ทั้ง ครู-ลูกศิษย์ หัวหน้าครอบครัว-คนในครอบครัว เจ้านาย-ลูกน้อง ฯลฯ หรือสำหรับเหยื่อที่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้หรือใครที่มีคนใกล้ตัวเจอเหตุการณ์แบบนี้ เราว่าหนังช่วยให้มุมมองว่าจะก้าวเดินต่อไปได้ยังไง คนรอบข้างจะให้กำลังใจยังไง เหมือนที่มินพยายามช่วยพายยืนยันที่จะอยู่ข้างๆพาย ช่วยให้พายคิดได้เลิกคิดที่จะอยากตายและกลับมามีความสุขกับชีวิตอีกครึ่งหนึ่ง