1. เส้นทางที่เป็นดั่งทองคำ คือ เส้นทางเชื่อม3สนามบิน ที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่มาประมูลมากมาย โดยรัฐบาลได้ให้พื้นที่ตรงมักกะสันให้บริษัทเอกชนไปบริหารจัดการ จึงเป็นเส้นทางที่เนื้อหอมสุดๆ และคาดว่าจะสร้างเสร็จเร็วที่สุดด้วย(แม้จะเริ่มสร้างหลังจากเส้นภาคอีสานก็ตาม)
2. เส้นทางภาคอีสาน เป็นเส้นทางที่จีนต้องการเชื่อมมาจากเวียงจันทร์ของลาว ทำให้บริษัทลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในเส้นทางนี้ แต่ก็ต้องยอมรับตามตรงว่า เส้นทางสายอีสานน่าจะมีการเจ็บตัวอยู่พอสมควร ขาดทุนแน่ๆ แต่ก็สมควรจะสร้าง
3. เส้นทางที่ผมคิดว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้น ถ้าไม่ใช้กำลังภายในหรือแผนธุรกิจมารองรับ เส้นนี้คือเส้นไปภาคเหนือ ค่าก่อสร้างที่สูงมากกว่าทุกสาย จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีไม่มากพอ เป็นสายที่ต้องบอกเลยว่าเจ๊งตั้งแต่อยู่บนหน้ากระดาษ ถ้าลงทุนสร้างสายนี้จริงๆ เจ็บตัวแน่นอนและเจ็บหนักด้วย ดังนั้นถ้ารัฐไม่ลงทุนเส้นนี้เอง คงยากที่จะได้สร้าง การจะให้มีบริษัทเอกชนมาลงทุนเส้นนี้ จะต้องมีการใช้กำลังภายในหรือสัญญาพ่วง เช่น ให้บริษัทที่ได้สัมปทานตามเส้นทาง1 มาลงทุนสร้างเส้นทางนี้ด้วย โดนจะขยายเวลาในการบริหารจัดการพื้นที่มักกะสัน จากเดิม30ปีเพิ่มเป็น50ปี หรือจากเดิม50ปี เพิ่มเป็น 99ปี อะไรก็ว่าไป เพราะพื้นที่มักกะสัน ไม่เกิน30ปี ได้เงินคืนทั้งต้นทั้งดอกแน่นอนครับ กำไรมหาศาลแน่นอน (เพราะมันจะกลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่มากในอนาคต เมื่อรถไฟฟ้าเราเสร็จสมบูรณ์ทุกสาย)
4. ส่วนเส้นทางสุดท้าย คือเส้นทางลงใต้ ถ้าเราศึกษาข้อมูลดีๆ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทสไทย โดยเป็นชาวต่างชาติประเภท backpack มีจำนวนมาก รถไฟความเร็วสูงจะตอบโจทย์ในด้านของความสะดวกสบายได้มากกว่าเครื่องบิน นักท่องเที่ยวแบบbackpack ส่วนใหญ่จะนิยมไปเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ตามริมฝั่งทะเล ดังนั้น ถ้ารถไฟความเร็วสูงสายนี้จะสร้าง จะต้องมีการปรับเส้นทาง โดยให้เชื่อมสถานีกลางบางซื่อ ชะอำ หัวหิน ภูเก็ตและหาดใหญ่ อาศัยวิ่งตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในฝั่งอันดามัน เส้นทางจึงอาจจะไม่ตรงดิ่งมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือต้องเชื่อม ชะอำ หัวหิน ภูเก็ตและหาดใหญ่ให้ได้ จะทำให้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้เกิดและเฉิดฉายได้รองจากเส้น EEC เลยทีเดียว ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี น่าจะเป็น1ใน2เส้นทางที่รัฐบาลเจ็บตัวน้อยที่สุดก้เป็นได้ครับ
** ดังนั้น เส้นทางที่น่าหนักใจที่สุดและเกิดยากที่สุดคงเป็นเส้นไปภาคเหนือ ถ้าไม่มีวิธีการดีๆหรือแนวคิดใหม่ๆ ข้อมูลใหม่ๆออกมา การสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปภาคเหนือเจ็บตัวหนักแน่นอน ถ้าจะสร้างเส้นทางไปภาคเหนือจริงๆก็ต้องตกอยู่ที่รัฐบาลแล้วว่าจะจัดการอย่างไร จะอุ้มเส้นนี้ตลอดไป จะไหวไหม หรือจะให้เอกชนลงทุนแล้วให้เอกชนไปสร้างกำไรจากที่ดินมักกะสันแทน อะไรก็ว่ากันไป เส้นไปภาคเหนือจึงเป็นเส้นที่ต้องมีมาตรการที่ดีมารองรับ ไม่อย่างนั้นเส้นทางนี้เกิดยากแน่ๆ **
การจะสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ได้ครบทั้ง 4 เส้นทางที่ต้องการ บางครั้งก็ต้องใช้แผนทางธุรกิจมาเสริมด้วย
2. เส้นทางภาคอีสาน เป็นเส้นทางที่จีนต้องการเชื่อมมาจากเวียงจันทร์ของลาว ทำให้บริษัทลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในเส้นทางนี้ แต่ก็ต้องยอมรับตามตรงว่า เส้นทางสายอีสานน่าจะมีการเจ็บตัวอยู่พอสมควร ขาดทุนแน่ๆ แต่ก็สมควรจะสร้าง
3. เส้นทางที่ผมคิดว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้น ถ้าไม่ใช้กำลังภายในหรือแผนธุรกิจมารองรับ เส้นนี้คือเส้นไปภาคเหนือ ค่าก่อสร้างที่สูงมากกว่าทุกสาย จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีไม่มากพอ เป็นสายที่ต้องบอกเลยว่าเจ๊งตั้งแต่อยู่บนหน้ากระดาษ ถ้าลงทุนสร้างสายนี้จริงๆ เจ็บตัวแน่นอนและเจ็บหนักด้วย ดังนั้นถ้ารัฐไม่ลงทุนเส้นนี้เอง คงยากที่จะได้สร้าง การจะให้มีบริษัทเอกชนมาลงทุนเส้นนี้ จะต้องมีการใช้กำลังภายในหรือสัญญาพ่วง เช่น ให้บริษัทที่ได้สัมปทานตามเส้นทาง1 มาลงทุนสร้างเส้นทางนี้ด้วย โดนจะขยายเวลาในการบริหารจัดการพื้นที่มักกะสัน จากเดิม30ปีเพิ่มเป็น50ปี หรือจากเดิม50ปี เพิ่มเป็น 99ปี อะไรก็ว่าไป เพราะพื้นที่มักกะสัน ไม่เกิน30ปี ได้เงินคืนทั้งต้นทั้งดอกแน่นอนครับ กำไรมหาศาลแน่นอน (เพราะมันจะกลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่มากในอนาคต เมื่อรถไฟฟ้าเราเสร็จสมบูรณ์ทุกสาย)
4. ส่วนเส้นทางสุดท้าย คือเส้นทางลงใต้ ถ้าเราศึกษาข้อมูลดีๆ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทสไทย โดยเป็นชาวต่างชาติประเภท backpack มีจำนวนมาก รถไฟความเร็วสูงจะตอบโจทย์ในด้านของความสะดวกสบายได้มากกว่าเครื่องบิน นักท่องเที่ยวแบบbackpack ส่วนใหญ่จะนิยมไปเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ตามริมฝั่งทะเล ดังนั้น ถ้ารถไฟความเร็วสูงสายนี้จะสร้าง จะต้องมีการปรับเส้นทาง โดยให้เชื่อมสถานีกลางบางซื่อ ชะอำ หัวหิน ภูเก็ตและหาดใหญ่ อาศัยวิ่งตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในฝั่งอันดามัน เส้นทางจึงอาจจะไม่ตรงดิ่งมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือต้องเชื่อม ชะอำ หัวหิน ภูเก็ตและหาดใหญ่ให้ได้ จะทำให้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้เกิดและเฉิดฉายได้รองจากเส้น EEC เลยทีเดียว ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี น่าจะเป็น1ใน2เส้นทางที่รัฐบาลเจ็บตัวน้อยที่สุดก้เป็นได้ครับ
** ดังนั้น เส้นทางที่น่าหนักใจที่สุดและเกิดยากที่สุดคงเป็นเส้นไปภาคเหนือ ถ้าไม่มีวิธีการดีๆหรือแนวคิดใหม่ๆ ข้อมูลใหม่ๆออกมา การสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปภาคเหนือเจ็บตัวหนักแน่นอน ถ้าจะสร้างเส้นทางไปภาคเหนือจริงๆก็ต้องตกอยู่ที่รัฐบาลแล้วว่าจะจัดการอย่างไร จะอุ้มเส้นนี้ตลอดไป จะไหวไหม หรือจะให้เอกชนลงทุนแล้วให้เอกชนไปสร้างกำไรจากที่ดินมักกะสันแทน อะไรก็ว่ากันไป เส้นไปภาคเหนือจึงเป็นเส้นที่ต้องมีมาตรการที่ดีมารองรับ ไม่อย่างนั้นเส้นทางนี้เกิดยากแน่ๆ **