ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 6
ที่กำหนดเช่นนั้นเพราะอ้างอิงตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐของคนที่เรียกคนเองว่าไท และใช้ภาษาไทอย่างชัดเจนเป็นรัฐแรก ทางประวัติศาสตร์แบบจารีตเลยถือกันว่าเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของไทย
แต่เมื่อพิจาณาตามหลักฐานแล้ว สุโขทัยในอดีตไม่ได้มีฐานะเป็นราชธานีของ "ไทย" เนื่องจากในอดีตยังไม่ได้เป็นรัฐชาติที่มีเขตแดนและประชากรแบบ "ประเทศไทย" ในปัจจุบัน แต่เป็นเพียงหนึ่งใน "นครรัฐ" (City-state) ของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ไต ที่ไม่ได้มีเพียงแห่งเดียว แต่ยังมีรัฐอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ฯลฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และยังมีนครรัฐอื่นจำนวนมากที่ตั้งอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ ยังไม่ได้เป็นการปกครองแบบรวมศูนย์
นครรัฐหนึ่งสามารถเกื้อหนุนในก่อเกิดอีกรัฐหนึ่งได้ หลายรัฐมีหลักฐานว่าเป็นรัฐเครือญาติกัน มีการเกี่ยวดองกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการดองกันทางการแต่งงาน หลายครั้งแต่ละรัฐก็มีกษัตริย์จากรัฐอื่นผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองเป็นต้น เช่นพระเจ้าอู่ทองมีตำนานเล่าว่าเป็นกษัตริย์เมืองเพชรบุรีมาก่อน ในหลักฐานเชิงตำนานฝั่งล้านนาก็กล่าวว่าพระญารามราช (พ่อขุนรามคำแหง) เป็นเครือญาติกับกษัตริย์นครหลวง กษัตริย์อยุทธยา กษัตริย์นครศรีธรรมราชครับ
ส่วนสัมพันธ์ระหว่างรัฐสุโขทัย กับ รัฐละโว้-อโยธยาจนถึงอยุทธยาตอนต้นน่าจะมีความสัมพันธ์กันกันอย่าง "รัฐเครือญาติ" มีการแต่งงานเกี่ยวดองกันระหว่างรัฐ (ดังที่มักมีอ้างในตำนาน หรือเอกสารทางล้านนาเป็นต้น) ทำนองเดียวกับที่อโยธยามีความสัมพันธ์กับรัฐสุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราชเป็นต้น มีการผลัดเปลี่ยนเชื้อสายไปปกครองเมือง
สันนิษฐานโดยอิงจากตำนานและโบราณคดีส่วนใหญ่ว่ารัฐในลุ่มแม่น้ำยมอย่างสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เป็นชุมทางการค้าก่อกำเนิดจากการเกื้อหนุนของรัฐกัมโพชหรือรัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะเมืองละโว้ซึ่งเป็นเครือข่ายอิทธิพลของอาณาจักรขอมพระนครซึ่งโบราณยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมในแถบนี้ และสันนิษฐานว่ารัฐตอนบนได้ก่อกำเนิดจากความต้องการสินค้าส่งออกที่มากขึ้นของรัฐตอนใต้ที่อยู่ติดทะเล (เพราะจีนมีการพัฒนาสำเภาทำให้เพิ่มการทำการค้าทางทะเลมากขึ้น) ทำให้ชุมชนซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมแต่โบราณพัฒนาขึ้นเป็นเมืองเพื่อตอบสนองตลาด จนพัฒนาการเป็นรัฐสุโขทัย โดยพ่อขุนศรีนาวนำถุมน่าจะเป็นผู้นำกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไทในแถบนั้น (จารึกวัดศรีชุมว่าเป็น 'ขุนในเมืองเชลียง') ซึ่งอาจจะมีสืบทอดมาแล้วหลายรุ่น
สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย หรือรัฐที่เก่าแก่กว่าอย่างเชลียง อาณาเขตทางใต้พิจารณาตามหลักฐานนทางโบราณคดีไม่น่าเชื่อว่าสุโขทัยมีอำนาจลงมาต่ำกว่าเมืองพระบาง (นครสวรรค์) จึงน่าเชื่อว่ารัฐสุโขทัยมีอำนาจจริงอยู่ในลุ่มแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาจจะมีสายสัมพันธ์กับรัฐในแถบสองฝั่งโขง รัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางใต้อย่างสุพรรณภูมิ หรือเพชรบุรีที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมร น่าจะมีอำนาจปกครองตนเองอยู่ในตอนนั้น ในหัวเมืองของสุโขทัยเองก็ยังปรากฏการกระจายอำนาจที่สูงอยู่ เพียงแต่แค่ยอมรับกษัตริย์สุโขทัยเป็นประธานมากกว่า
นักประวัติศาสตร์สมัยหลังเสนอว่าควรนับกรุงศรีอยุทธยาเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของไทยมากกว่า เพราะเป็นรัฐที่มีพัฒนาการรวมศูนที่สูงกว่าสุโขทัยมาก และมีกาใช้คำว่า ไทย โดยนิยามถึงกลุ่มชน ภาษา และอาณาจักร อย่างชัดเจน
โดยการรวมศูนย์นั้นเกิดในช่วงการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เทียบกับในสมัยก่อนหน้าที่มีการกระจายอำนาจการปกครองสูง ทำให้หัวเมืองน้อยใหญ่ในแถบนี้ต่างมีอำนาจการปกครองตนเอง ใกล้เคียงกับนครรัฐ โดยอยุทธยามีอำนาจควบคุมอย่างหลวมๆ เท่านั้น แต่หลังจากสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นต้นมา อยุทธยาเริ่มสามารถผนวกหัวเมืองต่างๆ ที่เคยมีเจ้านายปกครอง ทั้งสุโขทัยเดิม สุพรรณภูมิ นครศรีธรรมราช ที่เป็นรัฐของคนไทยไว้ในอำนาจได้โดยตรง จนถึงสมัยอยุทธยาตอนปลายก็สามารถควบคุมหัวเมืองต่างๆ ไว้ใต้อำนาจของส่วนกลางมากแล้ว กลายสภาพเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่ชัดเจน
นอกจากนี้อยุทธยายังเป็นอาณาจักรแรกที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเรียกดินแดนในปกครองของตนว่า "กรุงไทย" มีการเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงไทย" มีการระบุชัดเจนว่าพลเมืองเป็น "ชาวไทย" และใช้ "ภาษาไทย" ในราชการและติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นการแสดงถึงการรวมศูนย์การปกครองของคนไทยได้ในระดับหนึ่ง แม้จะไม่เทียบเท่ากับ "รัฐชาติไทย" หรือ "ประเทศไทย" ในสมัยหลังก็ตาม
เมื่อเทียบกับสุโขทัยที่แม้ว่าจะมีหลักฐานว่าใช้ภาษาไท แต่ก็ยังไม่มีพัฒนาการรวมศูนย์ของคนไทยที่ชัดเจนเหมือนกับอยุทธยาครับ
แต่เมื่อพิจาณาตามหลักฐานแล้ว สุโขทัยในอดีตไม่ได้มีฐานะเป็นราชธานีของ "ไทย" เนื่องจากในอดีตยังไม่ได้เป็นรัฐชาติที่มีเขตแดนและประชากรแบบ "ประเทศไทย" ในปัจจุบัน แต่เป็นเพียงหนึ่งใน "นครรัฐ" (City-state) ของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ไต ที่ไม่ได้มีเพียงแห่งเดียว แต่ยังมีรัฐอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ฯลฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และยังมีนครรัฐอื่นจำนวนมากที่ตั้งอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ ยังไม่ได้เป็นการปกครองแบบรวมศูนย์
นครรัฐหนึ่งสามารถเกื้อหนุนในก่อเกิดอีกรัฐหนึ่งได้ หลายรัฐมีหลักฐานว่าเป็นรัฐเครือญาติกัน มีการเกี่ยวดองกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการดองกันทางการแต่งงาน หลายครั้งแต่ละรัฐก็มีกษัตริย์จากรัฐอื่นผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองเป็นต้น เช่นพระเจ้าอู่ทองมีตำนานเล่าว่าเป็นกษัตริย์เมืองเพชรบุรีมาก่อน ในหลักฐานเชิงตำนานฝั่งล้านนาก็กล่าวว่าพระญารามราช (พ่อขุนรามคำแหง) เป็นเครือญาติกับกษัตริย์นครหลวง กษัตริย์อยุทธยา กษัตริย์นครศรีธรรมราชครับ
ส่วนสัมพันธ์ระหว่างรัฐสุโขทัย กับ รัฐละโว้-อโยธยาจนถึงอยุทธยาตอนต้นน่าจะมีความสัมพันธ์กันกันอย่าง "รัฐเครือญาติ" มีการแต่งงานเกี่ยวดองกันระหว่างรัฐ (ดังที่มักมีอ้างในตำนาน หรือเอกสารทางล้านนาเป็นต้น) ทำนองเดียวกับที่อโยธยามีความสัมพันธ์กับรัฐสุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราชเป็นต้น มีการผลัดเปลี่ยนเชื้อสายไปปกครองเมือง
สันนิษฐานโดยอิงจากตำนานและโบราณคดีส่วนใหญ่ว่ารัฐในลุ่มแม่น้ำยมอย่างสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เป็นชุมทางการค้าก่อกำเนิดจากการเกื้อหนุนของรัฐกัมโพชหรือรัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะเมืองละโว้ซึ่งเป็นเครือข่ายอิทธิพลของอาณาจักรขอมพระนครซึ่งโบราณยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมในแถบนี้ และสันนิษฐานว่ารัฐตอนบนได้ก่อกำเนิดจากความต้องการสินค้าส่งออกที่มากขึ้นของรัฐตอนใต้ที่อยู่ติดทะเล (เพราะจีนมีการพัฒนาสำเภาทำให้เพิ่มการทำการค้าทางทะเลมากขึ้น) ทำให้ชุมชนซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมแต่โบราณพัฒนาขึ้นเป็นเมืองเพื่อตอบสนองตลาด จนพัฒนาการเป็นรัฐสุโขทัย โดยพ่อขุนศรีนาวนำถุมน่าจะเป็นผู้นำกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไทในแถบนั้น (จารึกวัดศรีชุมว่าเป็น 'ขุนในเมืองเชลียง') ซึ่งอาจจะมีสืบทอดมาแล้วหลายรุ่น
สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย หรือรัฐที่เก่าแก่กว่าอย่างเชลียง อาณาเขตทางใต้พิจารณาตามหลักฐานนทางโบราณคดีไม่น่าเชื่อว่าสุโขทัยมีอำนาจลงมาต่ำกว่าเมืองพระบาง (นครสวรรค์) จึงน่าเชื่อว่ารัฐสุโขทัยมีอำนาจจริงอยู่ในลุ่มแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาจจะมีสายสัมพันธ์กับรัฐในแถบสองฝั่งโขง รัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางใต้อย่างสุพรรณภูมิ หรือเพชรบุรีที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมร น่าจะมีอำนาจปกครองตนเองอยู่ในตอนนั้น ในหัวเมืองของสุโขทัยเองก็ยังปรากฏการกระจายอำนาจที่สูงอยู่ เพียงแต่แค่ยอมรับกษัตริย์สุโขทัยเป็นประธานมากกว่า
นักประวัติศาสตร์สมัยหลังเสนอว่าควรนับกรุงศรีอยุทธยาเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของไทยมากกว่า เพราะเป็นรัฐที่มีพัฒนาการรวมศูนที่สูงกว่าสุโขทัยมาก และมีกาใช้คำว่า ไทย โดยนิยามถึงกลุ่มชน ภาษา และอาณาจักร อย่างชัดเจน
โดยการรวมศูนย์นั้นเกิดในช่วงการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เทียบกับในสมัยก่อนหน้าที่มีการกระจายอำนาจการปกครองสูง ทำให้หัวเมืองน้อยใหญ่ในแถบนี้ต่างมีอำนาจการปกครองตนเอง ใกล้เคียงกับนครรัฐ โดยอยุทธยามีอำนาจควบคุมอย่างหลวมๆ เท่านั้น แต่หลังจากสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นต้นมา อยุทธยาเริ่มสามารถผนวกหัวเมืองต่างๆ ที่เคยมีเจ้านายปกครอง ทั้งสุโขทัยเดิม สุพรรณภูมิ นครศรีธรรมราช ที่เป็นรัฐของคนไทยไว้ในอำนาจได้โดยตรง จนถึงสมัยอยุทธยาตอนปลายก็สามารถควบคุมหัวเมืองต่างๆ ไว้ใต้อำนาจของส่วนกลางมากแล้ว กลายสภาพเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่ชัดเจน
นอกจากนี้อยุทธยายังเป็นอาณาจักรแรกที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเรียกดินแดนในปกครองของตนว่า "กรุงไทย" มีการเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงไทย" มีการระบุชัดเจนว่าพลเมืองเป็น "ชาวไทย" และใช้ "ภาษาไทย" ในราชการและติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นการแสดงถึงการรวมศูนย์การปกครองของคนไทยได้ในระดับหนึ่ง แม้จะไม่เทียบเท่ากับ "รัฐชาติไทย" หรือ "ประเทศไทย" ในสมัยหลังก็ตาม
เมื่อเทียบกับสุโขทัยที่แม้ว่าจะมีหลักฐานว่าใช้ภาษาไท แต่ก็ยังไม่มีพัฒนาการรวมศูนย์ของคนไทยที่ชัดเจนเหมือนกับอยุทธยาครับ
แสดงความคิดเห็น
การที่ประวัติศาสตร์ทางการของไทยกำหนดให้สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกนี่ เป็นเพราะศิลาจารึกลายสือไทยจริงหรือ?
แต่ตำราหลักกลับว่า สุโขทัย คืออาณาจักรและเมืองหลวงแรกของไทย พอหาเหตุผลคนมักจะให้เหตุผลว่ามีศิลาจารึกภาษาไทยยุคแรกที่นั่น
กระนั้น พอศึกษาลึกลงไปกลับพบว่ามีบางตำรากล่าวถึงราชวงศ์จักรีว่า มีเชื้อสายสืบทอดมาจากสมเด็จพระมหาธรรมราชา ผ่าน เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์พระร่วง ทำให้เหมือนว่าอาณาจักรนั้นมีความต่อเนื่องยาวนานมานับ 700 ปี เลยทำให้สงสัยว่าน่าจะมาจากสาเหตุนี้ด้วยหรือเปล่าครับ