คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ราชวงศ์สุพรรณภูมิเป็นชื่อสมมติที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกราชวงศ์ของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) ซึ่งทรงเคยปกครองเมืองสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรีก่อนที่จะทรงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุทธยา ส่วนพระองค์จะทรงสืบราชตระกูลมาจากไหนนั้นไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และหลักฐานเกี่ยวกับรัฐสุพรรณภูมิก่อนกรุงศรีอยุทธยาก็แทบไม่มีข้อมูลเลย มีแต่การสันนิษฐานเป็นส่วนใหญ่ครับ
อันที่จริง ชื่อราชวงศ์กษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุทธยา ล้วนเพิ่งถูกกำหนดขึ้นมาในสมัยหลังเพื่อให้สะดวกต่อการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นการนำกรอบการตั้งชื่อราชวงศ์ หรือ ราชตระกูล แบบตะวันตกมาใช้
รัฐโบราณในประเทศไทย เช่น ล้านนา อยุทธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฯลฯ ไม่มีหลักฐานแนวคิดการตั้งชื่อราชวงศ์ตะวันตกที่กำหนดชื่อราชตระกูลชัดเจน แบบ House of Tudor หรือ House of Windsor ฯลฯ
“ราชวงศ์” ตามแนวคิดแบบไทยโบราณเป็นการระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดเท่านั้น ปรากฏตัวอย่างในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา กล่าวถึงพระบิดาและพระมารดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชว่า “บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า”
คำว่า “พระราชวงศ์พระร่วง” ไม่ได้หมายความว่ามีราชวงศ์หรือราชตระกูลชื่อ “พระร่วง” ตามแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก เพียงแต่ระบุว่าพระบิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงเป็นเชื้อสายของ “พระร่วง” หรือกษัตริย์รัฐสุโขทัยเท่านั้น เช่นเดียวกับที่ระบุว่าพระมารดาเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระชัยราชาธิราช
ในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์เพื่อเทศนาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเสด็จขึ้นถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาโดยอ้างอิงตามหลักการสืบเชื้อสาย ดังนี้
- กษัตริย์ที่ “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” มีทั้งหมด ๒๐ พระองค์ นับตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาคโดยเว้นขุนวรวงศาธิราช (มีข้อสังเกตคือทั้ง ๒๐ พระองค์นี้ไม่ได้พิจารณาจากวงศ์ข้างบิดาเท่านั้น บางองค์สืบวงศ์ข้างพระมารดาหรือเกี่ยวดองผ่านการอภิเษกสมรส ก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้)
- เมื่อพระเจ้าทรงธรรมแย่งราชสมบัติจากพระศรีเสาวภาค จึง “ผลัดพระวงษ์ใหม่” สืบราชวงศ์ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (เพราะพงศาวดารให้ภาพว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นคนนอกราชวงศ์ที่มาชิงราชสมบัติ แต่ปัจจุบันพบหลักฐานว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ)
- เมื่อพระเจ้าปราสาททองครองราชย์สืบต่อจากพระอาทิตยวงศ์ จึงผลัดพระวงศ์ใหม่อีก สืบเชื้อสายมาจนเสียกรุงศรีอยุทธยา โดยเว้นสมเด็จพระเพทราชา รวมกษัตริย์ใน “ราชวงษสมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ๙ พระองค์ โดยอ้างอิงตามพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์
จะเห็นได้ว่าแนวคิดการนับราชวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีการกำหนดชื่อราชวงศ์แบบตะวันตก มีเพียงระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พระองค์ใด เช่น “ราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” หรือ “ราชวงษ์สมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อสายข้างบิดาหรือมารดา ขอให้มีความเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกันก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงปรากฏการตั้งชื่อราชวงศ์และการแบ่งราชวงศ์เป็นข้างบิดาและมารดาตามแนวคิดแบบตะวันตก ปรากฏใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ยังทรงแบ่งราชวงศ์ตามแบบที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตทรงแบ่งไว้ แต่มีการตั้งชื่อราชวงศ์ต่างๆ ดังนี้
- ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระมหินทราธิราช เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงราย” (เว้นขุนวรวงศาธิราช)
- ราชวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชามาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงรายสุโขทัย”
- ราชวงศ์ของพระเจ้าทรงธรรมถึงสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เรียกว่า “บรมราชวงศ์ทรงธรรม”
- ราชวงศ์พระเจ้าปราสาททองมาจนเสียกรุง เรียกว่า "บรมราชวงศ์ปราสาททอง" (เว้นสมเด็จพระเพทราชา)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงพระนิพนธ์เรื่อง “ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่” ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น ๕ ราชวงศ์ ได้แก่ เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
ปัจจุบันมีการตั้งทฤษฎีด้วยว่า สมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง) อาจจะเป็นราชวงศ์เดียวกับสมเด็จพระบรมราชาธิราช เพราะหลักฐานหลายชิ้นระบุว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของสมเด็จพระรามาธิบดี และบางที่สมเด็จพระรามาธิบดีก็อาจจะมาจากรัฐสุพรรณภูมิ พิจารณาจากพระนาม "อู่ทอง" ที่เป็นคำภาษาไท-ลาวมีความหมายตรงกับชื่อเมืองสุพรรณภูมิ แต่บางคนก็แย้งโดยอ้างหลักฐานสมัยหลังที่ระบุว่าทรงเป็นพี่พระมเหสีจึงอาจนับเป็นพระเชษฐาได้ อย่างไรก็ตามน่าเชื่อว่าสมเด็จพระรามาธิบดีทรงมีเครือข่ายความสัมพันธ์กับสุพรรณภูมิอยู่ก่อนแล้ว
ในหลักฐานของจีนกล่าวถึงรัฐเซียน (暹) หรือสำเนียงฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วอ่านว่า "เซี้ยม" ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเป็นคำเดียวกับ เสียม/สยาม เดิมเชื่อว่าคือสุโขทัย แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านวิเคราะห์ว่า เซียน น่าจะหมายถึงรัฐสุพรรณภูมิมากกว่า เพราะมีหลักฐานการส่งคณะทูตไปยังราชสำนักหยวนอยู่หลายครั้งตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และปรากฏว่าพลเมืองมีความชำนาญในการเดินเรือ และเคยยกทัพเรือไปตีมลายูและตูมาสิก (淡馬錫 เทมาเส็ก/สิงคโปร์) จึงน่าจะเป็นการสะท้อนว่าเซียนเป็นรัฐในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่สามารถควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลไว้ได้โดยน่าจะมีอิทธิพลลงเหนือรัฐในภาคใต้อย่างเพชรบุรีด้วย จึงไม่ควรเป็นรัฐที่ห่างไกลทะเลมากอย่างสุโขทัย
นอกจากนี้จาก “บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ”《真臘風土記》ของโจวต้ากวาน (周達觀) ที่เคยเดินทางไปในกัมพูชาใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ระบุว่า เซียนอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของเจินละ (กัมพูชา) ด้วยตำแหน่งที่ตั้งจึงไม่ควรเป็นสุโขทัย
หยวนสื่อ《元史》หรือพงศาวดารราชวงศ์หยวน ระบุว่ารัฐชื่อ “ซู่กู่ไถ” (速古台) ฮกเกี้ยนอ่าน "ซอกโก๊ไถ" แต้จิ๋วอ่าน "ซ๊อกโก๋วไท้" ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าควรเป็นสุโขทัยมากกว่า ได้ส่งบรรณาการให้จีนห่างจากเซียนเพียง ๔ เดือน จึงบ่งชี้ว่า “ซู่กู่ไถ” ไม่ควรเป็นรัฐเดียวกับเซียน
ต้าเต๋อหนานไห่จื้อ 《大德南海志》ระบุว่า "รัฐเซียนปกครองซ่างสุ่ย-ซู่กูตี่" (暹国管:上水速孤底) เชื่อว่า ซู่กูตี่คือสุโขทัย แสดงว่าสุโขทัยแยกเป็นคนละรัฐกับรัฐเซียน
บันทึกย่อเผ่าชาวเกาะ《島夷誌略》ของวังต้ายวน (汪大渊) ระบุว่าเซียนสวามิภักดิ์ต่อ หลัวหู/ล้อฮก (羅斛) หรือละโว้ในฤดูร้อน เดือน ๕ พ.ศ. ๑๘๙๒ สอดคล้องกับพงศาวดารที่ระบุว่ามีการสถาปนากรุงศรีอยุทธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ซึ่งในเวลานั้นยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าสุโขทัยอยู่ใต้อำนาจอยุทธยา เซียนจึงน่าจะเป็นรัฐสุพรรณภูมิซึ่งนำโดยขุนหลวงพ่องั่วที่เป็นพี่เขยของพระเจ้ารามาธิบดีมากกว่าครับ
แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็วิเคราะห์ว่า เซียน เป็นชื่อเรียกรัฐของชาวสยามหรือกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาวอย่างกว้างๆ ครอบคลุมดินแดนตั้งแต่สุโขทัยลงมาถึงบริเวณอ่าวไทย ไม่ได้เจาะจงเมืองใดเมืองหนึ่ง โดยอาจจะหมายถึงสุโขทัยหรือสุพรรณภูมิก็ได้ครับ
สำหรับรัฐละโว้ หลักฐานจีนเรียกว่า หลัวหู (羅斛) ส่วนตัวผมเห็นว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ไม่ใช่ขอม-เขมรเพียวๆ เหมือนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพราะเริ่มส่งบรรณาการให้จีนราชวงศ์หยวนด้วยตนเองตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๓๒ เป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นว่ารัฐในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาน่าจะแยกตนเป็นอิสระจากเมืองพระนครหลังรัชสมัยพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๗ ซึ่งเมืองพระนครเสื่อมอำนาจลง
นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในจดหมายเหตุของโจวต้าวานว่า ในสมัยพระเจ้าศรีนทรวรมันว่า "เซียน" ได้เข้าไปรุกรานเมืองพระนครด้วย อนุมานได้ว่า "เซียน" ในเวลานั้นควรจะมีอิทธิพลไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกรวมถึงละโว้ด้วย เพราะการยกกองทัพไปรุกรานเมืองพระนครควรจะยกทัพผ่านละโว้เป็นหลัก จึงเป็นไปได้ว่าละโว้ซึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับเมืองพระนคร อาจถูกอิทธิพลของไท-ลาวเข้าไปครอบงำแล้ว สอดคล้องกับการส่งบรรณาการให้จีนของละโว้ที่น่าจะบ่งชี้ว่าละโว้เป็นอิสระจากเมืองพระนคร
ปรากฏหลักฐานว่าภาษาไท-ลาวได้เข้ามามีอิทธิพลในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุทธยานานแล้ว เห็นได้จาก "โองการแช่งน้ำ" ซึ่งพิจารณาจากภาษาแล้วสันนิษฐานว่าน่าจะเก่าแก่กว่าสมัยกรุงศรีอยุทธยา เพราะคำที่ใช้เป็นคำในตระกูลไท-ลาวโบราณจำนวนมาก โดยแทบไม่มีอิทธิพลของคำเขมรมาเจือปนเลย เมื่อเทียบกับภาษาในกฎหมายสมัยพระเจ้ารามาธิบดี อย่างในโองการพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิงที่แต่งในสมัยนั้นก็พบว่ามีอิทธิพลของเขมรเข้าไปเจือปนอยู่มากแล้ว และฉันทลักษณ์ก็เป็นโคลงห้าที่ใช้กันในแถบสองฝั่งโขง อย่างที่พบในวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง จึงเป็นไปได้ว่าโองการแช่งเป็นวรรณกรรมที่มีการสืบทอดมาจากตระกูลไท-ลาวทางเหนือตั้งแต่โบราณ โดยที่อยุทธยารับมาปรับใช้ในราชสำนักสมัยหลังครับ
อิทธิพลไท-ลาว ยังปรากฏในกฏหมายที่มีศักราชก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาจนถึงสมัยพระเจ้ารามาธิบดี มีการนำตำแหน่ง “ขุน” หรือ “หลวง” อย่างไท-ลาว มาใช้ แต่ถูกลดชั้นลงมาเป็นเพียงขุนนางไม่ได้มีความหมายเป็นผู้ปกครองอย่างในอดีต เช่น ในกฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๘๘๖ มีตำแหน่ง “ขุนกระเสตราธิบดี” กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. ๑๙๐๒ มีตำแหน่ง “ขุนพระคลัง” กฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๙๐๓ มีตำแหน่ง “เจ้าขุนหลวงสพฤานครบาล”
ในราชสำนักอยุทธยาตอนต้นพบว่ายังใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชสำนักไปด้วย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าเพราะกลุ่มชนชั้นปกครองเดิมเป็นเครือญาติกับกษัตริย์เขมรเมืองพระนคร ดังที่เห็นว่าในราชสำนักใช้ราชาศัพท์เป็นภาษาเขมรต่างจากสามัญชน แต่ก็น่าเชื่อว่ามีอิทธิพลไท-ลาวเข้าไปผสมผสานแล้ว โดยน่าจะมีเกี่ยวดองระหว่างผู้ปกครองเดิมที่เป็นขอม-เขมร กับรัฐที่ใช้ภาษาไท-ลาวซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นหลังจากยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ดังที่พบว่า กรุงศรีอยุทธยาก่อกำเนิดมาจากรัฐละโว้ ที่เกี่ยวดองกับรัฐสุพรรณภูมิซึ่งใช้ภาษาไท-ลาว สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของกลุ่มที่ใช้ภาษาไท-ลาวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในยุคอยุทธยาตอนต้นได้เป็นอย่างดีครับ
กรุงศรีอยุทธยาเกิดจากการรวมตัวกันระหว่าง "เซียน" และ "หลัวหู" จีนจึงนำชื่อทั้งสองรัฐมารวมกันเรียกว่า เซียนหลัวหูกว๋อ/เสียมหลอฮกก๊ก (暹羅斛國) แต่ภายหลังกร่อนเป็น เซียนหลัวกว๋อ/เสียมหลอก๊ก (暹羅國) ครับ
อันที่จริง ชื่อราชวงศ์กษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุทธยา ล้วนเพิ่งถูกกำหนดขึ้นมาในสมัยหลังเพื่อให้สะดวกต่อการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นการนำกรอบการตั้งชื่อราชวงศ์ หรือ ราชตระกูล แบบตะวันตกมาใช้
รัฐโบราณในประเทศไทย เช่น ล้านนา อยุทธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฯลฯ ไม่มีหลักฐานแนวคิดการตั้งชื่อราชวงศ์ตะวันตกที่กำหนดชื่อราชตระกูลชัดเจน แบบ House of Tudor หรือ House of Windsor ฯลฯ
“ราชวงศ์” ตามแนวคิดแบบไทยโบราณเป็นการระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดเท่านั้น ปรากฏตัวอย่างในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา กล่าวถึงพระบิดาและพระมารดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชว่า “บิดาเป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า”
คำว่า “พระราชวงศ์พระร่วง” ไม่ได้หมายความว่ามีราชวงศ์หรือราชตระกูลชื่อ “พระร่วง” ตามแนวคิดราชวงศ์แบบตะวันตก เพียงแต่ระบุว่าพระบิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงเป็นเชื้อสายของ “พระร่วง” หรือกษัตริย์รัฐสุโขทัยเท่านั้น เช่นเดียวกับที่ระบุว่าพระมารดาเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระชัยราชาธิราช
ในหลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น “พระธรรมเทศนาพระราชพงษาวดารสังเขป” ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์เพื่อเทศนาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเสด็จขึ้นถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาโดยอ้างอิงตามหลักการสืบเชื้อสาย ดังนี้
- กษัตริย์ที่ “สืบราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” มีทั้งหมด ๒๐ พระองค์ นับตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาคโดยเว้นขุนวรวงศาธิราช (มีข้อสังเกตคือทั้ง ๒๐ พระองค์นี้ไม่ได้พิจารณาจากวงศ์ข้างบิดาเท่านั้น บางองค์สืบวงศ์ข้างพระมารดาหรือเกี่ยวดองผ่านการอภิเษกสมรส ก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้)
- เมื่อพระเจ้าทรงธรรมแย่งราชสมบัติจากพระศรีเสาวภาค จึง “ผลัดพระวงษ์ใหม่” สืบราชวงศ์ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (เพราะพงศาวดารให้ภาพว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นคนนอกราชวงศ์ที่มาชิงราชสมบัติ แต่ปัจจุบันพบหลักฐานว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ)
- เมื่อพระเจ้าปราสาททองครองราชย์สืบต่อจากพระอาทิตยวงศ์ จึงผลัดพระวงศ์ใหม่อีก สืบเชื้อสายมาจนเสียกรุงศรีอยุทธยา โดยเว้นสมเด็จพระเพทราชา รวมกษัตริย์ใน “ราชวงษสมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ๙ พระองค์ โดยอ้างอิงตามพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์
จะเห็นได้ว่าแนวคิดการนับราชวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีการกำหนดชื่อราชวงศ์แบบตะวันตก มีเพียงระบุว่าสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์พระองค์ใด เช่น “ราชวงษ์สมเดจ์พระรามาธิบดีอู่ทอง” หรือ “ราชวงษ์สมเดจ์พระเจ้าปราสาททอง” ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อสายข้างบิดาหรือมารดา ขอให้มีความเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกันก็นับเป็นราชวงศ์เดียวกันได้
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงปรากฏการตั้งชื่อราชวงศ์และการแบ่งราชวงศ์เป็นข้างบิดาและมารดาตามแนวคิดแบบตะวันตก ปรากฏใน “พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช” ยังทรงแบ่งราชวงศ์ตามแบบที่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตทรงแบ่งไว้ แต่มีการตั้งชื่อราชวงศ์ต่างๆ ดังนี้
- ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีมาจนถึงสมเด็จพระมหินทราธิราช เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงราย” (เว้นขุนวรวงศาธิราช)
- ราชวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชามาจนถึงสมเด็จพระศรีเสาวภาค เรียกว่า “บรมราชวงศ์เชียงรายสุโขทัย”
- ราชวงศ์ของพระเจ้าทรงธรรมถึงสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เรียกว่า “บรมราชวงศ์ทรงธรรม”
- ราชวงศ์พระเจ้าปราสาททองมาจนเสียกรุง เรียกว่า "บรมราชวงศ์ปราสาททอง" (เว้นสมเด็จพระเพทราชา)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงพระนิพนธ์เรื่อง “ศักราชรัชกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาตามที่สอบใหม่” ได้แบ่งราชวงศ์กษัตริย์อยุทธยาใหม่เป็น ๕ ราชวงศ์ ได้แก่ เชียงราย สุวรรณภูมิ์ ศุโขไทย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
ปัจจุบันมีการตั้งทฤษฎีด้วยว่า สมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง) อาจจะเป็นราชวงศ์เดียวกับสมเด็จพระบรมราชาธิราช เพราะหลักฐานหลายชิ้นระบุว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของสมเด็จพระรามาธิบดี และบางที่สมเด็จพระรามาธิบดีก็อาจจะมาจากรัฐสุพรรณภูมิ พิจารณาจากพระนาม "อู่ทอง" ที่เป็นคำภาษาไท-ลาวมีความหมายตรงกับชื่อเมืองสุพรรณภูมิ แต่บางคนก็แย้งโดยอ้างหลักฐานสมัยหลังที่ระบุว่าทรงเป็นพี่พระมเหสีจึงอาจนับเป็นพระเชษฐาได้ อย่างไรก็ตามน่าเชื่อว่าสมเด็จพระรามาธิบดีทรงมีเครือข่ายความสัมพันธ์กับสุพรรณภูมิอยู่ก่อนแล้ว
ในหลักฐานของจีนกล่าวถึงรัฐเซียน (暹) หรือสำเนียงฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วอ่านว่า "เซี้ยม" ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเป็นคำเดียวกับ เสียม/สยาม เดิมเชื่อว่าคือสุโขทัย แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านวิเคราะห์ว่า เซียน น่าจะหมายถึงรัฐสุพรรณภูมิมากกว่า เพราะมีหลักฐานการส่งคณะทูตไปยังราชสำนักหยวนอยู่หลายครั้งตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และปรากฏว่าพลเมืองมีความชำนาญในการเดินเรือ และเคยยกทัพเรือไปตีมลายูและตูมาสิก (淡馬錫 เทมาเส็ก/สิงคโปร์) จึงน่าจะเป็นการสะท้อนว่าเซียนเป็นรัฐในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่สามารถควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเลไว้ได้โดยน่าจะมีอิทธิพลลงเหนือรัฐในภาคใต้อย่างเพชรบุรีด้วย จึงไม่ควรเป็นรัฐที่ห่างไกลทะเลมากอย่างสุโขทัย
นอกจากนี้จาก “บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ”《真臘風土記》ของโจวต้ากวาน (周達觀) ที่เคยเดินทางไปในกัมพูชาใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ระบุว่า เซียนอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของเจินละ (กัมพูชา) ด้วยตำแหน่งที่ตั้งจึงไม่ควรเป็นสุโขทัย
หยวนสื่อ《元史》หรือพงศาวดารราชวงศ์หยวน ระบุว่ารัฐชื่อ “ซู่กู่ไถ” (速古台) ฮกเกี้ยนอ่าน "ซอกโก๊ไถ" แต้จิ๋วอ่าน "ซ๊อกโก๋วไท้" ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าควรเป็นสุโขทัยมากกว่า ได้ส่งบรรณาการให้จีนห่างจากเซียนเพียง ๔ เดือน จึงบ่งชี้ว่า “ซู่กู่ไถ” ไม่ควรเป็นรัฐเดียวกับเซียน
ต้าเต๋อหนานไห่จื้อ 《大德南海志》ระบุว่า "รัฐเซียนปกครองซ่างสุ่ย-ซู่กูตี่" (暹国管:上水速孤底) เชื่อว่า ซู่กูตี่คือสุโขทัย แสดงว่าสุโขทัยแยกเป็นคนละรัฐกับรัฐเซียน
บันทึกย่อเผ่าชาวเกาะ《島夷誌略》ของวังต้ายวน (汪大渊) ระบุว่าเซียนสวามิภักดิ์ต่อ หลัวหู/ล้อฮก (羅斛) หรือละโว้ในฤดูร้อน เดือน ๕ พ.ศ. ๑๘๙๒ สอดคล้องกับพงศาวดารที่ระบุว่ามีการสถาปนากรุงศรีอยุทธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ซึ่งในเวลานั้นยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าสุโขทัยอยู่ใต้อำนาจอยุทธยา เซียนจึงน่าจะเป็นรัฐสุพรรณภูมิซึ่งนำโดยขุนหลวงพ่องั่วที่เป็นพี่เขยของพระเจ้ารามาธิบดีมากกว่าครับ
แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็วิเคราะห์ว่า เซียน เป็นชื่อเรียกรัฐของชาวสยามหรือกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาวอย่างกว้างๆ ครอบคลุมดินแดนตั้งแต่สุโขทัยลงมาถึงบริเวณอ่าวไทย ไม่ได้เจาะจงเมืองใดเมืองหนึ่ง โดยอาจจะหมายถึงสุโขทัยหรือสุพรรณภูมิก็ได้ครับ
สำหรับรัฐละโว้ หลักฐานจีนเรียกว่า หลัวหู (羅斛) ส่วนตัวผมเห็นว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ไม่ใช่ขอม-เขมรเพียวๆ เหมือนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพราะเริ่มส่งบรรณาการให้จีนราชวงศ์หยวนด้วยตนเองตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๓๒ เป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นว่ารัฐในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาน่าจะแยกตนเป็นอิสระจากเมืองพระนครหลังรัชสมัยพระเจ้าชัยวรรมันที่ ๗ ซึ่งเมืองพระนครเสื่อมอำนาจลง
นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในจดหมายเหตุของโจวต้าวานว่า ในสมัยพระเจ้าศรีนทรวรมันว่า "เซียน" ได้เข้าไปรุกรานเมืองพระนครด้วย อนุมานได้ว่า "เซียน" ในเวลานั้นควรจะมีอิทธิพลไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกรวมถึงละโว้ด้วย เพราะการยกกองทัพไปรุกรานเมืองพระนครควรจะยกทัพผ่านละโว้เป็นหลัก จึงเป็นไปได้ว่าละโว้ซึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับเมืองพระนคร อาจถูกอิทธิพลของไท-ลาวเข้าไปครอบงำแล้ว สอดคล้องกับการส่งบรรณาการให้จีนของละโว้ที่น่าจะบ่งชี้ว่าละโว้เป็นอิสระจากเมืองพระนคร
ปรากฏหลักฐานว่าภาษาไท-ลาวได้เข้ามามีอิทธิพลในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุทธยานานแล้ว เห็นได้จาก "โองการแช่งน้ำ" ซึ่งพิจารณาจากภาษาแล้วสันนิษฐานว่าน่าจะเก่าแก่กว่าสมัยกรุงศรีอยุทธยา เพราะคำที่ใช้เป็นคำในตระกูลไท-ลาวโบราณจำนวนมาก โดยแทบไม่มีอิทธิพลของคำเขมรมาเจือปนเลย เมื่อเทียบกับภาษาในกฎหมายสมัยพระเจ้ารามาธิบดี อย่างในโองการพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิงที่แต่งในสมัยนั้นก็พบว่ามีอิทธิพลของเขมรเข้าไปเจือปนอยู่มากแล้ว และฉันทลักษณ์ก็เป็นโคลงห้าที่ใช้กันในแถบสองฝั่งโขง อย่างที่พบในวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง จึงเป็นไปได้ว่าโองการแช่งเป็นวรรณกรรมที่มีการสืบทอดมาจากตระกูลไท-ลาวทางเหนือตั้งแต่โบราณ โดยที่อยุทธยารับมาปรับใช้ในราชสำนักสมัยหลังครับ
อิทธิพลไท-ลาว ยังปรากฏในกฏหมายที่มีศักราชก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาจนถึงสมัยพระเจ้ารามาธิบดี มีการนำตำแหน่ง “ขุน” หรือ “หลวง” อย่างไท-ลาว มาใช้ แต่ถูกลดชั้นลงมาเป็นเพียงขุนนางไม่ได้มีความหมายเป็นผู้ปกครองอย่างในอดีต เช่น ในกฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๘๘๖ มีตำแหน่ง “ขุนกระเสตราธิบดี” กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. ๑๙๐๒ มีตำแหน่ง “ขุนพระคลัง” กฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๙๐๓ มีตำแหน่ง “เจ้าขุนหลวงสพฤานครบาล”
ในราชสำนักอยุทธยาตอนต้นพบว่ายังใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชสำนักไปด้วย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าเพราะกลุ่มชนชั้นปกครองเดิมเป็นเครือญาติกับกษัตริย์เขมรเมืองพระนคร ดังที่เห็นว่าในราชสำนักใช้ราชาศัพท์เป็นภาษาเขมรต่างจากสามัญชน แต่ก็น่าเชื่อว่ามีอิทธิพลไท-ลาวเข้าไปผสมผสานแล้ว โดยน่าจะมีเกี่ยวดองระหว่างผู้ปกครองเดิมที่เป็นขอม-เขมร กับรัฐที่ใช้ภาษาไท-ลาวซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นหลังจากยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ดังที่พบว่า กรุงศรีอยุทธยาก่อกำเนิดมาจากรัฐละโว้ ที่เกี่ยวดองกับรัฐสุพรรณภูมิซึ่งใช้ภาษาไท-ลาว สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของกลุ่มที่ใช้ภาษาไท-ลาวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในยุคอยุทธยาตอนต้นได้เป็นอย่างดีครับ
กรุงศรีอยุทธยาเกิดจากการรวมตัวกันระหว่าง "เซียน" และ "หลัวหู" จีนจึงนำชื่อทั้งสองรัฐมารวมกันเรียกว่า เซียนหลัวหูกว๋อ/เสียมหลอฮกก๊ก (暹羅斛國) แต่ภายหลังกร่อนเป็น เซียนหลัวกว๋อ/เสียมหลอก๊ก (暹羅國) ครับ
แสดงความคิดเห็น
ราชวงศ์สุพรรณภูมิเริ่มต้นจากไหนครับ
และการเกิดอยุธยาคือการรวมกันของ สองกลุ่มอำนาจคือ ละโว้ หรือเรียกว่าราชวงศ์อู่ทอง กับ กลุ่มราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ผมฟังนักประวัติศาสตร์หลายท่าน มาแนวคล้ายๆ กันคือ ทางละโว้นั้นอารยธรรมสืบต่อมาจาก ทวารวดีอยู่แล้ว มีความเป็นขอมอยู่ น่าจะเป็นญาติๆ พวก วรมันทั้งหลาย
แต่ของสุพรรณภูมินั้น มาจากไหนยังไม่เจอบรรยายตรงนี้เลย ว่าพื้นเพคือจากไหนอย่างไร อยู่ๆ โผล่มาที่ ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งช่วยพระเจ้าอู่ทองตั้งอยุธยาแล้ว
เหมือนๆ กับอยู่ๆ ก็โผล่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ของสุโขทัยมาซะเฉยๆ ในการครองเมืองบางยาง แล้วก็มาช่วยพ่อขุนผาเมืองชิงสุโขทัยจากขุนนางขอม แล้วพ่อขุนผาเมืองก็ยกเมืองและชื่อตนให้
เป็นไปได้หรือไม่ว่า กลุ่ม สุพรรณภูมิ กลุ่มสุโขทัย กลุ่มพ่อขุนผาเมือง คือวงศ์เดียวกัน แล้วคนกลุ่มนี้เป็นญาติกับพวกขอม พวกละโว้หรือไม่ครับ แล้วพื้นเพมาจากไหนกันแน่