เมื่อวานมีข่าวดีของคนไทยทั้งชาติคือเมืองโบราณศรีเทพได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เรารู้มานานแล้วว่าเมืองศรีเทพเป็นเมืองในยุคทวารวดีซึ่งร่วมสมัยกับราชวงศ์ถังของจีน เรารู้จักชื่ออาณาจักรทวารวดีครั้งแรกจากบันทึกการเดินทางไปชมพูทวีปของพระถังซัมจั๋ง ท่านบันทึกชื่ออาณาจักรว่า “โถโลโปตี” นักวิชาการฝรั่งชื่อว่า ซามูเอล บีล เป็นคนถอดสำเนียงได้ว่า"ทวารวดี" เมื่อปี พ.ศ.2427 และฟันธงว่าเป็นอาณาจักรที่อยู่ในเขตประเทศสยามมีเมืองละโว้เป็นเมืองหลวง ต่อมาไปพบเหรียญที่นครปฐมนักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่านครปฐมเป็นเมืองหลวง แต่อีกส่วนเชื่อว่าเมืองหลวงคือเมืองคูบัว ราชบุรี อีกส่วนเชื่อว่าเมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์ ต่างหากที่เป็นเมืองหลวง
ในประเทศไทยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทวารวดีมากมาย ภาคเหนือพบที่อำเภอสวรรคโลก อำเภอทุ่งเสลี่ยง จังหวัดสุโขทัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และในจังหวัดลำพูนกับเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบทุกจังหวัด แต่ละจังหวัดพบมากกว่า 1 แห่ง บางจังหวัดพบถึง 7 แห่ง และยังขุดค้นพบอยู่เรื่อยๆ ภาคตะวันออก พบที่ดงละคร จังหวัดนครนายก และที่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ภาคใต้ พบที่จังหวัดปัตตานี ภาคกลาง กระจายอยู่ตามลุ่มแม่น้ำ ทั้งแม่น้ำเพชรบุรี แม่กลอง ท่าจีน ลพบุรี ป่าสัก และเจ้าพระยา เอาเป็นว่าจนถึงวันนี้เรายังไม่รู้ว่าเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดีตั้งอยู่ที่ใดต้องขุดค้นหาหลักฐานกันต่อไป

ภาพประกอบจุดที่พระถั๋งซัมจั๋งถามคือพื้นที่รูปดาว แล้วมีชื่ออาณาจักรต่างๆ ตามตำแหน่งที่ตั้งไล่กันไป แต่เกียโมลังเกียไม่รู้ว่าอยู่ตำแหน่งใด
ในหนังสือบันทึกการเดินทางของพระถังซัมจั๋งนอกจากโถโลโปตี แล้วยังมีอีกอาณาจักรหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคนไทย คือ อาณาจักรเกียโมลังเกีย โดยท่านได้ถามนักบวชผู้หนึ่งที่ปากแม่น้ำในประเทศบังคลาเทศว่า จากที่นี่หากเดินทางไปยังตะวันออกจะพบเจอดินแดนใดบ้าง นักบวชผู้นั้นตอบว่า
“เดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังชายขอบของมหาสมุทร เราจะมาถึงอาณาจักรชิลิฉาตาหลอ(ศรีเกษตร) ไกลออกไปจากนั้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่ชายฝั่งของมหาสมุทร เราจะมาถึงประเทศเกียโมลังเกีย (..ไม่รู้ชื่อ..) ห่างออกไปทางทิศตะวันออกจะเป็นอาณาจักรแห่งโถโลโปติ(ทวารวดี) ทางทิศตะวันออกต่อไปเป็นประเทศแห่งอิซางป๋อหลอ(อิศานปุระ) และไกลทางทิศตะวันออกต่อไปจะเป็นประเทศแห่งโมโหเฉนโป(มหาจามปา) ซึ่งก็คือหลินอี้ ถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นประเทศที่ชื่อว่ายามนทวีป (เยนเนียวนาฉือ) ทั้ง 6 ประเทศนี้ ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำที่ไม่อาจเข้าถึงได้ แต่ขอบเขต, ลักษณะของผู้คน และประเทศสามารถเรียนรู้ได้ด้วยการสอบถาม”
ปล.ภาพแผนที่มีเตียนกั๋ว(ประเทศของคนขี่ช้าง)ซึ่งอยู่ด้านบนของอาณาจักรต่างๆ เพิ่มมาด้วย เตียน ได้จากหลักฐานจีนว่าเป็นอาณาจักรที่ร่วมสมัยกันโดยอาณาจักรเตียนมีตั้งแต่สมัยฮั่นยาวนานถึงสมัยหยวน ปัจจุบันไม่รู้ว่าเมืองหลวงตั้งอยู่ที่ใดพบแต่สุสานกษัตริย์เตียนในเมืองคุนหมิง ในบันทึกบอกว่าเมืองหลวงของเตียนตั้งอยู่ห่างจากทะเลสาปในเมืองคุณหมิง 1000 ลี้ แต่บันทึกไม่บอกว่าห่างไปทางทิศใด ถ้าห่างลงทางใต้ที่ตั้งเมืองหลวงเตียนกั๋วอาจเป็นเมืองเชียงแสน เชียงรายก็เป็นไปได้
ขอแก้ไขข้อมูลในส่วน ปล. ผมไปค้นมาเพิ่มพบว่าเตียนกั๋วมีมาตั้งแต่ยุคจ้านกั๋วร่วมสมัยกับราชวงค์โจวโน่น มาถึงยุคฮั่นถูกกองทัพของฮั่นอู๋ตี้โจมตีแตกพ่ายถูกลดอำนาจจากกั๋วเป็นเมืองขึ้นของต้าฮั่นมีเตียนอ๋องเป็นผู้ปกครองเรื่อยมาจนถึงยุคราชวงศ์หยวน ในมลฑลยูนหนานยังมีอาณาจักรหนานเจาหรือน่านเจ้าที่คนไทยเรียกแล้วมาเป็นอาณาจักรต้าหลี่ ที่ร่วมสมัยกับทวารวดีอีกอาณาจักรคือน่านเจ้าตั้งอยู่ในเมืองคุนหมิงครับ
เมืองยุคทวารวดี"ศรีเทพ"ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว แต่อีกหนึ่งอาณาจักรในยุคเดียวกันเรายังไม่รู้ว่าตั้งอยู่ที่ใด?
ในประเทศไทยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทวารวดีมากมาย ภาคเหนือพบที่อำเภอสวรรคโลก อำเภอทุ่งเสลี่ยง จังหวัดสุโขทัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และในจังหวัดลำพูนกับเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบทุกจังหวัด แต่ละจังหวัดพบมากกว่า 1 แห่ง บางจังหวัดพบถึง 7 แห่ง และยังขุดค้นพบอยู่เรื่อยๆ ภาคตะวันออก พบที่ดงละคร จังหวัดนครนายก และที่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ภาคใต้ พบที่จังหวัดปัตตานี ภาคกลาง กระจายอยู่ตามลุ่มแม่น้ำ ทั้งแม่น้ำเพชรบุรี แม่กลอง ท่าจีน ลพบุรี ป่าสัก และเจ้าพระยา เอาเป็นว่าจนถึงวันนี้เรายังไม่รู้ว่าเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดีตั้งอยู่ที่ใดต้องขุดค้นหาหลักฐานกันต่อไป
ภาพประกอบจุดที่พระถั๋งซัมจั๋งถามคือพื้นที่รูปดาว แล้วมีชื่ออาณาจักรต่างๆ ตามตำแหน่งที่ตั้งไล่กันไป แต่เกียโมลังเกียไม่รู้ว่าอยู่ตำแหน่งใด
ในหนังสือบันทึกการเดินทางของพระถังซัมจั๋งนอกจากโถโลโปตี แล้วยังมีอีกอาณาจักรหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคนไทย คือ อาณาจักรเกียโมลังเกีย โดยท่านได้ถามนักบวชผู้หนึ่งที่ปากแม่น้ำในประเทศบังคลาเทศว่า จากที่นี่หากเดินทางไปยังตะวันออกจะพบเจอดินแดนใดบ้าง นักบวชผู้นั้นตอบว่า “เดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังชายขอบของมหาสมุทร เราจะมาถึงอาณาจักรชิลิฉาตาหลอ(ศรีเกษตร) ไกลออกไปจากนั้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่ชายฝั่งของมหาสมุทร เราจะมาถึงประเทศเกียโมลังเกีย (..ไม่รู้ชื่อ..) ห่างออกไปทางทิศตะวันออกจะเป็นอาณาจักรแห่งโถโลโปติ(ทวารวดี) ทางทิศตะวันออกต่อไปเป็นประเทศแห่งอิซางป๋อหลอ(อิศานปุระ) และไกลทางทิศตะวันออกต่อไปจะเป็นประเทศแห่งโมโหเฉนโป(มหาจามปา) ซึ่งก็คือหลินอี้ ถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นประเทศที่ชื่อว่ายามนทวีป (เยนเนียวนาฉือ) ทั้ง 6 ประเทศนี้ ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำที่ไม่อาจเข้าถึงได้ แต่ขอบเขต, ลักษณะของผู้คน และประเทศสามารถเรียนรู้ได้ด้วยการสอบถาม”
ปล.ภาพแผนที่มีเตียนกั๋ว(ประเทศของคนขี่ช้าง)ซึ่งอยู่ด้านบนของอาณาจักรต่างๆ เพิ่มมาด้วย เตียน ได้จากหลักฐานจีนว่าเป็นอาณาจักรที่ร่วมสมัยกันโดยอาณาจักรเตียนมีตั้งแต่สมัยฮั่นยาวนานถึงสมัยหยวน ปัจจุบันไม่รู้ว่าเมืองหลวงตั้งอยู่ที่ใดพบแต่สุสานกษัตริย์เตียนในเมืองคุนหมิง ในบันทึกบอกว่าเมืองหลวงของเตียนตั้งอยู่ห่างจากทะเลสาปในเมืองคุณหมิง 1000 ลี้ แต่บันทึกไม่บอกว่าห่างไปทางทิศใด ถ้าห่างลงทางใต้ที่ตั้งเมืองหลวงเตียนกั๋วอาจเป็นเมืองเชียงแสน เชียงรายก็เป็นไปได้
ขอแก้ไขข้อมูลในส่วน ปล. ผมไปค้นมาเพิ่มพบว่าเตียนกั๋วมีมาตั้งแต่ยุคจ้านกั๋วร่วมสมัยกับราชวงค์โจวโน่น มาถึงยุคฮั่นถูกกองทัพของฮั่นอู๋ตี้โจมตีแตกพ่ายถูกลดอำนาจจากกั๋วเป็นเมืองขึ้นของต้าฮั่นมีเตียนอ๋องเป็นผู้ปกครองเรื่อยมาจนถึงยุคราชวงศ์หยวน ในมลฑลยูนหนานยังมีอาณาจักรหนานเจาหรือน่านเจ้าที่คนไทยเรียกแล้วมาเป็นอาณาจักรต้าหลี่ ที่ร่วมสมัยกับทวารวดีอีกอาณาจักรคือน่านเจ้าตั้งอยู่ในเมืองคุนหมิงครับ