กรมสุขภาพจิต เผย ไทยติดอันดับ 2 ของโลก มีเด็กรังแกกันในโรงเรียนมากสุด พบถูกรังแกกว่า 6 แสนคนต่อปี ชี้ เด็กพิการ-เพศทางเลือก เสี่ยงถูกรังแกสูง
ภาพจาก ข่าวเวิร์คพอยท์
จากเหตุการณ์รุ่นพี่ ม.2 รุมทำร้ายเด็ก ป.4 ซึ่งเป็นออทิสติก สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เด็กรังแกกันในโรงเรียนที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการถ่ายคลิปส่งต่อกันในโซเซียลด้วยนั้น (อ่านข่าว : บีบหัวใจ...เด็กรุมแกล้งเพื่อน ปิดประตูห้องจับแต่งหน้า-ถักเปีย อุดปากไม่ให้ร้องไห้)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 11 ตุลาคม 2561 ข่าวเวิร์คพอยท์ รายงานว่า เมื่อต้นปี 2561 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการสำรวจว่า ประเทศไทยมีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษา ปีละประมาณ 6 แสนคน มากเป็นอันดับ 2 ของโลก มีนักเรียนถูกรังแกจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันสูงถึงร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น ขณะที่ในปี 2553 การสำรวจนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศพบว่าร้อยละ 33 เคยรังแกผู้อื่นทางออนไลน์ อีกร้อยละ 43 เคยถูกคนอื่นรังแก
ภาพจาก ข่าวเวิร์คพอยท์
ด้าน น.ต. นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เด็กจำนวนมากกำลังเผชิญการถูกรังแก ล้อเลียน ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้น และยังพบปัญหาใหม่คือ การรังแกกันผ่านสื่อออนไลน์ ทั้งการใช้ข้อความ ภาพ หรือวิดีโอคลิปบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นการปลูกฝังเด็กเรื่องความรุนแรง และมีผลกระทบต่อเด็กทั้ง 2 ฝ่ายในระยะยาว
ทั้งนี้นักเรียนที่ถูกรังแกมักจะเครียด ซึมเศร้า มีปัญหาการเข้าสังคม หากถูกกดดันรุนแรงหรือเรื้อรัง จะนำไปสู่การทำร้ายคนอื่นเพื่อแก้แค้น หรือทำร้ายตนเอง รุนแรงถึงฆ่าตัวตาย ส่วนนักเรียนที่เป็นผู้กระทำ เมื่อทำบ่อยครั้งจนกลายเป็นนิสัยเคยชิน จะมีปัญหาบุคลิกภาพแบบใช้ความก้าวร้าว ความรุนแรงต่อผู้อื่น ความรู้สึกผิดน้อย ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เป็นอันธพาล อาชญากรได้ สังคมจึงต้องช่วยกันใส่ใจ เร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทั้งที่บ้านและโรงเรียน เพื่อลดการสูญเสียคุณภาพประชากรในสังคมที่เกิดจากผลกระทบปัญหานี้ในระยะยาว
ขณะที่ พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า การลดปัญหาการรังแกในโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญทั้งกลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงถูกรังแกสูงด้วย เช่น เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้า เด็กพิการ กลุ่มเด็กนักเรียนเพศทางเลือก ซึ่งมีรายงานมักถูกรังแกมากเป็นพิเศษ และเด็กกลุ่มที่ครอบครัวมีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น สมาธิสั้น ซึ่งมักพบว่าเป็นเด็กกลุ่มที่เป็นผู้รังแก
Credit
https://hilight.kapook.com/view/178961#cxrecs_s
เผยปัญหาเด็กรังแกกันใน รร. ไทยติดอันดับ 2 ของโลก เฉลี่ย 6 แสนคนต่อปี
ภาพจาก ข่าวเวิร์คพอยท์
จากเหตุการณ์รุ่นพี่ ม.2 รุมทำร้ายเด็ก ป.4 ซึ่งเป็นออทิสติก สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เด็กรังแกกันในโรงเรียนที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการถ่ายคลิปส่งต่อกันในโซเซียลด้วยนั้น (อ่านข่าว : บีบหัวใจ...เด็กรุมแกล้งเพื่อน ปิดประตูห้องจับแต่งหน้า-ถักเปีย อุดปากไม่ให้ร้องไห้)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 11 ตุลาคม 2561 ข่าวเวิร์คพอยท์ รายงานว่า เมื่อต้นปี 2561 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการสำรวจว่า ประเทศไทยมีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษา ปีละประมาณ 6 แสนคน มากเป็นอันดับ 2 ของโลก มีนักเรียนถูกรังแกจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันสูงถึงร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น ขณะที่ในปี 2553 การสำรวจนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศพบว่าร้อยละ 33 เคยรังแกผู้อื่นทางออนไลน์ อีกร้อยละ 43 เคยถูกคนอื่นรังแก
ภาพจาก ข่าวเวิร์คพอยท์
ด้าน น.ต. นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เด็กจำนวนมากกำลังเผชิญการถูกรังแก ล้อเลียน ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้น และยังพบปัญหาใหม่คือ การรังแกกันผ่านสื่อออนไลน์ ทั้งการใช้ข้อความ ภาพ หรือวิดีโอคลิปบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นการปลูกฝังเด็กเรื่องความรุนแรง และมีผลกระทบต่อเด็กทั้ง 2 ฝ่ายในระยะยาว
ทั้งนี้นักเรียนที่ถูกรังแกมักจะเครียด ซึมเศร้า มีปัญหาการเข้าสังคม หากถูกกดดันรุนแรงหรือเรื้อรัง จะนำไปสู่การทำร้ายคนอื่นเพื่อแก้แค้น หรือทำร้ายตนเอง รุนแรงถึงฆ่าตัวตาย ส่วนนักเรียนที่เป็นผู้กระทำ เมื่อทำบ่อยครั้งจนกลายเป็นนิสัยเคยชิน จะมีปัญหาบุคลิกภาพแบบใช้ความก้าวร้าว ความรุนแรงต่อผู้อื่น ความรู้สึกผิดน้อย ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เป็นอันธพาล อาชญากรได้ สังคมจึงต้องช่วยกันใส่ใจ เร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทั้งที่บ้านและโรงเรียน เพื่อลดการสูญเสียคุณภาพประชากรในสังคมที่เกิดจากผลกระทบปัญหานี้ในระยะยาว
ขณะที่ พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า การลดปัญหาการรังแกในโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญทั้งกลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงถูกรังแกสูงด้วย เช่น เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้า เด็กพิการ กลุ่มเด็กนักเรียนเพศทางเลือก ซึ่งมีรายงานมักถูกรังแกมากเป็นพิเศษ และเด็กกลุ่มที่ครอบครัวมีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น สมาธิสั้น ซึ่งมักพบว่าเป็นเด็กกลุ่มที่เป็นผู้รังแก
Credit https://hilight.kapook.com/view/178961#cxrecs_s