REUTERS/Kim Kyung-Hoon
รอยสเตอร์ รายงาน ทหารเรือหญิงได้รับโอกาสอยู่แนวหน้าในฐานเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในการปฏิรูปกองทัพเรือญี่ปุ่นให้มีความเท่าเทียมทางเพศ เพื่อให้มีกองกำลังทั้งผู้ชายและผู้หญิง หลังมีจำนวนทหารเรือชายสูงกว่าในอัตรา 10 ต่อ 1
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล (MSDF) ต้องการทหารเรือหญิง เนื่องจากอัตราการเกิดลดลง และทหารเรือชายมีจำนวนน้อยลง มีผลให้ขาดแคลนกำลังพลในฐานเรือรบคางะ หรือ ฐานเรือบรรทุกเครื่องบนรบในน่านน้ำ ซึ่งประเทศจีนกำลังขยายอิทธิพลมายังภูมิภาค
“ผู้หญิงทั่วโลกมีแนวโน้มหันมาทำงานมากขึ้นในสายงานต่างๆ และฉันคิดว่าญี่ปุ่นก็จำเป็นที่จะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน” อะกิโกะ อิฮาระ ผู้ช่วยผู้บังคับกรเรือ กล่าวขณะที่ยืนข้างๆ หนึ่งในบรรดาเฮลิคอปเตอร์ที่เธอตรวจเช็คบำรุง
จากลูกเรือทั้งสิ้น 450 คนในเรือบรรทุกเครื่องบินที่คางะ มีสัดส่วนจำนวนลูกเรือหญิงประมาณ 9 % หรือคิดเป็นอัตราส่วนกองกำลังทางทหารญี่ปุ่นในภาพรวมที่ตั้งไว้ในปี 2030 จากปัจจุบันที่ยังมีอัตราส่วนเพศหญิงเพียงร้อยละ 6 ขณะที่สัดส่วน “ผู้หญิง” ในกองทัพสหรัฐฯ และกองทัพอังกฤษ มีจำนวนร้อยละ 15 และ 10 ตามลำดับ
“พวกเราทำงานคนละทีม แต่ก็เป็นเพื่อนกันทั้งสิ้น แต่ก็มีบางครั้งที่เราโอดครวญเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานชายของเรา” อิฮาระ เล่า
ทหารผ่านศึกคนหนึ่งเล่าว่า เธอเคยไม่เคยเผชิญหน้ากับการแบ่งแยกทางเพศในที่ทำงาน และต้องการท้าทายใครก็ตามที่คิดว่าผู้หญิงไม่เหมาะสมกับงานทหารในกองทัพให้มาทำงานกับเธอ
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/world-news/news-232192
“กองทัพญี่ปุ่น” ดึง “ทหารเรือหญิง” ร่วมทีม-ตั้งรับแนวหน้า ชูความเท่าเทียมทางเพศ
REUTERS/Kim Kyung-Hoon
รอยสเตอร์ รายงาน ทหารเรือหญิงได้รับโอกาสอยู่แนวหน้าในฐานเรือรบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในการปฏิรูปกองทัพเรือญี่ปุ่นให้มีความเท่าเทียมทางเพศ เพื่อให้มีกองกำลังทั้งผู้ชายและผู้หญิง หลังมีจำนวนทหารเรือชายสูงกว่าในอัตรา 10 ต่อ 1
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล (MSDF) ต้องการทหารเรือหญิง เนื่องจากอัตราการเกิดลดลง และทหารเรือชายมีจำนวนน้อยลง มีผลให้ขาดแคลนกำลังพลในฐานเรือรบคางะ หรือ ฐานเรือบรรทุกเครื่องบนรบในน่านน้ำ ซึ่งประเทศจีนกำลังขยายอิทธิพลมายังภูมิภาค
“ผู้หญิงทั่วโลกมีแนวโน้มหันมาทำงานมากขึ้นในสายงานต่างๆ และฉันคิดว่าญี่ปุ่นก็จำเป็นที่จะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน” อะกิโกะ อิฮาระ ผู้ช่วยผู้บังคับกรเรือ กล่าวขณะที่ยืนข้างๆ หนึ่งในบรรดาเฮลิคอปเตอร์ที่เธอตรวจเช็คบำรุง
จากลูกเรือทั้งสิ้น 450 คนในเรือบรรทุกเครื่องบินที่คางะ มีสัดส่วนจำนวนลูกเรือหญิงประมาณ 9 % หรือคิดเป็นอัตราส่วนกองกำลังทางทหารญี่ปุ่นในภาพรวมที่ตั้งไว้ในปี 2030 จากปัจจุบันที่ยังมีอัตราส่วนเพศหญิงเพียงร้อยละ 6 ขณะที่สัดส่วน “ผู้หญิง” ในกองทัพสหรัฐฯ และกองทัพอังกฤษ มีจำนวนร้อยละ 15 และ 10 ตามลำดับ
“พวกเราทำงานคนละทีม แต่ก็เป็นเพื่อนกันทั้งสิ้น แต่ก็มีบางครั้งที่เราโอดครวญเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานชายของเรา” อิฮาระ เล่า
ทหารผ่านศึกคนหนึ่งเล่าว่า เธอเคยไม่เคยเผชิญหน้ากับการแบ่งแยกทางเพศในที่ทำงาน และต้องการท้าทายใครก็ตามที่คิดว่าผู้หญิงไม่เหมาะสมกับงานทหารในกองทัพให้มาทำงานกับเธอ
ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/world-news/news-232192