การกินเจ(齋) อย่างถูกต้อง ให้เกิดประโยชน์อานิสงส์
ประวัติความเป็นมาของการกินเจ (齋)
ประเพณีเทศกาลกินเจ บำเพ็ญศีล ชาวจีนและพุทธศาสนิกชนนิกายมหายานได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจวบจนปัจจุบันนี้ แต่เดี๋ยวนี้คนไทยรู้จักกินเจ (齋) ไม่แยกเพราะเห็นถึงประโยชน์ โดยเทศกาลกินเจจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเทพแห่งดาวนพเคราะห์ พระราชาธิราช ๙ พระองค์ หรือเรียกว่า กิ่วอ๊วงไต่ตี่ (九皇佛祖) และตำนานยังผูกโยงกับพระพุทธเจ้า ๙ พระองค์ และพระโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์
ผู้ถือศีลกินเจ (齋) ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน (大乘佛教)ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีลกาล ๗ พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ
๑. พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ
๒. พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ
๓. พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ
๔. พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ
๕. พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ
๖. พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ
๗. พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์ คือ
๘. พระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์
๙. พระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์
รวมเป็น ๙ พระองค์ (หรือ“เก้าอ๊อง”) ทรงตั้งปณิธานจักโปรดสัตว์โลกจึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า ๙ พระองค์ด้วยกันคือ
๑. ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน
๒. ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน
๓. ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน
๔. ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน
๕. ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน
๖. ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน
๗. ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน
๘. ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน
๙. ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน
เทพเจ้าทั้ง ๙ พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่ทั่วสารทิศ
หลักปฏิบัติในการกินเจ
ในช่วงเทศกาลกินเจ ในแต่ละบุคคลจะมีวิธีปฏิบัติตนในการกินเจที่แตกต่างกันไป แต่โดยหลักแล้วการกินเจนั้นควรมีการบำเพ็ญซึ่งจะก่อให้เกิดบุญกุศลอย่างเต็มที่ ในการกินเจนั้นเราควรปฏิบัติตนด้วยกัน ๒ ประการ คือ
๑. ด้านสุขภาพ คือ การกินเจเพื่อสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรง ในด้านสุขภาพนั้น แบ่งแยกออกเป็น ๒ ทางคือ
๑.๑ สุขภาพทางกาย คือ การกินอาหารที่ปลอดจากสารพิษ สารเคมี จะเน้นกินอาหารที่คุณค่าต่อร่างกาย และงดอาหารที่มีโทษต่อร่างกาย
๑.๒ สุขภาพทางจิต คือ การเสพสิ่งที่ทำให้เราเบิกบานใจ มีความเอิบอิ่มใจ ความสงบ ไม่เคร่งเครียดกับสิ่งต่างๆ ที่มายก-ยั่ว-ยุ รู้จักการปล่อยวาง นำจิตใจอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
๒. การตั้งฐานจิตมุฑิตาปรารถนาดี คือ การตั้งเจตนาของเราไปในทางที่ดี ปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ไปเบียดเบียนใคร หากใครตกทุกข์ได้ยาก เราก็มีจิตเมตตาปรารถนาเข้าไปช่วยเหลือเขา
๒.๑ จิตมุฑิตาต่อตนเอง คือ การปฏิบัติขัดเกลาจิตใจของตนเอง นำสิ่งที่ไม่ดีที่อยู่ในจิตใจของเราพยายามเอาออก เช่น ความโลภ โกรธ หลง ความอาฆาต ความพยาบาท การเอาแต่ใจตนเอง เป็นต้น และเราควรตั้งปฏิญาณตนว่า สิ่งใดที่เป็นนิสัยหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีของเราที่เราจะถอนออก เราก็จะต้องตั้งใจทำ
ยกตัวอย่างในการตั้งปณิธานในการประพฤติวัตรปฏิบัติช่วงเทศกาลกินเจ ได้แก่
๒.๑.๑ สิ่งไม่ดี ควรละ
ด้านความโลภ (greed) คือ การเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น ความเบียดเบียน ความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ถี่เหนียว เป็นต้น
ด้านความโกรธ (hatred) คือ ความอาฆาต ความพยาบาท การจองเวรที่จะเอาคืน การประชดประชัน ความมีโทสะ ความเป็นคนใจร้อน ชอบดุด่าว่ากล่าวคนอื่น ชอบนินทา เป็นต้น
ด้านความหลง (delusion) คือ ความไม่รู้ ความดื้อดึงในความคิดของเราโดยไม่สนใจบุคคลอื่น การขาดอกเขาอกเรา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ความอหังการ ความมีอคติต่อสิ่งต่างๆ ที่ไม่ตรงกับใจตนเอง เช่น อคติเพราะรัก อคติเพราะไม่ชอบ อคติเพราะกลัว อคติเพราะไม่รู้ เป็นต้น
๒.๑.๒ สิ่งที่ดี ควรนำไปตั้งปณิธาน
ก. ด้านศีล (training in higher morality) คือ ความประพฤติดีทางกายและวาจา สำรวมระมัดระวัง เช่น
๑. จะพูดดีต่อคนอื่น
๒. จะปัดกวาดบ้านให้เรียบร้อย
๓. ทำความสะอาดลานวัด ศาลา ห้องน้ำ
๔. ฯลฯ
ข. ด้านสมาธิ (training in higher mentality) คือ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกจิตใจ และสอนจิตสอนใจของเรา ถ้าเราผิดจากสิ่งที่ให้สัจจะในการควบคุมจิตใจแล้ว เราต้องรู้จักลงโทษตนเองด้วย เช่น
๑. ทุกวันจะสวดมนต์ไหว้พระ ๑๕ นาที ถ้าไม่ถึงเวลาจะไม่ลุกไปไหน
๒. จะนั่งทำสมาธิ ๑๐ นาที ถ้าไม่ถึงเวลาจะไม่ยอมออกจากสมาธิ
ค. ด้านปัญญา (training in higher wisdom) คือ การศึกษาเรียนรู้ให้เกิดสติปัญญา สิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญาได้มีด้วยกัน ๔ ทาง คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. ก็คือ
"สุ" มาจากคำว่า สุตตะ คือ รู้จักฟังผู้รู้
"จิ" มาจากคำว่า จินตะ การคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน รอบครอบ มีโยนิโสมนสิการ
"ปุ" มาจากคำว่า ปุจฉา การถามไถ่ผู้รู้ ซักถามครูบาอาจารย์
"ลิ" มาจากคำว่า ลิขิต การเขียนจดสิ่งที่เราได้เรียนรู้ หากจำไม่ได้ก็ต้องจด เป็นต้น และเราอาจจะศึกษาเรียนรู้จากครูบาอาจารย์ พระภิกษุ สามเณร หนังสือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น เช่น
๑) ในหนึ่งวันฉันจะศึกษาเรียนรู้ธรรมะให้เข้าใจวันละข้อ ยกตัวอย่างเช่น หัวข้อคำว่า "เมตตา" เมตตาคืออะไร แปลว่าอะไร จะประพฤติปฏิบัติอย่างไร เราได้ปฏิบัติแล้วแค่ไหน อย่างไร
"กรุณา" กรุณาคืออะไร แปลว่าอะไร จะประพฤติปฏิบัติอย่างไร เราได้ปฏิบัติแล้วแค่ไหน อย่างไร เป็นต้น
๒) พิจารณาการกระทำของตนเอง ว่าถูกหรือผิดและจะแก้ไขอย่างไร แล้วให้ผู้รู้ กัลยาณมิตรตรวจสอบว่า ถูกต้องหรือไม่ และการแก้ไขจะถูกหรือเหมาะสมอย่างไร เช่น วันนี้ไปซื้ออาหารกับข้าวแต่เงินไม่พอจ่าย เรานำพฤติกรรมนี้มาตรวจสอบพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใด ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ วิธีแก้ไข หรือใช้หลักพิจารณากรรม ๕ มาตรวจสอบคือ
๒.๑) พิจารณากรรม ๕ แปลว่า การพิจารณาการกระทำของเราว่าเป็นอย่างไร ดีไม่ดี ควรทำต่อหรือว่าหยุด ควรแก้ไขพัฒนาหรือว่าทำต่อไป
๑) ทำ ทำไม คือ ทุกข์ ปัญหา ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นคืออะไร
๒) ทำไมถึงทำ คือ สาเหตุของความทุกข์ ปัญหา ความเดือดร้อนนั้น
๓) ผลขณะกระทำ คือ ขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้นผลเป็นเช่นไร
๔) ผลที่ตามมา คือ ผลที่สืบเนื่องที่เราได้ทำขณะนั้นคืออะไร
๕) ผลที่แท้จริง คือ ผลจากการที่เราได้รับนั้นที่แท้จริงคืออะไร แม้ว่าปัจจุบันอาจจะมีความสุข ทุกข์ยังไม่บังเกิด แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งที่ทำนั้นกลับเป็นทุกข์ ความเดือดร้อนตามมา
เมื่อเรารู้เหตุของปัญหาและทราบแน่ชัดของผลของปัญหาต่อไปเราก็จะไม่ทำเช่นนี้อีก
๒.๒) พิจารณาวิบาก ๗
๑) ชอบธรรม คือ การพิจารณาว่าถูกต้องตามครรลองครองธรรมหรือไม่ มีสิทธิหรือไม่ที่จะกระทำต่อบุคคลหรือเหตุการณ์นั้นๆ หรือไม่ คือ จะไม่ยึดว่าถูกต้องตามตนเอง ผู้อื่น หรือใครบุคคลคนหนึ่ง เช่น การขโมย เรามีสิทธิ์จับแต่ไม่มีสิทธิ์ขังเขา เพราะไม่มีความชอบธรรม แม้ตำรวจจับก็ไม่มีสิทธิ์ในการตัดสิน ต้องเป็นศาลมีสิทธิ์ในการตัดสินว่าใครผิดใครถูก
๒) สมควร คือ การพิจารณาว่าสิ่งที่ทำนั้นสมควรทำหรือไม่ และหากสมควรทำเราจะทำอย่างไร สมควรในที่นี้ คือ สมควรแค่ไหน คือเรามีสิทธิแล้ว เช่น จะตีก้นเด็ก จะตีแรงแค่ไหน สมควรจะคาดโทษ ให้มีความพอเหมาะ พอดี
แล้วเรามีสิทธิ์ในการทำเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด และทำได้แค่ไหน หากเราไม่มีคำว่า "สมควร" เราก็จะทำสิ่งเหล่านั้นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผล แต่จะกลับกลายสร้างปัญหาตามมา เพราะว่ามันเกิน เราต้องทำให้มัน "พอดี" จึงจะเกิดคำว่า "สมควร"
๓) เหมาะสม คือ เหมาะสมกับภาวะการณ์นั้นๆ เช่น คนนี้เขาทำผิด แต่เขาป่วยก็ไม่เหมาะสมที่จะไปลงโทษเขา และถ้าเขาเป็นโจรแต่ได้รับบาดเจ็บต้องนำส่งโรงพยาบาลรักษาก่อน ก่อนที่จะส่งเข้าคุก
การพิจารณาถึงความเหมาะสมเข้ากับเหตุการณ์นั้นๆ หรือเราทำสิ่งหนึ่งแล้วเรานำสิ่งนั้นมาผสมเข้ากับสิ่งนั้นหรือไม่
๔) บุคคล คือ การพิจารณาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เรากระทำ นิสัยบุคคล ความสัมพันธ์กับอุปนิสัย จริต และภาวะการณ์ของบุคคลนั้นๆ เช่น คนบ้าเราไม่ควรเอาความกับเขา และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเราเป็นเจ้านายจะด่า ตำหนิติเตียนลูกน้อง ถ้าเขาเป็นคนขี้โมโห ถ้าเราไปด่าเขาแรงๆ เราอาจจะถูกเขาฆ่าตายแน่นอน และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเขาเป็นคนไม่เอาไหนแล้วให้ไปเฝ้าของ เขาก็ไม่เฝ้าของ
๕) สถานที่ คือ การพิจารณาถึงสถานที่ ที่นั้นๆ และสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น คนคนนี้เขาผิดจริง แต่ว่าอยู่ในงานเลี้ยง เราไม่ควรไปด่าเขา เขาจะได้รับความอับอายอาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่เลย
๖) กาล คือ การพิจารณาความเหมาะสมของเวลา ก่อนทำ ขณะกระทำ หลังการทำ และกาลเวลาที่เลยผ่าน คือ กาลเทศะจะเหมาะสมหรือไม่ เช่น เวลานั้นเขากำลังโมโห หรือเขาเมา เราไปต่อว่าเขา แล้วเราจะเดือดร้อน
๗) การณ์ คือ พิจารณาเรื่องราว ภาวะการณ์นั้นๆ เหตุการณ์ เช่น รถชนกันอยู่ เขาบาดเจ็บ แล้วไปถามเรื่องกุญแจว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งไม่ถูกกับเหตุการณ์ และอีกกรณีหนึ่ง ผัวเมียกำลังทะเลาะกัน เราเข้าไปพูดคุยอาจได้รับอันตรายได้
รวมความแล้ว ให้เห็นความสัปปายะว่าจะทำสิ่งนั้นเหมาะไหม มีสัปปายะไหม
๒.๒ จิตมุฑิตาต่อคนอื่น คือ เราไม่ไปเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่ไปทำให้คนอื่นยุ่งยากลำบากใจ เช่น เห็นเขากำลังทำโน้นนี่อยู่ กำลังเหนื่อยอยู่ แม้ว่าเราเป็นนายจ้างเขา เราไม่ไปใช้เขาในขณะนั้น รอให้เขาพักเหนื่อยก่อน แล้วค่อยสั่งงานเขาทำงานต่อไป และเขากำลังนอนหลับอยู่ เราไม่ทำเอะอะเสียงดังไปรบกวนเขา เป็นต้น
๒.๓ ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต เช่น
กินเจ งดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ต่างๆ
ใช้สิ่งของด้วยความกตัญญู รู้คุณสิ่งของ ใช้อย่างสำรวม เมื่อเสร็จกิจก็นำไปเก็บยังที่อยู่ให้เรียบร้อย
๒.๔ ช่วยเหลือคนอื่น คือ มีจิตจาคะเสียสละ ช่วยเหลือ มีจิตเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล และป้องกันไม่ให้ผู้อื่นตกไปในทางอบาย
การกินเจ ด้วยเจริญมุฑิตาจิต โดยมีพระโพธิสัตว์พระแม่กวนอิมนำพาเรากินเจบำเพ็ญธรรม
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
การกินเจ(齋) อย่างถูกต้อง ให้เกิดประโยชน์อานิสงส์
ประวัติความเป็นมาของการกินเจ (齋)
ประเพณีเทศกาลกินเจ บำเพ็ญศีล ชาวจีนและพุทธศาสนิกชนนิกายมหายานได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจวบจนปัจจุบันนี้ แต่เดี๋ยวนี้คนไทยรู้จักกินเจ (齋) ไม่แยกเพราะเห็นถึงประโยชน์ โดยเทศกาลกินเจจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเทพแห่งดาวนพเคราะห์ พระราชาธิราช ๙ พระองค์ หรือเรียกว่า กิ่วอ๊วงไต่ตี่ (九皇佛祖) และตำนานยังผูกโยงกับพระพุทธเจ้า ๙ พระองค์ และพระโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์
ผู้ถือศีลกินเจ (齋) ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน (大乘佛教)ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีลกาล ๗ พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ
๑. พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ
๒. พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ
๓. พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ
๔. พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ
๕. พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ
๖. พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ
๗. พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์ คือ
๘. พระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์
๙. พระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์
รวมเป็น ๙ พระองค์ (หรือ“เก้าอ๊อง”) ทรงตั้งปณิธานจักโปรดสัตว์โลกจึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า ๙ พระองค์ด้วยกันคือ
๑. ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน
๒. ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน
๓. ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน
๔. ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน
๕. ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน
๖. ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน
๗. ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน
๘. ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน
๙. ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน
เทพเจ้าทั้ง ๙ พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่ทั่วสารทิศ
หลักปฏิบัติในการกินเจ
ในช่วงเทศกาลกินเจ ในแต่ละบุคคลจะมีวิธีปฏิบัติตนในการกินเจที่แตกต่างกันไป แต่โดยหลักแล้วการกินเจนั้นควรมีการบำเพ็ญซึ่งจะก่อให้เกิดบุญกุศลอย่างเต็มที่ ในการกินเจนั้นเราควรปฏิบัติตนด้วยกัน ๒ ประการ คือ
๑. ด้านสุขภาพ คือ การกินเจเพื่อสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรง ในด้านสุขภาพนั้น แบ่งแยกออกเป็น ๒ ทางคือ
๑.๑ สุขภาพทางกาย คือ การกินอาหารที่ปลอดจากสารพิษ สารเคมี จะเน้นกินอาหารที่คุณค่าต่อร่างกาย และงดอาหารที่มีโทษต่อร่างกาย
๑.๒ สุขภาพทางจิต คือ การเสพสิ่งที่ทำให้เราเบิกบานใจ มีความเอิบอิ่มใจ ความสงบ ไม่เคร่งเครียดกับสิ่งต่างๆ ที่มายก-ยั่ว-ยุ รู้จักการปล่อยวาง นำจิตใจอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
๒. การตั้งฐานจิตมุฑิตาปรารถนาดี คือ การตั้งเจตนาของเราไปในทางที่ดี ปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ไปเบียดเบียนใคร หากใครตกทุกข์ได้ยาก เราก็มีจิตเมตตาปรารถนาเข้าไปช่วยเหลือเขา
๒.๑ จิตมุฑิตาต่อตนเอง คือ การปฏิบัติขัดเกลาจิตใจของตนเอง นำสิ่งที่ไม่ดีที่อยู่ในจิตใจของเราพยายามเอาออก เช่น ความโลภ โกรธ หลง ความอาฆาต ความพยาบาท การเอาแต่ใจตนเอง เป็นต้น และเราควรตั้งปฏิญาณตนว่า สิ่งใดที่เป็นนิสัยหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีของเราที่เราจะถอนออก เราก็จะต้องตั้งใจทำ
ยกตัวอย่างในการตั้งปณิธานในการประพฤติวัตรปฏิบัติช่วงเทศกาลกินเจ ได้แก่
๒.๑.๑ สิ่งไม่ดี ควรละ
ด้านความโลภ (greed) คือ การเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น ความเบียดเบียน ความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ถี่เหนียว เป็นต้น
ด้านความโกรธ (hatred) คือ ความอาฆาต ความพยาบาท การจองเวรที่จะเอาคืน การประชดประชัน ความมีโทสะ ความเป็นคนใจร้อน ชอบดุด่าว่ากล่าวคนอื่น ชอบนินทา เป็นต้น
ด้านความหลง (delusion) คือ ความไม่รู้ ความดื้อดึงในความคิดของเราโดยไม่สนใจบุคคลอื่น การขาดอกเขาอกเรา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ความอหังการ ความมีอคติต่อสิ่งต่างๆ ที่ไม่ตรงกับใจตนเอง เช่น อคติเพราะรัก อคติเพราะไม่ชอบ อคติเพราะกลัว อคติเพราะไม่รู้ เป็นต้น
๒.๑.๒ สิ่งที่ดี ควรนำไปตั้งปณิธาน
ก. ด้านศีล (training in higher morality) คือ ความประพฤติดีทางกายและวาจา สำรวมระมัดระวัง เช่น
๑. จะพูดดีต่อคนอื่น
๒. จะปัดกวาดบ้านให้เรียบร้อย
๓. ทำความสะอาดลานวัด ศาลา ห้องน้ำ
๔. ฯลฯ
ข. ด้านสมาธิ (training in higher mentality) คือ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกจิตใจ และสอนจิตสอนใจของเรา ถ้าเราผิดจากสิ่งที่ให้สัจจะในการควบคุมจิตใจแล้ว เราต้องรู้จักลงโทษตนเองด้วย เช่น
๑. ทุกวันจะสวดมนต์ไหว้พระ ๑๕ นาที ถ้าไม่ถึงเวลาจะไม่ลุกไปไหน
๒. จะนั่งทำสมาธิ ๑๐ นาที ถ้าไม่ถึงเวลาจะไม่ยอมออกจากสมาธิ
ค. ด้านปัญญา (training in higher wisdom) คือ การศึกษาเรียนรู้ให้เกิดสติปัญญา สิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญาได้มีด้วยกัน ๔ ทาง คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. ก็คือ
"สุ" มาจากคำว่า สุตตะ คือ รู้จักฟังผู้รู้
"จิ" มาจากคำว่า จินตะ การคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน รอบครอบ มีโยนิโสมนสิการ
"ปุ" มาจากคำว่า ปุจฉา การถามไถ่ผู้รู้ ซักถามครูบาอาจารย์
"ลิ" มาจากคำว่า ลิขิต การเขียนจดสิ่งที่เราได้เรียนรู้ หากจำไม่ได้ก็ต้องจด เป็นต้น และเราอาจจะศึกษาเรียนรู้จากครูบาอาจารย์ พระภิกษุ สามเณร หนังสือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น เช่น
๑) ในหนึ่งวันฉันจะศึกษาเรียนรู้ธรรมะให้เข้าใจวันละข้อ ยกตัวอย่างเช่น หัวข้อคำว่า "เมตตา" เมตตาคืออะไร แปลว่าอะไร จะประพฤติปฏิบัติอย่างไร เราได้ปฏิบัติแล้วแค่ไหน อย่างไร
"กรุณา" กรุณาคืออะไร แปลว่าอะไร จะประพฤติปฏิบัติอย่างไร เราได้ปฏิบัติแล้วแค่ไหน อย่างไร เป็นต้น
๒) พิจารณาการกระทำของตนเอง ว่าถูกหรือผิดและจะแก้ไขอย่างไร แล้วให้ผู้รู้ กัลยาณมิตรตรวจสอบว่า ถูกต้องหรือไม่ และการแก้ไขจะถูกหรือเหมาะสมอย่างไร เช่น วันนี้ไปซื้ออาหารกับข้าวแต่เงินไม่พอจ่าย เรานำพฤติกรรมนี้มาตรวจสอบพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใด ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ วิธีแก้ไข หรือใช้หลักพิจารณากรรม ๕ มาตรวจสอบคือ
๒.๑) พิจารณากรรม ๕ แปลว่า การพิจารณาการกระทำของเราว่าเป็นอย่างไร ดีไม่ดี ควรทำต่อหรือว่าหยุด ควรแก้ไขพัฒนาหรือว่าทำต่อไป
๑) ทำ ทำไม คือ ทุกข์ ปัญหา ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นคืออะไร
๒) ทำไมถึงทำ คือ สาเหตุของความทุกข์ ปัญหา ความเดือดร้อนนั้น
๓) ผลขณะกระทำ คือ ขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้นผลเป็นเช่นไร
๔) ผลที่ตามมา คือ ผลที่สืบเนื่องที่เราได้ทำขณะนั้นคืออะไร
๕) ผลที่แท้จริง คือ ผลจากการที่เราได้รับนั้นที่แท้จริงคืออะไร แม้ว่าปัจจุบันอาจจะมีความสุข ทุกข์ยังไม่บังเกิด แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งที่ทำนั้นกลับเป็นทุกข์ ความเดือดร้อนตามมา
เมื่อเรารู้เหตุของปัญหาและทราบแน่ชัดของผลของปัญหาต่อไปเราก็จะไม่ทำเช่นนี้อีก
๒.๒) พิจารณาวิบาก ๗
๑) ชอบธรรม คือ การพิจารณาว่าถูกต้องตามครรลองครองธรรมหรือไม่ มีสิทธิหรือไม่ที่จะกระทำต่อบุคคลหรือเหตุการณ์นั้นๆ หรือไม่ คือ จะไม่ยึดว่าถูกต้องตามตนเอง ผู้อื่น หรือใครบุคคลคนหนึ่ง เช่น การขโมย เรามีสิทธิ์จับแต่ไม่มีสิทธิ์ขังเขา เพราะไม่มีความชอบธรรม แม้ตำรวจจับก็ไม่มีสิทธิ์ในการตัดสิน ต้องเป็นศาลมีสิทธิ์ในการตัดสินว่าใครผิดใครถูก
๒) สมควร คือ การพิจารณาว่าสิ่งที่ทำนั้นสมควรทำหรือไม่ และหากสมควรทำเราจะทำอย่างไร สมควรในที่นี้ คือ สมควรแค่ไหน คือเรามีสิทธิแล้ว เช่น จะตีก้นเด็ก จะตีแรงแค่ไหน สมควรจะคาดโทษ ให้มีความพอเหมาะ พอดี
แล้วเรามีสิทธิ์ในการทำเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด และทำได้แค่ไหน หากเราไม่มีคำว่า "สมควร" เราก็จะทำสิ่งเหล่านั้นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผล แต่จะกลับกลายสร้างปัญหาตามมา เพราะว่ามันเกิน เราต้องทำให้มัน "พอดี" จึงจะเกิดคำว่า "สมควร"
๓) เหมาะสม คือ เหมาะสมกับภาวะการณ์นั้นๆ เช่น คนนี้เขาทำผิด แต่เขาป่วยก็ไม่เหมาะสมที่จะไปลงโทษเขา และถ้าเขาเป็นโจรแต่ได้รับบาดเจ็บต้องนำส่งโรงพยาบาลรักษาก่อน ก่อนที่จะส่งเข้าคุก
การพิจารณาถึงความเหมาะสมเข้ากับเหตุการณ์นั้นๆ หรือเราทำสิ่งหนึ่งแล้วเรานำสิ่งนั้นมาผสมเข้ากับสิ่งนั้นหรือไม่
๔) บุคคล คือ การพิจารณาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เรากระทำ นิสัยบุคคล ความสัมพันธ์กับอุปนิสัย จริต และภาวะการณ์ของบุคคลนั้นๆ เช่น คนบ้าเราไม่ควรเอาความกับเขา และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเราเป็นเจ้านายจะด่า ตำหนิติเตียนลูกน้อง ถ้าเขาเป็นคนขี้โมโห ถ้าเราไปด่าเขาแรงๆ เราอาจจะถูกเขาฆ่าตายแน่นอน และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเขาเป็นคนไม่เอาไหนแล้วให้ไปเฝ้าของ เขาก็ไม่เฝ้าของ
๕) สถานที่ คือ การพิจารณาถึงสถานที่ ที่นั้นๆ และสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น คนคนนี้เขาผิดจริง แต่ว่าอยู่ในงานเลี้ยง เราไม่ควรไปด่าเขา เขาจะได้รับความอับอายอาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่เลย
๖) กาล คือ การพิจารณาความเหมาะสมของเวลา ก่อนทำ ขณะกระทำ หลังการทำ และกาลเวลาที่เลยผ่าน คือ กาลเทศะจะเหมาะสมหรือไม่ เช่น เวลานั้นเขากำลังโมโห หรือเขาเมา เราไปต่อว่าเขา แล้วเราจะเดือดร้อน
๗) การณ์ คือ พิจารณาเรื่องราว ภาวะการณ์นั้นๆ เหตุการณ์ เช่น รถชนกันอยู่ เขาบาดเจ็บ แล้วไปถามเรื่องกุญแจว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งไม่ถูกกับเหตุการณ์ และอีกกรณีหนึ่ง ผัวเมียกำลังทะเลาะกัน เราเข้าไปพูดคุยอาจได้รับอันตรายได้
รวมความแล้ว ให้เห็นความสัปปายะว่าจะทำสิ่งนั้นเหมาะไหม มีสัปปายะไหม
๒.๒ จิตมุฑิตาต่อคนอื่น คือ เราไม่ไปเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่ไปทำให้คนอื่นยุ่งยากลำบากใจ เช่น เห็นเขากำลังทำโน้นนี่อยู่ กำลังเหนื่อยอยู่ แม้ว่าเราเป็นนายจ้างเขา เราไม่ไปใช้เขาในขณะนั้น รอให้เขาพักเหนื่อยก่อน แล้วค่อยสั่งงานเขาทำงานต่อไป และเขากำลังนอนหลับอยู่ เราไม่ทำเอะอะเสียงดังไปรบกวนเขา เป็นต้น
๒.๓ ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต เช่น
กินเจ งดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ต่างๆ
ใช้สิ่งของด้วยความกตัญญู รู้คุณสิ่งของ ใช้อย่างสำรวม เมื่อเสร็จกิจก็นำไปเก็บยังที่อยู่ให้เรียบร้อย
๒.๔ ช่วยเหลือคนอื่น คือ มีจิตจาคะเสียสละ ช่วยเหลือ มีจิตเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล และป้องกันไม่ให้ผู้อื่นตกไปในทางอบาย
การกินเจ ด้วยเจริญมุฑิตาจิต โดยมีพระโพธิสัตว์พระแม่กวนอิมนำพาเรากินเจบำเพ็ญธรรม
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์