http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3721
แม้ว่า การทำคำเสนอซื้อ หรือ เทนเดอร์ ออฟเฟอร์ ของบริษัท ศุภาลัย พรอพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SPM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI ถือหุ้นอยู่ 99.99% เพื่อซื้อหุ้นทั้งหมด 100% หรือจำนวน 992.01 ล้านหุ้น ในบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)หรือ MK โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในราคาหุ้นละ 4.10 บาท รวมเป็นมูลค่าประมาณ 4.07 พันล้านบาท จะล่มลงไป เพราะราคาหุ้น MK หลังทำคำเสนอซื้อจะวิ่งขึ้นไปสูงกว่าราคาเสนอซื้อ แต่ไม่ได้หมายความว่า ความพยายามจะแย่งซื้อกิจการของ MK จะจบสิ้นลง
เหตุผลมี 2 ข้อหลักคือ 1) ราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหุ้นปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หรือบุ๊กแวลลู แล้วก็ผลประกอบการยังไม่ขาดทุน และกำไรสะสมค่อนข้างสูงมาก แม้ความสามารถทำกำไรระยะสองปีหลังถดถอยลง 2) มีที่ดินเป็น "สินทรัพย์จำบัง" ซ่อนมูลค่าเอาไว้ค่อนข้างสูง สามารถนำมาพัฒนาทำกำไรในอนาคตได้ดี
เพียงแค่ 2 ข้อที่กล่าวมา ย่อมเห็นได้ชัดว่า สงครามแย่งเป็นผู้มีอำนานเหนือ MK จะต้องเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการแน่นอน รอแต่ว่าจะระเบิดเป็นข่าวดังเมื่อใดเท่านั้น
วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม มีมติให้บริษัท ศุภาลัย พรอพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SPM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด 100% หรือจำนวน 992.01 ล้านหุ้น ในบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)หรือ MK โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในราคาหุ้นละ 4.10 บาท รวมเป็นมูลค่าประมาณ 4.07 พันล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขว่า SPM จะทำการยกเลิกคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด หากเมื่อสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อแล้วมีผู้เสนอขายหุ้นจำนวนน้อยกว่า 25%
การทำคำเสนอซื้อที่ชาญฉลาด(แม้จะซื้อที่ราคาสูงกว่าตลาดอย่างมาก) เพราะหากดีลจบลง SPALI จะมีกำไรพิเศษทันทีจากการซื้อ MK ในราคาส่วนลดจากมูลค่าทางบัญชี 35% ยังสามารถมีโอกาสที่จะนำสินทรัพย์มาขาย และเปลี่ยนแบรนด์เป็น SPALI เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในอนาคตอีก
พอถึงวันที่ 10 กันยายน ผลลัพธ์ปรากฏออกมาว่า ผู้ทำคำเสนอซื้อ หลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในหุ้นสามัญทั้งหมดของบมจ.มั่นคงเคหะการ (MK) ได้นำส่งแบบรายงานผล แจ้งว่ามีผู้แสดงเจตนาขาย และรับซื้อได้ทั้งสิ้น 3,281,200 หุ้น คิดเป็น 0.33%
เท่ากับการทำคำเสนอจบสิ้นลงด้วยความล้มเหลว เพราะหลังจากสรุปผลแล้วล่าสุด กลุ่ม SPALI ถือครองหุ้น MK ได้เพิ่มเติมอย่างไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย
สาเหตุหลักแห่งความล้มเหลวเกิดจาก ราคาตลาดที่พุ่งแรงเกินกว่าราคาเสนอซื้อ จนมีคนสนใจขายออกต่ำมากชนิดแทบไม่มีเลยนั่นเอง
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาวิ่งแรงเกินจากระดับ 3.30 บาท (ก่อนหน้าวันที่ 10 กรกฎาคม แต่เดือนมิถุนายนเคยร่วงลงไปถึง 2.98 บาท ) ขึ้นมาทันที่ที่ระดับ 4.08 บาท หรือเกือบ 24% เนื่องจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ กลุ่มฟินันซ่า ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมทั้งโดยตรงและอ้อม กล่าวคือ บริษัท ฟินันซ่า รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ได้เข้าซื้อหุ้นของ MK จำนวน 3,203,500 หุ้น หรือ 0.32% ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้มีหุ้น MK ทั้งสิ้น 100,179,108 หุ้น คิดเป็น 10.099% ของทุนเรียกชำระแล้ว ขณะที่ นายฟิลิปวีระ บุนนาค ซึ่งก็เป็นนอมินีกลุ่มนี้ รายงานการได้หุ้น MK เพิ่มอีกในจำนวน 2.45% ส่งผลให้มีหุ้นทั้งสิ้น 6.23%
เจตนาในการดันราคาด้วยการซื้อหุ้นMK เพิ่มเติม แสดงออกชัดเจนว่า กลุ่มฟินันซ่าต้องการขัดขวางการทำคำเสนอซื้อของ SPALI ซึ่งผลลัพธ์ก็บรรลุตามเป้า
หลังจากความล้มเหลวครั้งนี้ กลุ่มSPALIหมดโอกาสที่จะทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ไปอีก 1 ปีเต็ม ย้อนความเดิมกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน กลุ่มนายชวน ตั้งมติธรรม ที่ประกอบด้วย นายชวน ตั้งมติธรรม นางอัญชัน ตั้งมติธรรม และนางสาวชุติมา ตั้งมติธรรม ได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 ได้ขายหุ้นในครอบครอง 20.46% ใน MK ให้แก่กลุ่มบริษัท แคสเซิล พีค ดีเวลลอปเม้นท์ส จำกัด และ บริษัท ซีพีดี โฮลดิ้ง จำกัด ของ นายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐอดีตนักการเงินมือเก่าแห่งกลุ่มศรีมิตรในยุคของสบู่เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟู ในราคาหุ้นละ 6.75 บาท รวมมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท
ภายหลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นแล้ว ทำให้กลุ่มนายชวน ตั้งมติธรรมเหลือหุ้น 5.80% ไม่นับรวมนายประทีป แห่ง SPALI ที่แยกมาต่างหาก ซึ่งยังคงถือครองหุ้น MK ในสัดส่วนเดิม 11.29% โดยไม่ได้มีส่วนครอบงำการบริหารของ MK แต่อย่างใด เพราะถือในนามส่วนตัว
หลังจากดีลซื้อขาย MK จบลง ปรากฏว่าชื่อบริษัท แคสเซิล พีค ดีเวลลอปเม้นท์ส หายไป มีรายชื่อของบริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) หรือ FNS และนอมินีมาปรากฏแทนในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่
โดยมีโครงสร้างกรรมการที่ชัดเจนว่ากลุ่มฟินันซ่าเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการบริหารเบ็ดเสร็จ โดยมีนายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ เป็นประธานกรรมการ แต่มีตัวแทนหลักของกลุ่มฟินันซ่า นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ นั่งควบตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ
สามปีที่ผ่านมา แม้ว่า โครงการอสังหาริมทรัพย์ของ MK จะจืดจางลงไปจากวงการ เพราะขาดการลงทุนใหญ่ที่สร้างมิติใหม่แต่ก็ยังคง "กินบุญเก่า" (เพราะผู้มีอำนาจบริหารไม่ใช่ "ตัวจริงเสียงจริง" ในวงการอสังหาริมทรัพย์) แต่ยังมีกำไรต่อเนื่อง แม้จะถดถอยลงชัดเจนเพราะขาดเชิงรุกทางการตลาด เนื่องจากไม่มีความถนัดในธุรกิจ เพราะพื้นฐานเป็นกลุ่มการเงินนอน-แบงก์
สภาพกำไรถดถอยของ MK จนอัตรากำไรสุทธิล่าสุดเหลือแค่ต่ำกว่า 5% จากอดีตยุครุ่งเรืองที่เคยสูงกว่า 20% ยาวนาน แม้ยังไม่ถึงกับขาดทุน สะท้อนออกมาในราคาหุ้นที่โรยราลงจนต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี หรือ บุ๊กแวลลู ที่เหนือกว่า 6.10 บาท เปิดทางให้กับการสบช่องเทกโอเวอร์ง่ายดายมาก
ว่าไปแล้ว โดยธรรมชาติของ กลุ่มฟินันซ่า ที่พร้อมจะเล่นแร่แปรธาตุสินทรัพย์ในมือ คงไม่ถึงกับปฏิเสธที่จะขายหุ้นที่ถือออกจากมือ มากกว่า 20% เพียงแต่น่าจะมีเงื่อนไขว่า ต้องมีราคาขายสูงกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อมาหุ้นละ 6.75 บาท เท่านั้นเอง
หากยอมรับข้อเสนอ 4.10 บาท กลุ่มนี้จะขาดทุนค่อนข้างมาก ...เป็นเรื่องเข้าใจได้ กุญแจสำคัญที่ทำให้ MK มีความน่าสนใจอยู่ที่นอกจากฐานะทางการเงินเดิมที่แข็งแกร่งแล้ว ยังมาจากแลนด์แบงก์ที่สะสมเอาไว้ รอการพัฒนาทำรายได้ในอนาคตนั่นเอง กำไรสะสมเมื่อสิ้นไตรมาสสองปีนี้ของ MK อยู่ที่ระดับ 3,935 ล้านบาท เกินกว่าครึ่งของส่วนผู้ถือหุ้น 6,511 ล้านบาทส่วนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีมากถึง 5,212 ล้านบาทนั้น หากจำแนกรายละเอียดจะพบว่า มีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุน 853 ล้านบาท ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 1,033 ล้านบาท สิทธิการเช่า 1,884 ล้านบาท และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ 1,088 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเหล่านี้ แม้จะไม่มีรายละเอียดระบุกำกับไว้ ถือว่า ล้วนตีมูลค่าทางบัญชีตามราคาประเมิน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่มูลค่าจะต่ำกว่าราคาตลาดเสมอ แรงจูงใจส่วนหนึ่งของการที่ฟินันซ่ากรุ๊ปใช้เงิน 1,200 ล้านบาท เข้าไปซื้อหุ้น MK จากกลุ่มนายชวน ตั้งมติธรรม ผู้ก่อตั้งบริษัทจำนวน 177.55 ล้านหุ้น คิดเป็น 20.64% ของทุนชำระเมื่อ 3 ปีก่อนน่าจะเกิดจากข้อมูลที่เป็น "สินทรัพย์จำบัง"เหล่านี้
เช่นเดียวกัน กรณีกลุ่ม SPALI ก็คงมองเห็นจุดนี้เช่นกัน ดังคำให้สัมภาษณ์สื่อบางฉบับของ นายประทีป ตั้งมติธรรมเองที่ว่า "...เรามีศักยภาพที่จะไปช่วยได้ เราช่วยลดต้นทุนให้เขาได้ เราช่วยทำกำไรให้เพิ่มขึ้นได้ ช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่างๆที่เขาอาจไปทำแล้วมันไม่เหมาะกับตลาด เราก็ช่วยบอกเขาได้...ถ้าเราเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง เราก็ช่วยได้เยอะหน่อย เราจะช่วยให้ดอกเบี้ยเงินกู้ของเขา (MK) ลงมาเท่าของ SPALI เพราะบริษัทในเครือศุภาลัยเดี๋ยวนี้กู้ได้เท่าศุภาลัยที่ 2% กว่าๆ แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ของเขาแพงกว่าเราเกือบ 1.5% ถ้าลดภาระดอกเบี้ยลงไปหลายสิบล้านบาท บริษัทก็กำไรเพิ่มขึ้นหลายสิบล้านบาทเช่นกัน เรายังช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างให้เขาได้ เพราะเราสามารถทำให้เขาซื้อวัสดุในต้นทุนที่เท่ากับเรา แต่ถ้าเราเป็นผู้ถือหุ้นอันดับสองเราก็ทำไม่ได้...ซึ่งแม้จะไม่พูดถึงที่ดินอันเป็นหัวใจของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง แต่ก็ "เป็นที่รู้กันโดยนัย"
ส่วนเหตุผลเรื่องของการต่อยอดการตลาดเพราะภาพลักษณ์แบรนด์ "ชวนชื่น" ของ MK ที่สร้างไว้ยาวนานกว่า 50 ปี ยังเป็นตำนานได้ และไม่ทับซ้อนกับแบรนด์หรือสินค้าในพอร์ตเดิมของ SPALI... ไม่ได้มีความหมายอะไรมากมาย เพราะตอนนี้ ไม่มีประโยชน์แล้ว
สำหรับคนในวงการอสังหาริมทรัพย์แล้ว สินทรัพย์จำบังที่มีอยู่คือเสน่ห์อันรุนแรงในช่วงเวลาที่แลนด์แบงก์ทำโครงการ หายากขึ้นเรื่อยๆ และหลายเชื่อว่า หากประเมินมูลค่าทางการตลาดในอนาคต หากสามารถนำเอาสินทรัพย์จำบังนี้มาเพิ่มมูลค่าได้จริง บุ๊กแวลลูของMK จะต้องมากกว่า 7.00 บาทด้วยซ้ำ เรียกได้ว่า ซื้อราคาเท่าใดก็ไม่ถือว่าแพง
ความล้มเหลวทำเทนเดอร์ของกลุ่ม SPALI ที่ผ่านไป เท่ากับเปิดโอกาสให้กับการยื้อแย่งสินทรัพย์จำบังระลอกใหม่ ผ่านเกมไล่ล่าราคาหุ้น ที่คาดหมายว่า อีกไม่นานเกินรอ ต้องเกิดขึ้น
////////////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com
MK รอเปิดศึกแย่งสินทรัพย์จำบัง (โดย อีหล่าน้อย เว็บ Share2Trade)
แม้ว่า การทำคำเสนอซื้อ หรือ เทนเดอร์ ออฟเฟอร์ ของบริษัท ศุภาลัย พรอพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SPM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI ถือหุ้นอยู่ 99.99% เพื่อซื้อหุ้นทั้งหมด 100% หรือจำนวน 992.01 ล้านหุ้น ในบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)หรือ MK โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในราคาหุ้นละ 4.10 บาท รวมเป็นมูลค่าประมาณ 4.07 พันล้านบาท จะล่มลงไป เพราะราคาหุ้น MK หลังทำคำเสนอซื้อจะวิ่งขึ้นไปสูงกว่าราคาเสนอซื้อ แต่ไม่ได้หมายความว่า ความพยายามจะแย่งซื้อกิจการของ MK จะจบสิ้นลง
เหตุผลมี 2 ข้อหลักคือ 1) ราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหุ้นปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หรือบุ๊กแวลลู แล้วก็ผลประกอบการยังไม่ขาดทุน และกำไรสะสมค่อนข้างสูงมาก แม้ความสามารถทำกำไรระยะสองปีหลังถดถอยลง 2) มีที่ดินเป็น "สินทรัพย์จำบัง" ซ่อนมูลค่าเอาไว้ค่อนข้างสูง สามารถนำมาพัฒนาทำกำไรในอนาคตได้ดี
เพียงแค่ 2 ข้อที่กล่าวมา ย่อมเห็นได้ชัดว่า สงครามแย่งเป็นผู้มีอำนานเหนือ MK จะต้องเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการแน่นอน รอแต่ว่าจะระเบิดเป็นข่าวดังเมื่อใดเท่านั้น
วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม มีมติให้บริษัท ศุภาลัย พรอพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SPM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด 100% หรือจำนวน 992.01 ล้านหุ้น ในบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)หรือ MK โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในราคาหุ้นละ 4.10 บาท รวมเป็นมูลค่าประมาณ 4.07 พันล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขว่า SPM จะทำการยกเลิกคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด หากเมื่อสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อแล้วมีผู้เสนอขายหุ้นจำนวนน้อยกว่า 25%
การทำคำเสนอซื้อที่ชาญฉลาด(แม้จะซื้อที่ราคาสูงกว่าตลาดอย่างมาก) เพราะหากดีลจบลง SPALI จะมีกำไรพิเศษทันทีจากการซื้อ MK ในราคาส่วนลดจากมูลค่าทางบัญชี 35% ยังสามารถมีโอกาสที่จะนำสินทรัพย์มาขาย และเปลี่ยนแบรนด์เป็น SPALI เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในอนาคตอีก
พอถึงวันที่ 10 กันยายน ผลลัพธ์ปรากฏออกมาว่า ผู้ทำคำเสนอซื้อ หลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในหุ้นสามัญทั้งหมดของบมจ.มั่นคงเคหะการ (MK) ได้นำส่งแบบรายงานผล แจ้งว่ามีผู้แสดงเจตนาขาย และรับซื้อได้ทั้งสิ้น 3,281,200 หุ้น คิดเป็น 0.33%
เท่ากับการทำคำเสนอจบสิ้นลงด้วยความล้มเหลว เพราะหลังจากสรุปผลแล้วล่าสุด กลุ่ม SPALI ถือครองหุ้น MK ได้เพิ่มเติมอย่างไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย
สาเหตุหลักแห่งความล้มเหลวเกิดจาก ราคาตลาดที่พุ่งแรงเกินกว่าราคาเสนอซื้อ จนมีคนสนใจขายออกต่ำมากชนิดแทบไม่มีเลยนั่นเอง
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาวิ่งแรงเกินจากระดับ 3.30 บาท (ก่อนหน้าวันที่ 10 กรกฎาคม แต่เดือนมิถุนายนเคยร่วงลงไปถึง 2.98 บาท ) ขึ้นมาทันที่ที่ระดับ 4.08 บาท หรือเกือบ 24% เนื่องจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ กลุ่มฟินันซ่า ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมทั้งโดยตรงและอ้อม กล่าวคือ บริษัท ฟินันซ่า รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ได้เข้าซื้อหุ้นของ MK จำนวน 3,203,500 หุ้น หรือ 0.32% ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้มีหุ้น MK ทั้งสิ้น 100,179,108 หุ้น คิดเป็น 10.099% ของทุนเรียกชำระแล้ว ขณะที่ นายฟิลิปวีระ บุนนาค ซึ่งก็เป็นนอมินีกลุ่มนี้ รายงานการได้หุ้น MK เพิ่มอีกในจำนวน 2.45% ส่งผลให้มีหุ้นทั้งสิ้น 6.23%
เจตนาในการดันราคาด้วยการซื้อหุ้นMK เพิ่มเติม แสดงออกชัดเจนว่า กลุ่มฟินันซ่าต้องการขัดขวางการทำคำเสนอซื้อของ SPALI ซึ่งผลลัพธ์ก็บรรลุตามเป้า
หลังจากความล้มเหลวครั้งนี้ กลุ่มSPALIหมดโอกาสที่จะทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ไปอีก 1 ปีเต็ม ย้อนความเดิมกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน กลุ่มนายชวน ตั้งมติธรรม ที่ประกอบด้วย นายชวน ตั้งมติธรรม นางอัญชัน ตั้งมติธรรม และนางสาวชุติมา ตั้งมติธรรม ได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 ได้ขายหุ้นในครอบครอง 20.46% ใน MK ให้แก่กลุ่มบริษัท แคสเซิล พีค ดีเวลลอปเม้นท์ส จำกัด และ บริษัท ซีพีดี โฮลดิ้ง จำกัด ของ นายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐอดีตนักการเงินมือเก่าแห่งกลุ่มศรีมิตรในยุคของสบู่เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟู ในราคาหุ้นละ 6.75 บาท รวมมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท
ภายหลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นแล้ว ทำให้กลุ่มนายชวน ตั้งมติธรรมเหลือหุ้น 5.80% ไม่นับรวมนายประทีป แห่ง SPALI ที่แยกมาต่างหาก ซึ่งยังคงถือครองหุ้น MK ในสัดส่วนเดิม 11.29% โดยไม่ได้มีส่วนครอบงำการบริหารของ MK แต่อย่างใด เพราะถือในนามส่วนตัว
หลังจากดีลซื้อขาย MK จบลง ปรากฏว่าชื่อบริษัท แคสเซิล พีค ดีเวลลอปเม้นท์ส หายไป มีรายชื่อของบริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) หรือ FNS และนอมินีมาปรากฏแทนในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่
โดยมีโครงสร้างกรรมการที่ชัดเจนว่ากลุ่มฟินันซ่าเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการบริหารเบ็ดเสร็จ โดยมีนายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ เป็นประธานกรรมการ แต่มีตัวแทนหลักของกลุ่มฟินันซ่า นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ นั่งควบตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ
สามปีที่ผ่านมา แม้ว่า โครงการอสังหาริมทรัพย์ของ MK จะจืดจางลงไปจากวงการ เพราะขาดการลงทุนใหญ่ที่สร้างมิติใหม่แต่ก็ยังคง "กินบุญเก่า" (เพราะผู้มีอำนาจบริหารไม่ใช่ "ตัวจริงเสียงจริง" ในวงการอสังหาริมทรัพย์) แต่ยังมีกำไรต่อเนื่อง แม้จะถดถอยลงชัดเจนเพราะขาดเชิงรุกทางการตลาด เนื่องจากไม่มีความถนัดในธุรกิจ เพราะพื้นฐานเป็นกลุ่มการเงินนอน-แบงก์
สภาพกำไรถดถอยของ MK จนอัตรากำไรสุทธิล่าสุดเหลือแค่ต่ำกว่า 5% จากอดีตยุครุ่งเรืองที่เคยสูงกว่า 20% ยาวนาน แม้ยังไม่ถึงกับขาดทุน สะท้อนออกมาในราคาหุ้นที่โรยราลงจนต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี หรือ บุ๊กแวลลู ที่เหนือกว่า 6.10 บาท เปิดทางให้กับการสบช่องเทกโอเวอร์ง่ายดายมาก
ว่าไปแล้ว โดยธรรมชาติของ กลุ่มฟินันซ่า ที่พร้อมจะเล่นแร่แปรธาตุสินทรัพย์ในมือ คงไม่ถึงกับปฏิเสธที่จะขายหุ้นที่ถือออกจากมือ มากกว่า 20% เพียงแต่น่าจะมีเงื่อนไขว่า ต้องมีราคาขายสูงกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อมาหุ้นละ 6.75 บาท เท่านั้นเอง
หากยอมรับข้อเสนอ 4.10 บาท กลุ่มนี้จะขาดทุนค่อนข้างมาก ...เป็นเรื่องเข้าใจได้ กุญแจสำคัญที่ทำให้ MK มีความน่าสนใจอยู่ที่นอกจากฐานะทางการเงินเดิมที่แข็งแกร่งแล้ว ยังมาจากแลนด์แบงก์ที่สะสมเอาไว้ รอการพัฒนาทำรายได้ในอนาคตนั่นเอง กำไรสะสมเมื่อสิ้นไตรมาสสองปีนี้ของ MK อยู่ที่ระดับ 3,935 ล้านบาท เกินกว่าครึ่งของส่วนผู้ถือหุ้น 6,511 ล้านบาทส่วนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีมากถึง 5,212 ล้านบาทนั้น หากจำแนกรายละเอียดจะพบว่า มีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุน 853 ล้านบาท ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 1,033 ล้านบาท สิทธิการเช่า 1,884 ล้านบาท และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ 1,088 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเหล่านี้ แม้จะไม่มีรายละเอียดระบุกำกับไว้ ถือว่า ล้วนตีมูลค่าทางบัญชีตามราคาประเมิน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่มูลค่าจะต่ำกว่าราคาตลาดเสมอ แรงจูงใจส่วนหนึ่งของการที่ฟินันซ่ากรุ๊ปใช้เงิน 1,200 ล้านบาท เข้าไปซื้อหุ้น MK จากกลุ่มนายชวน ตั้งมติธรรม ผู้ก่อตั้งบริษัทจำนวน 177.55 ล้านหุ้น คิดเป็น 20.64% ของทุนชำระเมื่อ 3 ปีก่อนน่าจะเกิดจากข้อมูลที่เป็น "สินทรัพย์จำบัง"เหล่านี้
เช่นเดียวกัน กรณีกลุ่ม SPALI ก็คงมองเห็นจุดนี้เช่นกัน ดังคำให้สัมภาษณ์สื่อบางฉบับของ นายประทีป ตั้งมติธรรมเองที่ว่า "...เรามีศักยภาพที่จะไปช่วยได้ เราช่วยลดต้นทุนให้เขาได้ เราช่วยทำกำไรให้เพิ่มขึ้นได้ ช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่างๆที่เขาอาจไปทำแล้วมันไม่เหมาะกับตลาด เราก็ช่วยบอกเขาได้...ถ้าเราเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง เราก็ช่วยได้เยอะหน่อย เราจะช่วยให้ดอกเบี้ยเงินกู้ของเขา (MK) ลงมาเท่าของ SPALI เพราะบริษัทในเครือศุภาลัยเดี๋ยวนี้กู้ได้เท่าศุภาลัยที่ 2% กว่าๆ แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ของเขาแพงกว่าเราเกือบ 1.5% ถ้าลดภาระดอกเบี้ยลงไปหลายสิบล้านบาท บริษัทก็กำไรเพิ่มขึ้นหลายสิบล้านบาทเช่นกัน เรายังช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างให้เขาได้ เพราะเราสามารถทำให้เขาซื้อวัสดุในต้นทุนที่เท่ากับเรา แต่ถ้าเราเป็นผู้ถือหุ้นอันดับสองเราก็ทำไม่ได้...ซึ่งแม้จะไม่พูดถึงที่ดินอันเป็นหัวใจของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง แต่ก็ "เป็นที่รู้กันโดยนัย"
ส่วนเหตุผลเรื่องของการต่อยอดการตลาดเพราะภาพลักษณ์แบรนด์ "ชวนชื่น" ของ MK ที่สร้างไว้ยาวนานกว่า 50 ปี ยังเป็นตำนานได้ และไม่ทับซ้อนกับแบรนด์หรือสินค้าในพอร์ตเดิมของ SPALI... ไม่ได้มีความหมายอะไรมากมาย เพราะตอนนี้ ไม่มีประโยชน์แล้ว
สำหรับคนในวงการอสังหาริมทรัพย์แล้ว สินทรัพย์จำบังที่มีอยู่คือเสน่ห์อันรุนแรงในช่วงเวลาที่แลนด์แบงก์ทำโครงการ หายากขึ้นเรื่อยๆ และหลายเชื่อว่า หากประเมินมูลค่าทางการตลาดในอนาคต หากสามารถนำเอาสินทรัพย์จำบังนี้มาเพิ่มมูลค่าได้จริง บุ๊กแวลลูของMK จะต้องมากกว่า 7.00 บาทด้วยซ้ำ เรียกได้ว่า ซื้อราคาเท่าใดก็ไม่ถือว่าแพง
ความล้มเหลวทำเทนเดอร์ของกลุ่ม SPALI ที่ผ่านไป เท่ากับเปิดโอกาสให้กับการยื้อแย่งสินทรัพย์จำบังระลอกใหม่ ผ่านเกมไล่ล่าราคาหุ้น ที่คาดหมายว่า อีกไม่นานเกินรอ ต้องเกิดขึ้น
////////////////////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
www.share2trade.com